1 / 9

การจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบ GIS

N. S. P. ผู้นำเข้าแห่ขายทิ้งเคมีภัณฑ์ หลังราคาร่วงแบกสต๊อกอ่วม. กรมการค้าฯ ช่วยผู้ส่งออกฝ่าวิกฤติ เตรียมเปิดศูนย์ให้ข้อมูลตลาดส่งออก. การจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบ GIS. MD Says.

lilly
Télécharger la présentation

การจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบ GIS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P ผู้นำเข้าแห่ขายทิ้งเคมีภัณฑ์ หลังราคาร่วงแบกสต๊อกอ่วม กรมการค้าฯ ช่วยผู้ส่งออกฝ่าวิกฤติ เตรียมเปิดศูนย์ให้ข้อมูลตลาดส่งออก การจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบ GIS MD Says

  2. เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยถึงสาเหตุของสถานการณ์การแห่ขายทิ้งเคมีภัณฑ์ หลังราคาร่วงจนสินค้าค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากช่วงไตรมาส 3 ของปี 2551 ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) ได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากราคากิโลกรัมละ 20 บาท ขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 75 บาท โดยราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากแรงผลักดันของประเทศจีน เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลจีนมีการประกาศปรับเพิ่มภาษีสิ่งแวดล้อมจากการผลิตของโรงงานต่างๆ ทำให้กำลังการผลิตบางส่วนของจีนหายไป ประกอบกับช่วงก่อนการแข่งขันโอลิมปิกทำให้ความต้องการสูง ผลักดันให้ราคาของเคมีภัณฑ์เกือบทุกประเภทปรับเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งในช่วงเวลานั้น ผู้ประกอบการไทยต่างก็เร่งรีบนำเข้าฟอสฟอริกมาสต๊อกไว้เป็นจำนวนมาก เพราะเกรงว่า ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นไปอีก แต่สถานการณ์กับตรงกันข้าม เมื่อผ่านพ้นช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ความต้องการเคมีภัณฑ์กลับลดลง อีกทั้งรัฐบาลจีนประกาศลดภาษีสิ่งแวดล้อม ทำให้การผลิตของจีนเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ราคาฟอสฟอริกในช่วงไตรมาสสี่ปรับตัวลดลง จนถึงปัจจุบันลดลงมาอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 30 บาท จากสต๊อกที่นำเข้ามากิโลกรัมละ 60-75 บาท เท่ากับการขายจะต้องขาดทุนกว่า 100% บวกกับสภาวะเศรฐกิจตกต่ำ ตลาดหดตัว กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมลดลงอีกในช่วงนี้ จึงทำให้ความต้องการเคมีภัณฑ์ก็ลดลงด้วย S N P ต่อหน้า 2

  3. หน้า 2 "ช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ แม้ผู้ประกอบการจะนำเข้าเคมีภัณฑ์มาในช่วงราคาแพงๆ แต่ก็ต้องยอมขายในราคาถูกในช่วงนี้ เพราะอย่างไรก็ยังได้เงินสดดีกว่าสต๊อกของเอาไว้เฉยๆไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และการขายเพื่อระบายสต๊อกสินค้า ผู้ประกอบการนำเข้าเคมีภัณฑ์ต่างก็แข่งขันกันดัมพ์ราคาลงอย่างดุเดือด ซ้ำเติมสถานการณ์กดดันให้ราคาลดลงอีก สุดท้ายก็เจ็บตัวกันทุกคน" จากคำกล่าวข้างตอนนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้การนำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ กำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากการจำหน่ายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุนเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุให้ผู้นำเข้ารีบแห่ขายทิ้งเคมีภัณฑ์เพราะกลัวว่าสินค้าจะค้างสต็อก ดังนั้นหากผู้ประกอบการท่านใดที่ได้เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวอยู่หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทเอส.เอ็น.พี. ชิปปิ้งกรุ๊ป จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 102 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. S ในช่วงระยะเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจโลกย่ำแย่เช่นนี้ เป็นที่เชื่อกันว่าผู้ส่งออกหลายรายได้เผชิญกับปัญหาการบุกเจาะตลาดต่างประเทศอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการเร่งแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯได้เตรียมเปิดตัวระบบข้อมูลมาตรการทางการค้าและการเตือนภัยล่วงหน้าทางการค้าหรือที่เรียกว่า early warning ผ่านทางเว็บไซต์ www.dft.go.th ซึ่งภายในระบบ จะประกอบด้วย ข้อมูลของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิเช่น สหภาพยุโรป สหรัฐ อาเซียน ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และสินค้าที่ไทยส่งออกสูงสุด 200 รายการแรก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนการค้าระหว่างประเทศ โดยจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะเป็นระบบค้นหาข้อมูล อัตราภาษีทั้งภาษีภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ภาษีภายใต้ความตกลงเสรีทางการค้า (FTA) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กฎแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี และแบบฟอร์มหรือขั้นตอนที่ต้องใช้ในการส่งออก โดยวิธีการสืบค้นข้อมูลเน้นสะดวก รวดเร็ว โดยใส่ชื่อสินค้าหรือพิกัดศุลกากรที่ต้องการจะส่งออก ระบบจะแสดงข้อมูล ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ทั้งในแบบรายประเทศและหลายประเทศพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถบุกเจาะตลาดต่างประเทศได้โดยการคีย์รายชื่อสินค้าที่ผลิต ก็จะรู้ทันทีว่าสินค้ารายการนั้นๆ มีประเทศใดบ้าง ให้สิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้า สิทธิพิเศษนั้นอยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าอะไร มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการส่งออกอย่างไรบ้าง N P ต่อหน้า 2

