1 / 22

บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม

บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม. บทนี้จะกล่าวถึง 2 เรื่องคือ

liesel
Télécharger la présentation

บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 วิธีวิเคราะห์และวินิจฉัยธุรกิจฟาร์ม • บทนี้จะกล่าวถึง 2 เรื่องคือ • 1) การวิเคราะห์และวินิจฉัยผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจฟาร์ม โดยอาศัยการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งกับผลการดำเนินงานเฉลี่ยของหลายฟาร์ม หรือของกลุ่มฟาร์มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน การศึกษาแบบนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Comparative Analysis) • 2) การวัดผลการทำฟาร์มโดยพิจารณาผลที่ได้รับติดต่อกันหลายๆปี เพื่อดูแนวโน้มของผลการทำฟาร์มว่าดีขึ้นหรือเลวลง มีแนวโน้มเข้าสู่ระดับที่กำหนดเป็นเป้าหมายหรือไม่ เรียกการศึกษาแบบนี้ว่า การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)

  2. การวัดและกำหนดขนาดของธุรกิจฟาร์มการวัดและกำหนดขนาดของธุรกิจฟาร์ม • สาเหตุที่ต้องมีการวัดขนาดของหน่วยธุรกิจฟาร์มเสียก่อนเพราะ • 1) มีส่วนช่วยในการกำหนดว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มนั้นมีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถทำรายได้เพียงพอแก่ตัวเกษตรกรและครอบครัวหรือไม่ และมีขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขันกับหน่วยธุรกิจฟาร์มอื่นได้หรือไม่ • 2) นำมาใช้เลือกฟาร์มชนิดเดียวกันที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือมีขนาดและปริมาณของกิจการต่างๆใกล้เคียงกัน เพื่อให้การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบมีความหมายและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยธุรกิจฟาร์มมากยิ่งขึ้ • 3) เป็นพื้นฐานในการคำนวณตัววัดต่างๆ

  3. ตัววัดที่นำมาใช้ในการกำหนดขนาดฟาร์มตัววัดที่นำมาใช้ในการกำหนดขนาดฟาร์ม • ปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น จำนวนที่ดินทั้หมด (ไร่) จำนวนเนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) จำนวนผลผลิตทั้งหมด (กก.) • ปัจจัยทางด้านการเงินและการคลัง เช่น มูลค่าของผลผลิต (บาท) มูลค่าเฉลี่ยของทรัพย์สินทุนทั้งหมดของฟาร์ม (บาท) • ปัจจัยทางด้านแรงงาน เช่น จำนวนแรงงานทั้งหมด (วันทำงาน) จำนวนผู้ทำงานได้เต็มเวลา (คน) จำนวนแรงงานวัดในรูปของ Person Equivalent (PE)

  4. การวัดสถานภาพด้านการเงินและการคลังการวัดสถานภาพด้านการเงินและการคลัง • เป็นการวัดและวินิจฉัยถึงฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลทางด้านทรัพย์สินและหนี้สินที่จดบันทึกในสมุดบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน บอกถึงความสามารถในการชดใช้หนี้สินคืนด้วยการขายทรัพย์สินทุนที่มีอยู่ ช่วยประกอบการพิจารณาถึงจำนวนหนี้สินที่หน่วยธุรกิจฟาร์มต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของหน่วยธุรกิจฟาร์มจากการล้มละลาย

  5. Current ratio = Current assets Current liabilities • Current ratio (CR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีอยู่กับจำนวนหนี้สินระยะสั้นของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของเจ้าของฟาร์มว่ามีจำนวนทรัพย์สินหมุนเวียนมีค่ามากพอที่จะชดใช้หนี้สินระยะสั้นได้หรือไม่ • CR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินหมุนเวียนอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • CR < 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีทรัพย์สินหมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินระยะสั้น ถึงแม้จะขายทรัพย์สินหมุนเวียนทั้งหมดก็ไม่สามารถชดใช้หนี้สินระยะสั้นที่มีอยู่ได้ ต้องหาเงินจากแหล่งอื่นมาเพิ่ม

