1 / 14

การศึกษาจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Yoghurt)

การศึกษาจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Yoghurt). นำเสนอโดย นางสาว ซูไฮดา กะโด รหัส 404652014 โปรแกรมวิชา ชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13.

leif
Télécharger la présentation

การศึกษาจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Yoghurt)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Yoghurt) นำเสนอโดย นางสาว ซูไฮดา กะโด รหัส 404652014 โปรแกรมวิชา ชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13

  2. โยเกิร์ตเป็นอาหารที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง เป็นแหล่งสำคัญที่ให้วิตามินบีต่าง ๆ และวิตามินประเภทละลายในไขมันหลายชนิด จึงถือได้ว่ามีความสำคัญเหนือนม เพราะว่าโยเกิร์ตสามารถสังเคราะห์แบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ได้ และสามารถฆ่าแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้หลายชนิด รวมทั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม โยเกิร์ต คืออะไร • โยเกิร์ต มีคำจำกัดความ หมายถึง น้ำนมโค หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำนมโคที่เพาะด้วยเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งนี้อาจเติมวัตถุอื่นที่จำเป็นต่อกรรมวิธีการผลิตหรืออาจปรุงแต่งสีและรสด้วยก็ได้ และประกอบด้วยมาตรฐานอื่นๆ อีก • ส่วนความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์การอาหาร โยเกิร์ต หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักของนมโดยมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์หรือยีสต์ลงไปเพื่อหมักให้เกิดกรดแลคติค ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีรสเปรี้ยวแต่จะมีกลิ่นเฉพาะตัวตามแต่เชื้อที่ใช้ แบ่งได้เป็น 2ประเภท • โยเกิร์ตชนิดครีม(Cream Yoghurt)เป็นนมเปรี้ยวที่ทำจากนมเกือบ 100 % ( Natural Yoghurt )ถ้าเป็นแบบเติมผลไม้( Flavoured Yoghurt ) • โยเกิร์ตพร้อมดื่ม (Drinking Yoghurt) เป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ทำจากโยเกิร์ตชนิดครีมผสมด้วยน้ำผลไม้

  3. แหล่งกำเนิด โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมหมักซึ่งมีแหล่งกําเนิดในแถบยานภูเขาคอเคซัสตุรกี เกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและ กลุ่มประเทศตะวันออกบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ต่อมาโยเกิร์ตจึงแพร่ไปสหรัฐอเมริกา ยุโรป และทั่วโลกซึ่งชนเผ่าที่มีอายุยืนมากที่สุดจากการบริโภคโยเกิร์ตนี้อยู่ในประเทศ บัลแกเรีย โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 100กว่าปี นับว่ามีอายุยืนมาก จุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Microbiology of natural yoghurt) การเจริญของจุลินทรีย์เป็นปัจจัยหนึ่งในการศึกษากรรมวิธีการผลิตโยเกิร์ต ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญของเชื้อ ตลอดจนเรียนรู้หาอัตราการเจริญ และเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อ สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิต การแยกเชื้อจุลินทรีย์นี้ก็เป็นขั้นตอนแรกของการคัดเลือกเชื้อ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการหมัก ซึ่งในบางกรณีก็สามารถใช้วิธีง่าย ๆ ในการแยกเชื้อ แต่ในบางกรณีก็ต้องใช้วิธีการสุ่มแยกเชื้อ ต่อจากนั้นก็นำมาทดสอบความสามารถในการสร้างผลผลิตที่ต้องการ หลังจากแยกเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ก็นำมาคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะในการผลิตโยเกิร์ต จากนั้นก็นำเชื้อที่คัดเลือกสายพันธุ์แล้วมาเข้าสู่วิธีการทำโยเกิร์ตต่อไป