  5. หน้า 2 นอกจากนี้ จะมีข้อมูลระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการค้า (early warning) แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบ มาตรการที่ประเทศต่างๆ กำลังจะนำออกมาบังคับใช้ รวมถึงกฎระเบียบสมาชิกองค์การการค้าโลกที่จะประกาศใช้หรือแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยการเตือนภัยจะแจ้งทั้งรายสินค้า และรายประเทศ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการท่านใดมีปํญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ www.dft.go.th หรือโทรศัพท์มาสอบถามได้ที่ บริษัทเอส.เอ็น.พี ชิปปิ้ง กรุ๊ป จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 501 คุณพงษ์ศักดิ์ สุวรรณน้อย ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  6. S ปัจจุบันนี้โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุค IT อย่างเต็มตัว เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการของผู้ประกอบการทุกท่านเป็นไปอย่างถูกต้องและทันสมัยนั้น ทางกรมศุลกากรจึงได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการ การจัดทำฐานข้อมูลของสถานประกอบการของผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร เข้าสู่ระบบ GIS (Geographic Information System) หรือที่เรียกกันว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก่อนอื่นต้องขออธิบายโดยสังเขปก่อนว่าระบบ GIS นั้นคือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศเช่น ทีอยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่งเส้นรุ้ง เส้นแวง ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล เนื่องจาก ทางบริษัทเราได้รับประกาศจากทางกรมศุลกากรว่า กรมศุลกากรมีความจำเป็นต้องให้บริษัท แมพพ้อยท์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการสำรวจ ถ่ายภาพและบันทึกค่าพิกัดโดยใช้อุปกรณ์รังวัดค่าพิกัดด้วยดาวเทียม GPS ที่ตั้งสถานประกอบการและจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการซึ่งได้ลงทะเบียนไว้ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 20/2550 ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2550 ในพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ รวม 76 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 N P ต่อหน้า 2

