1.06k likes | 2.21k Vues
การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน. โดย. นายรุทร์ อินนุพัฒน์. ส่วนวิศวกรรม สำนักโครงการขนาดใหญ่. 1 ) สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน 2 ) แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน. หัวข้อการบรรยาย.
E N D
การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทานการจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน โดย นายรุทร์ อินนุพัฒน์ ส่วนวิศวกรรม สำนักโครงการขนาดใหญ่
1) สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน2)แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน หัวข้อการบรรยาย
สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
ความหมายของราคากลาง • ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ หมายถึง ราคาค่าก่อสร้างในงานก่อสร้างของทางราชการในแต่ละงาน/โครงการ ซึ่งได้จากการประเมินหรือคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด • ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ไม่ใช่ราคามาตรฐานของงานก่อสร้าง • เป็นราคาที่ทางราชการยอมรับ ไม่สูงจนผู้ประกอบการได้กำไรมากเกินกว่าที่ควรได้รับ และเป็นราคาที่ไม่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างได้
ความสำคัญของราคากลางงานก่อสร้างความสำคัญของราคากลางงานก่อสร้าง • เพื่อให้ทราบราคาค่าก่อสร้างของงานก่อสร้างที่ใกล้เคียงกับราคาค่าก่อสร้างจริงมากที่สุดในขณะนั้น เพื่อใช้อ้างอิงหรือพิจารณาราคาของผู้เสนอราคา ในการจ้างก่อสร้างของทางราชการ • ใช้เป็นราคาเริ่มต้นในการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ • เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อรองราคา การกำหนดค่างวดงาน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายการ และการตรวจติดตามผลการดำเนินงานก่อสร้างของคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง • เกินกว่าครึ่งหนึ่งของวงเงินงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในแต่ละปี เป็นงบประมาณในการจ้างก่อสร้าง หากมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และควบคุมให้มีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะมีผลทำให้ลดการรั่วไหลและประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากกว่าที่เป็นอยู่ • เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการก่อสร้างของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบสำหรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับงานก่อสร้างในแต่ละงาน/โครงการ
ใช้ข้อมูลรายละเอียดจากการคำนวณ ใช้ข้อมูลรายละเอียดจากการคำนวณ ราคากลางประกอบการพิจารณา ภาพรวมกระบวนการจัดจ้างในงานก่อสร้างของทางราชการ(กรณีประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) จัดทำ/ออกแบบโครงการ และขออนุมัติโครงการ/งบประมาณ ได้รับขออนุมัติโครงการ/งบประมาณ คำนวณราคากลาง จัดทำร่าง TOR และเอกสารประกวดราคา ขออนุมัติดำเนินการจัดจ้างก่อสร้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศร่าง TOR ประกาศราคากลางไว้ในร่าง TOR ดำเนินการประกวศประกวดราคาจ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ราคากลางเป็นราคาเริ่มต้นการประมูล ต่อรองราคา อนุมัติรับราคา และทำสัญญาจ้างก่อสร้าง
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 (1) (2) (3) (4) (1) มติ ครม. แนวทาง วิธีปฏิบัติ และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (2) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร (3) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม (4) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
แนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างแนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ไปใช้กับงานก่อสร้างอื่น หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง จำแนกงานก่อสร้างของทางราชการ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน สำหรับงานก่อสร้างอื่น ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าวโดยตรง ให้พิจารณาในรายละเอียดว่ามีโครงสร้าง ลักษณะงาน และ/หรือขอบเขตของงานบางส่วนหรือทั้งหมดใกล้เคียงกับงานก่อสร้างประเภทใด ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างประเภทนั้น หรือหลายประเภทรวมกัน
แนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างแนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ไปใช้กับงานก่อสร้างอื่น (ต่อ) ในกรณีที่เป็นงานหรือโครงการก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วยงานหรือโครงการก่อสร้างหลายโครงการ มีความซับซ้อน ใช้งบประมาณมาก มีลักษณะการก่อสร้างเป็นการเฉพาะและใช้เทคโนโลยีพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าว ให้กำหนดวิธีการและคำนวณราคากลางเป็นการเฉพาะ โดยหากโครงสร้างและลักษณะงานในส่วนใด สามารถนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าวมาใช้ได้ ก็ให้พิจารณาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดและวิธีการคำนวณราคากลางดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบไว้ด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงงานหรือโครงการก่อสร้างที่ได้รับอนุมติ หรือมีระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณราคากลางเป็นการเฉพาะ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้างให้ใช้ราคาปัจจุบันในขณะที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น ราคาวัสดุก่อสร้างให้ใช้ราคาตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำหรับในส่วนกลาง และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำหรับในส่วนภูมิภาค) หากเป็นวัสดุก่อสร้างที่กระทรวงพาณิชย์มิได้กำหนดราคาไว้ ให้สืบราคาเอง พร้อมทั้งจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดของการสืบราคาและการกำหนดราคาไว้เป็นหลักฐานด้วย ในกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ สามารถใช้ราคาวัสดุก่อสร้างตามรายการที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดจากแหล่งอื่นได้ แต่ต้องเป็นราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยให้จัดทำบันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งรายละเอียดของการสืบราคาหรือการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้างดังกล่าว ไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง (ต่อ) 5. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจตั้งคณะกรรมการหรือดำเนินการอื่นใด เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูล และกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ในส่วนที่กระทรวงพาณิชย์มิได้กำหนดราคาไว้ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับราคาและแหล่งวัสดุในแต่ละท้องที่ 6. ในกรณีที่ใช้วัสดุก่อสร้างบางรายการเป็นจำนวนมาก หากซื้อโดยตรงจากแหล่งผลิตจะได้รับส่วนลดและเมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาจากแหล่งอื่น อาจพิจารณาคำนวณโดยใช้ราคาจากแหล่งผลิตสำหรับวัสดุก่อสร้างรายการนั้นได้ 7. การกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้นี้ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้กำหนดเพิ่มเติมไว้ในรายละเอียดของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างสำหรับงานก่อสร้างแต่ละประเภท และตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายราคากลางงานก่อสร้างจะได้กำหนดในโอกาสต่อไป
การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างภายใต้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้ ดังต่อไปนี้ ในการจ้างก่อสร้าง แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ องค์ประกอบ ประธาน เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กรรมการ เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย 2 คน และควรมีผู้มีความรู้เกี่ยวกับการประมาณราคาร่วมเป็นกรรมการด้วย กรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้างนั้น ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง (ต่อ) อำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง มีอำนาจหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างครั้งนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นี้ แล้วนำเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา ก่อนวันประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณไว้ แตกต่างกับราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเห็นสมควรจ้าง ตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยใช้ราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเห็นสมควรจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบโดยเร็ว
การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง (ต่อ) การแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางของคณะกรรมการกำหนดราคากลางต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันต่อผู้มีอำนาจในการที่จะพิจารณารับหรือไม่รับราคาของผู้เสนอราคารายนั้น สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่อยู่ในบังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานนั้นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งและการประชุมคณะกรรมการ
การแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตามคำสั่งกรมฯ ที่ 568/2546 ลว.28 พ.ย.2546 - ก่อนดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ขออนุมัติผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าโครงการแล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตามความเหมาะสมของลักษณะงานก่อสร้าง - องค์ประกอบของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง 1) ประธาน 2) กรรมการ อย่างน้อย 2 คน และควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการประมาณราคาร่วมเป็นกรรมการด้วย ข้อเสนอแนะ ควรพิจารณาลักษณะและองค์ประกอบของงานก่อสร้างว่าประกอบด้วยงานด้านใดบ้าง เพื่อจะได้เชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย
การดำเนินการ ตามคำสั่งกรมฯ ที่ 568/2546 ลว.28 พ.ย.2546 - หากผลการประกวดราคาปรากฏว่า ราคากลางที่กำหนดไว้สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ประกวดราคาได้เกินกว่าร้อยละ 15 ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ประสานงานกับคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้รายงานผลการพิจารณาทบทวนราคากลางพร้อมเหตุผลประกอบ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อดำเนินการตามระเบียบต่อไป - และให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง จัดทำบันทึกคำชี้แจงส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคแล้วแต่กรณี (ตามมติ ครม. แจ้งตามหนังสือที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 2537)
แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง กรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ซึ่งใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้ หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐยังไม่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ เดิม
แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ต่อ) หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคา อัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ที่ประกาศใหม่ และคณะกรรมการกำหนดราคากลางสามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทัน ก่อนวันประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลางใหม่ และให้ถือราคากลางที่คำนวณใหม่นั้น เป็นราคากลางในการจัดจ้างก่อสร้างครั้งนั้น
แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ต่อ) หากไม่สามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทัน ก่อนวันประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี และยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลางโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ที่ประกาศใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาหรือเพื่อดำเนินการอื่นใด สำหรับการจ้างก่อสร้างในครั้งนั้น
