1 / 56

โดย นางสาวปัญญภัสสร์ นพพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

การจัดทำข้อกำหนด ของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร. โดย นางสาวปัญญภัสสร์ นพพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. ประเด็นการบรรยาย. [ 1. หลักการ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ และประโยชน์ในการจัดทำข้อกำหนด ]. 1.1 หลักการ และวัตถุประสงค์ ในการจัดทำข้อกำหนด. Public Safety. Public Healthy.

Télécharger la présentation

โดย นางสาวปัญญภัสสร์ นพพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครการจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดย นางสาวปัญญภัสสร์ นพพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

  2. ประเด็นการบรรยาย

  3. [ 1. หลักการ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ และประโยชน์ในการจัดทำข้อกำหนด] 1.1 หลักการ และวัตถุประสงค์ ในการจัดทำข้อกำหนด Public Safety Public Healthy ความปลอดภัย ของประชาชน สุขอนามัย Public Welfare สวัสดิภาพของสังคม สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเมือง และของพื้นที่ในแต่ละบริเวณ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อความเป็นปกติสุขและความเป็นธรรมในสังคม

  4. [ 1. หลักการ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ และประโยชน์ในการจัดทำข้อกำหนด] 1.2 ความสำคัญของข้อกำหนด ข้อกำหนด เป็นองค์ประกอบสำคัญของผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ และใช้ควบคู่กับแผนผังต่างๆ (Zoning Map)เพื่อให้ปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผัง

  5. [ 2. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 2.1 ขั้นตอนการจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

  6. [ 2. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 2.1 ขั้นตอนการจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ต่อ)

  7. [ 2. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 2.2 ประเภทของข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามแผนผัง • ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ • ข้อกำหนดของแผนผังที่โล่งฯ • ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งฯ • ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคฯ

  8. [ 2. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ “แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท” แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ • ที่อยู่อาศัย • พาณิชยกรรม • อุตสาหกรรม • ชนบทและเกษตรกรรม

  9. [ 2. การจัดทำข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 2.2 ลักษณะของข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

  10. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร]

  11. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการเชิงลบ (Negative measures) • การจัดทำแผนผังโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Planned unit development หรือ PUD) • การควบคุมการจัดสรรที่ดิน (Land subdivision) • การควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay zoning) • การควบคุมการจอดรถยนต์ (Parking control) ตัวอย่างการจัดทำแผนผังโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (PUD)

  12. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการเชิงลบ (Negative measures) (ต่อ) ตัวอย่างการควบคุมการจัดสรรที่ดิน (Land subdivision control)

  13. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการเชิงลบ (Negative measures) (ต่อ) ตัวอย่างการกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นในแต่ละพื้นที่ซ้อนทับ

  14. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการเชิงลบ (Negative measures) (ต่อ) ตัวอย่างเขตพื้นที่บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ (Transit zoning district)

  15. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการเชิงบวก (Positive measures) • การสงวนสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land reservation) • การจัดทำแผนงบประมาณโครงสร้างพื้นฐาน (Capital improvement program หรือ CIP) ตัวอย่างแผนผังทางการ (Official map)

  16. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการส่งเสริมการพัฒนา (Incentive measures) • การกำหนดเขตส่งเสริมการลงทุน (Investment promotion zone) • การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor area ratio bonus หรือ FAR bonus) ตัวอย่างการกำหนดเขตพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน

  17. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการส่งเสริมการพัฒนา (Incentive measures) (ต่อ) ตัวอย่างการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน กรณีการจัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ตัวอย่างการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน กรณีจัดให้มีพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร

  18. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการสร้างความเป็นธรรม (Corrective measures) • การใช้มาตรการภาษีทรัพย์สิน (Property tax) • การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of development rights หรือ TDR) ตัวอย่างการกำหนดพื้นที่การเก็บภาษีบำรุงท้องที่

  19. [ 3. แนวทางการพัฒนาข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] มาตรการสร้างความเป็นธรรม (Corrective measures) (ต่อ) ตัวอย่างการโอนสิทธิการพัฒนาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทเกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างการโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of development rights หรือ TDR) ตัวอย่างการโอนสิทธิการพัฒนาจากการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์

