1 / 36

การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้

การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้. (สาธารณรัฐเกาหลี). แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเดี่ยว มีการแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น ๒ ระดับ คือ รัฐบาลกลาง ในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น แต่ประเทศเกาหลีได้กลับทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐาน ในการพัฒนาประเทศ.

kirsi
Télécharger la présentation

การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้ (สาธารณรัฐเกาหลี)

  2. แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเดี่ยว มีการแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น ๒ ระดับ คือ รัฐบาลกลางในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น แต่ประเทศเกาหลีได้กลับทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ

  3. ประเทศเกาหลีใต้มีดินแดนเล็กกว่าประเทศไทย โดยมีเนื้อที่เพียง ๒๒๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และมีประชากรกว่า ๗๑ ล้านคน ด้วยประชากรและดินแดนที่มากมายเช่นนี้ การดูแลและจัดบริการสาธารณะให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชนในประเทศ จึงเป็นภารกิจที่ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลเป็นอย่างมาก

  4. การทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้ในยุคปัจจุบันกำลังพยายามทำให้เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นหลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเกาหลีใต้มีสมรรถนะในการบริหารจัดการมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็พยายามจะทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยไปพร้อม ๆ กัน ด้วย

  5. ทั้งที่อาจกล่าวได้ว่า การปกครองท้องถิ่นในเกาหลีใต้ เพิ่งจะมีการปฏิรูปกันอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้มีบทบัญญัติรองรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเกาหลีใต้แปรเปลี่ยนตามสถานการณ์ทางการเมืองในระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามเกาหลีทีทำให้การปกครองท้องถิ่นของเกาหลีใต้ต้องหยุดชะงักลง หรือจะเป็นการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลเผด็จการของปัก จูง ฮี ก็ตาม

  6. แต่อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้ก็มีกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ฉบับแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๔๙ (Local Autonomy Act in ๑๙๔๙) และได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้หลาต่อหลายครั้ง เพื่อให้การปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมีการแก้ไขปรับปรุงเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๕ ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๔๙ เป็นต้นมา ซึ่งถือว่ามีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น กล่าวคือเปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง

  7. รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government) สำหรับรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นนั้น มี ๒ รูปแบบได้แก่ รูปแบบทั่วไป (General Form) และรูปแบบพิเศษ (Special Form)

  8. ๑. รูปแบบทั่วไป (General Form) เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่มีกระจายอยู่ทั่วเกาหลีใต้ ภายในการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปเอง ก็สามารถแบ่งระดับชั้นออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับบน (Upper Tier) และระดับล่าง (Lower Tier)

  9. ระดับบน Upper Tier ระดับบนได้แก่ จังหวัด (Province) หรือ Do และ มหานคร (Metropolitan)

  10. ปัจจุบันเกาหลีใต้มีทั้งหมด ๙ จังหวัด ได้แก่ จังหวัด Kyonggi, จังหวัด Kangwon, จังหวัด Chungchogbuk, จังหวัด Chollabuk, จังหวัด Chollanam, จังหวัด Kyongsangkuk, จังหวัดKyonsangnamและจังหวัด Cheju และ ๖ มหานคร ได้แก่ เมือง Pusan, เมือง Taegu, เมือง Inchon, เมือง Kwangju, เมือง Taejon, และเมือง Ulsan นอกจากนี้กรุงโซล (Sewoul Special Metropolitan) ซึ่งเป็นเมืองหลวง เหตุที่กรุงโซลถูกจัดให้เป็นการปกครองท้องถิ่นเขตพิเศษ เพราะเป็นเมืองขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ของเกาหลี เป็นศูนย์รวมทางการค้าและธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกด้วย

  11. ระดับล่าง (Lower Tier) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง (Lower – Level) ได้แก่ เมือง (City) และ Kun (County) ในปัจจุบันจังหวัดทั้ง ๙ ของเกาหลีใต้ มีเมือง (City) และ Kun รวมกันทั้งสิ้น ๑๕๘ แห่ง

  12. นอกจากนี้ ทั้งเมือง (City) และ Kun (Country) ยังมีหน่วยงานสาขาที่ช่วยแบ่งเบาภาระของทั้งสององค์กรอีก นั่นก็คือ Dong (หมู่บ้านของเขตเมือง) และ Eup/Myon(หมู่บ้านในเขตชนบท) โดยสถานะของทั้ง Dong/Eup/Myon เป็นเพียงสาขาหรือเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับล่าง

