270 likes | 566 Vues
แนวทางการส่งเสริมมันสำปะหลังไทยสู่ AEC. นางวิลาวัลย์ วงษ์เกษม ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตพืชเส้นใยและพืชหัว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. สถานการณ์การผลิต มันสำปะหลังของโลก. พื้นที่ปลูก ร้อยละ 65 แอฟ ริกา 20 เอเชีย 15 ลาตินอเมริกา ผลผลิต ร้อยละ 55 แอฟ ริกา 35 เอเชีย 13 ลาตินอเมริกา
E N D
แนวทางการส่งเสริมมันสำปะหลังไทยสู่ AEC นางวิลาวัลย์ วงษ์เกษม ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตพืชเส้นใยและพืชหัว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังของโลกสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังของโลก พื้นที่ปลูก ร้อยละ 65แอฟริกา20 เอเชีย15 ลาตินอเมริกา ผลผลิต ร้อยละ 55 แอฟริกา35 เอเชีย13 ลาตินอเมริกา ผลผลิตเฉลี่ยแอฟริกา 1.7เอเชีย 3.2 ลาตินอเมริกา 2.0 (ตัน/ไร่)
เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของโลก ปี 2551-2555 ที่มา : องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ความต้องการใช้ ความต้องการใช้มันสำปะหลังของประเทศผู้ผลิต ทั้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมด โดยอยู่ในรูปหัวมันสดและในรูปผลิตภัณฑ์ เช่น Gari Foufou เป็นต้น ยกเว้นประเทศไทยที่มีการใช้ในประเทศร้อยละ 20-25 ของปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้
ปี 2556 ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา • เพื่อเป็นอาหารและพลังงาน โดยความต้องการใช้มันสำปะหลังสำหรับอุตสาหกรรมเอทานอลในทวีปเอเชียทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยจีน และเวียดนาม • ในกลุ่มประเทศแอฟริกาและละตินอเมริกา มีมาตรการส่งเสริมให้ใช้แป้งมันสำปะหลังทดแทนธัญพืชนำเข้า โดยบราซิล มีมาตรการให้ผสมแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 10 ในแป้งสาลี ทำให้การบริโภคแป้งมันสำปะหลังสูงขึ้น
การส่งออก ปี 2550-2554 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 และร้อยละ 25.71 ต่อปีตามลำดับ ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ คือ ไทย มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ60.72รองลงมาได้แก่ เวียดนามและอินโดนีเซีย มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ30.91และ ร้อยละ2.55ตามลำดับ
ปี 2554 โลกมีปริมาณการส่งออก 8.74 ล้านตัน มูลค่า 3,106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี2553 ที่ส่งออกได้8.10 ล้านตัน มูลค่า 2,314 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.90 และร้อยละ 34.23 ตามลำดับ
ปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก ปี 2550-2554 ปริมาณ : ล้านตัน มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
พื้นที่ปลูก(ล้านไร่) ผลผลิตรวม (ล้านตัน) และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
พื้นที่ปลูก(ล้านไร่) ผลผลิตรวม (ล้านตัน) และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
สถานการณ์ของไทย • การผลิต • เกษตรกรผู้ปลูกประมาณ 500,000 ราย • เป็นเกษตรกรรายย่อย พท.ปลูกเฉลี่ย 16 ไร่/ครัวเรือน • ผลิตมันสำปะหลังได้มากที่สุดในเอเชีย ยกเว้นปีที่ประสบปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดที่ทำให้ผลิตได้น้อยกว่าอินโดนีเซีย • พท. ปลูกปีละประมาณ 8 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณปีละ 26 – 30 ล้านตัน
เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี2552-2557
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ปริมาณและมูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ปริมาณ : ล้านตัน มูลค่า : ล้านบาท
ตลาดหลักที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย มันเส้น ได้แก่ จีน มันอัดเม็ด ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น แป้งมันสำปะหลังดิบ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย และญี่ปุ่น แป้งมันสำปะหลังดัดแปร ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย
ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2552-2556 หน่วย : บาท/กก.
