1 / 101

TCP/IP และอินเทอร์เน็ต ( TCP/IP and in ternet)

TCP/IP และอินเทอร์เน็ต ( TCP/IP and in ternet). วัตถุประสงค์. 1. สามารถสรุปประวัติโดยย่อของอินเทอร์เน็ตได้ 2. สามารถอธิบายกลไกการทำงานของโปรโตคอล IP ได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถจัดสรรคลาสต่างๆ บน IPv4 ได้ 4. สามารถแบ่งเครือข่ายย่อยด้วยการใช้ซับเน็ตมาสก์ได้

Télécharger la présentation

TCP/IP และอินเทอร์เน็ต ( TCP/IP and in ternet)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. TCP/IP และอินเทอร์เน็ต(TCP/IP and internet)

  2. วัตถุประสงค์ 1. สามารถสรุปประวัติโดยย่อของอินเทอร์เน็ตได้ 2. สามารถอธิบายกลไกการทำงานของโปรโตคอล IP ได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถจัดสรรคลาสต่างๆ บน IPv4 ได้ 4. สามารถแบ่งเครือข่ายย่อยด้วยการใช้ซับเน็ตมาสก์ได้ 5. เข้าใจหลักการของ CIDR และสามารถนำไปใช้เพื่อการจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรสได้ อย่างเหมาะสม 6. สามารถคำนวณหาแอดเดรสซับเน็ตได้ 7. บอกวัตถุประสงค์ของ NAT และวิธีการ NAT ในรูปแบบต่างๆ ได้ 8. บอกหน้าที่การทำงานของโปรโตคอลที่อยู่บนชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก ทรานสปอร์ตและ แอปพลิเคชั่นได้ 9. เข้าใจในโครงสร้างของ IPv6 และสามารถกำหนดแอดเดรสด้วย IPv6 ได้อย่างถูกต้อง

  3. ประวัติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Brief History of Internet) อินเทอร์เน็ตเกิดจากโครงการเครือข่ายอาร์พาเน็ต (Advanced Research Project Agency Network : ARPANET) ภายใต้กระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี วัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยด้านเทคโนโลยีที่อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ห่างไกลกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในโครงการวิจัยทางการทหาร 2. เครือข่ายจะยังคงสามารถสื่อสารใช้งานได้ถึงแม้ว่าจะถูกโจมตีหรือถูกทำลาย ด้วยอาวุธนิวเคลียร์

  4. ประวัติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Brief History of Internet) มีการทดลองใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่เป็น ศูนย์กลางอยู่ 4 เครื่องด้วยกัน 1. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์แห่งนครลอสแอนเจลิส 2. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์แห่งนครซานตา บาร์บารา 3. มหาวิทยาลัยยูทาห์ 4. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด หลังจากนั้นเป็นต้นมา หน่วยงานต่างๆ ได้เล็งเห็นประโยชน์จากเครือข่ายดังกล่าว และได้มี การพัฒนาเครือข่ายเพื่อใช้งานในหน่วยงานของตน จนกระทั่งมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยโปรโตคอล TCP/IP เป็นครั้งแรก และต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนจากเครือข่าย เฉพาะกลุ่มมาเป็นเครือข่ายสาธารณะที่สามารถใช้งานอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต”

  5. ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer) ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เลือกเส้นทางเพื่อจัดส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเก็ต โดยจะใช้อัลกอริทึมในการกำหนดเส้นทางที่เหมาะสม โปรโตคอลที่สำคัญคือ IP จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์เร้าเตอร์ในการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องคือ ARP, RARP, ICMP และ IGMP เป็นต้น

  6. OSI Model กับ Protocol ต่างๆ OSI Model

  7. TCP/IP Model กับ Protocol ต่างๆ IP เป็นโปรโตคอลหลักในการสื่อสารข้อมูล เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปยังปลายทาง ICMP (Internet Control Message Protocol) ทำหน้าที่ เสริมการทำงานของ IP ให้สมบูรณ์โดยจะแจ้งข้อผิดพลาดแก่ IP IGMP (Internet Group Management Protocol) ทำหน้าที่ในการส่ง UDP ไปยังกลุ่ม ของโฮสต์หรือโฮสต์หลายๆ ตัวพร้อมกัน ARP (Address Reservation Protocol) ทำหน้าที่เปลี่ยน ระหว่าง Address ที่ใช้โดย IP ให้เป็น Address ของ Network Interface RARP (Reverse ARP)ทำหน้าที่สลับกันกับ ARP คือเปลี่ยน ระหว่าง Address ของ Network Interface ให้เป็น Address ที่ใช้โดย IP

