1 / 25

Begin with the end : เกมชีวิต “ เริ่มต้นที่ตอนจบ “

Begin with the end : เกมชีวิต “ เริ่มต้นที่ตอนจบ “. บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพ ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด. มีคนชอบถามหนูดี ว่า จะใช้สมองอย่างไร ?... ถึงจะคุ้มค่า จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไร ?....ถึงจะถือว่าสมองของเราไม่ได้สูญเปล่า ด้วยความที่หนูดี เรียนมาด้านสมอง

kyria
Télécharger la présentation

Begin with the end : เกมชีวิต “ เริ่มต้นที่ตอนจบ “

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Begin with the end: เกมชีวิต “เริ่มต้นที่ตอนจบ “ บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพ ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด

  2. มีคนชอบถามหนูดี ว่า จะใช้สมองอย่างไร ?... ถึงจะคุ้มค่า จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไร ?....ถึงจะถือว่าสมองของเราไม่ได้สูญเปล่า ด้วยความที่หนูดี เรียนมาด้านสมอง และทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ จึงถูกถามในเรื่องนี้เป็นประจำ และก็เป็นคำถามที่ทำให้หนูดี สนุกมากที่จะตอบเสมอ เพราะคำถามชนิดนี้ มีคำตอบได้มากมาย ไม่เคยตายตัว ใครตอบก็ไม่มีวันซ้ำกัน

  3. วันนี้ลองมาฟัง นักวิจัยด้านสมองตอบคำถามนี้ดูกันเล่น ๆ ไหมคะ สมัยที่หนูดี เรียนอยู่ที่อเมริกา เคยถูกให้ทำแบบฝึกหัดหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตหนูดี ไปตลอดกาลเลย คือเกม “เริ่มต้นที่ตอนจบ” โดยเกมนี้เล่นไม่ยาก แต่ใช้เวลาพอสมควร หนูดี เคยนำมาฝึกกับลูกศิษย์ของหนูดีบ่อย ๆ มีคนนั่งหลับตาไป ร้องไห้ไป มาหลายคนแล้ว เพราะเป็นเกมที่ทำให้เราได้ ย้อนหลังกลับไปมองชีวิต ไม่ใช่แต่ต้นจนอวสาน แต่ว่ามองจากอวสาน มาตอนต้น

  4. ถ้าพูดเปรียบเทียบเป็นภาษานักธุรกิจก็ต้องบอกว่า Begin with the end in mind. ก็คือการเริ่มต้นมาจากการมองเห็นภาพตอนจบ หรือสัมฤทธิผลของเรื่อง เกมนี้เริ่มที่ หนูดีจะขอให้ผู้อ่าน ลองหาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเอง ในตอนที่เราไม่มีเรื่องรีบร้อนอันใดต้องไปทำ แล้วให้นั่งลง หลับตาจินตนาการภาพตัวเรา ตอนอายุสักแปดสิบ โดยให้สมมติว่า เราจะต้องตายตอนอายุสักแปดสิบ และตอนนั้น เราเจ็บป่วย นอนอยู่บนเตียง หลังจากนั้น ให้เราลองจินตนาการ ย้อนกลับไปมองทั้งชีวิตของเราว่า ที่ผ่านมา เราได้ใช้มันไปอย่างไรบ้าง เราใช้เวลาของเราทำอะไรไป เราวิ่งตามอะไร เราวุ่นวายกับอะไร เรารักใครเราไม่รักใคร ความสุข ความทุกข์ของเราเป็นผลจากอะไร

  5. แต่สองคำถามที่สำคัญที่สุด ก็คือ เราจะเสียดายที่สุด หากเราตายไปโดยไม่ได้ทำอะไร .. เราจะเสียดายที่สุด หากเราไม่ได้ใช้เวลากับใคร หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้ อย่างกระจ่างชัด ก็จะมีเวลาบางช่วงที่เราจะไม่ใช้ไปอย่างที่เราใช้อยู่ จะมีกิจการบางกิจการ ที่เราไม่เลือกจะก่อตั้ง มีเพื่อนบางคนที่เราอาจจะเลิกคบ มีเงินบางก้อนที่เราจะปฏิเสธ ไม่รับสารพัดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น

  6. ถ้าเรามีเวลาถอยออกมาจากชีวิต แล้วย้อนกลับไปมอง เหมือนกับว่า เรากำลังดูหนังวิดีโอชีวิตของคนอื่นอยู่ แล้วก็วิจารณ์ว่า เขาคนนั้นตอนยังมีชีวิตอยู่น่าจะทำอะไรที่ควรทำ

