1 / 74

เงินแผ่นดินนั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ

เงินแผ่นดินนั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ. พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. www. oag.go.th. ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400. ข้อสังเกตบางประการ/ความเสี่ยง/ข้อพึงระวัง ในการจัดซื้อจัดจ้าง. ที่ สตง. ตรวจพบ. หัวข้อการบรรยาย. โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของ สตง.

lee-chan
Télécharger la présentation

เงินแผ่นดินนั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เงินแผ่นดินนั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  2. www. oag.go.th ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400

  3. ข้อสังเกตบางประการ/ความเสี่ยง/ข้อพึงระวัง ในการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ สตง.ตรวจพบ

  4. หัวข้อการบรรยาย • โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของ สตง. • ลักษณะการตรวจสอบ • ข้อสังเกตจากการตรวจสอบ

  5. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๒

  6. ผู้ตรวจเงินแผ่นดินภาค 14 • สำนักตรวจสอบพิเศษภาค ๑๔ (ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค ๑๔) • กลุ่มตรวจสอบสืบสวน • กลุ่มตรวจสอบพิเศษ • กลุ่มตรวจสอบดำเนินงาน • สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนครศรีธรรมราช • นาง อุดมศรี ทัศนสุวรรณ (ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนครศรีธรรมราช) • สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดกระบี่,จังหวัดตรัง,จังหวัดพัทลุง

  7. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ • เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีแบบแผนการปฏิบัติราชการ • เป็นมาตรการป้องกันการทุจริต

  8. ตรวจสอบการเงินแผ่นดินตรวจสอบการเงินแผ่นดิน 1.ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา การใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินอื่น ของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบ แสดงความเห็นเป็นไปตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี

  9. ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายทรัพย์สิน หรือการจัดซื้อจัดจ้าง ตามแผนงาน งาน โครงการของหน่วยรับตรวจ แสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยประหยัดได้ผลตามเป้าหมายและคุ้มค่าหรือไม่

  10. 2. ตรวจสอบบัญชี และรายงานการ รับจ่ายประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดินประจำปี 3. ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี

  11. 4. ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ และให้ตรวจสอบการประเมินภาษีอากร การจัดเก็บค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นที่หน่วยรับตรวจจัดเก็บ

  12. มาตรา 61 ผู้ว่าการและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา(มีอำนาจสอบสวน)

  13. 1. เรียกผู้รับตรวจเรียกเจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจ เพื่อสอบสวน หรือสั่งให้ส่งมอบบัญชี ทะเบียนเอกสารหลักฐานที่จัดทำขึ้นหรือมีไว้ในครอบครอง มาตรา 42ให้ผู้ว่า หรือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มีอำนาจดังนี้ 2. อายัด เงิน ทรัพย์สิน บัญชี ทะเบียนเอกสาร หรือ หลักฐานอื่นที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ

  14. 3.เรียกบุคคลใดๆ เพื่อมาให้การเป็น พยานหรือให้ส่ง มอบบัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับหน่วยรับตรวจ มาตรา 42 (ต่อ)

  15. 4.มีอำนาจเข้าไปใน สถานที่ใดๆ - ในเวลาทำการ - ในระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจสอบ ค้น ยึดหรือ อายัดบัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่น เพื่ออายัดเงิน หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ หรือสันนิษฐานว่า เกี่ยวกับหน่วยรับตรวจเท่าที่จำเป็น มาตรา 42 (ต่อ)

  16. ไม่มีข้อสังเกต ผลการตรวจสอบ หัวหน้า ส่วนราชการ รายงาน

  17. สตง มีข้อสังเกต (ข้อทักท้วง) รายงาน ส่วนราชการ กระทรวง

  18. มาตรา 44 พิจารณาผล การตรวจสอบ  มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี  มีข้อบกพร่องเนื่องจากกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีไม่เหมาะสม ไม่อาจปฏิบัติได้ หรือปฏิบัติแล้วจะเสียประโยชน์ต่อราชการ

  19.  หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบภายใน 60 วัน  กรณีหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยไม่มีเหตุอันสมควร  กรณีมีข้อโต้แย้งหรือไม่อาจดำเนินการตามมาตรานี้ได้

  20. มาตรา 46พิจารณาผลการตรวจสอบ กรณี  มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ  แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี

  21.  แจ้งผู้รับตรวจ กระทรวงเจ้า สังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ  พนักงานสอบสวนดำเนินการแล้วให้แจ้งให้คตง.ทราบภายในทุก 90 วัน

  22. มาตรา 47พิจารณาผลการตรวจสอบ กรณี  มีความเสียหายเกิดขึ้น เพราะมีผู้กระทำการโดยมิชอบ  สตง. มีอำนาจประเมินความเสียหาย

  23. มาตรา 63 – 65 กรณีที่หน่วยรับตรวจไม่ปฏิบัติตามผลการแจ้งตามรายงานการตรวจสอบ  ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย (ม.63)  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.64)  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.65)

  24. ลักษณะการตรวจสอบ • การตรวจสอบงบการเงิน/การเงินทั่วไป • การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ • การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง • การตรวจสอบการดำเนินงาน • การตรวจสอบสืบสวน

