1 / 44

บทที่14 กฎหมายแรงงาน

บทที่14 กฎหมายแรงงาน.

libra
Télécharger la présentation

บทที่14 กฎหมายแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่14กฎหมายแรงงาน กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ที่พอเพียง

  2. กฎหมายแรงงานที่สำคัญ • กฎหมายแรงงานของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ ฉบับที่สำคัญซึ่งใช้บังคับแก่กิจการเอกชนทั่วไป ควรที่นายจ้าง ลูกจ้าง นักศึกษา นักกฎหมาย และผู้ที่ประกอบอาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ต้องสนใจศึกษารายละเอียดมี 6 ฉบับ ดังนี้ คือ • 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 6 เรื่องจ้างแรงงาน • 2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 • 3. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 • 4. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 • 5. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 • 6. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • สัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในบทที่4 จึงไม่ขอกล่าวอีก

  3. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขึ้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน และการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพ อนามัยอันดีและมีความปลอดภัย ในชีวิต และร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควรกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

  4. ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงานลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • 1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เมื่อไม่ปฏิบัติตาม และหากพนักงานตรวจแรงงานตรวจพบอาจดำเนินคดีอาญาได้ • 2. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย สัญญา หรือข้อตกลง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ข้อใดที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะและสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะ

  5. ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับแก่นายจ้าง ลูกจ้างในการจ้างแรงงานทุกราย ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภทใด และไม่ว่าจะมีจำนวนลูกจ้างเท่าใด ยกเว้นนายจ้างหรือกิจการของ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ บรรดาข้าราชการและลูกจ้าง ของทางราชการจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กรณีที่ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานอีกประการหนึ่ง คือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวคือ ลูกจ้างหรือนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วย แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กรณีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานอีกประการหนึ่ง คือ กฎหมาย คุ้มครองแรงงานให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งสามารถออกกฎหมายกระทรวง ยกเว้นนายจ้างประเภทใดประเภทหนึ่ง มิให้นำเอากฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

  6. นายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมี 4 ประเภท • 1. นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ • 2 นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล เช่น หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด • 3. นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริง หรือได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวแทน • 4. นายจ้างรับถือ หมายถึง ผู้ประกอบกิจการที่มีการจ้างเหมาค่าแรงผู้ประกอบการดังกล่าว นอกจากจะถือว่าเป็นนายจ้างของลูกจ้างของตนเองแล้วยังเป็นนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมา ค่าแรงที่มาทำงานในกิจการของตนด้วย

  7. ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็ตาม • การใช้แรงงานทั่วไป • 1. เวลาทำงานในวันทำงานปกติแยกกำหนดตามประเภทงานได้ดังนี้ • 1.1 กรณีลักษณะงานปกติทั่วไป ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้าง ทำงานเกินกว่า วันละ8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์7 • 1.2 กรณีลักษณะของงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 7 ชั่วโมง และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง

  8. 2. เวลาพักผ่อน • 2.1 เวลาพักผ่อนระหว่างทำงาน นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักผ่อนติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานในวันนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง แต่คู่สัญญาอาจตกลงเป็นอย่างอื่นอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างก็ได้ และในกรณีที่มีการกำหนด ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้เวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนทำงานล่วงเวลา • 2.2 วันหยุดนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมี วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุด ตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามลักษณะแห่งวันหยุด ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้การรับรอง • 3. วันลาวันลา หมายความว่า วันที่ลูกจ้างป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือเพื่อคลอดบุตร • 3.1 วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวัน ทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการก็ได้

  9. 3.2 วันลาเพื่อทำหมัน และลาเนื่องจากการทำหมัน ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรอง • 3.3 วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตาม ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • 3.4 วันลาเพื่อรับราชการทหาร ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหาร เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร • 3.5 วันลาเพื่อการฝึกอบรม ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ • 3.6 วันลาเพื่อคลอดบุตร ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน

  10. ค่าตอบแทนในการทำงาน • ค่าตอบแทนในการทำงานมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ • 1. ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างทั้งนี้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้มาทำงานและในวันลาด้วยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ • 2. ค่าล่วงเวลา หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติตามอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย • 3. ค่าทำงานในวันหยุด หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุดตามอัตราที่กำหนดไว้ ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย • 4. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้

  11. ค่าชดเชย • ค่าชดเชย หมายถึง เงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่น ๆ ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่ประกาศไว้ในกระทรวงมหาดไทย และ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน • เงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชย • นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ • 1. ต้องมีการแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจเช่นเดียวกับนายจ้าง • 2. ลูกจ้างมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับอายุการทำงานของลูกจ้าง • 3. ลูกจ้างต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กล่าวคือ ต้องไม่มีพฤติการณ์ใดของลูกจ้างตามกฎหมายที่เป็นเหตุทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เช่น การที่ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น • 4. ในเรื่องอัตราการจ่ายค่าชดเชยนั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งนายจ้าง และลูกจ้างจะตกลงกันให้มีการจ่ายต่ำกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากความคุ้มครอง ในเรื่องค่าชดเชยเป็นความคุ้มครอง ตามกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจะทำการฝ่าฝืนไม่ได้

  12. ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย • กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ • 1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง • 2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • 3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง • 4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง อันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้าง ไม่จำเป็นต้องตักเตือนเป็นหนังสือ • 5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร • 6. ลูกจ้างได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

  13. การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการการจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ • กรณีที่นายจ้างจำต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบ กิจการนี้ จะต้องเข้าองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ • 1. นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นซึ่งจะเป็นสถานที่ใดก็ได้ ข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัด หรือข้ามภาค และ • 2. การย้ายนั้นมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวลูกจ้างหากมีกรณีที่ครบองค์ประกอบข้างต้น ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยดังกล่าวได้ • การจ่ายค่าชดเชยกรณีนายจ้างปรับปรุงกิจการ • กรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างปรับปรุงกิจการอาทิ เช่น นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน, ปรับปรุงกระบวนการผลิต, ปรับปรุงการจำหน่าย, ปรับปรุงการบริการ

  14. กฎหมายเงินทดแทน • กฎหมายเงินทดแทน คือ เป็นกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ในอุปการะของลูกจ้างด้วยการกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินให้บุคคลดังกล่าว เมื่อลูกจ้างได้รับภยันตราย หรือเจ็บป่วย หรือตายอันมีสาเหตุมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และกำหนดให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นโดยให้นายจ้างจ่ายเงิน สมทบกองทุนดังกล่าวไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง หรือผู้อยู่ในอุปการะของ ลูกจ้างแทนนายจ้าง • ในปัจจุบันกฎหมายเงินทดแทนที่มีผลใช้บังคับได้แก่ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 • เงินทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน หรือจากโรคซึ่งเกิดตามลักษณะ หรือสภาพของงานหรือการทำงาน

  15. เงื่อนไขในการจ่ายเงินทดแทนเงื่อนไขในการจ่ายเงินทดแทน • ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนนี้ กฎหมายเงินทดแทน กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน แก่ลูกจ้างใน 3 กรณีคือ • 1. กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย หรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือทำตาม คำสั่งนายจ้าง • เช่น ลูกจ้างเป็นช่างไฟฟ้า ขณะทำการต่อสายไฟฟ้า หรือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ ลูกจ้าง ได้รับกระแสไฟฟ้าซึ่งลัดวงจรเข้าสู้ร่างกาย และถึงแก่ความตาย เพราะเหตุมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นต้น

  16. 2. กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย คือ การที่ลูกจ้างเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะ หรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน • 3. กรณีที่ลูกจ้างสูญหายไปในระหว่างการทำงาน คือ การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างอันมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตา เพราะ ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงานหรือระหว่างปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง เช่น ลูกจ้างเป็น ช่างสำรวจเดินทางเข้าไปสำรวจตามหน้าที่ในป่า

  17. ประเภทและอัตราการจ่ายเงินทดแทนประเภทและอัตราการจ่ายเงินทดแทน • สำหรับการจ่ายเงินค่าทดแทนการทำงาน จะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. ค่าทดแทน • ค่าทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทนสำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้าง ซึ่งอัตราในการจ่าย ค่าทดแทนนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เงินทดแทน และตามกฎกระทรวงแรงงานฯ • 2. ค่ารักษาพยาบาล • ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเพื่อให้ผลของการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยบรรเทาหรือหมดสิ้นไป และหมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทำหน้าที่แทน หรือช่วยอวัยวะ ที่ประสบอันตรายด้วย ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแรงงาน ฯ

