1 / 20

เรื่อง สมุนไพรต้านพยาธิ เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี

สัมนา. เรื่อง สมุนไพรต้านพยาธิ เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี. จัดทำโดย นาย ลุกมาน เจ๊ะโอ๊ะ รหัส 404652065 โปรแกรมวิชา ชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13. ความหมายสมุนไพร สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) กำเนิดจากธรรมชาติและมี

khuyen
Télécharger la présentation

เรื่อง สมุนไพรต้านพยาธิ เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมนา เรื่อง สมุนไพรต้านพยาธิเสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี จัดทำโดย นาย ลุกมาน เจ๊ะโอ๊ะ รหัส 404652065 โปรแกรมวิชา ชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13

  2. ความหมายสมุนไพร สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb)กำเนิดจากธรรมชาติและมี ความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดย เฉพาะในมิติทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการ ส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรคความหมายของยาสมุนไพร ในพระ ราชบัญญัยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จาก พฤกษาชาติ สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ

  3. ประวัติของการใช้สมุนไพรประวัติของการใช้สมุนไพร 1. หลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดงในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร (Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผล 2. ประมาณ 4,000 ปีมาแล้วประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และ มัสตาร์ดต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพร ได้แก่ ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม 3. ในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย

  4. พยาธิที่เกี่ยวข้อง • พยาธิตัวตืด เป็นพยาธิที่มีลำตัวแบนเป็นปล้องๆ • พยาธิตัวกลม เป็นพยาธิที่มีรูปร่างกลมยาวเป็นรูป ทรงกระบอก ลำตัวไม่เป็นปล้อง • พยาธิใบไม้ เป็นพยาธิที่มีลำตัวแบนหัวท้ายเล็ก ลักษณะคล้ายใบไม้ ลำตัวไม่แบ่ง เป็นปล้อง ไม่มี ช่องว่างภายในลำตัว โดยทั่วไปมี 2 เพศ

  5. ความสำคัญของพืชสมุนไพรความสำคัญของพืชสมุนไพร • การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช 1.เพื่อเพิ่มหรือทวีจำนวนให้มากยิ่งขึ้น 2.รักษาพันธุ์พืชที่มีอยู่ไม่ให้สูญพันธุ์ และสามารถรักษาลักษณะพันธุ์ เดิมเอาไว้ 3.เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งจะได้พันธุ์ใหม่ ๆ 4.เพื่อหาพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรคและเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม

  6. เกณฑ์การเลือกใช้สมุนไพรเกณฑ์การเลือกใช้สมุนไพร 1. เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค 2. เป็นสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น 3. ยาที่เตรียมขึ้นจากสมุนไพรต้องเป็นยาที่เตรียมได้ง่าย 4. ยาสมุนไพรนั้นต้องใช้ได้ง่าย 5. สมุนไพรนั้นต้องปลอดภัย 6. ต้องแน่ใจว่าสมุนไพรนั้นให้ผลดี 7. สมุนไพรที่นำมาใช้ต้องถูกชนิดจึงจะได้ผลในการรักษา

  7. สมุนไพรที่สามารถนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ ดังนี้ 1. มะเกลือ Ebony tree (Diospyros mollis Griff.) 2. มะขาม Tamarind (Tamarindus indica Linn.) 3. ฟักทอง Pumpkin (Cucurbita moschata Decne) 4. มะหาด Moraceae (Artocarpus lakoocha Roxb.) 5. เล็บมือนาง Rangoon Creeper (Quisqualis indica Linn.) 6. สะแก Combretum quadrangulare Kurz. 7. มะละกอ papaya (Carica papaya Linn.) 8. กระเทียม Garlic (Allium sativum Linn.) 9. ทับทิม Pomegranate (Punica granatum Linn.) 10.หมาก Areca Palm, Betelnut Palm (Areca catechu Linn.)

  8. 1. มะเกลือ Ebony tree (Diospyros mollis Griff.) • ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ • ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลดิบสดที่โตเต็มที่ ไม่ช้ำ ไม่ดำ ไม่สุก • สารสำคัญ : ในผลมะเกลือมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ฆ่าพยาธิคือ diospyrol diglucoside ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม naphthalene • ประโยชน์ : มะเกลือเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้ายและพยาธิตัวกลม แต่จะให้ผลดีที่สุดกับพยาธิปากขอ

  9. 2. มะขาม Tamarind (Tamarindus indica Linn.) • ลักษณะทั่วไป : มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก • ส่วนที่ใช้ : เนื้อในเมล็ดแก่ • สารสำคัญ :สารจำพวกกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดทาทาริค กรดซิตริก กรดมาลิค นอกจากนี้ยังมีสารเพคติน และกัม ซึ่งทำให้เกิดเมือกคล้ายแป้งเปียก • ประโยชน์ : ใช้ขับพยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