  25. ข้อสังเกตจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง นายภาณุพงศ์ อุตตมะกุล

  26. ลักษณะการตรวจ/ขอบเขตการตรวจลักษณะการตรวจ/ขอบเขตการตรวจ • ตรวจสอบการจัดแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง (ว 97 ลว.19 มี.ค46) ครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000 บาท ,ที่ดิน สิ่งก่อสร้างที่มีราคาเกิน 2 ล้านบาท • ตรวจสอบการดำเนินการ(ก่อนทำสัญญา) ประกวดราคา/สอบราคา

  27. ตรวจสอบการก่อหนี้ผูกพัน ความถูกต้องของสัญญา • ตรวจสอบสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง • ตรวจสอบการใช้ประโยชน์/ในช่วงระยะเวลาประกัน

  28. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง • ไม่ได้จัดทำแผน • จัดทำแผนไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้อง • งานที่ทำไม่ปรากฎในแผนฯ

  29. ข้อสังเกตเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดหาข้อสังเกตเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดหา • การแบ่งซื้อ แบ่งจ้าง • ข้อความในประกาศประกวดราคา/สอบราคาไม่สอดคล้องตรงกันกับเอกสารประกวดฯ/สอบราคา • เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการฯปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ

  30. ไม่จัดส่งประกาศประกวด ให้ สตง. • กำหนดระยะเวลาในการส่ง การขาย ไม่ถูกต้อง • กำหนดเงื่อนไขที่มีลักษณะเป็นการกีดกัน/เอื้อประโยชน์/กำหนดนอกเหนือไปจากที่กำหนด • ต้องมีเครื่องมือ เครื่องจักร เป็นของตนเอง • ต้องมาดูสถานที่

  31. ข้อสังเกตการตรวจสังเกตการณ์ประกวดราคาข้อสังเกตการตรวจสังเกตการณ์ประกวดราคา • ตู้ปิดประกาศไม่เหมาะสม • ผู้ปิด ผู้ปลดประกาศมิได้ปฏิบัติหน้าที่/ไม่มีหลักฐานการปิดการปลด • ไม่มีทะเบียนคุมประกาศประกวดราคา • ประกาศถูกปลดก่อนหรือมิได้ปิดประกาศตั้งแต่วันเผยแพร่ • การปิดประกาศทับซ้อนหรือไม่มีประกาศให้ตรวจสอบ • สถานที่รับซองไม่เหมาะสม • ไม่มีนาฬิกากลาง • คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้อง

  32. มีการรับซองหรือเอกสารเพิ่มเติมจากผู้เสนอราคาภายหลังมีการรับซองหรือเอกสารเพิ่มเติมจากผู้เสนอราคาภายหลัง • คณะกรรมการรับและเปิดซองไม่ยอมรับซองของผู้ยื่นทั้งที่ยังไม่หมดเวลา อ้างว่าผิดเงื่อนไข • คณะกรรมการมิได้ตรวจสอบว่าผู้ยื่นซองเป็นผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ • คณะกรรมการรับฯมิได้บันทึกรายการ การปฏิบัติผิดเงื่อนไขในหมายเหตุของทะเบียนรับซองที่ส่งมอบให้คณะกรรมการพิจารณาผลฯ

  33. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ • ไม่คัดเลือกผู้เสนอราคารายต่ำสุดโดยไม่มีเหตุผลอันควร • มีการรับเอกสารหลังจากหมดเวลายื่นซองแล้ว • ตัวเลขในใบเสนอราคากับบัญชีปริมาณงานไม่ตรงกัน • ตัวเลขกับตัวอักษรไม่ตรงกัน • การยินยอมลดราคา

  34. ตัวอย่างข้อทักท้วงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตัวอย่างข้อทักท้วงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ • หน่วยงาน ก ได้ดำเนินการจัดจ้างถนนลาดยางทางหลวงชนบท • ประกาศประกวดราคาและเอกสารประกวด กำหนดเงื่อนไขว่า • ผู้เสนอราคาจะต้องนำหลักฐานต้นฉบับตัวจริงและสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองเครื่องจักรกลและยานพาหนะมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่

  35. เมื่อถึงกำหนดวันยื่นซองเมื่อถึงกำหนดวันยื่นซอง • บริษัท B เสนอราคา12,380,101บาท โดยมิได้นำหลักฐานต้นฉบับตัวจริงและสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองเครื่องจักรกลและยานพาหนะมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ • ห้างหุ้นส่วนจำกัด A เสนอราคา 14,340,000 บาท

  36. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผล • ตัดสิทธิ์ไม่รับราคาของ บริษัท B ทั้งที่เป็นผู้เสนอราคารายที่ต่ำโดยคณะกรรมการพิจารณาว่า บริษัท B ไม่มีหลักฐานต้นฉบับตัวจริงและสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองเครื่องจักรกลและยานพาหนะมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ • มีการทำสัญญากับ หจก.A วงเงิน 14,340,000 บาท

