1 / 21

โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด...ถ้าเกิดที่สงขลา ? ! ? ”

โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด...ถ้าเกิดที่สงขลา ? ! ? ”. นาง จินตว ดี พิทย เมธา กูล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา. สถานการณ์ และโอกาสในการเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ในจังหวัดสงขลา. น้ำมันรั่วไหล ( Oil Spill )

korene
Télécharger la présentation

โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด...ถ้าเกิดที่สงขลา ? ! ? ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด...ถ้าเกิดที่สงขลา ?!?” นางจินตวดี พิทยเมธากูล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา

  2. สถานการณ์ และโอกาสในการเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ในจังหวัดสงขลา น้ำมันรั่วไหล (Oil Spill) การรั่วไหลของน้ำมันสามารถเกิดได้ทั้งตามธรรมชาติ เช่น รั่วจากแหล่งน้ำมันใต้ดิน หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อุบัติเหตุจากเรือ การขุดเจาะน้ำมัน หรือการลักลอบปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำ การรั่วไหลส่วนมากมักมีที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์

  3. ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหลผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล คราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำต่างๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น (ปลา สัตว์หน้าดิน ปะการัง ฯลฯ) รวมถึงนกน้ำด้วย เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารที่เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภคขั้นต้น (แพลงก์ตอนสัตว์/ปลา) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายซึ่งก็คือมนุษย์ คราบน้ำมันยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประมงและการเพาะลี้ยงชายฝั่ง เช่น สัตว์น้ำตายจากคราบน้ำมัน ขาดออกซิเจน ชายหาดสกปรกจากคราบน้ำมัน ทำลายทัศนียภาพ มีกลิ่นเหม็น ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวและพักผ่อน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ

  4. สถิติเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลปริมาณมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2553ที่มา : รวบรวมจาก กรมเจ้าท่า. สถิติน้ำมันรั่วไหล (Oil spill)

  5. เขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำไทยเขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำไทย ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้จำแนกเขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำทะเลไทย ตามระดับความเสี่ยงและความรุนแรงต่อการได้รับผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ออกเป็น 4 เขต ดังนี้ (สงขลา อยู่ในเขตที่ 3) เขตที่ 1มีความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม มีกิจกรรมการขนถ่ายน้ำมันบริเวณท่าเทียบเรือและกลางทะเล มีการจราจรทางน้ำหนาแน่น เขตที่ 2มีความเสียงสูง ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงท่าเรือคลองเตย เป็นเส้นทางหลักของเรือบรรทุกน้ำมัน เรือสินค้า และเรือโดยสาร อีกทั้งเป็นที่ตั้งคลังน้ำมันหลายแห่งริมฝั่งแม่น้ำ เขตที่ 3มีความเสี่ยงสูงปานกลาง ฝั่งทะเลอ่าวไทย ได้แก่ อ่าวไทยด้านตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง และสงขลา และฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล น้ำมันรั่วไหลอาจเกิดจากเรือบรรทุกน้ำมันที่เดินทางเข้าออกช่องแคบมะละกา การขนถ่ายน้ำมัน ท่าเรือน้ำลึก และท่าเรือโดยสาร ฯลฯ เขตที่ 4มีความเสี่ยงต่ำ

  6. ตำแหน่งที่จะเจาะหลุมปิโตรเลียม และแหล่งผลิตปิโตรเลียม “บัวบาน” แปลงสัมปทาน G5/43 ตำแหน่งที่พบวัตถุสีดำคล้ายคราบน้ำมัน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556

  7. การแก้ไขปัญหากรณีมีวัตถุสีดำคล้ายก้อนน้ำมันบริเวณชายหาดของจังหวัดสงขลาที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหากรณีมีวัตถุสีดำคล้ายก้อนน้ำมันบริเวณชายหาดของจังหวัดสงขลาที่ผ่านมา (โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 1. ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานราชการ บริษัทขุดเจาะน้ำมัน นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 2. เก็บตัวอย่างวัตถุคล้ายก้อนน้ำมัน ส่งให้กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพ 3. ส่งผลการตรวจวิเคราะห์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ สำนักงานพลังงานจังหวัด เพื่อขอให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอธิบายผล 4. เก็บตัวอย่างน้ำทะเล ส่งให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ เพื่อเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล 5. แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด 6. รายงานผลการดำเนินงาน และความก้าวหน้าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ

  8. การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง

  9. การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง

  10. การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง

  11. การเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์การเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์

  12. การเก็บตัวอย่างน้ำทะเลเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์การเก็บตัวอย่างน้ำทะเลเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์

  13. ตัวอย่างผลการการ ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพ ของก้อนน้ำมันบริเวณชายหาดจังหวัดสงขลา เปรียบเทียบกับตัวอย่างน้ำมันดิบของสงขลา (ซึ่งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้แปลผล)

  14. ปัญหา/อุปสรรค 1. การตรวจสอบข้อเท็จจริงล่าช้า เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานในการวิเคราะห์ผล 2. ประชาชนยังไม่เชื่อมั่นการวิเคราะห์ผลจากหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน 3. ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าวัตถุดังกล่าวเป็นอะไร และมาจากไหน

  15. ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีหน่วยงานหลักในการทำงาน และแก้ปัญหาที่แน่นอน และมีความรู้เฉพาะทางด้าน 2. ควรมีมาตรการ และขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน 3. ควรมีหน่วยงานที่เป็นกลาง ในการวิเคราะห์ผล และชี้แจงข้อเท็จจริง 3. ควรมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่ชัดเจน และเป็นธรรม

  16. มาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล.......หากเกิดในสงขลามาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล.......หากเกิดในสงขลา

  17. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2538 โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ.2538 โดยมีโครงสร้างการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ ศูนย์ประสานงาน หน่วยปฏิบัติการ และหน่วยสนับสนุน

  18. ศูนย์ประสานงาน ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่า มีหน้าที่แจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการและแจ้งยุติการปฏิบัติการ และประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ก่อให้เกิดมลพิษให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขจัดคราบน้ำมัน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับการดำเนินการขจัดคราบน้ำมัน ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่าหรือกองทัพเรือ มีหน้าที่กำหนดแผนและยุทธวิธีในการขจัดคราบน้ำมัน ประสานศูนย์ประสานงานในการขอรับการสนับสนุนด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการขจัดคราบน้ำมัน ตลอดจนพิจารณาผลการปฏิบัติการขจัดคราบน้ำมันว่าสำเร็จลุล่วงหรือไม่ กรณีแล้วเสร็จจะแจ้งให้ศูนย์ประสานงานทราบ เพื่อขออนุมัติ กปน. ยุติการปฏิบัติการขจัดคราบน้ำมัน

  19. หน่วยปฏิบัติ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ หน่วยงานของจังหวัดในพื้นที่เกิดเหตุ สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและขจัดคราบน้ำมันโดยปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ และรายงานความก้าวหน้า ตลอดจนอุปสรรคที่เกิดขึ้นต่อศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ

  20. หน่วยสนับสนุน กองทัพอากาศ กองทัพบก กรมการขนส่งทางอากาศ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) สำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมศุลกากร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมบัญชีกลาง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง การท่าเรือแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมโรงงานอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมีหน้าที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ อุปกรณ์ ยานพาหนะ กำลังคน และอื่นๆ ตามแต่จะได้รับการร้องขอ

  21. จบการนำเสนอ

More Related