520 likes | 537 Vues
The Child with Cancers การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีความ ผิดปกติ เกี่ยวกับ การเจริญของเซลล์. อ.น ภิสสรา ธี ระเนตร. วัตถุประสงค์. เมื่อ นักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว จะมีความสามารถ ดังนี้ 1. อธิบายสาเหตุ ประเมินสภาพ การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเจริญของเซลล์ได้
E N D
The Child with Cancersการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเจริญของเซลล์ อ.นภิสสราธีระเนตร
วัตถุประสงค์ • เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว จะมีความสามารถดังนี้ 1. อธิบายสาเหตุ ประเมินสภาพ การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเจริญของเซลล์ได้ 2. บอกหลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาได้ 3. บอกความหมาย สาเหตุ พยาธิสรรีภาพ อาการอาการแสดง การวินิจฉัย และการรักษาโรคมะเร็งเด็กได้ 4. บอกหลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและครอบครัวได้
บทนำ เซลล์มะเร็งจะเกิดการเจริญเติบโต (growth control mechanism) เนื่องจากการเปลี่ยนแลงของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตตามปกติ (undifferentiated) และมีการเพิ่มจำนวนขึ้น (proliferation) โดยไม่มีขีดจำกัด จึงพบเซลล์ตัวอ่อนที่ไม่เจริญเติบโตจำนวนมาก แต่เซลล์เหล่านี้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และยังสามารถเบียดแทรกเซลล์ข้างเคียง กระจายไปตามหลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 1. ปัจจัยด้านยีน oncogene และ tumor suppresser gene 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม • สิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย • สารเคมี • ยาหรือฮอร์โมน • เชื้อรา พยาธิ ไวรัส
การประเมินสภาพ • ไข้ น้ำหนักลด วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือปวดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย โดยหาสาเหตุไม่ได้ ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น คัน ผิวคล้ำขึ้น แดง ขนร่วง • ให้นักศึกษาทบทวนระยะต่างๆของมะเร็ง และ TNM system
ให้นักศึกษาทบทวนระยะต่างๆของมะเร็ง และ TNM system
การรักษา 1. การผ่าตัด 2. เคมีบำบัด (chemotherapy) 3 รังสีรักษา (radiation therapy) 4. การปลูกถ่ายไขกระดูก
หลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาหลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษา • การรักษา • การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด 1.1 ระยะก่อนผ่าตัดเตรียมทางด้านจิตใจ ร่างกาย บริเวณ 1.2 ระยะหลังผ่าตัด ช็อค ระดับความรู้สึกตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดแผล ติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (chemotherapy) • ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน (acute side effect) 1. การแพ้แสงแดด (photosensitivity) งดถูกแสงแดด 1-2 วันหลังได้รับยา 2. คลื่นไส้ อาเจียน (nausea and vomiting) ให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนก่อนให้ยาเคมีบำบัด ใช้วิธีการรักษาทางเลือก ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว ทำความสะอาดปาก รับประทานอาหารอ่อนย่อยงาย หรือน้ำผลไม้
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน (acute side effect) (ต่อ) 3. Hemorrhagic cystitis พบ red blood cell ในปัสสาวะ ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ และควรเก็บ urine เพื่อสังเกตสี 4. ไข้ จากการที่เซลล์มะเร็งถูกทำลายเร็วเกินไป ภาวะ tumor lysis syndromeลดไข้และติดตามประเมินการทำงานของไตจากการบันทึก I/O 5. การระคายเคืองเฉพาะที่ หยุดให้ยาทันที ประคบด้วยน้ำเย็น ถ้าผิวหนังถูกยาให้รีบล้างออกด้วยน้ำและสบู่