  7. หน้า 2 โดยในการสำรวจและขอข้อมูลรายละเอียดยังสถานประกอบการดังกล่าวนั้น พนักงานของบริษัท แมพพ้อยท์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด จะต้องแสดงบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่สำรวจข้อมูลโครงการจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของกรมศุลกากร ดังนั้น หากผู้ประกอบการท่านใดที่อยากให้ฐานข้อมูลของสถานประกอบการของท่านมีความถูกต้องตามระบบมาตราฐานของกงศุลกากร โปรดให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท แมพพ้อยท์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ในการสำรวจและให้ข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการ เพื่อเป็นประโยชน์แก่สถานประกอบการของท่านเอง หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้โดยตรงจากสำนักตรวจสอบอากรกรมศุลกากร โทร. 0-2667-7686 หรือ ผ่านทาง www. customs.go.th และ www. mappointasia.com S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. S การประกันภัยสินค้า สินค้าที่ขนส่งกันระหว่างประเทศนั้น เป็นที่รู้กันดีอยู่ว่าสินค้าจะต้องถูกส่งเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเป็นระยะทางที่ไกลพอสมควร ซึ่งโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากปัจจัยต่าง ๆ ก้มีความเป็นไปได้สูง โดยผู้นำเข้าส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการซื้อประกันภัยความเสียหายกับบริษัทฯประกันภัยต่าง ๆ ไว้ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การซื้อประกันภัยความเสียหายเป็นการซื้อบริการเพื่อความสะดวกในการเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น จากประสบการณ์การทำงานของผมพบว่า ผู้นำเข้าของประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะมองถึงความสะดวกในด้านราคามากกว่า โดยจะขอราคา CIF จากผู้ขาย ซึ่งในกรณีนี้ ทางผู้ขายก็จะต้องพยายามหาเบี้ยประกันที่ถูกที่สุดเพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยไม่สนใจว่า หากในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ผู้นำเข้าในประเทศไทยจะเรียกร้องเงินค่าเสียหายได้หรือไม่ ในหลายกรณีพบว่า เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับสินค้าที่ทำประกันภัยไว้กับบริษัทฯที่ต่างประเทศ เเล้วเกิดปัญหาที่ว่า ตัวแทนของบริษัทฯ ในประเทศไทยไม่สามารถอนุมัติค่าเสียหายให้ผู้นำเข้าได้ จะต้องดำเนินเรื่องยุ่งยาก มากมาย เช่น การขอเอกสารเพิ่ม หรือการที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการที่นานกว่าปกติ เป็นต้น เเละหากเกิดความไม่ครบถ้วน หรือไม่สมบูรณ์ของเอกสารใด ๆ ก็ตาม บริษัทแม่ที่อยู่ต่างประเทศก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินค่าเสียหายทันที N P ต่อหน้า 2

  9. หน้า 2 เจตนารมณ์ในการซื้อประกันภัยนั้น ก็เป็นเพื่อความสะดวกในการเรียกร้องค่าเสียหาย เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายเกิดขึ้น เเต่ในกรณีที่ซื้อประกันภัยจากต่างประเทศ เเละเกิดเหตุการณ์ที่ผู้นำเข้าไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายได้ ดูจะเป็นการขัดเจตนารมณ์ในการทำประกันภัยโดนสิ้นเชิง อีกทั้งยังทำให้ผู้นำเข้าต้องแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเองอีกด้วย ดังนั้น เมื่อจะสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้น ผู้นำเข้าจะต้องขอค่าสินค้าใน Term FOB โดยให้แยกค่า Freight เเละ ค่า Insurance ออกมาต่างหาก จากนั้นก็ให้เปรียบเทียบค่า Freight เเละ ค่า Insurance ที่ซื้อในประเทศไทยว่ามีมูลค่าเเตกต่างกันประมาณเท่าไหร่ ตามความเห็นของผมนั้น ถึงแม้ว่ามูลค่าค่า Freight เเละ ค่า Insurance ที่ซื้อในประเทศไทยจะมีอัตราที่สูงกว่าเล็กน้อย เเต่กลับสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้นำเข้าได้มากกว่า ด้วยเป็นเพราะเป็นบริษัทที่อยู่ในประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถาม หรือเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เเละที่สำคัญก็คือ ผลกำไรของบริษัทก็ยังอยู่ในประเทศไทย ไม่รั่วไหลออกไปหล่อเลี้ยงบริษัทต่างชาติ เเต่สุดท้ายหากผู้นำเข้าประสงค์ที่จะซื้อสินค้าในราคา CIF ข้อแนะนำก็คือ จะต้องศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทประกันภัยนั้นๆ ว่ามีข้อมูลเบื้องต้นที่ไว้ใจได้หรือไม่ เเละใครเป็นตัวเเทนในประเทศไทย ควรจะสอบถามข้อมูลเหล่านี้ล่วงหน้าเพื่อจะได้ดูประวัติความเป็นมา เเละอาจจะขอเปลี่ยนบริษัทประกันภัยได้ทัน ในกรณีที่เห็นว่าไม่น่าไว้ใจ หรือ มีประวัติยุ่งยากในขอเคลมค่าประกันคืน สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 19/03/09 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related