  7. ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่ง่ายดายและลึกซึ้ง เมื่อหนูดี ลองทำแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถึงขั้น หนูดี เปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิต เพราะจากที่เคยคิดอย่างเด็กอายุยี่สิบ หนูดี กระโดดข้ามไปคิดแบบแปดสิบได้ ตอนนี้เลยเหมือนย้อนกลับมาใช้ชีวิตรอบสอง โดยอายุยังไม่ครบสามสิบเลย เหมือนมีสองชีวิตเลยค่ะ เมื่อก่อนหนูดี เคยคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตก็เหมือนกับ การหาของใส่กล่อง คนเก่งกว่าก็ใช้เวลาเป็น ใช้ชีวิตคุ้ม ก็หาของมาใส่กล่องได้เร็วและมากกว่าคนอื่น แต่อีกปัจจัยที่ทำให้กล่องเต็มได้ที่หนูดีไม่เคยคิดมาก่อนจะเล่นเกมนี้ ก็คือ แค่เราเปลี่ยนขนาดกล่องให้เล็กลงซะ มันก็เต็มได้โดยไม่ยากเย็นเลย

  8. ดังนั้น การใช้สมองให้เต็มที่ คุ้มค่า เพื่อให้ชีวิตมีสุขได้ครบด้านและง่ายดาย น่าจะอยู่ที่ศักยภาพในการถอยออกมา แล้วมองชีวิตจากมุมห่างออกไปอีกหน่อย มองย้อนกลับจากวันสุดท้ายของชีวิต ก็เป็นความท้าทายที่น่าสนุกอีกแบบหนึ่ง มันเปลี่ยนชีวิตหนูดี มาแล้ว ในทางที่ดีขึ้นอย่างมหัศจรรย์ ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม แล้ววันนี้ ท่านผู้อ่านของหนูดี คิดว่า ชีวิตนี้ ไม่ได้ทำอะไรแล้วจะเสียดายที่สุดคะ และไม่ได้ใช้เวลากับใครแล้วจะเสียดายที่สุดคะ

  9. ทิปส์ในการพัฒนาสมอง 1. จิบน้ำบ่อย ๆสมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

  10. 3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวัน สมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

  11. 5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

  12. 7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่เราการไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดีขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

  13. 9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมองควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 % สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกาย แต่สมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่าง ในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

  14. หนูดี วนิษา เรซ... ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ หลายคนอาจจะพอคุ้นๆ หน้าตา และชื่อของเธอกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่เธอได้มาออกรายการจับเข่าคุย (ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 ก.ค.50) ...ทำให้เธอดังข้ามคืนเลยทีเดียว เพราะหลายคนต่างทึ่งในความเก่ง ความคิด ความสามารถ และความน่ารักของเธอ....มาทำความรู้จักเธอกันเลยค่ะ

  15. วนิษา เรซ หรือ หนูดี หญิงเก่งของไทย (อเมริกัน) วัย 30 ปี • จบปริญญาตรีเกียรตินิยม • ด้าน ครอบครัวศึกษา Family Studies • มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค สหรัฐอเมริกา • ปริญญาโทเกียรตินิยม • ด้านวิทยาการทางสมอง (Neuroscience) ในโปรแกรม Mind, Brain and Education • มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา • ปัจจุบัน • - เป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ (เพียงคนเดียวในไทย) • ผู้ชนะล้านที่ 15 รายการ "อัจฉริยะข้ามคืน" • ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด • www.geniuscreator.com • ผู้อำนวยการโรงเรียนวนิษา • www.vanessa.ac.th • เป็นผู้นำเสนอแนวคิด • - คนทั่วไปก็สร้างและฝึกฝนให้เป็นอัจฉริยะได้เช่นกัน • - เขียนหนังสือ "อัจฉริยะสร้างได้"

  16. พื้นฐานที่คุณแม่สร้างให้ โรงเรียนวนิษา ตั้งขึ้นโดยมี คุณชุมศรี รักษ์วนิชพงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งภายใต้แนวความคิดซึ่ง คุณชุมศรีได้ให้สัมภาษณ์ ไว้ในเอกสารชื่อว่า “ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด ” ของ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2543 ว่า ...ดิฉันไม่เชื่อวิธีที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทำอยู่ จับเด็กมาขังในคอก ไม่อยากจะใช้คำนี้ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ บังคับเด็กมานั่งนิ่ง ๆ จำกัดศักยภาพการเติบโตของสมอง ”