  13. แผนภาพแสดงลำดับขั้นและโครงสร้างของการปกครองส่วนท้องถิ่นสาธารณรัฐเกาหลีแผนภาพแสดงลำดับขั้นและโครงสร้างของการปกครองส่วนท้องถิ่นสาธารณรัฐเกาหลี ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ระดับบน ส่วนท้องถิ่น ระดับล่าง หน่วยงาน สาขาท้องถิ่น ระดับล่าง

  14. ๒. รูปแบบพิเศษ (Special Form) นอกจากปกครองท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ตามที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น เกาหลีใต้ยังมีการจัดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอีก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ Local Association และ Local Public Enterprise Associtation

  15. ๑) Local Association หรือ นิติบุคคลที่เกิดขึ้นเพื่อความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชนิดหนึ่งที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมาย Local Autonomy Act แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. ๑๙๙๕ มีลักษณะเป็นนิติบุคคลที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ แห่งขึ้นไป มีวัตถุประสงค์และมีหน้าที่ในการบริหารงานอย่างชัดเจน เช่น มีหน้าที่ด้านการศึกษา หรือ โรงเรียน เป็นการเฉพาะในเขตของ ๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมมือกัน เป็นต้น

  16. ๒) Local Public Enterprise Asociationหรือ วิสาหกิจที่เกิดจากความร่วมมือกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิสาหกิจนี้ ถือเป็นรูปแบบของการปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่ง ได้รับการรับรองโดยกฎหมาย Local Public Enterprise Association Act มีลักษณะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมมือกันจัดตั้งขึ้น และบริหารงานโดยประธานหรือผู้อำนวยการวิสาหกิจท้องถิ่น

  17. Local Public Enterprise Association จะมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอย่างชัดเจนเป็นการเฉพาะมีลักษณะคล้ายกับ Local Association แต่ การบริหารงานจะอยู่ภายใต้ผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพมากกว่า และต้องอาศัยเทคนิคในการบริหารเป็นการเฉพาะ ส่วนใหญ่มักจะจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการสาธารณะพิเศษบางประการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างเพียงพอ

  18. ในกรุงโซล มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับบน (Upper Tier) คือ กรุงโซล ระดับล่าง (Lower Tier) ได้แก่เขตปกครอง และเขตปกครองมี Dong เป็นสาขาที่ช่วยในการบริหารงาน

  19. ในมหานครทั้ง ๖ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับบน (Upper Tier) คือ มหานครทั้ง ๖ ระดับล่าง (Lower Tier) ได้แก่ เขตปกครอง หรือ Kun (Country) แล้วแต่กรณี โดยในเขตปกครองจะมี Dong เป็นสาขา ในขณะที่ Kun จะมี Euoหรือ Myonเป็นสาขาที่ช่วยในการบริหารงาน

  20. ในจังหวัดทั้ง ๙ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ระดับ ได้แก่ระดับบน (Upper Tier) คือตัวจังหวัดเอง ระดับล่าง (Lower Tier) คือ เมือง (City) หรือ Kun (Country) แล้วแต่กรณี โดยเขตเมือง จะมี Dong เป็นสาขาที่ช่วยในการบริหารงาน ยกเว้นแต่ว่าถ้าเมืองใดมีประชากรเกิน ๕๐๐,๐๐๐ คน จะมีเขต (Ku) ขึ้นมาอีกทำหน้าที่เป็นองค์กรระหว่างกลางอีกชั้นหนึ่ง

  21. โครงสร้างภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโครงสร้างภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเกาหลีใต้ มีโครงสร้างเพียงรูปแบบเดียวคือ รูปแบบที่แยกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกัน โดยทั้ง ๒ ส่วนต่างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนด้วยกันทั้งคู่ หรือที่เรามักเรียกกันว่า รูปแบบฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง (Strong Executive)

  22. โดยหัวหน้าฝ่ายบริหาร (The Chief Executive) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ถ้าเป็นจังหวัด หัวหน้าฝ่ายบริหารจะเรียกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด (Governor) หรือถ้าเป็นในระดับเมือง จะเรียกว่านายกเทศมนตรี (Mayor) เป็นต้น

  23. อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เกาหลีใต้จะใช้รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้ริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้น เกาหลีใต้เคยในระบบการแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารจากรัฐบาลกลางโดยผ่านกระทาวงบริหารกิจการของรัฐและกิจการภายในมาก่อน ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปกครองท้องถิ่นในเกาหลีใต้เพิ่งจะเป็นการปกครองท้องถิ่นที่แท้จริงตามหลักทฤษฎีว่าด้วยการกระจายอำนาจ เมื่อ ๑๕ ปีที่ผ่านมานี้เอง

  24. สภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเกาหลีใต้ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในพื้นที่ มีวาระคราวละ ๔ ปี