  6. Intermediate ratio = Current assets + Intermediate assets Current liabilities + Intermediate liabilities • Intermediate ratio (IR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินหมุนเวียนรวมกับทรัพย์สินประกอบการกับจำนวนรวมของหนี้สินระยะสั้นกับหนี้สินระยะปานกลางของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของเจ้าของฟาร์มว่ามีจำนวนทรัพย์สินหมุนเวียนรวมกับทรัพย์สินประกอบการว่ามีค่ามากพอที่จะชดใช้หนี้สินระยะสั้นรวมกับหนี้สินระยะปานกลางได้หรือไม่ • IR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • IR < 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านการคลัง ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกู้ยืมให้มากขึ้น

  7. Net capital ratio = Total assets Total liabilities • Net capital ratio (NCR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดกับจำนวนหนี้สินทั้งหมดของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงหรือความสามารถของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้ดีกว่า CR และ IR เพราะสามารถชี้บอกฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินโดยส่วนรวมทั้งหมดของฟาร์ม • NCR > 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินอยู่ในเกณฑ์ดีและปลอดภัย • NCR < 1 แสดงว่าความมั่นคงของหน่วยธุรกิจฟาร์มอยู่ในเกณฑ์ง่อนแง่น ไม่ควรกระทำการใดๆที่จะก่อให้เกิดการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น มิฉะนั้นอาจต้องเสี่ยงต่อการล้มละลาย

  8. Debt/equity ratio = Total liabilities Net worth • Debt/equity ratio เป็นอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม เป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้เช่นเดียวกับ CR IR และ NCR • Debt/equity ratio = 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มไม่มีหนี้สิน มีความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินดีมาก • Debt/equity ratio > 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มเริ่มมีหนี้สิน • Debt/equity ratio = 1 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีหนี้สินคิดเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สิน • Debt/equity ratio < 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน

  9. Equity/value ratio = Net worth Total assets • Equity/value ratio เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินทุนสุทธิของเจ้าของฟาร์มกับมูลค่าของทรัพย์สินรวมทั้งหมด จึงเป็นตัววัดที่สะท้อนให้เห็นฐานะความมั่นคงด้านทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • Equity/value ratio > 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินในเกณฑ์ดีและปลอดภัย เพราะมีทรัพย์สินทั้งหมดมากกว่าหนี้สินทั้งหมด • Equity/value ratio < 0 แสดงว่าหน่วยธุรกิจฟาร์มมีฐานะด้านทรัพย์สินไม่ค่อยดี มีทรัพย์สินทั้งหมดน้อยกว่าหนี้สินทั้งหมด • Ratio นี้ยังบอกถึงการลงทุนของฟาร์มว่าใช้ทรัพย์สินทุนที่เป็นของฟาร์มเองมากน้อยแค่ไหน และกู้เงินลงทุนมามากน้อยแค่ไหน เช่น Equity/value ratio = 0.52 แสดงว่าเงินลงทุน 1 บาทเป็นเงินทุนของฟาร์มเอง 52 สตางค์ เป็นเงินกู้ 48 สตางค์

  10. การวัดสถานภาพด้านรายได้และรายจ่ายการวัดสถานภาพด้านรายได้และรายจ่าย • Operating ratio = Total operating expenses Gross farm income • Operating ratio (OR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม (เฉพาะรายได้ที่ได้รับจากกิจการต่างๆของฟาร์ม) อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าในการดำเนินกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มจะเสียค่าใช้จ่ายในการประกอบการผลิตมากน้อยแค่ไหน และรายจ่ายที่เกิดขึ้นนี้เทียบเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้รวมของฟาร์ม เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า OR = 0.62 แสดงว่า ทุก 1 บาทของรายได้ฟาร์มจะเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบการ 62 สตางค์ ดังนั้นฟาร์มจะมีรายได้สุทธิเท่ากับ 38 สตางค์ทุกรายได้ 1 บาท

  11. Fixed ratio = Total fixed expenses Gross farm income • Fixed ratio (FR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายคงที่ในการผลิตของฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าในการดำเนินกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มจะเสียค่าใช้จ่ายคงที่มากน้อยแค่ไหน และรายจ่ายที่เกิดขึ้นนี้เทียบเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้รวมของฟาร์ม เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า FR = 0.22 แสดงว่า ทุก 1 บาทของรายได้ฟาร์มจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 22 สตางค์