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับยา 1-2 สัปดาห์ • ไขกระดูกถูกกด (myelosuppression)ป้องกันอุบัติเหตุ ช่วยเหลือเมื่อมีเลือดออกตามที่ต่างๆ • การติดเชื้อเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำลง ดูแลความสะอาดของอนามัยส่วนบุคคล • การอักเสบบริเวณช่องปาก ลิ้น และเยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ (mucositis) ใช้ WHO grading of mucositis
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับยา 1-2 สัปดาห์(ต่อ) • กรดยูริกในเลือดสูง ดื่มน้ำมากๆ ให้ยา allopurinol เพื่อลดการสร้างยูริก • ภาวะขาดสารอาหาร • พิษต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตับ ระบบประสาท หัวใจ ปอด ระบบสืบพันธุ์
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา • ดูแลผิวหนังบริเวณที่ถูกฉายรังสีและอวัยวะใกล้เคียงที่อาจ ป้องกันการกระทบกระเทือนและการติดเชื้อ รักษาผิวหนังให้แห้ง ห้ามติดพลาสเตอร์ อาบน้ำด้วยสบู่ชนิดอ่อน ไม่ล้างรอยที่ขีดไว้เพื่อเป็นบริเวณฉายรังสี ไม่ใช้ครีมทาผิว ไม่ถูกแดด และหลีกเลี่ยงการแกะเกา และหลีกเลี่ยงการใช้โลหะหนักต่างๆ เช่น ขี้ผึ้ง น้ำยาต่างๆ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา (ต่อ) • ให้ยาป้องกันหรือให้ยาระงับอาการอาเจียน ให้รับประทานอาหารหลังไปฉายแสง 1 ชั่วโมง • บันทึกจำนวนน้ำดื่มและสิ่งขับออก สังเกตอาการขาดน้ำ นอกจากนี้ควรดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการจากพิษข้างเคียงของรังสี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) • ภาวะขาดสารอาหาร : TPN • แผลในช่องปากและทางเดินอาหาร : Mouth care, ยาชา • การสูญเสียน้ำและอิเล็คโตรลัยท์ จากภาวะท้องร่วงอย่างรุนแรง • การแตกทำลายของผิวหนัง โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) (ต่อ) • การติดเชื้อ : จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปราศจากเชื้อ และระมัดระวังการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด • การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเลือด : ดูแลการให้เลือด • การแพ้เซลล์ไขกระดูกทีได้รับ
การดูแลประคับประคองหรือบรรเทาอาการการดูแลประคับประคองหรือบรรเทาอาการ • ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งมักจะได้รับการรักษาในระยะเวลายาวนานและการรักษามักทำให้เกิดความเจ็บปวดไม่สุขสบาย และเกิดภาวะทุพโภชนาการตามมา ผู้ป่วยและครอบครัวจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการเอาใจใส่ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งระหว่างการรักษาและหลังการรักษา พยาบาลจะมีบทบาทอย่างมากในการดูแลประคับประคองด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมของผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งให้การช่วยเหลือดูแลให้ปัญหาเหล่านั้นบรรเทาลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) ความหมาย มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute lymphoblastic leukemia, ALL) หมายถึง ภาวะที่มีการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วทั่วร่างกายอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดจำนวนลง เกิดอาการติดเชื้อ ซีด และเลือดออก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก และทีพบในเด็กเกือบทั้งหมดเป็นชนิด Acute lymphoblastic leukemia
สาเหตุ • ไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่าเสี่ยงต่อการเกิดจากพันธุกรรม การได้รับรังสี สารเคมี หรือไวรัสบางชนิด พยาธิสรรีภาพ เกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวชนิด lymphoblast เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและควบคุมไม่ได้ในไขกระดูก มีผลให้การทำงานของไขกระดูกผิดปกติ การสร้างเม็ดเลือดชนิดอื่น ได้แก่ เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดลดลง ทำให้เกิดภาวะซีดและเลือดออกง่าย ขณะเดียวกันเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นตัวอ่อนที่ทำหน้าที่ไม่ได้
