1 / 22

การใช้บังคับ ○ กำหนดให้เริ่มใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549. การใช้บังคับ ○ กำหนดให้เริ่มใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป ○ ให้ใช้ในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ

keren
Télécharger la présentation

การใช้บังคับ ○ กำหนดให้เริ่มใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 การใช้บังคับ ○ กำหนดให้เริ่มใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป ○ ให้ใช้ในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ○ ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติจาก กวพ.อ. ให้จัดหาด้วยวิธีอื่นได้

  2. การใช้บังคับ ยกเว้น ไม่ใช้บังคับกับการจัดหาพัสดุในเรื่อง ○ การจ้างที่ปรึกษา ○ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน ○ การซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ * สำหรับการจัดหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้อยู่ ในอำนาจของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการ (ข้อ 4 วรรค 2)

  3. ราคากลาง (ใช้กับงานก่อสร้าง) วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ (ใช้กับงานซื้อ/จ้าง อื่นๆ) ราคาสูงสุดที่ทางราชการ จะพึงได้รับตาม หลักเกณฑ์ที่ กวพ.อ. กำหนด ราคาสูงสุด ที่กำหนดให้ใช้เป็นราคาเริ่มต้นการประมูล (ข้อ 3)

  4. แต่ไม่รวมถึง • - การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบและคุมงาน • การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ • การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ การจัดหาพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วยวิธีการซื้อหรือการจ้าง โดยกำหนดให้ผู้เสนอราคาได้เสนอราคาแข่งขันกันเอง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความหมาย : การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดเผยตัวเลขที่มีการเสนอราคา (Sealed Bid Auction) ภายในระยะเวลา และ ณ สถานที่ที่กำหนด

  5. วิธีการเสนอราคา ใช้แบบวิธีปิดราคา (Sealed Bid Auction) กำหนดระยะเวลาเสนอราคา ไม่น้อยกว่า 30 – 60 นาที ระหว่างเสนอราคา ให้ผู้เสนอราคา - เสนอราคาไม่สูงกว่าหรือเท่ากับราคาเริ่มต้นประมูล - เสนอราคาได้หลายครั้ง แต่ต้องไม่สูงกว่าราคาที่เคยเสนอ ช่วง 3 – 5 นาที สุดท้าย ระบบจะไม่แสดงราคาของผู้ใดว่ามีสถานะใด หมดเวลาให้ประธาน คกก. แจ้งสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา ให้ผู้เสนอราคาลงชื่อในแบบยืนยันราคาสุดท้าย (แบบ บก.008)

  6. วิธีการเสนอราคา (ต่อ) การขยายเวลาเสนอราคา กรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย ไม่อาจชี้ขาดได้ ให้คณะกรรมการขยายเวลาออกไปอีก ครั้งละ 3 นาทีและให้ทุกรายเสนอราคาใหม่ จนกว่าจะได้ราคาต่ำสุด ให้ยืนยันราคาสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง (แบบ บก.008)

  7. คณะกรรมการว่าด้วย การพัสดุ ด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) ตามระเบียบฯ ข้อ 6 คณะกรรมการกำหนด ร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสาร ประกวดราคา (หัวหน้าหน่วยงาน แต่งตั้งได้เอง ตามข้อ 8(1) คณะกรรมการ ประกวดราคา ตามโครงการ (ตามมติ ครม. 6 ต.ค. 2552 ให้เป็น อำนาจของหัวหน้า หน่วยงานแต่งตั้งได้) คณะกรรมการต่างๆ ตามระเบียบฯ นี้

  8. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) องค์ประกอบ - ปลัดกระทรวงการคลัง เป็น ประธานกรรมการ - ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็น รองประธานกรรมการ กรรมการ ประกอบด้วย อัยการสูงสุด ผอ.สำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะ กรรมการกฤษฎีกา ผู้เทน ปปง. ผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนสำนักกำกับ และบริหารโครงการ GFMIS ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย **อธิบดีกรมบัญชีกลาง (หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นกรรมการและเลขานุการ

