1 / 41

วิวัฒนาการของมนุษย์ และเทคโนโลยีการเกษตร

วิวัฒนาการของมนุษย์ และเทคโนโลยีการเกษตร. วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน

levine
Télécharger la présentation

วิวัฒนาการของมนุษย์ และเทคโนโลยีการเกษตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิวัฒนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีการเกษตรวิวัฒนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีการเกษตร 400110_Nathitakarn Pinthukas

  2. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต • วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน • การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด อันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม 400110_Nathitakarn Pinthukas

  3. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต • หลังจากสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นบนโลก  สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง  เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural  selection) จนได้สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างต่างกัน จากสิ่งมีชีวิตง่ายๆ วิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่สลับซับซ้อน กลายเป็นพืช สัตว์ และมนุษย์  • สิ่งมีชีวิตที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จะค่อยๆ ตายและสูญพันธุ์ เหลือเพียงแต่สิ่งมีชีวิตที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้    400110_Nathitakarn Pinthukas

  4. วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร?วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร? •  ความแตกต่างทางพันธุกรรม • สิ่งมีชีวิตเดียวกันมีลักษณะร่วมเหมือนกัน แต่ในแต่ละหน่วยจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ไม่มีหน่วยใดเหมือนกันทุกประการ นกพันธุ์เดียวกันอาจมีลักษณะร่วมเหมือนกัน แต่ไม่มีตัวไหนเหมือนกันทุกประการ •  การคัดเลือกตามธรรมชาติ • ในหมู่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยนั้น ตัวที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมขณะนั้นได้มากกว่าจะอยู่รอด และแพร่พันธุ์ต่อไปได้มากกว่า ส่วนตัวที่ลักษณะไม่เหมาะสมจะตาย หรือมีโอกาสสืบพันธุ์ได้น้อยลง เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นก็จะเหลือแต่พวกที่มีลักษณะเหมาะสมและเกิดลักษณะร่วมที่เด่นชัดขึ้น 400110_Nathitakarn Pinthukas

  5. วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร?วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร? •  กินมากกว่าแพร่พันธุ์มากกว่า เดิมบรรพบุรุษของยีราฟคอไม่ยาว แต่เนื่องจากตัวที่คอยาวกว่าสามารถกัดกินพุ่มไม้ที่สูงกว่าได้ จึงกินอาหารได้มากกว่า ทำให้มีโอกาสอยู่รอดและแพร่พันธุ์ได้มากกว่า เมื่อเวลาผ่านไปยีราฟรุ่นต่อมาจึงยิ่งคอยาวมากขึ้นจนกลายเป็นยีราฟคอยาว กระบวนการนี้ต้องอาศัยระยะเวลานานหลายชั่วอายุเลยทีเดียว  ถูกกินน้อยกว่าแพร่พันธุ์มากกว่า ป่าแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ มีต้นไม้เปลือกสีขาวส่วนใหญ่ ผีเสื้อกลางคืนสีเข้มจึงมีอยู่น้อย เพราะ มองเห็นได้ชัดเมื่อเกาะอยู่บนต้นไม้ ทำให้ถูกนกจับกินได้ง่าย ขณะที่พวกสีอ่อนจะพรางตัวได้ดีจึงอยู่รอด และออกลูกหลานมากมาย ต่อมาภายหลังเกิดโรงงานซึ่งปล่อยเขม่าควันมาปกคลุมต้นไม้จนกลายเป็นสีดำ ทำให้ผีเสื้อปีกสีเข้มดูกลมกลืนกับต้นไม้ จึงอยู่รอดและออกลูกหลานเพิ่มจำนวนได้มากมาย ส่วนพวกสีอ่อนถูกนกจับกินจนลดจำนวนลง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  6. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ⭗ปรับตัวเพื่ออยู่รอด Evolution of Life : Struggle to Survive วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต คือ การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากบรรพบุรุษ และเมื่อกระบวนการนี้ดำเนินไปเป็นเวลานานนับล้านปี จะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการปรับตัวให้ดำรงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมใหม่จะสูญพันธุ์ไป วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีตสังเกตได้จากหลักฐานทางสัณฐานวิทยาจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ และหลักฐานทางโมเลกุลที่ศึกษาจากดีเอ็นเอ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  7. วิวัฒนาการของมนุษย์ • เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยมีทุ่งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น • จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรียบเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา 400110_Nathitakarn Pinthukas

  8. วิวัฒนาการของมนุษย์ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  9. วิวัฒนาการของมนุษย์ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  10. วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • ซากดึกดำบรรพ์อายุประมาณ 7 - 6 ล้านปีของ ซาเฮลแอนโทรปัสจากประเทศชาด ในแอฟริกากลางเป็นหลักฐานของโฮมินิด หรือต้นตระกูลมนุษย์ที่เก่าที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ซึ่งสามารถเดิน 2 ขาและอาศัยอยู่ตามต้นไม้ • ต่อมาเมื่อประมาณ 5 ล้านปีก่อน ได้เกิดโฮมินิดอีกนามสกุลคือ อาร์ดิพิเธคัสซึ่งพบหลักฐานที่ประเทศเอธิโอเปียในแอฟริกาตะวันออก • หลังจากนั้นจึงเกิดโฮมินิดสกุล ออสตราโลพิเธคัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์โดยพบหลักฐานจำนวนมากในแอฟริกาตะวันออก มีอายุในช่วง 42 – 1 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะโครงกระดูกชี้ชัดว่าเดิน 2 ขาและมีฟันคล้ายฟันของมนุษย์สมัยใหม่ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  11. วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • เมื่อเข้าสู่ช่วง 2 ล้านปีที่แล้ว ปรากฏโฮมินิดกลุ่มใหม่ในสกุล โฮโม ที่คล้ายมนุษย์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้นพวกโฮโมรุ่นแรก ๆ อาธิ โฮโม ฮาบิลิส และ โฮโม เออร์แกสเตอร์ ล้วนมีใบหน้าแบนและรู้จักสร้างเครื่องมือหินง่าย ๆ • สายพันธุ์หนึ่งที่สำคัญคือ โฮโม อิเร็คตัส ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 1.8 ล้าน - 300, 000 ปีมาแล้ว พวกนี้มีร่างกายสูงใหญ่ขึ้น และเป็นมนุษย์พวกแรกที่อพยพออกจากทวีปแอฟริกาไปสู่ทวีปอื่น ๆ โดยพบหลักฐานทั้งในแอฟริกาตะวันออกกลาง อินโดนีเซียและจีน พวกนี้รู้จักล่าสัตว์ และเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่รู้จักใช้ไฟ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  12. วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • ประมาณ 300,000 ปีที่แล้ว มนุษย์โฮโมกลุ่มหนึ่งได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศอันหนาวเหน็บในยุโรปและตุรกีจนพัฒนาเป็นมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล หรือ โฮโม นีแอนเดอร์ทัลเอนซิส ซึ่งมีร่างกายบึกบึน พร้อมสมองและโพรงจมูกขนาดใหญ่ รู้จักการสร้างเครื่องมือที่ประณีตยิ่งขึ้น และมีวัฒนธรรมการฝังดอกไม้และสิ่งของลงไปพร้อมกับศพ • แต่อาจยังไม่มีภาษาพูดและความคิดที่ซับซ้อนอย่างมนุษย์ โฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์สมัยใหม่ที่ปรากฏขึ้นในทุ่งหญ้าของแอฟริกาเมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว โฮโม เซเปียนส์ มีรูปร่างเพรียวกว่านีแอนเดอร์ทัล รู้จักใช้เหตุผลและสามารถตรึกตรองตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม พวกนี้แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกและเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์ในปัจจุบัน 400110_Nathitakarn Pinthukas

  13. วิวัฒนาการของมนุษย์ การเดินสองขา Bipedalism ⯈ วิวัฒนาการสำคัญที่ทำให้บรรพบุรุษของมนุษย์แยกออกจากเอป คือ การยืนตัวตรงตั้งฉากกับพื้นโลกและเดิน 2 ขา หลักฐานโครงกระดูกมนุษย์โบราณสามารถแสดงให้เห็นลักษณะดังกล่าวได้จากกระดูกส่วนเท้า ขา สะโพก แขน มือ และตำแหน่งของโพรงที่ฐานกะโหลก ⯈ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของถิ่นอาศัยจากป่าไม้สู่ทุ่งหญ้าสะวันนา อาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้บรรพบุรุษของมนุษย์ที่เคยปีนป่ายหาอาหารอยู่บนต้นไม้ ต้องปรับตัวลงมาหากินบนพื้นดินและวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่เดิน 2 ขา เมื่อประมาณ 7 - 6 ล้านปีมาแล้ว การยึดลำตัวตั้งตรงและเดิน 2 ขา 400110_Nathitakarn Pinthukas

  14. วิวัฒนาการของมนุษย์ การเดินสองขา Bipedalism ⯈ นอกจากจะช่วยให้มองเห็นศัตรูในทุ่งหญ้าได้จากระยะไกลและช่วยให้เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว โดยใช้พลังงานไม่มากนักแล้ว ยังช่วยลดพื้นที่ที่ร่างกายต้องสัมผัสกันความร้อนจากแสงแดดตอนกลางวันที่ส่องลงมาในแนวดิ่งด้วย แต่ผลตามมาที่สำคัญที่สุดจากการเปลี่ยนมาเดิน 2 ขา อยู่ที่การทำให้มือทั้ง 2 ข้างของมนุษย์เป็นอิสระ สามารถใช้หยิบจับและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ นับจากเครื่องมือหินจนถึงไมโครชิปได้ด้วย 400110_Nathitakarn Pinthukas

  15. วิวัฒนาการของมนุษย์ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  16. วิวัฒนาการของมนุษย์ • Primate…..วิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม • แต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยู่บนพื้นดิน • ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำ • ออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  17. วิวัฒนาการไพรเมตEvolution of Primates ⯐ ไพรเมตคือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิง ประกอบด้วย ลีเมอร์, ลิงลม,ทาร์เซีย, ลิง,เอป(ลิงใหญ่) และมนุษย์ ⯐ คำเรียกชื่อ ไพรเมตหมายถึง ผู้เป็นที่หนึ่ง สัตว์กลุ่มนี้มีสมองที่พัฒนามาก และมีลักษณะเด่น คือ ตาทั้ง 2 ข้างอยู่ทางด้านหน้า ทำให้เห็นภาพเป็น 3 มิติ มีมือที่ใช้หยิบจับได้ดี โดยนิ้วหัวแม่มือพับขวางฝ่ามือได้ ลักษณะดังกล่าววิวัฒนาการมาจากการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ซึ่งต้องใช้มือคว้าจับกิ่งไม้ และใช้สายตากะระยะในการกระโจนจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  18. วิวัฒนาการของมนุษย์ ออสตราโลพิเธคคัสแอฟริกานัสAustralopithecus africanus3 – 2.3 ล้านปีมาแล้ว ซาเฮลแอนโทรปัสชาดเอนซิสSahelanthropustchadensis7 – 6ล้านปีมาแล้ว โฮโม อิเร็คตัสHomo erectus 1.8 ล้าน - 200,000 ปีมาแล้ว โฮโม นีแอนเดอร์ทัลเอนซิสHomo neanderthalensis600,000 – 30,000 ปีมาแล้ว โฮโม เซเปียนส์ Homo sapiens200,000 ปีมาแล้ว - ปัจจุบัน 400110_Nathitakarn Pinthukas

  19. วิวัฒนาการของมนุษย์ • 1. Homo habilis • บรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน • นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่ บริเวณภาคตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี • มีขนาดสมองประมาณ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร • มีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ • นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิง • มนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตได้ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  20. วิวัฒนาการของมนุษย์ • 2. Homo erectus • - มนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว • - มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า Homo habilis • - ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมาณ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร • - ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป • - มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา(Java ape man) และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) • - สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian) • ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ • - มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่ง • เป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย 400110_Nathitakarn Pinthukas

  21. วิวัฒนาการของมนุษย์ • 3. Homo sapiens neanderthalensisหรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล • - เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี - มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร - ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้น • ลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรง • รู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หิน • คนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ • มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู่อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ • พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน 400110_Nathitakarn Pinthukas

  22. วิวัฒนาการของมนุษย์ • 4. Homo sapiens sapiensหรือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon man) • - มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน มีกะโหลกศีรษะโค้งมนมากขึ้น • - ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น - มีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รู้จักการเขียนภาพต่างๆ - จากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50,000 ปีมาแล้ว 400110_Nathitakarn Pinthukas

  23. วิวัฒนาการของมนุษย์ • สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ • 1.ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน • 2.หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้ • 3.กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง ขากรรไกรสั้น • 4.กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรง เท้าแบน ร่างกายไม่ค่อยมีขน แนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม 400110_Nathitakarn Pinthukas

  24. วิวัฒนาการของมนุษย์ • 500,000 ปีเป็นต้นมา ประชากรมนุษย์ในทวีปแอฟริกาและยูเรเซียตะวันเริ่มเห็นรายละเอียดของโครงกระดูกแตกต่างกัน • พบโครงกระดูกในเอเชียและยุโรป 130,000-50,000 ปีก่อน นีแอนเดอธัล”เรียก โฮโม นีแอนเดอธัลเลนซิล (Homo neanderthalensis) สมองมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย • หลักฐานพบจากการเผาศพผู้ตายครั้งแรก และมีการรักษาผู้ป่วยด้วย แต่เครื่องมือเป็นหินหยาบ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  25. เครื่องมือล่าสัตว์มนุษย์ยุคแรกเครื่องมือล่าสัตว์มนุษย์ยุคแรก • เครื่องมือมนุษย์ยุคแรกที่ล่าสัตว์และหากิน ทำมาจากโครงกระดูกและหินหยาบ ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน • ทักษะเป็นแบบง่ายๆ ในการล่า จากหลักฐาน และเป็นสัตว์ไม่มีอันตราย เช่น หมู ควาย • การตั้งถิ่นฐานริมฝั่งทะเล ไม่พบว่ามีร่องรอยการเคยจับปลา • ทั้งสายพันธ์ โอโมเซเปี้ยน และนีแอนเดอธัล จัดอันดับต่ำกว่าฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  26. ประวัติศาสตร์มนุษย์ 50,000 ปีก่อน • พบงานศิลปะที่ผนังถ้ำของมนุษย์ โครมันยอง การเขียนภาพศิลปะ รูปปั้น เครื่องดนตรี เช่น พบภาพวาดวัว ขนาดเท่าตัวจริงวาดด้วยมือโดยไม่ต้องร่าง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  27. ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 1. การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery )เป็นยุคที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ • 1.1 ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษาตรงกับยุดหินเก่า เช่นEolithic พบในมนุษย์พวก Homo habilis • 1.2 ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา ตรงกับยุคหินเก่าเช่นกัน มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ พวกมนุษย์ Homo erectus ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง 1.3 ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์ Homo sapiens 400110_Nathitakarn Pinthukas

  28. ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 2. การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม ทอผ้า สังคมในยุคนี้มีระบบทาส เพศชายมีภรรยาได้หลายคน และทำหน้าที่ปกครอง ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ • 2.1 ระยะแรกประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้าม และใช้เครื่องปั้นดินเผา • 2.2 ระยะกลางประมาณ 10,000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตว์ การเกษตรกรรม รู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ • 2.3 ระยะหลังประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  29. ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 3. การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization) • เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม 400110_Nathitakarn Pinthukas

  30. มนุษย์ ผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมHuman : the Creature that Change the Environment แม้มนุษย์รุ่นแรก ๆ รู้จักสร้างเครื่องมือหินและนำไฟมาใช้ แต่ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เพราะรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ยังชีพด้วยการเร่ร่อนล่าสัตว์ และเก็บพืชผักที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นอาหาร จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะนำพืชมาปลูกเพื่อผลิตอาหารขึ้นเอง แทนการพึ่งพาอาหารในธรรมชาติ นับเป็นจุดกำเนิดของการเกษตรกรรมที่ได้ทำให้มนุษย์หยุดเร่ร่อน และเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน 400110_Nathitakarn Pinthukas

  31. มนุษย์ ผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมHuman : the Creature that Change the Environment ผลผลิตอาหารที่แน่นอนและเพียงพอจากการเกษตร ทำให้ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ชุมชนขยายจากหมู่บ้านสู่เมืองพร้อมกับการขยายพื้นที่เพาะปลูก และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  32. มนุษย์กับการเกษตร • การเกษตรยุคแรก การล่าสัตว์ หาอาหารจากธรรมชาติ 7 ล้านปีก่อน • ศตวรรษที่ 19 11,000 ปี พบว่ามีการผลิตอาหาร ได้แก่ การนำสัตว์มาเลี้ยง การนำพืชป่ามาปลูก เพื่อการบริโภค • ชนเผ่าพื้นเมืองใช้วิธีการเก็บหาอาหารจากป่า และล่าสัตว์ • พวกอะบอริจิ้น ออสเตรเลียไม่เคยผลิตอาหารเองเลย แต่เรียนรู้การรับอาหารจากชุมชนข้างเคียง 400110_Nathitakarn Pinthukas

  33. การวางตัวของโลก ในแนว ตะวันออก-ตะวันตก ปัจจัยเบื้องหลัง เผ่าพันธุ์สัตว์ป่า ที่เหมาะสม จำนวนมาก การแผ่ขยายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว เผ่าพันธุ์สัตว์เลี้ยง และพืชเกษตรจำนวนมาก อาหารส่วนเกิน และการเก็บสำรองอาหาร สังคมขนาดใหญ่ซึ่งมีประชากร หนาแน่นและเริ่มตั้งหลักแหล่งแน่นอน รวมทั้งมีการแบ่งชนชั้นในสังคม เทคโนโลยี เรือที่เดินทางข้ามมหาสมุทร หน่วยการปกครอง, การมีตัวอักษรใช้ ปืน, ดาบเหล็ก โรคระบาด ปัจจัยเบื้องหลัง ม้า 400110_Nathitakarn Pinthukas

  34. มนุษย์กับการเกษตร • การหาอาหารจากการล่า เริ่มวิวัฒนาการเป็นการเริ่มการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ และการตั้งถิ่นฐาน • สัตว์ที่เลี้ยงเป็นประเภททีให้โปรตีน ให้เนื้อและนม วัว สุกร แพะ ไก่ • การใช้ยานพาหนะจากสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า อูฐ ลา กวาง เป็นต้น ในเดินทาง • ต่อมามีการพัฒนาอานเหล็กในม้า คริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ของคนจีนและมองโกล ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมไปถึงการใช้อูฐ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  35. มนุษย์กับการเกษตร • การเรียนรู้ผลทางตรง : • ประชากรเพิ่มขึ้น อัตราการเกิดสูง เนื่องจากไม่อพยพย้ายถิ่น • การขยายพื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ปลูกพืช เช่นปลูกพืชริมแม่น้ำ • การใช้แรงงานสัตว์ • การสำรองอาหาร • เกิดทักษะและมีฝีมือ ชำนาญ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  36. มนุษย์กับการเกษตร • การเรียนรู้ทางอ้อมการผลิตอาหารเอง: • ปรับเปลี่ยนการผลิตอาหาร • มนุษย์มีวิถีชีวิตอยู่กับที่มากขึ้น เดิมต้องย้ายถิ่นหาอาหารตลอดเวลา • การขยายอาณาเขต • วิวัฒนาการมนุษย์ส่งผลต่อการเกิดเชื้อโรค เช่น ไข้ทรพิษ หัด ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเดิมไม่เคยเกิดโรค ไม่มีภูมิต้านทาน 400110_Nathitakarn Pinthukas

  37. มนุษย์กับการเกษตร • การผลิตเครื่องนุ่งห่มจากเส้นใยธรรมชาติ อุปกรณ์ให้เกิดอบอุ่น อาชีพของผู้หญิงที่ไม่ต้องเพาะปลูก หรือไม่ต้องล่าสัตว์ เช่น ฝ้าย ปอ เฟล็กซ์ • วิวัฒนาการถึงการทอขนแกะ แพะ ลามะ และรังไหม • การนำหนังมาฟอกเป็นวัสดุนุ่งห่ม • การทำผลิตเครื่องมือล่าสัตว์ และเครื่องมือทางเกษตร การทำตาข่ายดักสัตว์ • เดิมการใช้เครื่องมือเป็นกระดูก ต่อมาใช้กระดูกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องมือในยุคหินใหม่ • ต่อมาหลอมโลหะ 400110_Nathitakarn Pinthukas

  38. พื้นที่ศูนย์กลางเป็นแหล่งผลิตอาหาร เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารไม่ใช่การขยายจากพื้นที่อื่น 400110_Nathitakarn Pinthukas

  39. 400110_Nathitakarn Pinthukas

  40. 400110_Nathitakarn Pinthukas

  41. คำถาม (Quiz 1)เทคโนโลยีกับพัฒนาการอารยธรรมมนุษย์ • ความแตกต่างของมนุษย์ด้านต่างๆ ยุคอดีตและ ปัจจุบัน • การตั้งถิ่นฐาน และที่อยู่อาศัย • ด้านการหาอาหาร การผลิตอาหาร • ด้านสังคมและวัฒนธรรม • ชนเผ่าในประเทศไทย มีอะไรบ้าง 400110_Nathitakarn Pinthukas

More Related