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน 2554 ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อปี จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง และสามารถดาวน์โหลดตาราง Factor F ที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประกาศดังกล่าวได้จาก www.gprocurement.go.th
มติ ครม.เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 อนุมัติให้มีการทบทวนราคากลางงานก่อสร้างให้เป็นปัจจุบัน โดยกำหนดให้ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานได้ให้ความเห็นชอบราคากลางงานก่อสร้างที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางของหน่วยงานได้คำนวณไว้แล้ว และยังไม่ประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานได้ให้ความเห็นชอบ ให้หัวหน้าหน่วยงานสั่งการให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานนั้น พิจารณาทบทวนราคากลางใหม่ให้มีความเป็นปัจจุบัน และนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR อีกครั้งหนึ่ง
ข้อกำหนดในการประกาศและเปิดเผยราคากลางงานก่อสร้างข้อกำหนดในการประกาศและเปิดเผยราคากลางงานก่อสร้าง ในการจ้างก่อสร้างทุกครั้ง ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้างประกาศราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางได้คำนวณไว้ ในประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือตามระเบียบที่กำหนดสำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย สำหรับรายละเอียดของการคำนวณราคากลางตาม BOQ (Bill of Quantities) ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้างต้องจัดเตรียมไว้ หากมีผู้สนใจขอตรวจดูหรือขอถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามคำขอนั้นทันที และให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ด้วย
การสรุปค่าก่อสร้างเป็นราคากลางการสรุปค่าก่อสร้างเป็นราคากลาง • เป็นการนำค่างานต้นทุน (Direct Cost)มาคำนวณรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง (Indirect Cost)ซึ่งได้จัดทำไว้ในรูปของตาราง Factor F และค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องมีได้เป็นราคากลางงานก่อสร้าง ซึ่งสามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปได้ ดังนี้ • กรณีของงานก่อสร้างอาคาร • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุน × Factor F)+ผลรวมค่าครุภัณฑ์สั่งซื้อหรือจัดซื้อซึ่งรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว • +ค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ • กรณีของงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุนของแต่ละรายการก่อสร้าง × Factor F ) • สำหรับงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดฯ • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุนของแต่ละรายการก่อสร้าง × Factor F ซึ่งคำนวณรวมค่าใช้จ่ายพิเศษตาม ข้อกำหนดฯ ไว้แล้ว)
แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทานแนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
ค่างานต้นทุน = ช่องที่ 4 x ช่องที่ 6 อัตราราคางาน คำนวณตามหลักเกณฑ์ = ช่องที่ 6 x Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษแล้ว = อัตราราคา ช่องที่ 9 x ช่องที่ 4 = อัตราราคา ช่องที่ 8 x ช่องที่ 4 Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษแล้ว = ช่องที่ 6 คูณ Factor F นำไปหาค่า Factor F คำนวณค่าใช้จ่ายพิเศษตามหลักเกณฑ์ แล้วนำราคารวมทั้งสิ้นไปหาร รายการงานก่อสร้าง (Item) รวมทั้งปริมาณงานและหน่วยวัด ที่ได้จากการถอดแบบ ราคากลาง
1) การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงาน และหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง2) กำหนดรายละเอียดหรือสูตรการคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วยสำหรับทุกรายการงาน ก่อสร้าง (Item) 3) สรุปรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลาง และคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วยสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง 4) นำค่างานต้นทุนต่อหน่วยของรายการงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องที่คำนวณได้ มาใส่ไว้ในช่อง “ราคา” ของแบบสรุปราคากลาง5) คำนวณค่างานต้นทุนรวมของทุกรายการงานก่อสร้าง (ปริมาณงาน x อัตราราคางาน)6) รวมค่างานต้นทุนรวม ของทุกรายการงานก่อสร้าง ตามข้อ 5) แล้วนำยอดรวมไปหา ค่า Factor F แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
7) จัดทำรายละเอียดและคำนวณรวมค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ 8) หาค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนด ทำให้อยู่ในรูปของ Factor F 9) นำ Factor F ของค่าใช้จ่ายพิเศษ ไปคูณกับ Factor F ในข้อ 6) 10) นำ Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษไว้แล้ว ไปคูณกับค่างานต้นทุนต่อหน่วย ของทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) 11) นำค่างานต้นทุนต่อหน่วยตามข้อ 10) ไปคูณกับปริมาณงาน12) รวมราคากลางของทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) ก็จะได้ราคากลางงานก่อสร้าง แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน (ต่อ)
การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง การถอดแบบก่อสร้าง และการกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) ผู้ดำเนินการควรจะต้องออกไปดูสภาพพื้นที่บริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและกำหนดรายการงานก่อสร้าง ประเด็นที่ควรพิจารณา • 1) ความครบถ้วนของรายการงานก่อสร้าง • - งานดินถมบดอัดแน่นด้วยแรงคน , งานดินถมบดอัดแน่นด้วยเครื่องจักรเบา • - งานดินขุดยาก • - งานผันน้ำระหว่างก่อสร้าง , งานสูบน้ำระหว่างก่อสร้าง • - เส้นทางลำเลียงวัสดุ • การกำหนดรายการงานก่อสร้าง พิจารณาควบคู่ไปกับการวางแผนงานก่อสร้าง และต้องมีแบบพร้อมรายการคำนวณปริมาณงาน ไว้เป็นหลักฐานประกอบการชี้แจง
DHD-1 DHD-3 DHD-2 แบบขยายแสดงตำแหน่งหลุมเจาะธรณี (Boring log) บริเวณแนวเขื่อนทดน้ำ
จุดพิจารณาเพิ่มการเรียงหินหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งจุดพิจารณาเพิ่มการเรียงหินหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่ง 150 M. 150 M.
การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว ข้อควรระวัง กรณีแบบก่อสร้างที่กรมฯ จ้างเหมาสำรวจ-ออกแบบ บางครั้งการคิดคำนวณปริมาณงาน มีการคิดเผื่อปริมาณงานไว้ จึงควรต้องตรวจสอบปริมาณงานและรายการงานอีกครั้งหนึ่ง
การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว
การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว
การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 3) กำหนดรายการงานให้เหมาะสม การกำหนดรายการงานก่อสร้าง ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคิดคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน และคำนึงถึงขั้นตอนการบริหารสัญญา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในขั้นตอนการตรวจวัดปริมาณงานเพื่อการจ่ายเงิน ข้อแนะนำ ควรตรวจสอบ/เทียบเคียง รายการงานใน BOQ กับงานก่อสร้างประเภทเดียวกันที่เคยดำเนินการผ่านมาแล้ว อาจจะช่วยให้พบเห็นรายการที่อาจจะตกหล่นได้
การกำหนดรายละเอียดหรือสูตรการคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วย สำหรับทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) พิจารณาลักษณะและขอบเขตของงานก่อสร้าง เพื่อคิดคำนวณอัตราราคางานตามหลักเกณฑ์ของงานแต่ละรายการ กรณีงานที่ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณไว้ ให้ดำเนินการดังนี้ 1 ให้คิดอัตราราคางานตามหลักเกณฑ์ของงานแต่ละรายการที่เกี่ยวข้อง 2 งานที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษเฉพาะด้าน เช่น งานเจาะอุโมงค์ เป็นต้น จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นๆ คิดราคาให้ 3 งานอื่นๆ ทั่วไป ให้สืบราคาวัสดุจากแหล่งผลิต หรือแหล่งจำหน่ายที่ใกล้สถานที่ก่อสร้าง รวมค่าขนส่งถึงสถานที่ก่อสร้าง 4 ครุภัณฑ์ต่างๆ ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางเป็นครุภัณฑ์ประกอบติดตั้งอยู่กับที่ (Buit-in) ส่วนการคิดครุภัณฑ์ที่ไม่ติดตั้งอยู่กับที่ ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของงานก่อสร้างอาคาร
การกำหนดสูตร ค่า K ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2532 ข้อแนะนำ ควรนำสูตรการปรับราคาค่าก่อสร้างทั้ง 35 สูตร ใส่ไว้ในเอกสารประกวดราคา
การกำหนดสูตร ค่า K หมวดที่ 4 งานชลประทาน
การกำหนดสูตร ค่า K หมวดที่ 4 งานชลประทาน
ค่าใช้จ่ายพิเศษ ค่าใช้จ่ายพิเศษในงานก่อสร้างชลประทาน ประกอบด้วย 1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหายานพาหนะ 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาคอมพิวเตอร์ Scanner กล้องถ่ายรูป มัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายวัสดุสิ้นเปลือง 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (Laser Printer) พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (Inkjet Printer) พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมติดตั้งระบบ LAN ครบชุด 6. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องถ่ายเอกสาร
ค่าใช้จ่ายพิเศษ (ต่อ) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งไม่มีแบบฟอร์มกำหนดไว้และไม่สามารถปรับใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้ได้ ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจัดทำรายละเอียดโดยกำหนดแบบฟอร์มคำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละรายการได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อเท็จจริง โดยไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งนี้ ให้จัดทำหมายเหตุ หรือคำชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดฯ แต่ละรายการ ประกอบไว้กับราคากลางเพื่อเป็นรายละเอียดและหลักฐานในการตรวจสอบ
ค่าใช้จ่ายพิเศษ (ต่อ) สิ่งที่ต้องคำนึง 1. เหตุผลและความจำเป็น 2. ความเหมาะสม ในเรื่องชนิด และปริมาณของวัสดุอุปกรณ์ 3. ค่าใช้จ่ายพิเศษจะถูกนำไปคำนวณปรับลดค่าควบคุมงานลง
FACTOR F ตรวจสอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง หรือ จากเว็ปไซต์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรมบัญชีกลางhttp://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP
FACTOR F (ต่อ) ประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อปี
FACTOR F (ต่อ) การคำนวณ Factor F
FACTOR F (ต่อ) B D A C E
FACTOR F (ต่อ) การพิจารณาใช้ตาราง Factor F
แหล่งข้อมูล ที่จะใช้ประกอบในการคิดคำนวณอัตราราคาต้นทุนต่อหน่วย
บัญชีค่าแรงงาน , ตาราง Factor F, อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากเว็ปไซต์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรมบัญชีกลาง http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP