1 / 121

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การบรรยายเรื่อง แนวทางการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. โดย นายอุทิศ บัวศรี เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 8. กรอบการบรรยาย.

lev-abbott
Télécharger la présentation

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การบรรยายเรื่อง แนวทางการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดย นายอุทิศ บัวศรี เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 8

  2. กรอบการบรรยาย • บทบาทหน้าที่ขององค์กรของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ • หลักการใช้อำนาจรัฐ • การใช้อำนาจรัฐโดยทุจริต • ผลกระทบของการใช้อำนาจรัฐโดยทุจริต • การกำหนดให้การใช้อำนาจรัฐ โดยทุจริตเป็นความผิด • มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต • สถานการณ์การทุจริต • แนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ • แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

  3. 1. บทบาทหน้าที่ขององค์กรของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  4. ภารกิจของรัฐที่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะภารกิจของรัฐที่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ - การใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของเอกชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม - การให้บริการสาธารณะสนองตอบความต้องการของสังคม ในเรื่องที่เอกชนไม่สามารถให้บริการตอบสนองได้

  5. แนวความคิดพื้นฐาน : ประโยชน์สาธารณะ - รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดูแลรักษา ประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ - แต่ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนไม่สอดคล้องกับ ประโยชน์สาธารณะจะต้องให้ประโยชน์สาธารณะอยู่เหนือ ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน

  6. ประเภทที่มาและระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทที่มาและระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฝ่ายการเมือง เลือกตั้ง 4 ปี ฝ่ายประ แต่งตั้ง เกษียณอายุ,ตามสัญญาจ้าง

  7. “เจ้าหน้าที่ของรัฐ”หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่หรือพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจ หรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และกิจการอื่นของรัฐ (พ.ร.บ.ปปช.ม.4)

  8. ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับรัฐความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับรัฐ สถานะของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีความสัมพันธ์กับรัฐ 2 สถานะ สถานะหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำงานให้กับรัฐหรือตัวแทนของรัฐ กับอีกสถานะหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นเอกชนคนหนึ่ง

  9. 2. หลักการใช้อำนาจรัฐ

  10. ข้อแตกต่างของการใช้อำนาจของเอกชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐข้อแตกต่างของการใช้อำนาจของเอกชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เอกชน:สิทธิเสรีภาพของบุคคลเป็นหลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ เป็นข้อยกเว้น หรือไม่มีกฎหมายห้ามไว้ย่อมทำได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ:เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจ แก่ฝ่ายบริหารที่จะดำเนินการดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้งใน เรื่องที่กฎหมายไม่ให้อำนาจไว้จะกระทำการนั้นมิได้ และ ในเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจต้องใช้อำนาจนั้นในทางที่เป็น ประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด โดยจำกัดสิทธิและ เสรีภาพหรือสร้างภาระแก่ประชาชนน้อยที่สุดด้วยหรือ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจทำไม่ได้

  11. ธรรมชาติของการใช้อำนาจธรรมชาติของการใช้อำนาจ • บุคคลใดก็ตามซึ่งมีอำนาจมักใช้อำนาจนั้นเกินเลยอยู่เสมอ และจะใช้อำนาจนั้นจนกว่าจะถึงขีดจำกัดเท่าที่ตน จะใช้อำนาจได้ (มงเตสกิเยอ) • เมื่อมีอำนาจก็อยากจะใช้อำนาจไปในทางที่ผิด และเมื่อมี อำนาจมากก็ยิ่งใช้อำนาจไปในทางที่ผิดมากขึ้น (Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely) (ลอร์ด แอคตัน)

  12. 3. การใช้อำนาจโดยทุจริต

  13. การทุจริตต่อหน้าที่หมายความว่า ปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่า มีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้นหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น (พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4)

  14. คำว่า “การทุจริตต่อหน้าที่”หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Corruption”ความหมายของการคอร์รัปชันที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ “การใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว”(Cray Raufunann, 1998 Jayawickrama, 1998 Bardhan, 1977)คำนิยามดังกล่าวชี้ให้เห็นชัดว่าการคอร์รัปชันนั้นเกิดจากการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่มิใช่อำนาจส่วนบุคคลแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว

  15. รูปแบบการคอร์รัปชัน รูปแบบของการคอร์รัปชันของแต่ละองค์กร มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ขององค์กรนั้น

  16. 4. ผลกระทบของคอร์รัปชัน

  17. 5. การกำหนดให้การใช้อำนาจรัฐโดยทุจริตเป็นความผิด พฤติกรรมที่เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าทีในการการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น

  18. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต(1) ป.อ. มาตรา 147 – 166 , 200 – 205 (2) พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123

  19. ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดทางวินัยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 98 วรรคสอง

  20. ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงินความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน

  21. รายละเอียดของกฎหมายแต่ละฉบับรายละเอียดของกฎหมายแต่ละฉบับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 – 166(ดูรายละเอียดในเอกสารประกอบการบรรยาย)

  22. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

  23. หลักการและเหตุผล • การสมยอมกันเสนอราคาหรือการร่วมกันกำหนดราคาสินค้าและบริการ ได้แก่การที่ผู้ประกอบการ ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ทำความตกลงกันที่จะหยุดการแข่งขันในการเสนอราคาทำให้เกิดผลในทางเศรษฐศาสตร์ คือ • ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าและบริการในราคาที่สูงขึ้นเพราะเป็นผลจาการแสวงหากำไรเกินปกติ • ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการมาบริโภคได้เพราะราคาสูงเกินไป เนื่องจากอุปทานในท้องตลาดลดลง • มีการชะลอนวัตกรรม เนื่องจากไม่มีแรงกดดันจากการแข่งขัน • การจำกัดการแข่งขันวิธีนี้ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ทุกประเภท บัญญัติให้เป็นความผิดที่ร้ายแรงที่สุดในเชิงเศรษฐกิจ เพราะไม่มีเหตุผลทางประสิทธิภาพใด ๆ ที่จะอธิบายพฤติกรรมดังกล่าวในทางเศรษฐศาสตร์ ส่วนในทางกฎหมายจะถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำผิดกฎหมายในตัวเอง

  24. ความสัมพันธ์ของบุคคล 3 ฝ่าย ให้การสนับสนุนทางตำแหน่ง • เพื่อประโยชน์และ อำนาจของตนเอง • เพื่อเลื่อนตำแหน่ง • หาเงินเข้าพรรค • เพื่อประโยชน์และการสร้างฐานอำนาจ นักการเมือง ข้าราชการ ปัญหา การทุจริต ให้ความช่วยเหลือเพื่อได้โครงการของรัฐ ให้ความช่วยเหลือเพื่อได้โครงการของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงิน ให้การสนับสนุนทางการเงิน นักธุรกิจ • ผูกขาดในธุรกิจ -หาผลประโยชน์และความร่ำรวย • รักษาธรรมเนียมประเพณี

  25. อัตราสินบนที่นักธุรกิจต้องจ่ายให้กับนักการเมืองและข้าราชการอัตราสินบนที่นักธุรกิจต้องจ่ายให้กับนักการเมืองและข้าราชการ • โครงการจัดจ้าง ๑๐ - ๒๐% ของโครงการจัดจ้าง • โครงการจัดซื้อ ๕ - ๑๐ % ของงบประมาณจัดซื้อ ทำให้นักธุรกิจทราบต้นทุนที่แน่นอน มีคุณภาพแน่ชัด

  26. หน่วยราชการระดับท้องถิ่น อัตราสินบนไม่แน่นอนและสูงกว่าร้อยละ 20 • กระทบต่อคุณภาพสินค้า • ทำให้คิดจัดทำโครงการที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

  27. ดังนั้น จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายฉบับนี้ เพื่อ • การจัดหาสินค้าและบริการ รวมทั้งการให้สิทธิด้วย ต้องกระทำอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ • กำหนดให้การสมยอมเสนอราคาเป็นความผิดอาญา • กำหนดลักษณะความผิดและกลไกการดำเนินการเอาผิด • มีทั้งสิ้น 16 มาตรา • กำหนดพฤติกรรมที่เป็นความผิดและบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 4 – 13 • มาตรา 4 - 9 ผู้ประกอบการ • มาตรา 10 - 12 เจ้าหน้าที่ของรัฐ • มาตรา 13 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  28. ความเป็นมาของ กฎหมายฮั้ว

  29. ยุคที่ ๑ เสรีภาพในการฮั้ว คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗/๒๕๐๑ การฮั้วเป็น พาณิชนโยบาย เป็นอิสระที่บุคคลสามารถกระทำได้

  30. ยุคที่ ๒ การฮั้วขัดต่อความสงบเรียบ ร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๒๒/๒๕๑๙ (ประชุมใหญ่) การฮั้วกัน เป็นการร่วมกันบีบบังคับเอาเงินของรัฐ โดยไม่สุจริต ข้อตกลงฮั้วกันตกเป็นโมฆะ

  31. ยุคที่ ๓ การฮั้วกันเป็นความผิดอาญา พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดให้การฮั้วกัน เป็นความผิดที่มีโทษในทางอาญา

  32. ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 กับระเบียบพัสดุ หากฝ่าฝืน 1. วินัย 2. อาญา 2.1 ประมวลกฎหมายอาญา 2.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

  33. การกระทำซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (ดูเอกสารประกอบการบรรยาย)

  34. 6. มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันการทุจริต ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง การกำหนดคุณสมบัติเพื่อป้องกันการทุจริตโดยต้องไม่เคยกระทำการทุจริต