  4. ส่วนจุลินทรีย์ที่เป็นหัวใจสำคัญในการผลิตโยเกิร์ต คือ Lactobacillus bulgaricusและ Streptococcus thermophilusโดย Streptococcus sp.เป็นจุลินทรีย์ที่หมักน้ำนมแล้วเกิดกลิ่นคล้ายกับครีมเนยในโยเกิร์ต โดย Streptococcus sp.จะช่วยกำจัดออกซิเจนออกจากนม ถ้าหากมีออกซิเจนเหลืออยู่อาจก่อให้เกิดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษต่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในโยเกิร์ตในขบวนการหมัก Streptococcus sp.จะผลิตกรดออกมา ทำให้ PHของน้ำนมเปลี่ยนไปอยู่ในสภาวะกรดอ่อน ๆ จุลินทรีย์ชนิดนี้จะเจริญจนช่วง PH 5.5 PHในช่วงนี้จะเหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์ Lactobacillus bulgaricus ความสำคัญของจุลินทรีย์ การผลิตผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของแบคทีเรีย ได้แก่ • การผลิตกรดแล็กติก ใช้วัตถุดิบพวกแป้งข้าวโพด มันฝรั่ง กากน้ำตาล หางนมที่ได้จากอุตสาหกรรมนม ถ้าวัตถุดิบเป็นแป้งจะถูกย่อยเป็นกลูโคสก่อนด้วยกรดหรือเอนไซม์ ชนิดของแบคทีเรีย ที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เช่น ใช้เชื้อ L. bulgaricusเมื่อใช้หางนมเป็นวัตถุดิบ บางครั้งอาจต้องเติมสารประกอบไนโตรเจนหรือสารอื่นเพื่อช่วยให้เชื้อเจริญได้ดี ระหว่างการหมักจะเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล็กติกให้เป็นกลาง ได้แคลเซียมแล็กเตต หลังจากนั้นจึงแยกแคลเซียมแล็กเตตออกมาและทำให้เข้มข้นขึ้น ก่อนที่จะทำความรู้จักกับการคัดเลือกแบคทีเรียแลคติคเพื่อใช้เป็นเชื้อเริ่มต้นและจุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำโยเกิร์ตนั้น เรามาดูภาพตัวอย่างจากจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตกันก่อน

  5. นี่คือจุลินทรีย์แล็คโตบาซิลัส ที่หลาย ๆ คน กินกันเป็นประจำจากผลิตภัณฑ์ของนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

  6. การคัดเลือกแบคทีเรียแลคติคเพื่อใช้เป็นเชื้อเริ่มต้นการคัดเลือกแบคทีเรียแลคติคเพื่อใช้เป็นเชื้อเริ่มต้น ใช้เกณฑ์จาก อัตราการผลิตกรด ความสามารถในการผลิตสารโพลีแซคคาไรด์ ลักษณะการย่อยโปรตีน (เนื่องจากอาจทำให้เกิดสารเปปไทด์ที่มีรสขม) การผลิตสารให้กลิ่น การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แบคทีเรียแลคติคที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์นมหมัก ที่นิยมใช้กัน อาจแบ่งออกได้เป็น 2กลุ่มใหญ่ คือ • S.thermophilusและ L. bulgaricus • Bifidobacteriaและ Lactobacilii สรุปลักษณะของหัวเชื้อโยเกิร์ตได้ • เชื้อ Streptococcus thermophilusมีกิจกรรมสูงในการปล่อยกรดแลคติคในช่วงแรกของการหมัก ดังนั้นถ้าสามารถคัดเลือกเชื้อสายพันธุ์นี้ให้สามารถสร้างกรดได้อย่างรวดเร็วจะทำให้สามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการหมักให้น้อยลง • สารอื่นๆ ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของเชื้อ นอกจากกรดแลคติดแล้วยังมีสารที่มีความสำคัญต่อการสร้างกลิ่นรส ( aroma and flavor )ของโยเกิร์ตซึ่งสารประกอบเหล่านี้ได้จากหัวเชื้อทั้งสองสายพันธุ์ จึงจำเป็นต้องให้เชื้อทั้งสอบชนิดนี้เจริญในสัดส่วนที่สมดุลกัน การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของการหมักโยเกิร์ต (biochemistry of yoghurt fermentation)แนวทางการเปลี่ยนแปลง ( metabolic pathway)ที่เกิดขึ้นในจุลินทรีย์ ประกอบด้วยปฏิกิริยาหลายชนิด ซึ่งควบคุมโดยเอนไซม์ชนิดต่างๆ กันการย่อยสลายสารอาหารที่มีอยู่ในอาหาร

