1 / 26

รมิ ดา จริน ทิพย์พิทักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่ม งานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง

การรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม เรื่อง ศักยภาพและความพร้อมของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๒๐๑๕ วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖. รมิ ดา จริน ทิพย์พิทักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่ม งานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง.

lila-martin
Télécharger la présentation

รมิ ดา จริน ทิพย์พิทักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่ม งานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มเรื่อง ศักยภาพและความพร้อมของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๒๐๑๕วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ รมิดา จรินทิพย์พิทักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง

  2. ความร่วมมือในอาเซียนเปลี่ยนผ่านไปสู่นโยบายและแนวทางเตรียมพร้อมระดับประเทศความร่วมมือในอาเซียนเปลี่ยนผ่านไปสู่นโยบายและแนวทางเตรียมพร้อมระดับประเทศ ที่มา: ปรับปรุงจากเอกสารเผยแพร่ กลุ่มงานนโยบาย กรมอาเซียน

  3. ภารกิจเร่งด่วน การเตรียมความพร้อมภายในประเทศ การเตรียมความพร้อมส่วนราชการ ผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียนให้อยู่ในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 การสร้างความตระหนักรู้และเตรียมความพร้อม ภาคการศึกษา ภาคประชาชน ที่มา: ปรับปรุงจากเอกสารเผยแพร่ กลุ่มงานนโยบาย กรมอาเซียน

  4. บทบาทและกลไกของสำนักงาน กสทช. ในการปรับตัวรองรับเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ความสัมพันธ์กับรัฐบาล การดำเนินการตามแผนแม่บททั้ง 2 ฉบับ เป็นไปอย่างสอดคล้องกับนโยบาย ที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ด้านการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  5. ข้อมูล ข้อเสนอ และประเด็นคำถามต่อการเตรียมความพร้อม สำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

  6. ข้อเสนอของเลขาธิการอาเซียนในการปาฐกถาพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555

  7. การจัดหมวดหมู่กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์การจัดหมวดหมู่กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (อ้างอิงตามแนวทางของ WTO)

  8. การจัดหมวดหมู่ - ธุรกิจบริการ (จำแนกตาม WTO/120) บริการการศึกษา บริการสื่อสาร และโทรคมนาคม บริการนันทนาการ บริการการเงิน บริการวิชาชีพ วิศวกรรม สถาปนิก กฎหมาย บริการขนส่ง บริการท่องเที่ยว บริการจัดจำหน่าย บริการสุขภาพ บริการก่อสร้าง บริการสิ่งแวดล้อม

  9. การจัดหมวดหมู่ - ธุรกิจบริการ (ต่อ) SERVICES SECTORAL CLASSIFICATION LIST (WTO/120)

  10. แผนงานสำคัญใน AEC blueprint

  11. 4 แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2. การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี การคุ้มครองผู้บริโภค AEC 2015 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี โครงสร้างพื้นฐาน เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี นโยบายภาษี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น e-ASEAN 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก สนับสนุนการพัฒนา SMEs ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย ลดช่องว่างการพัฒนา IAI จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค การมีส่วนร่วมภาครัฐ-เอกชน PPE

  12. ในระยะเริ่มต้นเน้นที่เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวในระยะเริ่มต้นเน้นที่เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ความร่วมมืออื่นๆ

  13. เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรีเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เปิดเสรีธุรกิจบริการ อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการบริการของอาเซียนทำธุรกิจในอาเซียน โดยมีสัดส่วนหุ้นได้สูงถึง 70% ในปี 2558 ปี 2549 (2006) ปี 2551 (2008) ปี 2553 (2010) ปี 2556 (2013) ปี 2558 (2015) สาขาเร่งรัด โทรคมนาคม /คอมพิวเตอร์ / สุขภาพ /ท่องเที่ยว / การบิน โลจีสติกส์ 49% 51% 70% 49% 51% 70% อื่น ๆ 49% 51% 70%

  14. เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี อำนวยความสะดวกการตรวจลงตรา/ออกใบอนุญาตทำงาน ทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) สาขาบริการวิชาชีพ • ยอมรับร่วมกันเรื่อง “คุณสมบัติ” ที่เป็นเงื่อนไขการได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ • นักวิชาชีพในอาเซียนประเทศหนึ่ง สามารถจดทะเบียนเพื่อประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นๆได้ แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบภายในของประเทศนั้นๆในการอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขานั้นๆ • ภายใต้ MRA การเข้าเมืองและการทำงานยังต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของแต่ละประเทศสมาชิก • ปัจจุบัน ตกลงกันได้แล้ว 7 สาขา สาขาพยาบาล สาขานักสำรวจ สาขาวิศวกรรม สาขาแพทย์ สาขาทันตแพทย์ สาขานักบัญชี สาขาสถาปัตยกรรม

  15. แผนงานอื่นภายใต้ AEC Blueprint สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ Broadcasting Industry นโยบายการแข่งขัน การกำหนดกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมในภูมิภาคและสร้างเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบายการแข่งขัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่าย สิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีด้าน Broadcasting ที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมผู้ประกอบการ รายย่อยเข้าสู่ตลาด นโยบายการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัวของผู้ประกอบการะดับ service provider

  16. ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการในธุรกิจโสตทัศน์ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการในธุรกิจโสตทัศน์ (Audiovisual services)

  17. กำหนดเป้าหมายหลัก คือ การยกเลิกข้อจำกัด/อุปสรรคต่อการให้บริการทุกรูปแบบ การให้ต่างชาติเข้ามาทำงานได้มากขึ้น การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในธุรกิจบริการ การเปิดตลาดการค้าบริการในอาเซียน ภายใต้ความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework agreement on Services : AFAS)