  25. ภารกิจและอำนาจหน้าที่ภารกิจและอำนาจหน้าที่ การแบ่งภารกิจและอำนาจหน้าที่ ว่างานหรือหน้าที่ใดเป็นของรัฐบาลกลาง เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน หรือระดับล่างนั้น มีการระบุของเขตกว้าง ๆ ไว้ ดังนี้

  26. ตารางแสดงขอบเขตภารกิจและอำนาจหน้าที่ตารางแสดงขอบเขตภารกิจและอำนาจหน้าที่

  27. ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เนื่องจากประเทศเกาหลี เป็นประเทศที่ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนั้น ความสัมพันธ์จึงเป็นความสัมพันธ์จากรัฐบาลกลางไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลย โดยสามารถแบ่งความสัมพันธ์ได้ ๒ ประเภท ดังนี้

  28. ๑. ความสัมพันธ์ในแง่การเสริมสร้างและสนับสนุนสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้ (๑) การให้คำแนะนำและคำปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารกิจการของรัฐและกิจการภายในสามารถให้คำแนะนำให้คำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการในท้องถิ่น และในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สมารถขอข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เพื่อให้คำปรึกษาของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  29. (๒) การให้เงินสนับสนุน รัฐบาลกลางสามารรถให้เงินสนับสนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ๆ ได้ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ สามารถพิสูจน์ถึงความจำเป็นในการขอเงินช่วยเหลือนั้น ๆ ได้ ในเรื่องนโยบายการให้เงินสนับสนุนนี้ ปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาลเกาหลีได้ตระหนักดีว่า การกระจายอำนาจทางการเงิน เป็นสิ่งที่จำเป็นระดับต้น ๆ ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะการปกครองท้องถิ่นของเกาหลีได้นับว่ามีความอ่อนแอค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา หรือฝรั่งเศส เป็นต้น

  30. (๓) การสนับสนุนทางเทคนิค การสนับสนุนทางด้านนี้คือ การให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา ความรู้ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะค่อนข้างมาก เช่น การให้ความรู้ในเรื่องเทคนิคการกำจัดขยะโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ท้องถิ่นสามารถขอความรู้จากรัฐบาลกลางได้โดยตรงเลย ไม่จำเป็นต้องเสียงบประมาณมาเพื่อการวิจัยและพัฒนาหาเทคนิคเหล่านี้อีก

  31. ๒. ความสัมพันธ์ในแง่การตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเกาหลีใต้ แบ่งการตรวจสอบได้ออกเป็น ๓ ส่วน คือ (๑) การตรวจสอบจากรัฐสภาแห่งชาติ (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ตามมาตรา ๑๑๗ (๒) และมาตรา ๑๘ (๒) แห่งรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้รัฐสภาแห่งชาติสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองท้องถิ่นต่าง ๆที่มีอยู่ทั่วประเทศได้ โดยเฉพาะการสืบสวนและสอบสวนถึงกรณีที่เป็นข้อสงสัยว่าอาจจะเกิดการทุจริตในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้

  32. โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการสืบสวนและสอบสวนการบริหารกิจการของรัฐ ได้ให้อำนาจแก่สภาในการเข้าไปตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างละเอียด โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่รัฐสภาแห่งชาติมีอยู่ในการเข้าไปตรวจสอบ

  33. เช่น การตั้งกระทู้ถามประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารกิจการของรัฐและกิจการภายใน การสืบสวนข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในชั้นกรรมาธิการ การเรียกหรือเชิญผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการไม่ผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น

  34. (๒) การตรวจสอบจากรัฐบาลกลาง (ฝ่ายบริหาร) สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้ - การตรวจสอบและควบคุมโดยตรงจากรัฐบาลกลาง - การแห้ไขและยกเลิกสิ่งที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การสืบสวนและสอบสวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การสั่งให้มีการทบทวนการพิจารณาต่อการตัดสินใจของสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  35. (๓) การตรวจสอบโดยกระบวนการยุติธรรม (ฝ่ายตุลาการ) การตรวจสอบโดยวิธีนี้เป็นการตรวจสอบโดยกระบวนการทางการศาล โดยหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกระทำการผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ศาลยุติธรรมสามารถเข้าไปดำเนินการพิจารณาคดีให้ตามที่มีผู้ฟ้องร้อง

  36. แนวโน้มการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคตแนวโน้มการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต การปกครองส่วนท้องถิ่นในเกาหลีใต้ เพิ่งจะมีการปฏิรูปกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ (คล้ายกับประเทศไทยภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) ดังนั้น การปกครองท้องถิ่นในเกาหลีใต้ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาอีกพอสมควร ประเด็นการเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจหน้าที่จากรัฐบาลกลางไปยังรัฐบาลท้องถิ่นกำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน

More Related