  10. 3. ฟักทอง Pumpkin (Cucurbita moschata Decne) • ส่วนที่ใช้ : เมล็ดแก่ • สารสำคัญ : ในเมล็ดประกอบด้วยน้ำมันประมาณร้อยละ 40 แป้ง กรดอะมิโนหลายชนิด และสารคิวเคอบิติน • ประโยชน์ : ใช้ถ่ายพยาธิลำไส้ โดยเฉพาะพยาธิตัวตืดได้ดี

  11. 4. มะหาด Moraceae (Artocarpus lakoocha Roxb.) • ลักษณะทั่วไป :มะหาดเป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 15 - 25 ม. • ส่วนที่ใช้ : แก่น • สารสำคัญ : ในแก่นมะหาดมีสาร 2,4,3',5' -tetrahydroxystilbene ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าพยาธิ • ประโยชน์ : ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน

  12. 5. เล็บมือนาง Rangoon Creeper (Quisqualis indica Linn.) • ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เถา ลำต้นค่อนข้างแข็ง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น • ส่วนที่ใช้ : เนื้อในเมล็ด • สารสำคัญ : ในเมล็ดมีน้ำมัน และกรด อะมิโนชื่อ Quisqualic acid ซึ่งมีฤทธิ์ขับพยาธิ • ประโยชน์ : เนื้อในเมล็ดแก่ตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน โดยเฉพาะในเด็ก

  13. 6. สะแก Combretum quadrangulare Kurz. • ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร • ส่วนที่ใช้ : เมล็ดแก่ • สารสำคัญ : เมล็ดสะแกมีน้ำมัน combretol, สารจำพวก flavonoid และ pentacyclic triterpene • ประโยชน์ : เนื้อในเมล็ดสะแกที่แก่และแห้ง ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก

  14. 7. มะละกอ papaya (Carica papaya Linn.) • ลักษณะทั่วไป :เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นเนื้ออ่อน • ส่วนที่ใช้ : เมล็ด, น้ำยาง • สารสำคัญ : เมล็ดมะละกอมี สารที่มีกลิ่นคล้ายเรซินิกริน ซึ่งพบมากในมัสตาร์ด ใช้ขับพยาธิได้ ในเมล็ดยังพบคาร์โบไฮเดรต ไขมัน สารคาร์โปไซด์ (carposide), เบนซิลไทโอไซยาเนท(benzylthiocyanate) และ แอลคาลอยด์คาร์ปาซีมีน (carpasemine) • ประโยชน์ : ยางและเมล็ดมะละกอใช้เป็นยาขับพยาธิ โดยเฉพาะพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

  15. 8. กระเทียม Garlic (Allium sativum Linn.) • ลักษณะทั่วไป : พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ ใบยาว แบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ ดอกสีขาวอมเขียว หรืออมชมพูม่วง • ส่วนที่ใช้ : หัวสด • สารสำคัญ : allicin , diallyl disulfide • ประโยชน์ : ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืดและพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

  16. 9. ทับทิม Pomegranate (Punica granatum Linn.) • ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่ม สูงไม่เกิน 3 เมตร • ส่วนที่ใช้ : เปลือกราก, เปลือกต้น • สารสำคัญ : มีสารจำพวก Pelletierine และ Isopelletierine • ประโยชน์ : แอลคาลอยด์เพลลีเทอรีนในเปลือกรากและเปลือกต้น มีฤทธิ์ขับพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน

  17. 10. หมาก Areca Palm, Betelnut Palm (Areca catechu Linn.) • ลักษณะทั่วไป : หมาก เป็นพืชยืนต้นในวงศ์ปาล์ม มีลำต้นเดียว ตั้งตรง สูงได้ถึง 25 ม. • ส่วนที่ใช้ : เมล็ดสุก • สารสำคัญ : ในเมล็ดสุกของหมากมีแอลคาลอยด์อะรีโคลีน (arecoline) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ • ประโยชน์ : ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตัวแบนในม้าและสุนัข ไม่ค่อยนิยมใช้ในคน

  18. ประโยชน์ของสมุนไพร • เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร • มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ • เป็นอาหารเสริมหรือยาบำรุงกำลัง • ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม • มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน • สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์และอาจนำเข้าสู่ธุรกิจระดับอุตสาหกรรม

  19. โทษของสมุนไพร • การแพ้ยา • ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร • ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร

  20. THE IN

More Related