อาการและอาการแสดง อาการสำคัญที่ทำให้บิดามารดา/ผู้เลี้ยงดูพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ • อาการซีด • มีจำเลือดตามผิวหนัง หรือมีเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ อาจมีอาการถ่ายดำ ถ้ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร • มีไข้ หรือภาวะติดเชื้อซ้ำๆ บ่อยๆ • ตับม้าม ต่อมน้ำเหลืองโต
การวินิจฉัย • การซักประวัติ • การตรวจร่างกาย • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - การตรวจนับเม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด อาจพบปริมาณเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนเม็ดเลือดขาวมักพบชนิดที่เป็นตัวอ่อนเป็นจำนวนมาก > 100,000 cell/mm3 - การตรวจไขกระดูก(bone marrow aspiration) โดยมีเกณฑ์ว่า ต้องพบเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นตัวอ่อน (blast) > 5% ของเซลล์ในกระดูก จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การรักษา • การให้ยาเคมีบำบัด 1.1 การชักนำให้โรคสงบ (induction of remission) โดยการให้ยาเคมีบำบัด 6-8 สัปดาห์ เช่น vincristine, prednisolone 1.2 Intensification เมื่อไขกระดูกกลับเป็นปกติ ให้ยาที่ไม่เคยได้รับมาก่อนให้ในช่วงสั้นๆ เช่น L-asperaginaseและ methotrexate 1.3 การรักษาป้องกันระบบประสาท (CNS prophylaxis) โดยการให้รังสีรักษาที่ศีรษะร่วมกับการฉีด methotrexate 15 มก/ตร.ม. เข้าน้ำไขสันหลัง • การรักษาแบบประคับประคอง (supportive therapy)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Malignant lymphoma) ความหมาย กลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ในต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของอวัยวะในระบบน้ำเหลือง โดยทั่วไปพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม 1. Hodgkin’s disease (HD) 2. Non- Hodgkin’s lymphoma (NHL) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเด็ก** 3. Burkitt’s lymphoma
สาเหตุ ไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่าภาวะต่อไปนี้ มีส่วนให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดใดชนิดหนึ่งได้ 1. เชื้อไวรัส โดยเฉพาะ Ebstein-Bar virus (EBV) พบว่า เป็นสาเหตุของการเกิด Burkitt’s lymphoma และ HD 2. ได้รับยากดภูมิเป็นเวลานานๆ เช่น ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน 3. สิ่งแวดล้อม เช่น พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในครอบครัวเดียวกันหลายคน หรืออยู่ใกล้ๆกัน หรือเรียนหนังสือห้องเดียวกัน
พยาธิสรีรภาพ เกิดจากการที่เซลล์ในต่อมน้ำเหลืองที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกาย มีการแบ่งตัวผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อน ตำแน่งที่พบบ่อย คือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (cervical lymph node) ก้อนที่โตขึ้นอาจกดเบียดหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดกลุ่มอาการ SVC syndrome (superior vena cava syndrome) ทำให้ใบหน้า และแขนทั้งสองข้างบวม เนื่องจากเลือดดำไหลกลับเข้าสู่เส้นเลือดดำ vena cava ไม่สะดวก หรือบางรายมีก้อนที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง จึงคลำพบก้อนในช้องท้อง
ให้นักศึกษาทบทวนการแบ่งระยะของโรคให้นักศึกษาทบทวนการแบ่งระยะของโรค การรักษา ผสมผสานระหว่างเคมีบำบัด รังสีรักษา และการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ขึ้นอยู่กับระยะโรค
การรักษา (ต่อ) • ยาเคมีบำบัดที่ใช้ได้ผลดีในโรค Hodgkin’s disease ได้แก่ cyclophosphamide, vincristine, procarbazine, prednisolon • ให้ยาเป็นชุดนานอย่างน้อย 6 เดือน หรือให้ยาจนได้ complete remissisonซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลานานประมาณ 2-5 ปี • ส่วนการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่นๆ แพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกัน และประเมินการตอบสนองของโรคเป็นระยะ