  20. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1) การควบคุมกิจกรรม ที่อาจขัดต่อสุขลักษณะ ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม จำนวน 39 กิจกรรม 2) การควบคุมความหนาแน่นของการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดย - อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio หรือ FAR) - อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio หรือ OSR) - -อัตราส่วนชีวภาพ (Biotope Area Factor)(BAF)* * พื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ - ที่ว่างด้านหน้า ข้าง และหลังอาคาร (Set Back) - ขนาดแปลงที่ดินต่ำสุดในโครงการจัดสรร - ความสูงสูงสุดของอาคาร (Maximum Building Height) 0

  21. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) การควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมมี 3ลักษณะ 1) กิจกรรมที่ให้อนุญาต - กิจกรรมหลัก เช่น ในย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย กิจกรรมหลัก ได้แก่ บ้านเดี่ยว หรือการอยู่อาศัยที่ไม่หนาแน่น - กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ร้านค้า โรงเรียน สถานพยาบาล เป็นต้น 2) กิจกรรมที่ให้อนุญาต โดยมีเงื่อนไข - หากเป็นกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชุมชน หรือความสามารถในการให้บริการของสาธารณูปโภค ได้มีการกำหนดเงื่อนไข เช่น ที่ตั้งให้เหมาะสมโดยให้อยู่บนถนนที่มีความกว้างเพียงพอ หรือตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นต้น 3) กิจกรรมที่ไม่อนุญาต - กิจกรรมที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมและความเดือดร้อนรำคาญ - กิจกรรมที่มีผลต่อความปลอดภัยชุมชน เช่น โรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่

  22. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) สิทธิการพัฒนาที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามเงื่อนไขที่สัมพันธ์กับความกว้างถนน

  23. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) ตัวอย่างบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนทางราง 1 2 4 3 6 7 5 11 8 10 12 13 14 9

  24. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) การพิจารณาพื้นที่ระยะ 500 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้วัดระยะจากแนวเขตชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

  25. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) การควบคุมความหนาแน่น - อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio) (FAR) - อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio) (OSR) - อัตราส่วนพื้นที่ชีวภาพ (Biotope Area Factor)(BAF) * * พื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ - ที่ว่างด้านหน้า ข้าง และหลังอาคาร (Set Back) - ขนาดแปลงที่ดินต่ำสุด (Minimum Lot Size) - ความสูงสูงสุดของอาคาร (Maximum Building Height)

  26. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) สามารถสร้างอาคารได้ 1,600 x 2.5 = 4,000 ตร.ม. FAR = 2.5 “อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมทุกชั้นของอาคารทุกหลัง ต่อพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคาร”

  27. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (OSR) ต้องมีพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม 4,000 x 12.5 = 500ตร.ม. 100 1,600 x 2.5 = 4,000ตร.ม. (4,000 ตร.ม.) FAR = 2.5 OSR = 12.5 “อัตราส่วนของที่ว่างอันปราศจากสิ่งปกคลุมต่อพื้นที่อาคารรวมทุกชั้นของอาคารทุกหลังที่ก่อสร้างในที่ดินแปลงเดียวกัน”

  28. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) พื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ หมายถึง พื้นที่ในระดับดินที่จัดไว้เพื่อให้น้ำบนผิวดินซึมผ่านลงสู่ใต้ดินได้โดยสะดวกและต้องมีการปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลักในพื้นที่ส่วนนี้ ผังเมืองรวมฯ กำหนดว่า “ให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง” (พื้นที่ว่าง ในที่นี้หมายถึง OSR เท่านั้น)

  29. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) ลักษณะของพื้นที่ว่างที่ปราศจากสิ่งปกคลุม และพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ OSR OSR พื้นที่น้ำซึมผ่าน ได้เพื่อปลูกต้นไม้เป็นพื้นที่ซึ่งน้ำสามารถซึมผ่านลงสู่ใต้ดินได้ตามธรรมชาติ และไม่มีส่วนของอาคารอยู่ใต้ผิวดิน

  30. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) ลักษณะของพื้นที่ว่างที่ปราศจากสิ่งปกคลุม และพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้

  31. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) รูปแบบใหม่ของข้อกำหนด : มาตรการส่งเสริมการพัฒนา การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการสามารถเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. จัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมภายใน พื้นที่โครงการ 2. จัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ 3. จัดให้มีที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปหากโครงการตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า 4. จัดให้มีพื้นที่รับน้ำ 5. จัดให้มีอาคารประหยัดพลังงาน

  32. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 1 การจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่โครงการ (ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย 1 ตร.ม.ต่อพื้นที่เพิ่ม 4 ตร.ม.)