  8. โปรโตคอล TCP/IP (TCP/IP Protocol) TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้น ทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดย อัตโนมัติถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทาง อื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้

  9. โปรโตคอล TCP/IP (TCP/IP Protocol) TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน คือ 1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน 2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับ ยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสาย สื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การ สื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ 3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่ง แฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)

  10. การบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารการบริการการเชื่อมต่อการสื่อสาร การบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทาง ประกอบด้วยการสื่อสาร 2 แบบ คือ การสื่อสารแบบ Connectionless และแบบ Connection oriented ส่วนในรูปแบบ OSI จะให้ความสำคัญเฉพาะบริการแบบ Connection - oriented เท่านั้น

  11. การสื่อสารแบบ Connection-oriented 1. การสื่อสารแบบ Connection-orientedจะมีการกำหนดช่วงเวลา (Session) สำหรับการติดต่อยืนยันการส่ง-รับข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง เช่นเดียว กับการ ทำงานของโปรโตคอล Session ในรูปแบบ OSI ซึ่งทำให้โปรโตคอล TCP เป็นโปรโตคอลที่มี ความน่าเชื่อถือ (Reliable) เพราะให้ความแน่นอนว่าแพ็กเกจข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจากต้นทาง จะไปถึงยังปลายทาง อย่างเป็นลำดับ และไม่มีความผิดพลาด หรือสูญหายของข้อมูล

  12. การสื่อสารแบบ Connectionless 2. การสื่อสารแบบ Connectionless ของโปรโตคอล จะมีลักษณะแบบเดียวกับ โปรโตคอล UDP (User Datagram Protocol)และ โปรโตคอล IP (Internet Protocol) คือ โปรโตคอลจะมีหน้าที่ควบคุมการส่ง – รับข้อมูลโดยไม่มีการรอคอย หรือการยืนยันการตอบรับ ข้อมูลจากปลายทาง ทำให้บริการแบบนี้ให้ความน่าเชื่อถือน้อยกว่า แต่ก็ทำให้การสื่อสาร ข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้นถ้าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการส่ง-รับข้อมูล

  13. การบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารการบริการการเชื่อมต่อการสื่อสาร สรุป - Connection-Oriented ต้องสร้าง connection ก่อน เสียเวลาตอนเริ่มต้นหลังจากนั้นจึงเริ่ม ส่งได้ มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างการใช้งาน เช่น E-mail, World Wide Web และ FTP (File Transfer Protocol) เป็นต้น - Connectionless ไม่มีการสร้าง connection ส่งได้เลย ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่มีการรับประกันว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้องครบถ้วน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น สัญญาณ Video, เสียง ซึ่งข้อมูลสามารถหายไปบางส่วนได้

  14. โปรโตคอล IP (Internet Protocol) โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่รับภาระในการนำข้อมูล ไปยังปลายทาง ในอินเตอร์เน็ต โปรโตคอลต่างๆ ทั้ง TCP,UDP,ICMP ต่างก็ใช้ระบบนี้ทั้งสิ้น เนื่องจากโปรโตคอล IP มีกลไกที่ฉลาดในการค้นหาเส้นทางขนส่งข้อมูล แต่จุดด้อยโปรโตคอล IP คือเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless (เปรียบเสมือนระบบขนส่งที่สามารถนำสิ่งของไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่รับประกัน ว่าข้อมูลจะถึงปลายทางหรือไม่) ซึ่งโปรโตคอล IP อยู่ในชั้น Network Layer หรือ Internet Layer