มะเร็งของไต(Wilms’ tumor หรือ Nephroblastoma) • ความหมาย • มะเร็งของไต หมายถึง ภาวะที่เนื้อไตชั้นพาเรนไคมา (parenchyma) มีการเจริญผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต
สาเหตุ ไม่ทราบแน่นอน แต่เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่พบมากในวัยเด็ก จึงเชื่อว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อชั้น mesoderm ผิดปกติตั้งแต่ระยะที่ทารกเป็นตัวอ่อน (embryo)
พยาธิสรีรภาพ ก้อนเนื้องอกมักเป็นก้อนขนาดใหญ่ ทำให้มีอาการท้องโต หรือคลำก้อนได้ในท้อง นอกจากนี้การที่ก้อนเนื้องอกโตเร็ว และอยู่ภายในเนื้อไต จึงทำให้เยื่อหุ้มเนื้องอกบางลง ฉีกขาดง่าย และลุกลามเข้าไปในเนื้อไตหรือหลอดเลือดในไต ทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดได้
อาการและอาการแสดง 1. คลำพบก้อนในท้อง เป็นอาการที่พบมากที่สุด 2. ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด 3. ซีด 4. ปวดท้อง มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน 5. ความดันโลหิตสูง 6. อาการที่อาจพบร่วมด้วย เช่น การมีตัวโตครึ่งซีก (hemihypertrophy) ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น รูเปิดของท่อปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าปกติ (hypospadias)
การวินิจฉัย 1. การซักประวัติ อายุของเด็ก การพบก้อนในท้อง อาการที่พบร่วมด้วย เช่น การปัสสาวะเป็นเลือดสด น้ำหนักลด เบื่ออาหาร 2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเลือดอาจพบจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ ถามีอาการปัสสาวะเป็นเลือดเป็นเวลานาน ค่า BUN และ ครีเอตินิน มักปกติ
การวินิจฉัย(ต่อ) • การตรวจโดยการฉีดสารทึบแสงเข้าในหลอดเลือดดำเพื่อขับออกที่ไต (intravenous pyelogram, IVP) เป็นการตรวจที่สำคัญและจำเป็นในการวินิจฉัยโรคนี้ ซึ่งมักจะพบว่าไตข้างที่เป็นมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการขับถ่ายเลวลง calyx ของไตจะบิดเบี้ยว หรืออยู่ผิดที่ เนื่องจากถูกกดหรือเบียดด้วยก้อนเนื้องอก หรือสารทึบแสงที่ฉีดเข้าไปอาจไม่ถูกขับออกมา เนื่องจากก้อนเนื้องอกอุดกั้นระบบการทำงานของไตข้างที่เป็นโรค • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
การรักษา 1. ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก โดยบางรายอาจได้รับเคมีบำบัดก่อน เพื่อลดขนาดก้อนให้เล็กลง 2. รังสีรักษาที่บริเวณตำแหน่งของไต 3. ให้ยาเคมีบำบัด ชนิดของยาที่ได้ผลคือ actinomycin D, vincristine, Adriamycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 15 เดือน ผลการรักษาค่อนข้างดี หายขาดประมาณ 75-80%ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค ลักษณะของเซลล์มะเร็งที่เป็นว่าตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษามากน้อยเพียงใด
มะเร็งของเซลล์ประสาท (Neuroblastoma) มะเร็งของเซลล์ประสาท หมายถึง มะเร็งชนิดก้อนที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เกิดจากเซลล์ประสาทอ่อน neural crest ซึ่งตามปกติจะเจริญเป็น sympathetic ganglion cell จึงพบโรคได้ตามแนวของเส้นประสาทซิมพาเธติค ทั้งมีอาจมีก้อนในช่องอก ช่องท้อง แต่ที่พบมากที่สุด คือที่ส่วนเมดัลลาของต่อมหมวกไต
สาเหตุ ไม่ทราบแน่นอน แต่เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่พบมากในวัยเด็ก และมีรายงานพบว่ามีผู้ป่วยหลายคนในครอบครัวเดียวกัน จึงมีข้อสันนิษฐานว่าอาจอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