  33. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 1 ตัวอย่างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย : แฟลตดินแดง

  34. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 2 การจัดให้มีพื้นที่ว่างเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ(เฉพาะ ย.8-ย.10และ พ.2-พ.5) (พื้นที่ว่าง 1 ตร.ม.ต่อพื้นที่เพิ่ม 5 ตร.ม.)

  35. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 2 ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่ว่างเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ

  36. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 2 ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่ว่างเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ

  37. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 3 การจัดให้มีที่จอดรถยนต์ในพื้นที่ภายในรัศมี 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (เฉพาะสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีอ่อนนุช สถานีลาดกระบัง สถานีหัวหมาก สถานีบางบำหรุ สถานีตลิ่งชัน สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง) (ที่จอดรถยนต์ 1 คันต่อพื้นที่เพิ่ม 30 ตร.ม.)

  38. สถานีบางบำหรุ สถานีตลิ่งชัน สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ สถานีลาดกระบัง สถานีอ่อนนุช สถานีหัวหมาก สถานีอุดมสุข สถานีแบริ่ง FAR Bonus : 3

  39. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 4 การจัดให้มีพื้นที่สำหรับการกักเก็บน้ำฝนในอาคารหรือแปลงที่ดิน (การกักเก็บน้ำฝน 1 ลบ.ม.ต่อพื้นที่ดิน 50 ตร.ม.ต่อการเพิ่ม FAR ร้อยละ 5)

  40. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 5 การก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน

  41. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.1 ข้อกำหนดของแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ (ต่อ) FAR Bonus : 5 กลุ่มอาคาร ENERGY COMPLEX

  42. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.2 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงที่โล่ง

  43. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.2 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงที่โล่ง (ต่อ) จำแนกที่โล่งออกเป็น 6 ประเภท คือ ตัวอย่างข้อกำหนด ที่โล่งประเภท ล.1 เป็นที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์เพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสาธารณะประโยชน์เท่านั้น ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์เพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สาธารณประโยชน์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น โดยให้คำนึงถึงการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของที่โล่งด้วย

  44. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.3 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งฯ

  45. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.3 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งฯ (ต่อ) กำหนดถนนโครงการ (สร้างใหม่) และขยายถนนเดิม จำแนกเป็น ๗ ขนาด รวม ๑๔๐ สาย คือ ตัวอย่างข้อกำหนด การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เขตทางของถนนโครงการตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง และของโครงการทางพิเศษ ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการคมนาคมขนส่งและสาธารณประโยชน์เท่านั้น

  46. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.4 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคฯ

  47. [ 4. รายละเอียดข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร] 4.4 ข้อกำหนดของแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคฯ (ต่อ) จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ ตัวอย่างข้อกำหนด โครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สภ. 1-1 ถึง สภ. 1-3 ให้เป็นโครงการคลองระบายน้ำ ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการระบายน้ำ และการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการสาธารณูปโภคหรือเพื่อประโยชน์แก่กิจการของรัฐเท่านั้น

  48. [ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บังคับ] 5.1 ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของถ้อยคำในข้อกำหนด พบว่าได้มีการสอบถามเกี่ยวกับความหมายของถ้อยคำตามข้อกำหนดว่ามีความหมายและมีขอบเขตในการใช้ถ้อยคำต่างๆ ในแต่ละกรณีอย่างไร เช่น คำว่า “การซื้อขายเก็บเศษวัสดุ” “การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว” “การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดเพื่อการค้า” “กิจการนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” และ “กิจการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม” เป็นต้น

  49. [ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บังคับ] 5.2 ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีข้อกำหนดที่ควบคุมเข้มข้นกว่าพื้นที่โดยรอบ ทำให้กิจกรรมบางประเภท เช่น บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม ขยายตัวเข้าไปยังพื้นที่โดยรอบ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร อบต. พันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร

  50. [ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บังคับ] 5.3 ปัญหาการกระจุกตัวของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

More Related