  15. โปรโตคอล IP (Internet Protocol) หากต้องการความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง โปรโตคอล IP จะทำงาน ควบคู่ไปกับโปรโตคอลที่มีเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งถึงปลายทางหรือไม่ คือ โปรโตคอล TCPตัวอย่างเช่น การส่งจดหมาย หากเป็นการส่งแบบปกติ จะไม่มีการรับประกัน ว่าจดหมายจะถึงมือผู้รับหรือไม่ เนื่องจากอาจมีการตกหล่นหรือสูญหายระหว่างทาง ดังนั้น หากต้องการส่งจดหมายที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อาจเลือกวิธีการส่งแบบลงทะเบียน ซึ่ง จะมีการรับรองว่าจดหมายจะส่งถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน ดังนั้น IP เปรียบเสมือนการส่ง จดหมายแบบธรรมดาและ TCP คือการส่งจดหมายแบบลงทะเบียน

  16. การกำหนดตำแหน่งที่อยู่ใน IPv4 (IPv4 Addressing) TCP/IP จะกำหนดที่อยู่ด้วยไอพีแอดเดรส โดยไอพีแอดเดรส คือ ชุดตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิต ที่ใช้กำหนดที่อยู่ของโฮสต์ โดยแต่ละ 32 บิตของไอพีแอดเดรสจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ NetID และ HostID ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการหาเส้นทาง • แอดเดรสในส่วนของ NetID จะชี้ระบุเครือข่าย (Physical Network) ที่คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อ • แอดเดรสในส่วนของ HostID จะชี้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่าย

  17. การกำหนดตำแหน่งที่อยู่ใน IPv4 (IPv4 Addressing) ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วย 4 ไบต์ หรือ 4 ออคเทต (32 บิต) โดยในชุดของหมายเลขไอพี จะมีฟิลด์ 3 ฟิลด์ คือ - ประเภทของคลาส (Class) - ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address) - ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)

  18. Network ID and Node ID concepts

  19. การแทนค่าไอพีแอดเดรสแบบเลขฐานสองและฐานสิบ (Binary and Dotted Decimal Notation) IP Address ขนาด 32 bit จะเป็นไปตามข้อกำหนดของ IPv4 จำนวน bit ดังกล่าว สามารถแทนเลขหมายหรือ address ของอุปกรณ์ได้ประมาณ 4 พันล้านเครื่อง หรือเท่ากับ 232 (4,294,967,296) แต่ไม่ได้นำมาใช้งานทั้งหมดเนื่องจากมีการสงวนไว้ใช้งานเฉพาะอย่าง และด้วยขนาด 32 bit ของ IP Address ทำให้ยากต่อการจดจำ จึงมีการแทนเครื่องหมายในรูป แบบของเลขฐานสิบ และใช้จุดทศนิยมคั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ดังรูป IP Address ในรูปแบบเลขฐานสอง และฐานสิบที่มีจุดทศนิยมคั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด

  20. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) เป็นแนวคิดในการแบ่งคลาสออกเป็น 5 ชนิดโดยแต่ละคลาสที่ออกแบบมาจะรองรับ ความต้องการที่แตกต่างกันแล้วแต่องค์กรปัจจุบันคลาส Aและคลาส Bถูกนำมาใช้จนเต็ม แล้ว เหลือแต่ คลาส C ที่ยังมีการใช้งานอยู่ คลาส D ถูกสงวนไว้สำหรับเป็นมัลติคลาสต์ แอดเดรส และคลาส E ถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคต จำนวนเครือข่าย=2NetID จำนวนโฮสต์ในแต่ละเครือข่าย= 2HostID-2

  21. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class A

  22. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class A คลาส A จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 7 บิต - บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส A - จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ 126 (27-2) เครือข่าย - ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 0 (00000000) และ 127 (01111111) จะถูกสงวนไว้ - แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ถึง (224-2) โฮสต์ - สามารถนำไปใช้งานกับองค์กรหรือหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต้องมี โฮสต์จำนวนมาก

  23. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Ex.จงแปลงเลขฐานสองต่อไปนี้ 0 1 0 1 1 1 0 1 เป็นเลขฐานสิบ จากโจทย์จะได้ 64 + 16 + 8 +4 +1 =93

  24. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class B คลาส B จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 14 บิต - 2 บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 10 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส B - จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ (214-2) เครือข่าย - ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 128 (10000000) และ 191 (10111111) จะถูกสงวนไว้ - แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ถึง (216-2) โฮสต์ - เหมาะสมกับการนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดกลาง เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน

  25. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Ex.จงแปลงเลขฐานสองต่อไปนี้ 1 0 1 1 1 1 1 1 เป็นเลขฐานสิบ จากโจทย์จะได้ 128 + 32 + 16 + 8 + 4 + 2 + 1 = 191

  26. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class C

  27. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class C คลาส C จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 21 บิต - 3 บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 110 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส C - จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ (221-2) เครือข่าย - ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 192 (11000000) และ 223 (11011111) จะถูกสงวนไว้ - แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ 254 (28-2) โฮสต์ - เหมาะสมกับการนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดเล็ก

  28. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Ex.จงแปลงเลขฐานสองต่อไปนี้ 1 1 1 1 1 1 1 0 เป็นเลขฐานสิบ จากโจทย์จะได้ 128 + 64 +32 + 16 + 8 + 4 + 2 = 254

  29. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class D คลาส D จะไม่มีการกำหนดหมายเลขเครือข่าย และถูกสงวนไว้สำหรับเป็นมัลติคาสต์ - 4 บิตในออคเทตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 1110 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส D - แอดเดรสเริ่มต้น คือ 224 (11100000) และแอดเดรสสุดท้าย คือ 239 (11101111)

  30. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) Class E คลาส E จะไม่ถูกนำมาใช้ โดยจะถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคต - 4 บิตในออคเทตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 1111 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส E - แอดเดรสเริ่มต้น คือ 240 (11110000) และแอดเดรสสุดท้าย คือ 255 (11111111)

  31. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing)

  32. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing) เนื่องจากไอพีแอดเดรสถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบกัน คือ หมายเลขเครือข่าย และ หมายเลขโฮสต์ ทำให้ง่ายต่อการออกแบบระบบ โดยในการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลบนเครือข่าย เร้าเตอร์จะพิจารณาเลือกเส้นทางเฉพาะส่วนของหมายเลขเครือข่ายเท่านั้นโดยโฮสต์หรือ อุปกรณ์ที่มีหมายเลขเครือข่ายชุดเดียวกันจะอยู่บนเครือข่ายเดียวกันหรือเรียกว่าอยู่บน เน็ตเวิร์กเดียวกัน

  33. การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting) การทำ Subnet คือการแบ่งเน็ตเวิร์กย่อยภายในเน็ตเวิร์กหลักเพื่อให้แต่ละเน็ตเวิร์กมี ขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณโฮสต์ที่มีอยู่ โดยใช้หลักการเดียวกับการนำ IP Address มาแยก เป็น Host id และ Network id ข้อดีของการทำ Subnet 1. ใช้เครือข่ายได้เต็มประสิทธิภาพ 2. สามารถกำหนดหรือแจกจ่ายหมายเลข IP ได้ตามที่ต้องการ http://www.infocellar.com/networks/ip/subnets.htm

  34. การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting)

  35. ซับเน็ตมาสก์ (Subnet Mask) การทำซับเน็ตมาสก์จะดำเนินการควบคู่ไปกับการทำซับเน็ต โดยซับเน็ตมาสก์เป็น กระบวนการที่บอกให้รู้ว่า เครือข่ายที่ใช้งานอยู่นั้นมีการแบ่งเป็นซับเน็ต มีบิตที่ยืมไปเพื่อ ดำเนินการแบ่งซับเน็ตจำนวนกี่บิต และใช้ตำแหน่งใดเพื่อระบุเป็นหมายเลขเครือข่ายย่อย ปกติค่าของซับเน็ตจะมีการระบุไว้แล้ว เรียกว่า ค่าดีฟอลต์ (Default) หากไม่มีการทำซับเน็ต ค่าของซับเน็ตมาสก์จะเป็นค่าดีฟอลต์ ดังนี้ Default subnet mask แบบ Classful

  36. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบไม่ใช้คลาสการจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบไม่ใช้คลาส (Classless Addressing) ในปัจจุบันมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตสูงขึ้นและการใช้แอดเดรสแบบClassful Addressing มีข้อจำกัดอยู่มาก และก่อให้เกิดการใช้งานไอพีแอดเดรสอย่างไม่มีประสิทธิภาพ คือทำให้ สูญเสียไอพีแอดเดรสไปจำนวนมาก จึงได้มีแนวทางในการจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบ Classless Addressing ด้วยการมุ่งเน้นจำนวนโฮสต์ที่ต้องการใช้งานจริงเป็นสำคัญ โดยไม่มี การแบ่งแอดเดรสออกเป็นคลาส คือ การจัดสรรจำนวนไอพีแอดเดรสให้เหมาะสมกับจำนวนที่ นำไปใช้งานจริง