  17. "โชคดีที่คุณแม่วางพื้นฐานทางความคิดมาให้ตั้งแต่เด็กๆ โดยริเริ่มเปิดโรงเรียนสอนหนูดีคนเดียวก่อน ชื่อโรงเรียนวนิษา เป็นโรงเรียนที่ไม่ให้เด็กต้องมานั่งท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ แต่ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ คือให้เด็กคิดแบบอิสระ กล้าที่จะถาม ซึ่งตอนแรกคิดว่าไม่มีใครสนใจ แต่พอคนเริ่มเห็นกิจกรรมต่างๆ ที่ทางรร.สอนเด็ก อย่างวิชาวิทยาศาสตร์ก็จะมีการพาเด็กไปดูสวน ธรรมชาติ ก็เลยสนใจส่งลูกๆ มาเรียนกัน""แต่พอขึ้นมัธยมหนูดีก็ย้ายมาเรียนรร.สตรีล้วน ปรากฏว่าเราเข้ากับระบบการศึกษาไม่ได้ พอจบมัธยมหนูดีก็เลยตัดสินใจขอคุณแม่ไปเรียนต่อป.ตรีที่มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ อเมริกา พอจะต่อโทก็ประจวบเหมาะได้ศึกษาแนวความคิดขอโปรเฟสเซอร์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ที่ว่าคนเรามีความอัจฉริยะที่แตกต่างกันไป ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง""พอทราบว่าเขากำลังเปิดสอนปริญญาโทหลักสูตรเกี่ยวกับสมองเป็นหลักสูตรแรกที่ ฮาร์วาร์ด หนูดีก็เลยสมัครเข้าไปเรียนเพื่อนำความรู้มาพัฒนาระบบความคิดของคนไทยใหม่ ซึ่งตอนนี้รร.วนิษาก็เริ่มใช้ระบบนี้แล้ว อีกทั้งหนูดียังเปิดบริษัทอัจฉริยะสร้างได้ ให้คำปรึกษา 3 ส่วน คือ ดูแลเรื่องหลักสูตรโรงเรียน เทรนนิ่งครู และผู้บริหาร""เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาศักยภาพองค์กรต่างๆ และหลักสูตรครอบครัวอัจฉริยะ เปิดสัมนาสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะหนูดีคิดว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างอัจฉริยะภาพที่ดีที่สุดคะ"

  18. และในที่สุด วันรับปริญญาโทก็มาถึง ซึ่งหนูดีก็ได้ร่วมกับงานรับปริญญาที่ขลังและเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอีกแล้ว (แต่การจะจบจากมหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ดได้ต้องใช้ทุนในการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่อ ปีไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง "หนูดี" ยอมรับการเป็นคนเรียนดี และรู้จักใช้สมองอย่างถูกวิธีทำให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนี้ โดยได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบการศึกษา) แต่คราวนี้ที่ต่างไป คือความสุข ความมั่นใจของหนูดี ที่รู้แล้วว่า เรียนเก่งระดับอัจฉริยะแบบนี้ ไม่ต้องเครียด ก็ทำได้ แถมมีเวลาใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากมาย แล้วก็กลายเป็นความตั้งใจว่า หนูดีจะต้องนำความรู้ที่ดีๆ ที่คนไทยน้อยคนจะมีโอกาสได้ไปรับรู้ มาให้เด็กไทย คนไทย ได้นำไปใช้ เพราะประเทศของเราก็เรียนกันหนัก แข่งกันเรียน แข่งกันสอบ... ถ้าเรา“คิดเป็น”เราก็จะ “เรียนเป็น”และเมื่อทำงานก็จะ “ทำงานเป็น”แบบที่พวกอัจฉริยะเขาเป็นกัน

  19. เปิด 3 วิธีการทำงานสร้างอัจฉริยภาพในคน ทำองค์กร, ร.ร., ครอบครัวอัจฉริยะ ชู Howard Gradner เจ้าทฤษฎีสร้างอัจฉริยะ เชื่อทฤษฎีนี้ตื่นตัวไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่สร้างเป็นหลักสูตรได้ 5 ปีที่ผ่านมา ยังใหม่สำหรับตลาดบ้านเรา ขาดบุคลากรสูง เผย 5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี3 วิธีการทำงานของอัจฉริยบุคคล "วนิษา เรซ" หรือ หนูดี ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด เล่าถึงวิธีการทำงานว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.การเป็นเทรนเนอร์เพื่อให้ความรู้ และ 2.เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพมาให้ความรู้ โดยหลักการทำงานของ "หนูดี" จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.องค์กรอัจฉริยะ 2.โรงเรียนอัจฉริยะ 3.ครอบครัวอัจฉริยะ