  9. คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา หัวหน้าหน่วยงาน ที่จะจัดหาพัสดุ เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการ องค์ประกอบ : อยู่ใน ดุลยพินิจของหัวหน้า ส่วนราชการ แต่งตั้ง ได้ตามความเหมาะสม • อำนาจหน้าที่ • * จัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) • และร่างเอกสารประกวดราคา • เพื่อนำไปเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ • * รับฟังคำวิจารณ์ ข้อเสนอแนะ • ความเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษร • จากสาธารณชน • ปรับปรุงร่าง (TOR) และ • ร่างเอกสารประกวดราคา

  10. คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ ตามระเบียบข้อ8(3) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นผู้แต่งตั้ง โดยหน่วยงานที่จะ จัดหาพัสดุเป็นผู้เสนอ องค์ประกอบ ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และไม่มากกว่า 5 คน (ให้มีบุคคลภายนอก ที่มิได้เป็นข้าราชการซึ่งมี ตำแหน่ง หรือ เงินเดือนประจำ รวมอยู่ด้วย 1 คน) หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ในหน่วยงานนั้นเป็น กรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่พัสดุ ในหน่วยงานนั้น เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

  11. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคาฯอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคาฯ - เผยแพร่เอกสารเชิญชวน โดยนำสาระสำคัญของเอกสารประกาศเชิญชวน เอกสาร ประกวดราคา และเอกสารเบื้องต้นอื่นๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้ ลงประกาศทางเว็บไซต์ ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลางเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน กำหนดให้ผู้เสนอราคา - จัดทำข้อเสนอทางด้านเทคนิค - วางหลักประกันซอง - กำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่ให้ยื่นซอง ข้อเสนอด้านเทคนิค

  12. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคาฯ (ต่อ) **รับซองข้อเสนอด้านเทคนิค (ดำเนินการรับซองตามระเบียบพัสดุฯ พ.ศ.2535 ตามข้อ 49(1)-(4)) ** พิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อหา ผู้มีสิทธิเสนอราคา - คุณสมบัติของผู้เสนอราคาครบถ้วนหรือไม่ - ยื่นเอกสารครบถ้วนหรือไม่ - ข้อเสนอด้านเทคนิคมีความเหมาะสมหรือไม่ - เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ - แจ้งผู้ประสงค์จะเสนอราคาแต่ละรายทราบผล การพิจารณาเฉพาะของตน โดยไม่เปิดเผยรายชื่อ ดังกล่าวต่อสาธารณชน - แจ้งผู้ประสงค์จะเสนอราคา แต่ละรายทราบผลการพิจารณา เฉพาะของตน โดยไม่เปิดเผย รายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชน - พิจารณารับข้อเสนอราคา ของผู้มีสิทธิเสนอราคา หลังจากกระบวนการ เสนอราคาสิ้นสุดลง/ เสนอต่อหัวหน้าหน่วยงาน

  13. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 แจ้งตามนัยหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/ว 182 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 เป็นมติที่ใช้ในการผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ฉบับที่แก้ไข เพิ่มเติมมีผลใช้บังคับ

  14. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 1. การจัดหาพัสดุ * สำหรับส่วนราชการ ในวงเงิน 2 - 5 ล้านบาท * สำหรับรัฐวิสาหกิจ ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีมีเหตุผลความจำเป็นหรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถดำเนินการ โดยวิธี Auction ได้ ให้หัวหน้าหน่วยงานใช้ดุลยพินิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบพัสดุฯ ปี 35 หรือระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของรัฐวิสาหกิจ นั้นๆ หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น หรือ ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ไว้ในรายงาน ขอซื้อหรือขอจ้างด้วย

  15. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 2. การแต่งตั้งคณะกรรมการร่างขอบเขตของงานและร่างเอกสารประกวดราคา * การจัดหาพัสดุในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท * สำหรับงานก่อสร้างในโครงการที่มีแบบและข้อกำหนดในการก่อสร้าง ที่เป็นมาตรฐานไว้แล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ ว่าจะแต่งตั้ง คกก. ร่าง TOR หรือร่างเอกสารประกวดราคาหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องนำร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคาดังกล่าวเผยแพร่ทาง website ของหน่วยงานและของ กรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะหรือวิจารณ์

  16. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 3. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาการคัดเลือกผู้ให้ บริการตลาดกลาง และการกำหนดวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานในการแต่งตั้ง คณะกรรมการฯ รวมทั้งคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง และกำหนดวัน เวลา สถานที่เสนอราคา