  7. เลี้ยงเชื้อพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และสารอื่นๆ ให้มีโมเลกุลที่เล็กลง ก็จัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อจึงมีส่วนสำคัญต่อการเจริญและแบ่งตัวของหัวเชื้อ Streptococcus thermophilusและ Lactobacillus bulgaricusรวมทั้งกลิ่นรสและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นโดยหัวเชื้อทั้งสองนี้ย่อมนำไปสู่การผลิตโยเกิร์ตที่มีคุณภาพสูง ในทีนี้จะพิจารณาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเท่านั้น ประโยชน์ของโยเกิร์ตต่อสุขภาพ • แบคทีเรียแลคติคผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลกติค • โยเกิร์ตรักษาอาการท้องเสียและท้องเดิน • โยเกิร์ตช่วยยกระดับภูมิคุ้มกันโรค • ช่วยป้องกันมะเร็ง • โยเกิร์ตช่วยรักษาแผลในกระเพาะ • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ • ช่วยบำรุงผิวพรรณ • โยเกิร์ตอุดมด้วยวิตามินบี1, บี2, บี3, บี6และบี12 อีกทั้งยังมีวิตามินอี วิตามินดี วิตามินเอ และแคโรทีน • เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียมที่มีคุณภาพ • ช่วยในการขับถ่ายได้ดี • โยเกิร์ตใช้ทดแทนในคนที่ไม่สามารถดื่มนมสดได้

  8. การแบ่งประเภทของโยเกิร์ตการแบ่งประเภทของโยเกิร์ต • แบ่งตามมาตรฐานกฎหมาย ( legal standards) • “full”สูงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ • “medium ”ประมาณ 3-0.5เปอร์เซ็นต์ • “low”ต่ำกว่า 0.5เปอร์เซ็นต์ 2. แบ่งตามกรรมวิธีการผลิต • Set Yoghurtเป็นโยเกิร์ตที่บรรจุทันทีหลังจากมีการเติมจุลินทรีย์ แล้วให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยากันในขณะที่อยู่ในภาชนะที่บรรจุ ลักษณะมวลที่ตกตะกอน ( coagulum )ที่ได้มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว พอได้ที่แล้วทำให้เย็นพร้อมที่จะจัดจำหน่าย • Stirred Yoghurtเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักในถังจนได้ที่ จากนั้นนำมาทำให้มวลที่ตกตะกอน ( coagulum )แตกหรือแยกกันก่อนที่จะทำให้เย็นแล้วบรรจุ 3. แบ่งตามลักษณะกลิ่นและรส • โยเกิร์ตชนิดธรรมดา(plain หรือ Natural Yoghurt)เป็นโยเกิร์ตที่ผลิตได้ตามวิธีดั้งเดิม มีรสเปรี้ยว เป็นโยเกิร์ตธรรมดาที่ไม่มีการเติมแต่งกลิ่นรสหรือผลไม้ลงไป • โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยผลไม้(fruit Yoghurt)โยเกิร์ตชนิดนี้จะได้จากการเติมผลไม้ต่างๆ และสารให้ความหวานลงไปใน Natural Yoghurt