  35. มาตรการป้องกันการทุจริตระหว่างดำรงตำแหน่งมาตรการป้องกันการทุจริตระหว่างดำรงตำแหน่ง - พ.ร.บ. ป.ป.ช. ม. 103 - การยื่นบัญชีทรัพย์สิน - การห้ามมีส่วนได้เสีย - ต้องกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่ชอบอาจถูกเพิกถอนโดยศาลปกครอง - การบริหารพัสดุต้องดำเนินการตามระเบียบ - การใช้อำนาจทางปกครองต้องอยู่ภายใต้กรอบของ พ.รบ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ.2539 โดยเฉพาะเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง - การปฏิบัติหน้าที่ต้องอยู่ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

  36. มาตรการป้องกันการทุจริตหลังพ้นจากตำแหน่งมาตรการป้องกันการทุจริตหลังพ้นจากตำแหน่ง - พ.ร.บ. ป.ป.ช. ม.103 - การยื่นบัญชีทรัพย์สิน

  37. หากมีการทุจริตเกิดขึ้นจะต้องใช้มาตรการปราบปราม การทุจริต ทางอาญา - ประมวลกฎหมายอาญา ม.147 - 166 - พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 - พ.ร.บ. ป.ป.ช. ม. 123

  38. ทางวินัย การทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง

  39. ทางแพ่ง หากกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงต่อบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายหรือหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

  40. การให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินการให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน - กรณีร่ำรวยผิดปกติ ตามกฎหมาย ป.ป.ช. - กรณีความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน

  41. โทษปรับทางปกครอง ข้าราชการ อาจรับโทษทางปกครอง หรือโทษปรับโดยการหักเงินเดือนหรือค่าจ้าง กรณีจงใจฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ.2544 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2544

  42. องค์กรและกลไกที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตองค์กรและกลไกที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้บังคับบัญชา

  43. คณะกรรมการ ป.ป.ช. 1) ด้านป้องกัน - ระบบ - บุคคล ปรับทัศนคติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม - การกำหนดมาตรการป้องกันการขัดกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ ส่วนรวม 2) ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน

  44. ด้านปราบปราม อำนาจหน้าที่ ไต่สวนวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม สอบสวนข้อเท็จจริง และสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายฮั้ว

  45. การไต่สวนข้อเท็จจริง - ช่องทางส่งเรื่อง มีช่องทาง คือ มีผู้เข้าชื่อถอดถอน มีผู้กล่าวหา พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุอันควรสงสัย - คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจดำเนินการไต่สวนเองตั้งคณะอนุกรรมการมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ - ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนดำเนินการ หรือให้พนักงานสอบสวน ตาม ป.วิอาญา

  46. การดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. 1. ทางวินัย 1.1 รายงานและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย (ม.92) 1.2 ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภายใน 30 วัน และแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายใน 15 วัน (ม.93) 1.3 ผู้บังคับบัญชาไม่ดำเนินการตามมาตรา 93 ให้ถือว่ากระทำความผิดวินัย (ม.94) 1.4 ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 93 ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดุลยพินิจในการสั่งโทษ ภายใน 30 วัน นับแต่วันลงโทษ (ม.96) 1.5 องค์กรอุทธรณ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความผิดทางวินัยตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยยุติแล้วให้เป็นประการอื่น ได้อีก (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/46) 1.6 พ้นจากตำแหน่งไปก่อนไต่สวนแล้วเสร็จ สั่งลงโทษย้อนหลังได้ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จ ที่ 547/46) 1.7 ต้นสังกัดสั่งลงโทษไปแล้ว แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้วเสร็จภายหลัง ส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษได้อีก ไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อน (คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 32/47) 1.8 มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง (คำสั่งไม่รับฟ้องผู้ถูกฟ้องบางรายไว้พิจารณา ศาลปกครองกลางคดี หมายเลขดำที่ 423/2546)

  47. การดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยว่า ร่ำรวยผิดปกติ ให้สั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออกโดยให้ถือว่า กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ (ม.80(4))

  48. 2. ทางอาญา อัยการไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง (ม.97) 3. การให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ 4. การยกเลิกเพิกถอนสิทธิ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานดำเนินการขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิก หรือเพิกถอนสิทธิ หรือเอกสารสิทธิ

  49. สำนักงานตำรวจแห่งชาติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (1) รับเรื่องส่งให้ ป.ป.ช. (2) สอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา กรณีทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้ (3) สอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญากรณีไม่ยื่น ยื่นเท็จ หรือปกปิด ซึ่งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (4) สอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และอำนาจที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

  50. กรมสอบสวนคดีพิเศษ - รับคดีฮั้วที่มีมูลค่า 100 ล้านบาท ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. - รับคดีเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. - สอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ดำเนินการ

More Related