  18. รูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการแบ่งเป็น 4 Mode Mode 1การให้บริการข้ามแดน (Cross-border supply) เช่นการแพร่ภาพรายการทีวี (television content)การซื้อดีวีดีและแผ่นหนังผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น Mode 2การใช้บริการข้ามประเทศ (Consumption abroad) เช่นบริษัทผลิตภาพยนตร์ต่างชาติเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์/รายการสารคดี ในประเทศไทย Mode 3การลงทุนธุรกิจบริการ (Commercial presence) เช่นบริษัทภาพยนตร์ไทยออกไปตั้งสำนักงานในต่างประเทศเพื่อจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในต่างประเทศ Mode 4การทำงานระหว่างประเทศ (Presence of natural persons) เช่นนักแสดง/ศิลปินต่างชาติที่เดินทางเข้ามาแสดงในประเทศไทย

  19. ข้อผูกพันในปัจจุบัน กรณีการเปิดตลาดธุรกิจบริการโสตทัศน์ของไทยในเวทีอาเซียน • เปิดเฉพาะในส่วน... • การผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์และวิดีโอ (ไม่รวมโฆษณา) • การผลิตรายการสำหรับวิทยุและโทรทัศน์ • ไทยผูกพันการเปิดตลาดแบบไม่มีเงื่อนไขสำหรับ M2 แต่ไม่ผูกพัน M1 เช่น การซื้อดีวีดีทางอินเตอร์เน็ต • ไทยอนุญาตให้อาเซียนเข้ามาทำธุรกิจได้ โดยให้ต่างชาติมีสิทธิถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 • อนุญาตให้ต่างชาติประเภท Business Visitors (ผู้แทนทางธุรกิจ) เข้ามาได้ 90 วันและ Intra-Corporate Transferee (ผู้โอนย้ายระหว่างบริษัทในเครือ) เข้ามาทำงานได้ 1 ปี และขอต่ออายุได้ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ปี ตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันทั่วไป หรือ Horizontal Commitment • ธุรกิจบันทึกเสียง และธุรกิจโสตทัศน์อื่น ๆ • ไทยผูกพันการเปิดตลาดแบบไม่มีข้อจำกัดสำหรับ M1 และ M2 และอนุญาตให้อาเซียนเข้ามาทำธุรกิจได้ โดยให้ต่างชาติมีสิทธิถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 • การเคลื่อนย้ายบุคคลในรูปแบบที่ 4 นั้น ไทยไม่ได้ผูกพัน

  20. ข้อผูกพันในปัจจุบัน ในเวที WTO และ เวที FTA • เปิดเฉพาะในส่วน... • การผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์และวิดีโอ (ไม่รวมโฆษณา) • การผลิตรายการสำหรับวิทยุและโทรทัศน์ • ไทยผูกพันการเปิดตลาดแบบไม่มีเงื่อนไขสำหรับ M2 แต่ไม่ผูกพัน M1 เช่น การซื้อดีวีดีทางอินเตอร์เน็ต • ไทยยังอนุญาตให้อาเซียนเข้ามาทำธุรกิจได้ โดยให้ต่างชาติมีสิทธิถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 และยังอนุญาตให้ต่างชาติประเภท Business Visitors (ผู้แทนทางธุรกิจ) และ Intra-Corporate Transferee (ผู้โอนย้ายระหว่างบริษัทในเครือ) เข้ามาทำงานได้ ตามข้อผูกพันทั่วไป • ** น้อยกว่าภายใต้อาเซียน เนื่องจากไม่เปิดในส่วนของ ธุรกิจบันทึกเสียง และธุรกิจโสตทัศน์อื่น ๆ 21

  21. ตารางเปรียบเทียบข้อผูกพันการเปิดตลาดของไทยในปัจจุบัน ในธุรกิจด้านรายการวิทยุและโทรทัศน์ (CPC 9613)

  22. ตารางเปรียบเทียบข้อผูกพันการเปิดตลาดของไทยในปัจจุบัน ในธุรกิจการส่งสัญญานออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ (CPC 7524) ** ไทยไม่ผูกพันการส่งสัญญาณออกอากาศวิทยุ-โทรทัศน์ในทุกเวที **

  23. ประเด็นคำถาม เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามแผนงาน AEC blue print ท่านมีความเห็นต่อการเตรียมความพร้อมในประเด็นต่อไปนี้อย่างไร? • ประเด็นการเปิดเสรี (AEC Blue print) • การเปิดเสรีการลงทุน • การให้บริการข้ามแดน (การแพร่ภาพรายการ TV ระหว่างประเทศ, การซื้อขายแลกเปลี่ยนรายการ, ...) • การลงทุนทางธุรกิจ (การเปิดสาขาผลิตรายการระหว่างประเทศ) • ประเด็นการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพ • การผลักดันสู่การลงนาม MRA • การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างประเทศ • ประเด็นการกำหนดกฎกติกากลาง / มาตรฐานจริยธรรมกลาง • ประเด็นอื่นๆ – ทรัพย์สินทางปัญญา, การผลิตสื่อสร้างสรรค์,...

  24. ประเด็นคำถาม (ต่อ) • ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ รวมถึงผู้ผลิตเนื้อหารายการ ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขันในระดับระหว่างประเทศไว้อย่างไร • ข้อเสนอเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ เมื่อเข้าสู่ AEC • ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต content แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนมากน้อยเพียงใด • ปัญหาและอุปสรรคที่จะทำให้กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในประชาคมอาเซียนและระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง • คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการหรือปลดล็อคให้เร็วที่สุด

  25. ขอบคุณค่ะ

More Related