1 / 26

ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติ. 1. เอกสารอ้างอิง. Peirce, W.S., Economics of the Energy Industries . บทที่ 10 Dahl, C. International Energy Markets: Understanding Pricing, Policies and Profits . บทที่ 7 และ 10. เอกสารอ้างอิง. เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ใน website ของ ปตท. (www.pttplc.com).

knoton
Télécharger la présentation

ก๊าซธรรมชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ก๊าซธรรมชาติ 1

  2. เอกสารอ้างอิง • Peirce, W.S., Economics of the Energy Industries. บทที่ 10 • Dahl, C. International Energy Markets: Understanding Pricing, Policies and Profits. บทที่ 7 และ 10

  3. เอกสารอ้างอิง • เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ใน website ของ ปตท. (www.pttplc.com)

  4. ราคาน้ำมันแพง ทำให้หันมาใช้ NG มากขึ้น ในอัตราเพิ่มที่สูง • NG ในโลกมีเหลือใช้อีก 65 ปี 4

  5. ¾ ของปริมาณสำรองอยู่ในรัสเซียและตะวันออกกลาง • กว่าครึ่งอยู่ในรัสเซีย อิหร่าน และกาตาร์ • รัสเซีย และสหรัฐฯ เป็นผู้ใช้ NG รายใหญ่ที่สุด 5

  6. NG สำคัญกับไทย พบมากในประเทศและนำมาใช้ทดแทนน้ำมันเกือบ 30 ปีแล้ว (ตั้งแต่ 2524) • ลักษณะทางเทคนิคที่สำคัญ: • เป็นก๊าซ ทำให้เก็บสำรองและขนส่งได้ยาก • ส่วนใหญ่ขนส่งทางท่อ (pipeline) (น้ำมันขนส่งได้ทั้งทางท่อ รถบรรทุก รถไฟ และเรือ) 9

  7. ลักษณะทางเทคนิคที่สำคัญ: ลักษณะทางเทคนิคที่สำคัญ: • สร้างท่อใช้เงินลงทุนสูง และไปถึงเฉพาะจุด • ระยะไกล (> 3000 กม.) มักจะขนส่งทางเรือตู้เย็น ในรูป liquefied natural gas (LNG) ลดปริมาตรลง 600 เท่าโดยความเย็น อุณหภูมิ –164๐C • เป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้หมดจด ค่อนข้างสะอาด 10

  8. ลักษณะทางเทคนิคที่สำคัญ: ลักษณะทางเทคนิคที่สำคัญ: • หน่วยวัดปริมาตร ลูกบาศก์ฟุต (cubic feet cf.) หรือ ลูกบาศก์เมตร (cubic meters cm.) • หน่วยความร้อนเป็น BTU(British Thermal Unit) • 1 cf. = 1,000 BTU • 1,000 cf. = 1 ล้าน BTU (MMBTU) หน่วยมาตรฐานในการกำหนดราคา 11

  9. ส่วนประกอบของ NG: • ก๊าซมีเธน (methane หรือ C1 คือ C1H4) เป็นองค์ประกอบใหญ่สุด (>70%) ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า โรงงาน และรถยนต์ (CNG หรือ NGV) 12

  10. ส่วนประกอบของ NG: • ก๊าซอีเธน (ethane หรือ C2 คือ C2H6) ใช้เป็นวัตถุดิบ (feedstock) ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (เช่น เม็ดพลาสติก) 13

  11. ส่วนประกอบของ NG: • ก๊าซโพรเพน (propane หรือ C3คือ C3H8) และก๊าซบิวเทน (butane หรือ C4คือ C4H10) • C3 ใช้เป็นวัตถุดิบ (feedstock) ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี C3 + C4ผสมกันเป็นของเหลวอัดใส่ถัง เป็นก๊าซหุงต้ม (liquefied petroleum gas หรือ LPG) ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อหุงต้ม ในโรงงาน และในยานยนต์ 14

  12. ส่วนประกอบของ NG: • C5 ขึ้นไป คือ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline) ใช้กลั่นเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมัน • CO2ใช้ทำน้ำแข็งแห้ง • Condensate น้ำมันดิบชนิดหนึ่งซึ่งพบร่วมกับ NG และแยกได้ที่แท่นผลิต 15

  13. ก๊าซธรรมชาติในไทย: • ผลจากการเร่งสำรวจหลังวิกฤติน้ำมันครั้งแรก พบมากในอ่าวไทย เริ่มผลิตได้ในปี 2524 • ขนส่งทางท่อซึ่งวางจากแท่นผลิตในทะเลมาขึ้นบกที่ระยอง และต่อไปยังโรงไฟฟ้าต่างๆ ไปสุดที่สระบุรี 16

  14. ก๊าซธรรมชาติในไทย: • ส่วนใหญ่ (C1 ) ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ในโรงงาน และ CNG ในรถยนต์ • C3 + C4ผสมกันเป็นก๊าซหุงต้ม (LPG) ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อหุงต้ม ในโรงงาน และในยานยนต์ (มากขึ้นมากในช่วง 4 - 5 ปี 2548-51 เมื่อน้ำมันแพง) 17

  15. ก๊าซธรรมชาติในไทย: • ส่วนอื่นๆ ใช้เป็นวัตถุดิบ (feedstock) ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และใช้กลั่นเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมัน • การผลิตเพิ่มทุกปี แต่ไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้าจากพม่าตั้งแต่ปี 2543 โดยขนส่งทางท่อผ่านกาญจนบุรี ในปัจจุบันก๊าซพม่าเป็น 30% ของการใช้ทั้งหมด 18

  16. ก๊าซธรรมชาติในไทย: • ในปี 2550 การผลิตเริ่มในพื้นที่ร่วมพัฒนา ไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area หรือ JDA) • ต้นปี 2550 ไทยมีปริมาณสำรองของ NG อยู่ 14.8 ล้านล้าน ลบ. ฟุต เหลือให้ใช้ได้อีก 18 ปี หากรวมกับของประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าจะใช้ไปได้อีกประมาณ 30 ปี 19

  17. ก๊าซธรรมชาติในไทย: • ปตท. เตรียมนำเข้า LNG จากตะวันออกกลาง เริ่มในปี 2554 20

  18. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: • ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทน น้ำมันเตา • ข้อดี: มีมากในประเทศ ต้นทุนต่ำ และสะอาด 21

  19. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: • ข้อเสีย: การผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งพา NG สูงมากถึง 70% กระจุกตัวและเสี่ยงเกินไป ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นในที่สุด และราคาจะแพงตามน้ำมันในอนาคต 22

  20. Production (Import / Export) and Consumption of Primary Commercial Energy in ThailandUnit : KBD (COE)

  21. Power Generation by Type of Fuel (PDP 99-02)Unit : GWh

  22. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: • ถ้าไม่ใช้ NG เพิ่มขึ้น แล้วจะใช้เชื้อเพลิงอะไรผลิตไฟฟ้าในอนาคต? • ตามแผน PDP 2007 (Power Development Plan 2007) จะใช้ถ่านหินนำเข้าและนิวเคลียร์ 25

  23. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย: • ถ่านหิน: ราคาถูก แต่สกปรก • นิวเคลียร์: ไม่มีก๊าซเรือนกระจก แต่มีกัมมันตภาพรังสี ที่ “อันตราย” • ถ้าไม่ใช้ถ่านหินนำเข้าและนิวเคลียร์ จะต้องพึ่งพา NG สูงมากถึงกว่า 80% 26

More Related