  17. 4. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาฯ ระเบียบฯ เดิม 1.ประธานกรรมการ : บุคลากร ในหน่วยงาน 2.กรรมการ 3 – 5 คน (มีบุคคล ภายนอกอย่างน้อย 1 คน) 3.หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ : กรรมการและเลขานุการ 4.เจ้าหน้าที่พัสดุ : ผู้ช่วยเลขานุการ (ว182) ผ่อนผัน ดังนี้ ไม่เกินวงเงิน 10 ล้านบาท 1.ให้ คกก.จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน 2.จะมีบุคคลภายนอกหรือไม่ก็ได้ 3.ให้มีบุคลากรของหน่วยงานเป็นกรรมการ และเลขานุการ วงเงินเกิน 10 ล้านบาท ขึ้นไป คกก. องค์ประกอบเหมือนเดิม ให้ จนท.พัสดุหรือที่ เรียกอย่างอื่นในหน่วยงานนั้น เป็นกรรมการและ เลขานุการ จะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการหรือไม่ก็ได้

  18. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 5.การดำเนินการคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิ เสนอราคา กรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอราคารายเดียว หรือ เมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคามีผู้เข้ามาเสนอราคา เพียงรายเดียว โดยปกติให้เสนอหัวหน้าหน่วยงาน ให้ยกเลิก แต่ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่ามีเหตุผล สมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิก การประกวดราคา ให้คณะกรรมการฯ ต่อรองราคากับผู้มีสิทธิ เสนอราคารายนั้น แล้วเสนอหัวหน้าหน่วยงาน พิจารณา

  19. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 6. กรณีการจัดหาพัสดุในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ถ้าได้มีการประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว แต่ :- 6.1 ไม่มีผู้เข้าเสนอราคา 6.2 มีผู้มีสิทธิเสนอราคารายเดียว 6.3 มีผู้มีสิทธิเสนอราคาหลายราย แต่มาเสนอราคาเพียงรายเดียว และคณะกรรมการประกวดราคา ต่อรองราคารายนั้นแล้วไม่ได้ผล ให้จัดหาโดยวิธีอื่นได้โดยไม่ต้องขอผ่อนผัน กวพ.อ. อีก

  20. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 7. แนวทางการนำสาระสำคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ของร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคาลงประกาศฯ 7.1 ในกรณีที่ไม่มีข้อเสนอแนะ หรือคำวิจารณ์ใดๆ หน่วยงาน ไม่ต้องนำร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา ลงประกาศ ทางเว็บไซต์ฯ อีก 7.2 ในกรณีที่มีข้อเสนอแนะความเห็นหรือคำวิจารณ์ ก็ให้ คกก. ร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา พิจารณาว่า สมควรปรับปรุง หรือไม่ แล้วนำเสนอหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง จะต้องนำประกาศทางเว็บไซต์ (ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง) อีกครั้งหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 3 วัน

  21. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 8. ตามระเบียบฯ ข้อ 9(4) กรณีที่ปรากฏว่ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุยกเลิกการดำเนินการทั้งหมด แล้วเริ่มดำเนินการใหม่ ในการดำเนินการจัดหาใหม่ดังกล่าว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ คกก. ประกวดราคาตามโครงการ ก็ให้ คกก.ดังกล่าว ดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้อง แต่งตั้ง คกก. ใหม่ แต่ทั้งนี้ร่างขอบเขตของงาน และร่างเอกสารประกวดราคา ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง

  22. มาตรการในผ่อนผัน ตาม ว 182 9. กรณีการดำเนินการจัดหาพัสดุเพิ่มเติมหรือจัดหาใหม่ โดยขอบเขตของงานและ เอกสารประกวดราคาเหมือนเดิม และเป็นการจัดหาไม่เกินวงเงินงบประมาณที่เคย จัดหาในรอบปีที่ผ่านมา (นับจากวันที่นำสาระสำคัญของร่างขอบเขตของงาน และร่างเอกสารประกวดราคา ประกาศในเว็บไซต์ครั้งสุดท้าย) ให้หน่วยงานดำเนินงานต่อไป โดยไม่ต้องดำเนินการนำร่าง TOR ลง Website ให้สาธารณชนวิจารณ์อีก

More Related