  37. ข้อทักท้วง ความเห็นของ สตง. • คณะกรรมการพิจารณาผลฯพิจารณาตัดสิทธิ์ บริษัท B ซึ่งเป็นผู้เสนอราคารายต่ำนั้น ไม่ชอบด้วยระเบียบและหนังสือสั่งการ( หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ)1305/7914ลงวันที่ 22 กันยายน 2543 ทำให้ หน่วยงาน ก ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 1,959,899 บาท

  38. เหตุแห่งข้อทักท้วง • หน่วยงาน ก กำหนดเงื่อนไขแตกต่างไปจากที่กำหนด คือจะกำหนดได้เฉพาะตามตัวอย่างตามหนังสือหนังสือกรมการปกครองที่ มท 0318/ว 2935 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2540 เรื่องการกำหนดแบบตัวอย่างเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล เท่านั้น และหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ)1305/7914ลงวันที่ 22 กันยายน 2543 ได้กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ว่า หากมีการกำหนดเงื่อนไขในประกาศโดยมิได้เป็นไปตามหนังสือสั่งการไปแล้ว คณะกรรมการพิจารณาผลจะต้องดำเนินการดังนี้

  39. จะต้องถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วยว่าผู้เสนอราคาที่ผิดเงื่อนไขในเรื่องคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ไม่เป็นไปตามกำหนดนั้นในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าเสนอราคาโดยไม่ตัดผู้เข้าเสนอราคารายนั้นออก

  40. ความเห็นของกรมบัญชีกลางความเห็นของกรมบัญชีกลาง • หน่วยงาน ก จ้างเหมาก่อสร้างวงเงินค่าจ้างสูงขึ้น เป็นเงิน 1,959,899 บาท • เกิดจากการจ้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของทางราชการ พิจารณาให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ • เจ้าหน้าที่พัสดุ/หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ 783,959.60 บาท • คณะกรรมการพิจารณาผลฯ ทั้งห้า 783,959.60 บาท • หัวหน้าส่วนราชการ เป็นเงิน 391,979.80 บาท

  41. การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร(กวพ)1305/ว7286 ลว.20 ส.ค.42 • สอบราคา • กำหนดให้ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอเอกสารหลักฐานยื่นมาพร้อมกับซองใบเสนอราคา โดยแยกไว้นอกซองใบเสนอราคาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เอกสารแสดงคุณสมบัติ ตามระเบียบ ข้อ 15 ,ส่วนที่ 2 เอกสารอื่นๆ ตามระเบียบ ข้อ 40 • กำหนดวันเปิดซอง กำหนดให้เป็นวันหนึ่งวันใดหลังจากการปิดรับซองและในการกำหนดวันเปิดซองต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่คณะกรรมการใช้สำหรับตรวจสอบคุณสมบัติ

  42. หัวหน้าพัสดุส่งมอบเอกสารทั้งหมดให้คณะกรรมการรับและเปิดซองหัวหน้าพัสดุส่งมอบเอกสารทั้งหมดให้คณะกรรมการรับและเปิดซอง • ก่อนการเปิดซองใบเสนอราคา ให้คณะกรรมการเปิดซอง ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่า มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นหรือไม่ • ตรวจเสร็จ ประกาศ • เมื่อถึงกำหนดเปิด ให้เปิดเฉพาะรายที่ประกาศ

  43. ประกวดราคา • คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคามีหน้าที่ส่งมอบเอกสารส่วนที่ 1 ให้คณะกรรมการพิจารณาผล เพื่อคณะกรรมการพิจารณาผลฯตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นหรือไม่โดยที่คณะกรรมการรับและเปิดซองยังคงรักษาเอกสารส่วนที่ 2 และซองใบเสนอราคา • คณะกรรมการพิจารณาผลฯตรวจสอบว่าแต่ละรายมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ /ประกาศและส่งเอกสารส่วนที่ 1 คืนให้แก่คณะกรรมการรับและเปิดซอง • คณะกรรมการรับและเปิดซองมีหน้าที่เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะของผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก

  44. การซื้อที่ดิน • ให้มีราคาประเมินของทางราชการ และ • ราคาที่เคยมีการซื้อขายจริง มาเปรียบเทียบ และ • ให้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง

  45. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการก่อหนี้ผูกพัน/ สัญญา • การจัดทำสัญญาไม่เป็นไปตามระเบียบ • การส่งสำเนาสัญญาให้ สตง.ล่าช้า/ไม่ส่ง • การต่ออายุสัญญา/การขยาย/การลด/การงดค่าปรับ • การกำหนดอัตราค่าปรับ • การกำหนดระยะเวลาของงานแล้วเสร็จ • การปิดอากรแสตมป์/ตราสาร • เอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

  46. ข้อสังเกต เกี่ยวกับการควบคุมงาน/การตรวจรับงาน • การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง • การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน • การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการ

  47. ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ ตาม ข้อ.๗๓ • ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานนั้นๆทุกวัน • เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา • เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่าง • กรณีผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตาม สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อนจนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที

  48. 2.ในกรณีที่ปรากฎว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดีหรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว

  49. 3. จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานหรือการหยุดงานและสาเหตุอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวดโดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การจดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย

  50. 4.ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ

More Related