เชียงราย แหล่งผลิตสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญตามเขตพื้นที่ (Zoning) ของไทย เชียงใหม่ ผลไม้ ยางพารา แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย กระจายตัวอยู่ตามแหล่งผลิต ในส่วนภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้ สินค้าเกษตร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งออกให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วย หนองคาย ข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย ยางพาราผลไม้ มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา ผลไม้ มันสำปะหลัง อ้อย มันสำปะหลัง ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน ระยอง กุ้ง ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กุ้ง สุราษฎร์ธานี ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กุ้ง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สงขลา สตูล ข้าว ยางพารา นราธิวาส 17
ศักยภาพการแข่งขัน (Thailand Competitiveness Matrix) • ตลาดโลก • ตลาดอาเซียน Attractiveness competitiveness
การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรไทย(สำรวจปี 2553) • การใช้พันธุ์ดี อันดับ 1 เกษตรศาสตร์ 50 • อันดับ 2 ระยอง 5 อันดับ 3 ระยอง 90 • การใช้ปุ๋ยเคมี อัตราการใช้เฉลี่ยไร่ละ 26.21 กก • การใช้ปุ๋ยคอก อัตราการใช้เฉลี่ยไร่ละ 33.09 กก • การใช้ปุ๋ยหมัก อัตราการใช้เฉลี่ยไร่ละ 1.74 กก
ศักยภาพการแข่งขันมันสำปะหลังของประเทศไทยศักยภาพการแข่งขันมันสำปะหลังของประเทศไทย -ตลาดโลก • ประเทศไทยมีงานวิจัยและพัฒนาที่ดี มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว • มีมาตรฐานการส่งออก พึ่งพาตนเองได้ในการผลิตมันสำปะหลัง • มีถนนภายในประเทศที่ดี เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ • มีการขนส่งทางเรือที่ดี • นโยบายรัฐในการสนับสนุนการผลิต • การยอมรับของตลาดดีกรณีแป้ง ส่วนมันเส้นต้องปรับปรุง • ต้นทุนการผลิตสูง
-ตลาดอาเซียน ประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปที่ทันสมัยและมาตรฐานการส่งออกที่ดี ในขณะที่ต้นทุนยังคงสูงอยู่เมื่อเทียบกับเวียดนาม การวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอทั้งในเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี การป้องกันกำจัดศัตรู และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
แนวทางการพัฒนา (ยกร่าง) • ต้นน้ำ • การลดต้นทุนการผลิต/การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • 1 • 2 • 3 • เพิ่มคุณภาพ • กระจายผลผลิต • กลางน้ำ • สนับสนุนการแปรรูปเบื้องต้น
มาตรการ 1.ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกลุ่ม 2.ขยายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการตามรูปแบบของสีคิ้วโมเดลหรือโคราชโมเดล
4. เป้าหมายการพัฒนา(ยกร่าง) -1.ต้นน้ำ ด้านการผลิต -เพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 3.6 ตันต่อไร่ เป็น 5.0 ตันต่อไร่ -เพิ่มคุณภาพการผลิต 2.กลางน้ำ -การทำมันเส้นสะอาด โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกร -เพิ่มประสิทธิภาพโรงงานสกัดแป้งและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มมูลค่า
5. แนวทางการพัฒนา 1.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังโดยการลดต้นทุนการผลิต -มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการบริหารจัดการด้านปัจจัยการผลิต เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย เช่น การซื้อปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพ และราคาถูก -การกระจายผลผลิตตามความต้องการของโรงงานมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรแทนแรงงานคน -สร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อให้สินค้ามันสำปะหลังมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและลดต้นทุนในการขจัดสิ่งเจือปน -มีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ ความร่วมมือในกลุ่มและระหว่างกลุ่มเครือข่ายต่างๆ -สร้างความมั่นใจด้านการตลาด มีการกำหนดและบังคับใช้มาตรฐานในการกำหนดราคาให้เท่าเทียมกันทุกพื้นที่ -ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณผลผลิต
2.การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่2.การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ -มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสม เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยอินทรีย์ มีการไถระเบิดดินดานในพื้นที่ที่มีปัญหา -การใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และมีการคัดเลือกท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมก่อนปลูก -การใช้ระยะปลูกที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่และพันธุ์ -การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน -การบริหารจัดการน้ำ ควรมีการให้น้ำในพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ -การบริหารจัดการด้านอารักขาพืชแบบผสมผสาน