1 / 18

“ ..เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับ การเกษตร มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มา

“ ..เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับ การเกษตร มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มา ใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตร เป็นส่วนใหญ่.. ”. พระราชดำรัส. 9 กรกฎาคม 2507. 2. เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร. ทางสายกลาง. ความพอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกันที่ดี. ความเพียร ความอดทน มีสติ.

kyrene
Télécharger la présentation

“ ..เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับ การเกษตร มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “..เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับ“..เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับ การเกษตร มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มา ใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตร เป็นส่วนใหญ่..” พระราชดำรัส 9 กรกฎาคม 2507 สศช-1246 2

  2. เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร • ทางสายกลาง • ความพอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกันที่ดี • ความเพียร ความอดทน มีสติ • ความรู้ ความรอบคอบระมัดระวัง • คุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต สศช-1246

  3. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป (จากวารสารชัยพัฒนา) สศช-1246

  4. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ- มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. (๔ ธ.ค. ๒๕๔๑)

  5. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ความพอเพียงนี้ อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่นต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง (๔ ธ.ค. ๒๕๔๑)

  6. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผล กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ รอบคอบ และควาระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ คุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า๒๕ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวปฎิบัติและผลที่คาดหมาย สศช-1246

  7. ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล นำสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) สศช-1246

  8. คำนิยาม ความพอเพียงประกอบด้วย • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและ ไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความ พอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำ นั้นๆอย่างรอบคอบ • ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้ พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น สศช-1246

  9. คำนิยาม ความพอเพียงประกอบด้วย • เงื่อนไข หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้ เหล่านั้นมาพิจารณาและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรมจะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต สศช-1246

  10. ความพอดี ด้านจิตใจ • มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ • มีจิตสำนึกที่ดี • เอื้ออาทร ประนีประนอม • นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก สศช-1246

  11. ความพอดีด้านสังคม • ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน • รู้รักสามัคคี • สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน สศช-1246

  12. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ • เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด สศช-1246

  13. ความพอดีด้านเทคโนโลยีความพอดีด้านเทคโนโลยี • รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม • พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน • ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก สศช-1246

  14. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ • ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ชีวิตอย่างพอควร • คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกัน • ไม่เสี่ยงเกินไป การเผื่อทางเลือกสำรอง สศช-1246

  15. ตัวชี้วัด 6x2หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรากฐานของชีวิต สศช-1246

  16. ตัวชี้วัด 6x2หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรากฐานของชีวิต สศช-1246

  17. ตัวชี้วัด 6x2หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรากฐานของชีวิต ตัวชี้วัด 6x2หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต หมายเหตุ : 1. มท.สนับสนุนเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เป็นแนวทางสู่เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร สศช-1246 2.จังหวัดสามารถพิจารณาดำเนินการให้มีการเพิ่มตัวชี้วัดได้ตามความเหมาะสมของ แต่ละพื้นที่

  18. สวัสดี สศช-1246

More Related