  12. Gross ratio = Total expenses Gross farm income • Gross ratio (GR) เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของฟาร์มกับรายได้รวมทั้งหมดของฟาร์ม อัตราส่วนนี้สามารถใช้เป็นตัววัดที่แสดงถึงกำไรและขาดทุนของหน่วยธุรกิจฟาร์มได้ เช่น ฟาร์มรักเกษตรมีค่า GR = 0.72 แสดงว่า ทุกๆ 1 บาทของรายได้รวมของฟาร์มจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่ากับ 72 สตางค์ • ถ้า GR > 1 แสดงว่าการทำธุรกิจของฟาร์มนั้นประสบกับการขาดทุน • ถ้า GR < 1 แสดงว่าการทำธุรกิจของฟาร์มนั้นมีกำไร

  13. ค่า OR และ FR สามารถนำมาใช้บอกถึงข้อจำกัดของหน่วยธุรกิจฟาร์มบางอย่างได้ เช่น ในการเปรียบเทียบระหว่างฟาร์มดินดี และฟาร์มน้ำชุ่ม ฟาร์มดินดีมีค่า FR สูงกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม และมีค่า OR ต่ำกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม แสดงว่าฟาร์มดินดีมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงค่าใช้จ่าย และมีปัญหาเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเงินมากกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม เพราะฟาร์มดินดีมีค่าใช้จ่ายคงที่สูงกว่า ค่าใช้จ่ายคงที่นั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ลดลงได้ง่าย ไม่เหมือนกับค่าใช้จ่ายผันแปร เมื่อรายได้ของฟาร์มเปลี่ยนแปลงลดลง จะมีผลกระทบต่อกำไรของฟาร์มดินดีมากกว่าฟาร์มน้ำชุ่ม

  14. การวิเคราะห์การหมุนเวียนด้านการเงินของฟาร์มการวิเคราะห์การหมุนเวียนด้านการเงินของฟาร์ม • สาเหตุที่ทำให้การหมุนเวียนของรายรับและรายจ่ายของฟาร์มและครอบครัวไม่สมดุลกัน อาจจะมาจาก • 1) ฟาร์มมีขนาดของธุรกิจเล็กเกินไป ไม่สามารถทำรายได้อย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อรายจ่าย • 2) ฟาร์มมีรายจ่ายที่เป็นเงินสดในการดำรงชีพของครอบครัวสูง (อาจจะเกิดจากครอบครัวใหญ่ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือย) • 3) มีกิจการฟาร์มบางกิจการที่ขาดทุน • 4) มีการใช้จ่ายในการลงทุนในทรัพย์สินบางอย่างมากเกินไป • 5) มีหมายกำหนดการในการชำระคืนเงินกู้ที่ค่อนข้างหนัก

  15. การแก้ปัญหาความไม่สมดุลของรายรับและรายจ่ายการแก้ปัญหาความไม่สมดุลของรายรับและรายจ่าย • 1) หาทางเพิ่มและขยายขนาดธุรกิจฟาร์มให้มีมากขึ้นหรือใหญ่ขึ้น • 1.1) ทำกิจการฟาร์มแบบประณีต (Intensive farm) และบ่อยครั้งขึ้น • 1.2) ซื้อปัจจัยการผลิตมาเพิ่มขึ้นเพื่อขยายการผลิตให้มากขึ้น • 2) เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว เช่น ออกไปรับจ้างในฟาร์มและนอกฟาร์ม ฯลฯ • 3) ควบคุมและลดการใช้จ่ายเงินของครอบครัว พิจารณาจังหวะในการลงทุนซื้อทรัพย์สินทุน (ชะลอหรือเลื่อนการซื้อออกไป) • 4) คิดคำนวณหาจำนวนเงินกู้ระยะปานกลางที่หน่วยธุรกิจสามารถที่จะกู้และชำระคืนได้โดยไม่เดือดร้อน

  16. จำนวนเงินกู้ระยะปานกลางหรือระยะยาวที่ฟาร์มควรจะกู้และชดใช้คืนได้ = (รายได้สุทธิจากกิจการต่างๆของฟาร์มที่เป็นเงินสด + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดที่ได้จากการขายทรัพย์สินทุน + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดจากกิจการอื่นๆที่ไม่ใช่กิจการฟาร์ม + รายได้สุทธิที่เป็นเงินสดจากการรับจ้าง) – (ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของครอบครัวและเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน + รายจ่ายสุทธิจากการซื้อทรัพย์สิน + ภาษีต่างๆ) • จำนวนครั้งที่ควรจ่ายเงินกู้ = จำนวนเงินกู้ทั้งหมดที่ต้องการกู้ จำนวนเงินกู้ที่ควรกู้