  20. 1.องค์กรอัจฉริยะ ซึ่ง "หนูดี" จะเป็นผู้จัดประชุมสัมมนา หรือพัฒนาคนในองค์กร ภายใต้หลักสูตรสร้างทีมงานอัจฉริยะ เพื่อสร้างพนักงานในบริษัทให้ได้ใช้สมองอย่างเต็มที คือ จำแม่น พรีเซนต์งานเก่ง คิดนอกกรอบ มีการสื่อสารกันถูกหลักสมอง และนำกลุ่มไปสู่เป้าหมายได้โดยไม่ทะเลาะกันด้านการพัฒนาความเป็นอัจฉริยะในผู้ใหญ่ก็เพื่อให้เขาได้รู้ระบบการทำงานของสมอง ซึ่งเขาจะเข้าใจว่าสมองไม่สามารถรับข้อมูลได้เกินกว่า 7 สิ่งในความทรงจำระยะสั้น ดังนั้น ถ้าหัวหน้าจะสั่งงานจะต้องให้ลูกน้องจดคำสั่ง และจะต้องทวนคำสั่งทุกครั้งหรือการไปพรีเซนต์งานหน้าห้องประชุมจะต้องกวาดตา และจ้องตาผู้ฟังเพื่อเป็นการสะกดก่อน เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าผู้พูดเป็นผู้มีอำนาจ พร้อมกับบอกว่า "นี้คือสิ่งสำคัญที่ดิฉันอยากจะพูดมี 3 สิ่ง" ซึ่งคนฟังเขาจะตั้งใจและจำได้ว่าเรื่องที่พูด 3 เรื่องคือเรื่องใด ตรงนี้ก็เป็นผลของการทำงานของสมอง"หนูดี" ยังสอนวิธีการทำ Mind Mapping เพื่อให้เห็นว่าสมองมีการทำงานแบบใด หรือ ในด้านพัฒนาผู้นำองค์กรจะมีการเทรนเรื่อง Creative Leaders : From Finding Solutions to Creating Opportunities เพราะผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่แก้ปัญหาให้กับองค์กรได้เท่านั้น แต่ต้องสามารถหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ด้วย

  21. 2.โรงเรียนอัจฉริยะ จะทำหน้าที่สองอย่าง คือ การพัฒนาบุคลากรครู และ นักเรียน เพราะถ้ารู้จักเรื่องของสมองจะทำให้สมองของเด็กทำงานอย่างเต็มที ซึ่งโรงเรียนอัจฉริยะจะเทรนเด็กถึงวิธีเรียนแบบใดให้เรียนเก่ง ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ เพราะ "หนูดี" ยังสามารถเรียนเก่งและทำทุกอย่างได้ แถมยังได้นอนอีก 7-8 ชั่วโมง เพราะถ้ามีวิธีที่ถูกต้องในการท่องจำจะลดการใช้เวลาได้

  22. 3.ครอบครัวอัจฉริยะ คือ การเป็นที่ปรึกษาหรือเปิดอบรมให้กับพ่อแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะ ซึ่ง "หนูดี" จะแนะนำพ่อแม่ว่าการให้ลูกเรียนหนักไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่ง และไม่ใช้วิถี แต่ถ้าพ่อแม่รู้จักการทำงานของสมองจะเข้าใจการสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ ทั้งเรียนเก่งและยังมีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆหรือแนะวิธีการอ่านหนังสือแบบเร็ว พร้อมทั้งเทคนิคเรียนเก่งที่ไม่ต้องบังคับให้ลูกอ่านหนังสือทุกหน้า แต่พ่อแม่ต้องช่วยอ่านหนังสือ และสรุปเนื้อหา พร้อมทั้งเล่าให้ลูกฟัง เพื่อให้เกิดการถามตอบระหว่างพ่อแม่ลูก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ครอบครัวได้ใกล้ชิดกัน และยังทำให้ลูกจดจำได้ง่ายขึ้นโดยรูปแบบการทำงานให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเด็กอัจฉริยะนั้น "หนูดี" จะเริ่มจากการดูว่าเด็กมีแววอัจฉริยะด้านใด ซึ่งถ้าไม่มีมาแต่เกิด ความอัจฉริยะของเขา ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องการสร้างให้กับเขา เพราะเด็กจะสนองตอบความต้องการของพ่อแม่ ซึ่ง "หนูดี"จะปรับความต้องการของเด็กและพ่อแม่ให้ใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างให้เด็กเก่งและมีความสุขในความเก่งของตัวเอง โดยจะให้คำแนะนำกับพ่อแม่ในการซัปพอร์ตเพื่อสร้างให้ลูกเป็นอัจฉริยะ ซึ่งจะเห็นผลได้ประมาณ 1 เทอมสำหรับเด็กเล็กๆ