  9. โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยสารสังเคราะห์ (flavoured yoghurt)ได้จากการเติมกลิ่นรสและสีแทนส่วนของผลไม้ ซึ่งอาจแบ่งได้อีก 2แบบ คือ • แบบสวิสซึ่งเป็นโยเกิร์ตที่มีเนื้อผลไม้ผสมรวมกระจายอยู่ในเนื้อโยเกิร์ต มีการปรุงแต่งสี เนื้อ ให้เกิดรสชาติที่ดีและสวยงาม • แบบซันเด จะมีเนื้อผลไม้อยู่บริเวณก้นภาชนะ เช่น ส้ม สับปะรด สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล ลูกพีช เวลารับประทานจะต้องคนให้เนื้อผลไม้และโยเกิร์ตเข้ากันเสียก่อน จากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต จึงทำให้โยเกิร์ตที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีมากหลายชนิด 1. โยเกิร์ตชนิดฆ่าเชื้อแล้วแบบชั่วคราวและเก็บได้นาน (Pasterized/UHT) 2. โยเกิร์ตชนิดสลายน้ำตาลแลกโตส(Lactose hydrolysed yoghurt-LHT) 3. โยเกิร์ตชนิดเหลว(Drinking yoghurt) 4. โยเกิร์ตชนิดแช่แข็ง(Frozen yoghurt) 5. โยเกิร์ตชนิดเข้มข้น(Concentrated yoghurt) • โยเกิร์ตชนิดอัดลม(Carbonated yoghurt) 7. โยเกิร์ตทำเป็นเครื่องดื่ม(Yoghurt beverages) • โยเกิร์ตชนิดผงชงดื่มได้(Instant yoghurt) 9. โยเกิร์ตสำหรับผู้ควบคุมอาหาร(Dietetie yoghurt) 10. โยเกิร์ตนมถั่วเหลือง (Soy-milk yoghurt)

  10. นมโคสดหรือน้ำนมดิบ นมผงขาดมันเนย น้ำตาลทราย สีและกลิ่น stater cuitureได้เเก่ เชื้อเเบคทีเรียพวก lactic acid bacteria เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่Lactobacillus bulgaricusและStreptococcusthermophilus เตาเเละหม้อ เพื่อใช้อุ่นนมให้ร้อน ตู้บ่มเชื้อ( incubator)หรืออ่างน้ำ ( water bath )ซึ่งปรับอุณหถูมิเท่ากับ 45องศาเซลเซียส อุปกรณ์ทดสอบปริมาณกรดเเลคติกในนม ได้แก่ บิวเรต ,0.1N NaOHเเละ 0.1% phenolpthalein สารช่วยให้คงตัว เป็นสารที่ทำให้โยเกิร์ตที่ได้มีความหนืดและคงตัวตามต้องการ ผลไม้ที่ใช้ผสม(ถ้ามี) ภาชนะที่บรรจุ การทำโยเกิร์ตวัสดุเเละอุปกรณ์

  11. กรรมวิธีในการผลิตโยเกิร์ตกรรมวิธีในการผลิตโยเกิร์ต • น้ำนมสด • ฆ่าเชื้อด้วยวิธีพาสเจอร์ไรซ์เซชั่น อุณหภูมิประมาณ 70-80องศาเซลเซียส • เก็บที่อุณหภูมิตู้เย็น ประมาณ 4-10องศาเซลเซียส • ทิ้งให้อุณหภูมิลดลงประมาณ 40-44 องศา • เติมแบคทีเรียแลคติคลงไป • บ่มที่ 40-44 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-5ชั่วโมง จนเกิดเป็นก้อนนิ่มๆ • พร้อมที่จะบริโภคได้ การเก็บรักษาคุณภาพโยเกิร์ต ( Keeping qualities) ปกติโยเกิร์ตจะมีอายุการเก็บประมาณ 10 วัน เมื่อเก็บที่อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นปริมารกรดในโยเกิร์ตจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากกิจกรรมของหัวเชื้อที่มีอยู่ในโยเกิร์ตนั่นเอง แม้ว่ากิจกรรมของหัวเชื้อดังกล่าวจะต่ำมากก็ตาม ปริมาณกรดที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้กลิ่นรสของโยเกิร์ตเปลี่ยนแปลงไปและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สุดท้ายหัวเชื้อแบคทีเรียจะถูกทำลายและโยเกิร์ตจะเกิดการแยกชั้นของ curdและ wheyซึ่งมีผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น ยีสต์และราเจริญได้ ดังนั้นในการผลิตจึงควรระมัดระวังในเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อราและยีสตืในหัวเชื้อโยเกิร์ต รวมทั้งในระหว่างการบรรจุด้วย