  17. การวัดผลกำไรและผลตอบแทนของหน่วยธุรกิจฟาร์มการวัดผลกำไรและผลตอบแทนของหน่วยธุรกิจฟาร์ม • เป็นการวัดความสามารถของหน่วยธุรกิจฟาร์มในการทำฟาร์มและการจัดการฟาร์ม โดยการคำนวณหาผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น แรงงาน (ในฐานะผู้ประกอบการ ผู้จัดการฟาร์ม และแรงงานครอบครัว) และทุน • 1) รายได้สุทธิของฟาร์ม (Net farm income) = Gross farm income – Operating expenses – Fixed expenses • Net farm income เป็นตัววัดผลตอบแทนแก่แรงงานครอบครัว (unpaid family labor), แรงงานเจ้าของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการ (Operator’s labor) และการจัดการ (management) ตลอดจนทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม (Net worth)

  18. 2) ผลตอบแทนแก่แรงงานเจ้าของฟาร์ม แก่การจัดการ และทุนสุทธิของเจ้าของฟาร์ม (Return to unpaid operator’s labor, management and capital : ROLCM) • ROLCM = Net farm income – unpaid family labor • ROLCM คำนวณโดยการนำเอาค่าแรงงานครอบครัวที่มาช่วยทำงานในกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มออกจาก Net farm income เพราะหากไม่มีแรงงานครอบครัวมาช่วยงาน หน่วยธุรกิจฟาร์มก็จำเป็นต้องแรงงานจ้างเข้ามาช่วย ในการคิดค่าจ้างให้แก่แรงงานครอบครัวนั้นจะคิดให้เท่ากับอัตราค่าจ้างที่จ่ายให้กับแรงงานจ้างที่ทำหน้าที่หรือกิจกรรมอย่างเดียวกัน

  19. 3) ผลตอบแทนแก่แรงงานเจ้าของฟาร์ม และการจัดการ (Return to operator’s labor and management : ROLM : Labor income) • ROLM = ROLCM – Assumed return on average net worth • Average net worth = (Net worth ต้นปี + Net worth ปลายปี) 2 • ROLM เป็นการคิดผลตอบแทนให้แก่แรงงานเจ้าของฟาร์มที่ทุ่มเทให้แก่กิจการต่างๆของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการและผู้จัดการ เช่น ให้ Net worth ต้นปี = 190,140 บาท ให้ Net worth ปลายปี = 110,566 บาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน = 15% • ROLM = 0.15* (190,140 + 110,566)/2 = 22,552.95 บาท

  20. 4) ผลตอบแทนแก่การจัดการ (Management income) Management income = Labor income– ค่าแรงงานที่คิดให้ Operator’s labor • = ROLCM – ผลตอบแทนที่คิดให้แก่ average net worth • Management income เป็นการคิดคำนวณผลตอบแทนให้แก่การจัดการที่ใช้ในหน่วยธุรกิจฟาร์ม ใช้วัดความสามารถในการจัดการของเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม

  21. 5) ผลตอบแทนแก่ทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์มและการจัดการ (Return to operator’s capital and management : ROCM) • ROCM = ROLCM – ค่าจ้างที่คิดให้แก่แรงงานเจ้าของฟาร์มในฐานะผู้ประกอบการ (assumed charge for unpaid operator’s labor) • PROCM = ROCM *100 average net worth • ROCM เป็นการคำนวณหาผลตอบแทนแก่ Net worth ที่ลงทุนในธุรกิจฟาร์มและการจัดการว่ามีมากน้อยแค่ไหน เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการลงทุนหรือใช้ทุนของเจ้าของฟาร์มว่าเป็นอย่างไร

  22. 6) ผลตอบแทนแก่ทุนทั้งหมดและการจัดการ (Return to total capital and management : RTCM) • RTCM = ROCM + ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดที่จ่ายไป • PRTCM = (ROCM + ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดที่จ่ายไป) * 100 average total asset • การวัดผลตอบแทนของการลงทุนหรือการใช้ทุนของหน่วยธุรกิจฟาร์มนั้น นอกจากจะดูได้จาก ROCM และ PROCM แล้ว ยังสามารถดูได้จากผลตอบแทนการลงทุนแก่ทุนทั้งหมด (Total asset = Net worth + Liabilities) และการจัดการ

More Related