  18. 3. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอันเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย และสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแรงงานฯ • 4. ค่าทำศพ • ค่าทำศพ หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำศพของลูกจ้างตามประเพณีทางศาสนาของลูกจ้างหรือตามประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย เนื่องจาก ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวงแรงงานฯ

  19. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ คือ กฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถทำข้อตกลง ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ และผลประโยชน์ ในการทำงานรวมกันได้ รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น ให้ยุติลงโดยรวดเร็วและด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ได้แก่ • 1. ราชการส่วนกลาง • 2. ราชการส่วนภูมิภาค • 3. ราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งราชการกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา • 4. กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518

  20. องค์กรทางแรงงาน • องค์กรทางแรงงานตามที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้การรับรอง มีดังต่อไปนี้ • 1. องค์กรฝ่ายนายจ้าง ประกอบด้วย • 1.1 สมาคมนายจ้าง เป็นองค์กรระดับแรก ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างด้วยกันเองหรือกับลูกจ้าง • 1.2 สหพันธ์นายจ้าง เป็นองค์กรระดับสูงขึ้นไปถัดจากสมาคมนายจ้าง ซึ่งเกิดจากการที่สมาคมนายจ้างตั้งแต่ 2 สมาคมขึ้นไปที่สมาชิกประกอบกิจการประเภทเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสมาคมนายจ้าง • 1.3 สภาองค์กรนายจ้างเกิดจากการรวมตัวของสมาคมหรือสหพันธ์นายจ้างไม่น้อยกว่า 5 แห่ง • 1.4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและแรงงานสัมพันธ์

  21. 2. องค์กรฝ่ายลูกจ้าง ประกอบด้วย • 2.1 สหภาพแรงงานเป็นองค์กรระดับแรกสุดของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้น โดยการจดทะเบียน และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์อันเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิด พลังในการต่อรองกับนายจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง • 2.2 สหพันธ์แรงงาน เป็นการจัดตั้งซึ่งเกิดจากสหภาพแรงงานตั้งแต่ 2 สหภาพขึ้นไป มารวมกันโดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสหภาพแรงงาน • 2.3 สภาองค์การลูกจ้าง เกิดขึ้นจากสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 15 แห่ง รวมตัวกันจัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสภาองค์กรนายจ้าง • 2.4 คณะกรรมการลูกจ้าง เกิดขึ้นจากการรวมตัวจัดตั้งขึ้นในสถานประกอบกิจการที่มี ลูกจ้างตั้งแต่50 คนขึ้นไป เพื่อเป็นตัวแทนของลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานหรือ การอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

  22. สภาพการจ้าง • สภาพการจ้าง เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงาน เช่น กำหนดการเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปี ก็เป็นสภาพการจ้าง กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างที่จะต้องทำงาน 8 นาฬิกา เลิก 16 นาฬิกา ก็เป็นสภาพการจ้าง • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึง ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือ กล่าวคือ เป็นข้อตกลงฉบับใหญ่ระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้างแต่ละคนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันเกี่ยวกับสภาพ การจ้างแล้ว ก็จะเกิด “ข้อพิพาทแรงงาน”

  23. กรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานที่นายจ้างมีสิทธิกรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานที่นายจ้างมีสิทธิ • การปิดงาน หมายความว่า การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราว เนื่องจาก ข้อพิพาทแรงงาน กล่าวคือ การที่นายจ้างมีสิทธิที่จะปิดงาน เมื่อมีข้อพิพาทแรงงาน เพราะนายจ้าง มีความประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างต้องเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการปิดงานนั้นทำให้ลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ความเดือดร้อนและสภาวะกดดันบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างหรือให้ลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อฝ่ายนายจ้าง • กรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานลูกจ้างมีสิทธิ • การนัดหยุดงาน หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจาก ข้อพิพาทแรงงาน กล่าวคือ เป็นการกระทำของฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำเพื่อกดดันให้นายจ้างยอมรับ ตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง เช่น พนักงานเก็บค่าโดยสารร่วมกันหยุดงานเนื่องจากไม่พอใจที่ถูกผู้โดยสารทำร้ายร่างกาย หรือพนักงานขับรถประจำทางร่วมกันหยุดงาน เพราะไม่พอใจตำรวจจราจรได้ ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเข้มงวด การนัดหยุดงานของพนักงานเก็บค่าโดยสารหรือพนักงานขับรถ ประจำทางดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการนัดหยุดงาน เพราะมิได้เป็นข้อพิพาทแรงงานแต่อย่างใด

  24. กิจการสำคัญที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มิให้มีการปิดงานหรือการนัดหยุดงานกิจการสำคัญที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มิให้มีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน • สำหรับกิจการที่กฎหมายห้าม จะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. การรถไฟ • 2. การท่าเรือ • 3. การโทรศัพท์หรือการโทรคมนาคม • 4. การผลิตหรือการจำหน่ายพลังงานหรือกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชน • 5. การประปา • 6. การผลิตหรือการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง • 7. กิจการโรงพยาบาลหรือกิจการสถานพยาบาล • 8. กิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง • เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานในกิจการดังกล่าวทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างสามารถที่จะ ปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ เพราะกิจการข้างต้นเป็นกิจการที่เป็นบริการสาธารณะ หรือสาธารณูปโภค จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน

  25. การกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง • กฎหมายจ้างแรงงานสัมพันธ์กำหนดว่า ไม่ว่าฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง หากประสงค์ที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกจ้างมักจะเป็นฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง สำหรับนายจ้างนั้น เช่น การสั่งลดเงินเดือนลูกจ้างลง ซึ่งการสั่งลดเงินเดือนลูกจ้างนั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง คำสั่งของนายจ้างที่สั่งลดเงินเดือนเองฝ่ายเดียวนั้นใช้บังคับมิได้ เพราะมิได้ดำเนินการ ตามนั้นตามขั้นตอนของกฎหมาย

  26. การแจ้งข้อเรียกร้องอันเกี่ยวกับสภาพการจ้างการแจ้งข้อเรียกร้องอันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • ผู้มีสิทธิยื่นข้อเรียกร้อง ได้แก่ ฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนของนายจ้าง ลูกจ้าง และสหภาพแรงงานซึ่งฝ่ายที่ยื่นเรียกร้องนั้นต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายได้รับทราบเพื่อจัดให้มีการเจรจา ต่อรองกัน • กรณีที่ตกลงกันได้ • หากเป็นกรณีที่ตกลงกันได้ ก็ให้ทำการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อไป ตามกระบวนการตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ • กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยจะต้องยื่นเรื่องให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท • กรณีที่ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ก็ให้มีการทำข้อตกลงอันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หากไกล่เกลี่ย ไม่เป็นผลสำเร็จก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งคู่กรณีอาจตกลงให้ตั้งผู้ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน หรืออาจมีการนัดหยุดงานของลูกจ้าง หรือปิดงานของนายจ้าง ซึ่งจะต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

  27. กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน • กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน คือ เป็นกฎหมายที่จัดตั้งศาลแรงงานขึ้น เพื่อให้เป็น ศาลชำนาญการพิเศษ มีอำนาจในการพิจารณาคดีแรงงานอันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง โดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความสามารถในปัญหาแรงงานร่วมกับผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง และกำหนดวิธีการพิจารณาคดีให้เป็นไปโดยสะดวกประหยัดรวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม • กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 • คดีแรงงาน หมายถึง คดีที่มีข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและบุคคลที่กฎหมายแรงงาน ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้

  28. ประเภทของศาลแรงงาน • ศาลแรงงานนั้นถ้าจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ • 1. ศาลแรงงานกลาง • 2. ศาลแรงงานภาค • 3. ศาลแรงงานจังหวัด • ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้ • 1. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • 2. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์ • 3. กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ • 4. คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ • 5. คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากคดีพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน • 6. ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์

  29. กฎหมายประกันสังคม • ความหมาย • กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นโดยให้ลูกจ้างหรือผู้สมัครเข้าประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบ เพื่อใช้กองทุนดังกล่าวเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้างและผู้สมัครเข้าประกันตนได้รับการสงเคราะห์ เมื่อประสบอันตรายเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งการสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะทำให้ชีวิตของลูกจ้างและสังคมมีความมั่นคงขึ้น • ชื่อ • กฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา

  30. ขอบเขต • ปัจจุบันกฎหมายประกันสังคมใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่1 คนขึ้นไป ผู้ที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายดังนี้ คือ • 1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว รายเดือน • 2. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ • 3. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานอยู่ในต่างประเทศ • 4. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน • 5. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล • 6. กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

  31. หน้าที่ของนายจ้าง • 1. หน้าที่ในการยื่นและแจ้งแบบรายการ เช่น ยื่นแบบรายการแสดง รายชื่อผู้ประกันตนอัตราค่าจ้าง หรือข้อความอื่นๆ ฯลฯ • 2. หน้าที่ในการหักและส่งเงินสมทบ คือ นายจ้างต้องหักค่าจ้างของลูกจ้างผู้ประกันตนทุกครั้งที่มีการจ้างค่าจ้างตามอัตรา • 3. หน้าที่ในการจัดเก็บทะเบียนผู้ประกันตน กล่าวคือ นายจ้างจะต้องจัดให้มีทะเบียน ผู้ประกันตน ตามแบบที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ • 4. หน้าที่ในการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • 5. หน้าที่ในการกรอกและส่งแบบสำรวจ

  32. หน้าที่ของลูกจ้างผู้ประกันตนหน้าที่ของลูกจ้างผู้ประกันตน • 1. หน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ • 2. หน้าที่ต้องมีบัตรประกันสังคมและต้องเก็บบัตรประกันสังคมไว้ • 3. หน้าที่ต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่ได้กำหนดไว้ • 4. หน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งของแพทย์ • 5. หน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ สถานะของบุคคลของตนเอง และคู่สมรสรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย • 6. ในกรณีที่ประสงค์จะให้บุคคลใดได้รับค่าทำศพ หรือเงินสงเคราะห์ กรณีผู้ประกัน • ตน ถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนต้องทำหนังสือระบุชื่อบุคคลนั้นไว้ว่าให้เป็น ผู้จัดการศพหรือเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์แล้วแต่กรณี • 7. หน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกตามสมควร แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตรวจตราและควบคุม

  33. ประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๓ เดือน • 2. การประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยนั้นต้องมิได้เกิดขึ้น เพราะเหตุที่ผู้ประกันตนจงใจก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่กำหนดไว้ซึ่งประโยชน์ทดแทนนี้รวมทั้งค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษา223 พยาบาล ในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งบริการอื่น ที่จำเป็น • 4. ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพราะต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างที่คำนวณเป็นเงินสมทบ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน และใน ๑ ปีไม่เกิน ๑๘๐วัน เว้นแต่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่เกิน ๓๖๕ วัน

  34. กรณีคลอดบุตร • 1. มีสิทธิเมื่อผู้ประกันตนมีครรภ์ หรือภริยาหรือหญิงซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยเปิดเผยของผู้ประกันตนมีครรภ์ และเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๗ เดือน • 2. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนสำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน ๒ ครั้ง • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์ เพื่อการคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ (แต่ปัจจุบันจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท แทน ) • 4. ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เนื่องจากผู้ประกันตน (หญิง)ต้องหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน ๒ ครั้ง เป็นการเหมาจ่ายครั้งละ ๕๐% ของค่าจ้างเป็นเวลา ๙๐ วัน

  35. กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงานกรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนก่อนทุพพลภาพ ผู้ประกันตน ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๓ เดือน • 2. การทุพพลภาพนั้นต้องมิได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ผู้ประกันตนจงใจก่อให้เกิดขึ้น หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ ซึ่งประโยชน์ทดแทนนี้รวมทั้งค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ และค่าบริการอื่นที่จำเป็น (ปัจจุบันจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินเดือนละ ๒,๐๐๐ บาทตลอดชีวิต) • 4. ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา ๕๐% ของค่าจ้างตลอดชีวิต

  36. กรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิเมื่อภายในระยะเวลา ๖ เดือนก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบ มาแล้วรวมได้ ๑ เดือน • 2. การตายนั้นต้องมิได้เกิดขึ้นจากผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจงใจ ก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับประโยชน์ทดแทน คือ • 3.1 ผู้จัดการศพผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพ ๓๐,๐๐๐ บาท • 3.2 บุคคลผู้ซึ่งประกันตนทำหนังสือระบุไว้จะได้รับเงินสงเคราะห์ดังนี้ • กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ ๓๖ เดือนขึ้นไปได้เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย ๓ • กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้ว ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ได้เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย ๑๐ • หากผู้ประกันตนมิได้ทำหนังสือระบุบุคคลไว้ ให้นำเงินสงเคราะห์ดังกล่าวไปเฉลี่ยจ่าย ให้แก่สามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนแทน

  37. กรณีสงเคราะห์บุตร • 1 มีสิทธิต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๓๖ เดือนย้อนหลังไป ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้ ๑๒ เดือน • 2. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์คราวละไม่เกิน ๒ คน (บุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) • 3. ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตน ให้บิดาหรือมารดาได้รับประโยชน์ทดแทนเพียงฝ่ายเดียว ถ้าจดทะเบียนหย่าหรือแยกกันอยู่ บุตรอยู่ในอุปการะของผู้ประกันตนฝ่ายใด ให้ฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับ • 4. เงินสงเคราะห์บุตร จะจ่ายเป็นรายเดือนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

  38. กรณีชราภาพ • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อได้จ่ายเงินสมทบรวมแล้ว ๑๘๐ เดือนขึ้นไปและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง • 1.1 โดยสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ออกจากงาน) ผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ (เงินเลี้ยงชีพรายเดือน) ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสมทบที่ส่งและระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ • 1.2 โดยถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ประกันตนที่มีสิทธินั้น จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว) ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงเช่นเดียวกัน • 2. ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตาม ข้อ 1.1 ถึงแก่ความตายก่อน ที่จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ หรือได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่ครบ ๖๐ เดือนทายาทของผู้นั้น จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง

  39. 3. ทายาทในกรณีข้างต้น ได้แก่ • 3.1 บุตรชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) ให้ได้รับ ๒ ส่วน แต่ถ้ามีบุตร ๓ คนขึ้นไป ให้ได้รับ ๓ ส่วน • 3.2 สามีหรือภริยา ให้ได้รับ ๑ ส่วน • 3.3 บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ ให้ได้รับ ๑ ส่วน • 3.4 ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ ๑๘๐ เดือน และความเป็นผู้ประกันตน สิ้นสุดลง ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง

  40. กรณีว่างงาน • 1. มีสิทธิต่อเมื่อ ภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนย้อนหลังไป ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๖ เดือน • 2. ต้องพร้อมที่จะทำงานตามที่จัดหาให้และไปรายงานตัวเดือนละ ๑ ครั้ง • เหตุที่ว่างงานมิใช่ถูกเลิกจ้างเนื่องจาก • - ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง • - จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • - ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบ เกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง

  41. - ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๗ วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร • - ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้างแรง หรือ • - ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ • 3. ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ • 4. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่ ๘ นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

  42. การสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนและการเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนและการเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อ • ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน (ถูกหักค่าจ้างเพื่อส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม) แล้วหากต่อมาสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง) ความเป็นผู้ประกันตนก็จะสิ้นสุดลงด้วย มีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนสิ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนซึ่งได้ส่งเงินสมทบ ครบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามกฎหมาย ในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตรกรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปอีก ๖ เดือน หรือตามระยะเวลา ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างนั้น • ลูกจ้างที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างดังกล่าวหากได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว ๑๒ เดือน และประสงค์จะประกันตนต่อไป ก็ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ตามระเบียบที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกำหนดภายใน ๖ เดือนนับแต่วันสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตน และจะต้องส่งเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละครั้งภายใน วันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป

  43. การอุทธรณ์ • นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคมบุคคลใดได้รับคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ซึ่งได้ สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว ไม่พอใจคำสั่งนั้น (เพราะทำให้ตนต้องชดใช้เงินหรือต้องรับผิดต่อ บุคคลใดหรือทำให้ตนเสียสิทธิประโยชน์) บุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ อุทธรณ์ได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น • การอุทธรณ์ ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สำนักงาน ประกันสังคม • คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สำนักงานประกันสังคม • หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ก็มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ (ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ อุทธรณ์และคำสั่งของเลขาธิการหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว) โดยต้องฟ้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น

  44. บทกำหนดโทษ • นายจ้างซึ่งเจตนาไม่ยื่นแบบรายการต่อสำนักงานประกันสังคมภายในกำหนดเวลาหรือ ไม่แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคมขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ ภายใน กำหนดเวลา รวมทั้งนายจ้างซึ่งยื่นแบบรายการ หรือแจ้งเป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติม รายการโดยเจตนากรอกข้อความเป็นเท็จในแบบรายการ หรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเป็นเท็จ ในหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

More Related