  12. การปรับปรุงคุณภาพโยเกิร์ตให้เก็บได้นานการปรับปรุงคุณภาพโยเกิร์ตให้เก็บได้นาน โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุสั้น นอกจากจะเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิต่ำ แต่ในการผลิตอาจจะใช้วิธีการดังต่อไปนี้ช่วยยืดอายุของโยเกิร์ตได้ดังนี้ 1. การทำพาสเจอร์ไรซ์โยเกิร์ต เพื่อลดจุลินทรีย์ประเภท ยีสต์ รา และแบคทีเรีย การทำพาสเจอร์ไรซ์ทำได้ 2 วิธี • การให้ความร้อนต่ำและเวลานาน • การให้ความร้อนสูง • ทำการแช่แข็ง วิธีนี้เหมาะกับโยเกิร์ตคนสำเร็จ • ผลิตโยเกิร์ตจากกรดสังเคราะห์ อาจจะใช้กรดสังเคราะห์เพียงบางส่วนหรือใช้กรดแลคติคโดยตรง การผลิตอาหาร อาหารและเครื่องดื่มหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ ซึ่งมนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานแล้ว อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermentedfood)เช่น กะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง ไส้กรอก เกิดจากการกระทำของแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก เป็นส่วนใหญ่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติบนอาหารหรือเราตั้งใจใส่เชื้อนั้นลงในอาหาร • ผลิตภัณฑ์นมหมัก(fermented milk)เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เนยแข็ง เชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติกจะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติก ทำให้อาหารมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น

  13. ลักษณะของโยเกิร์ตที่ดีลักษณะของโยเกิร์ตที่ดี • เคิร์ดของนมเปรี้ยวต้องเป็นเคิร์ดที่แข็งแกร่งไม่อ่อนเหลว • เคิร์ดของนมเปรี้ยวต้องไม่หดตัวเป็นก้อนแยกอยู่ต่างหาก • นมเปรี้ยวต้องไม่เปรี้ยวเกินไป • นมเปรี้ยวต้องมีกลิ่นอโรมาเฉพาะ • นมเปรี้ยวต้องไม่มีรสฝาด รสขม หรือรสอื่นใด การเลือกซื้อนมเปรี้ยวโยเกิร์ต • สิ่งแรกสุดและสำคัญยิ่งคือ จะต้องดูวันหมดอายุ ซึ่งพิมพ์ไว้บนภาชนะบรรจุ • ดูสภาพภาชนะบรรจุว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยหรือไม่ มีรอยรั่ว รอยบุบหรือไม่ ถ้ามีหรือสภาพไม่ดีก็ไม่ควรซื้อเพราะจะทำให้เป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ • น้ำหนัก ปริมาตร ส่วนประกอบที่ใช้ผลิตซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อควรสังเกตดู • หากเป็นนมเปรี้ยวชนิดครีม จะต้องมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ไม่แยกชั้นระหว่างนมกับน้ำ • นมเปรี้ยวชนิดพร้อมดื่มไม่ควรมีตะกอนที่ก้นขวด เพราะอาจเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมก่อนนำมาขาย วัยที่เหมาะจะรับประทานนมเปรี้ยวโยเกิร์ต นมเปรี้ยวโยเกิร์ตนั้นเหมาะสำหรับ การบริโภคในทุกวัยโดยเฉพาะ เพศหญิง เพื่อให้ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมและยังมีประโยชน์สำหรับ กลุ่มคนที่ไม่สามารถดื่มนมได้ตามปกติด้วย

  14. THE END

More Related