  23. 5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี"หนูดี" ยังแนะผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการนี้ว่า1. มีคุณธรรมและรู้จริง เพราะวงการนี้เป็นการสร้างคนซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูง การให้ข้อมูลผิดเท่ากับเป็นการทำบาป นอกจากนี้ ความรู้ที่มีไม่ใช่แค่ความรู้ที่อ่านจากหนังสือต้องรู้ลึกถึงข้อมูลที่แท้จริง 2. ชื่อธุรกิจบอกแล้วว่าสร้างอัจฉริยะ คนที่จะทำต้องมีปูมหลังชีวิตที่ดี ต้องเรียนเก่ง ทำงานเก่ง และบริหารชีวิตส่วนตัวได้ เพราะถ้าจะไปสอนคนอื่นต้องทำชีวิตตัวเองให้ดีก่อน3. รู้จักเอื้อเฟื้อคนอื่น 4. รู้กติกาสากลในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามา 5. เก่งทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

  24. วนิษากล่าว ว่า คนทั่วไปมักมองว่าคนที่เป็นอัจฉริยะมักจะหมกมุ่นอยู่กับตำรากองโต ใส่แว่นหนาเตอะและไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมักเกิดกับคนในวงแคบ เช่น คนที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือดนตรี แต่ความจริงแล้ว อัจฉริยภาพมีมากกว่านั้น ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเสนอว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแต่บางด้านอาจเด่นกว่าด้านอื่นและขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก อัจฉริยภาพ 8 ด้านที่ว่า ได้แก่ อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร , อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว , อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์, อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ , อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจในตนเอง , อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ , อัจฉริยภาพด้านธรรมชาติ , และอัจฉริยภาพด้านดนตรีสมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกาย โดยสมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด

  25. สิ่งที่วนิษาพูดทำให้แปลกใจและลบความเชื่อหรือความรู้เก่าเกี่ยวกับสมองไปได้เลย เพราะอัจฉริยภาพของคนไม่ได้อยู่ที่เซลล์สมอง ไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักสมองและไม่ได้อยู่ที่รอยหยักของสมอง แต่อยู่ที่เส้นใยสมองและไมยีลินหรือไขมันสมองมาห่อหุ้ม เนื่องจากเซลล์สมองตายไปทุกวัน แต่จะมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการทำซ้ำๆ กันดังนั้น อัจฉริยภาพสร้างได้โดยการทำซ้ำๆ กันนั่นเอง เช่น หากเล่นเปียโนไม่เป็น แต่ถ้าฝึกทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ก็จะเป็นคนใหม่ที่เป็นอัจฉริยภาพด้านเปียโนได้อย่างไรก็ตาม คนที่มีเส้นใยสมองมากที่สุดไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดที่สุดเพราะสมองมีเนื้อที่จำกัดในการเก็บเส้นใยสมอง สมองจึงมีการ "รีดทิ้ง" เส้นใยสมองในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในเวลานั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าเด็กแรกเกิดมีเส้นใยสมองมากที่สุด เมื่อเทียบกับเด็กคนเดียวกันในอายุ 6 ขวบ และ 14 ปีและยิ่งโตขึ้นเส้นใยสมองยิ่งน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะโง่กว่าเดิม นั่นเป็นเพราะว่าสมองมีการจัดเก็บและมีแบบแผนในการเก็บเส้นใยสมองอัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้าน วนิษา เขียนไว้อย่างน่าอ่านและเข้าใจง่าย ไม่ใช่หนังสือแบบวิทยาศาสตร์หรือแบบเรียนหนักๆ แต่คนทั่วไป อ่านสนุกพร้อมๆ กับได้เคล็ดลับต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆเมื่ออ่านหนังสือจบแล้ว จะทำให้ความหมายของอัจฉริยะเปลี่ยนไป

More Related