พยาธิสรีรภาพ ก้อนเนื้องอกมักเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ประสาทอ่อน (neural crest) ซึ่งมีทั่วไปในร่างกาย แต่มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา (adrenal medulla) จึงทำให้มีอาการท้องโตหรือคลำก้อนได้ในท้อง ตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจพบก้อนได้แก่ แนวเส้นเส้นประสาทซิมพาเธติค เช่น ในช่องออก ช่องไขสันหลัง คอ หลังลูกตา
อาการและอาการแสดง 1. มีก้อนในช่องท้อง หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ในช่องอก ก้อนบริเวณหลังลูกตา ทำให้ดันลูกตาโปนออกมา 2. อาการทั่วไป เช่น มีไข้ น้ำหนักลด ถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง
การวินิจฉัย 1. การเจาะไขกระดูก อาจพบเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายเข้ามาในไขกระดูก ซึ่งมีลักษณะการรวมตัวเป็นรูปแบบเฉพาะ เรียกว่า rosette formation 2. การตรวจเลือดอาจพบภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ หากมีการกระจายของโรคเข้าไปในกระดูกแล้ว
การวินิจฉัย(ต่อ) 3. Ultrasound, IVP, CT abdomen (computer tomogram) ในรายที่มีก้อนที่บริเวณต่อมหมวกไต ผลการตรวจ IVP จะพบว่าไตมีขนาดปกติ calyx ปกติ การขับสารทึบแสงที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นปกติ แต่ไตข้างที่อยู่ข้างเดียวกับก้อนมะเร็งจะถูกดันต่ำลงมา 4. ตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อหาสาร VMA จะพบว่ามีค่า VMA ในปัสสาวะสูง
โรคเนื้องอกสมอง (brain tumor) • โรคเนื้องอกในสมองเป็นโรคมะเร็งชนิดก้อนที่พบมากในเด็กเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มักพบในส่วนสมองส่วน cerebellum, midbrain และ brain stem ขณะที่ในผู้ใหญ่จะพบมากในสมองส่วนที่อยู่ระหว่าง cerebrum และ cerebellum ชนิดที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ medulloblastoma, cerebral astrocytoma
พยาธิสรีรภาพ การเจริญที่ผิดปกติของ neural crest มีความสัมพันธ์กันอย่างมากในการเกิดเนื้องอกของสมอง ในบางรายเกิดภายหลังจากการได้รับการฉายรังสีที่ศีรษะ การเกิดเนื้องอกของสมองมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติที่โครโมโซม เช่นในผู้ป่วย gliomaและ medulloblastomaพบว่ามีการขาดหายไปของโครโมโซมตำแหน่งที่ 17 p ผู้ป่วย meningioma มีบางส่วนของโครโมโซมคู่ที่ 22 ขาดหายไป
อาการและอาการแสดง • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง การมองเห็นและการได้ยินเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายและอาการอื่นๆ
การวินิจฉัย 1. การทำ CT, MRI, angiography 2. การตรวจร่างกายทางระบบประสาท เช่น EEG, LP
การรักษา 1. การผ่าตัด เอาส่วนที่มีพยาธิสภาพออก 2. การใช้รังสีรักษา ในมะเร็งระยะแรกที่เด็กยังมีการเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่และมีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ 3. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เช่น vincristine, procabarcine, cyclophosphamide, prednisolone
หลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและครอบครัวหลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและครอบครัว • ข้อวินิจฉัยการพยาบาล • ผู้ป่วยและครอบครัวพร่องความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการรับรส เบื่ออาหาร มีแผลในปาก อาเจียนและท้องร่วง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กมีน้ำหนักลดลง • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อ เนื่องจากความต้านทานของร่างกายต่ำจากพยาธิสภาพของโรคเช่น เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล (ต่อ) • เซลล์ร่างกายมีโอกาสได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะซีด • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เนื่องจาก thrombocytopenia จากพยาธิสภาพของโรค หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษา • ผู้ป่วยและครอบครัวมีความกลัว ซึมเศร้า รู้สึกไม่แน่นอน และไม่สามารถปรับตัวกับภาวะวิกฤตของชีวิตได้