  37. การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบไม่ใช้คลาสการจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบไม่ใช้คลาส (Classless Addressing) CIDR Notation (Classless Inter-Domain Routing) CIDR อ่านว่า ไซเดอร์ (CI-DER) เป็นการแทนค่าในรูปแบบใหม่ที่ใช้สำหรับการมาสกิ้ง ด้วยการเพิ่มสัญลักษณ์ “ / (Slash) “ แล้วตามด้วยขนาดของมาสก์ เช่น ไอพีแอดเดรส 128.10.0.0 (Class B) ประกอบด้วย NetID ในส่วนของ16 บิตแรก และ HostID ใน 16 บิต หลัง ดังนั้นการแทนแอดเดรส ในรูปแบบของ CIDR สามารถเขียนได้ดังนี้ 128.10.0.0/16 ซึ่งจะ ทำให้เราสามารถทราบว่ามาสก์ของแอดเดรสนี้คืออะไร CIDR 128.10.0.0 + NetID 128.10.0.0/16

  38. ตัวอย่าง ที่1 • Ex1.จากหมายเลข IP 192.168.100.0/27 จงหา • 1. จำนวน Subnet • 2. จำนวน Host/Subnet • 3. หาหมายเลข Subnet mask

  39. ตัวอย่าง ที่1 วิธีคิด จากโจทย์ IP 192.168.100.0/27 /27 แปลงเป็นเลขฐาน 2 11111111.11111111.11111111.111/00000 จากสูตรหาจำนวน Subnet =2n แทนค่าจากสูตร จะได้ จำนวน Subnet = 23 = 8 subnet ถูกยืมมา 3 bit โดยที่ n คือ bit ที่ยืม (bit 1)

  40. ตัวอย่าง ที่1 จากโจทย์ IP 192.168.100.0/27 /27 แปลงเป็นเลขฐาน 2 11111111.11111111.11111111.111/00000 Subnet mask ถ้าดูจากตารางคำนวณ จะได้ 255.255.255.224

  41. ตัวอย่าง ที่1 วิธีคิด จากโจทย์ IP 192.168.100.0/27 /27 แปลงเป็นเลขฐาน 2 11111111.11111111.11111111.111/00000 จากสูตรจำนวน host/subnet =2n-2 แทนค่าจากสูตร จะได้ จำนวน Host/Subnet = 25-2= 30 host/subnet บิตที่เหลือ 5 bit โดยที่ n คือ bit ที่เหลือ (bit 0)

  42. ตัวอย่าง ที่1 หมายเลข Subnet ที่ถูกต้องเป็นหมายเลขอะไรบ้าง ?? Subnet Zero คือ 192.168.100.0 - 192.168.100.31 Subnet แรก คือ 192.168.100.32 - 192.168.100.63 Subnet สอง คือ 192.168.100.64 - 192.168.100.95 Subnet สาม คือ 192.168.100.96 - 192.168.100.127 Subnet สี่ คือ 192.168.100.128 - 192.168.100.159 Subnet ห้า คือ 192.168.100.160 - 192.168.100.191 Subnet หก คือ 192.168.100.192 - 192.168.100.223 Subnet เจ็ดคือ 192.168.100.224 - 192.168.100.255

  43. ตัวอย่าง ที่1 จากต IP192.168.100.68/27 นำไป set ให้ host ได้หรือไม่ และ IP 192.168.100.32/27 นำไป set ให้ host ได้หรือไม่

  44. หมายเหตุ - สูตรทั่วไปในการหาจำนวน subnetที่จะเกิดขึ้นคือ 2n โดยที่ค่า n นั้น ก็คือจำนวน host bit ที่ถูกยืมมาเป็น subnet bit ที่เราหาได้มาจาก การเทียบ subnet maskแต่ถ้าใช้สอบวิชา network พื้นฐาน , สอบ ccna หรือ ใช้งาน กับ product ที่ไม่ใช่ของ ciscoสูตรที่ใช้ในการหา subnet ก็คือ 2n-2 ที่ต้องหักออกไป 2 เพราะว่า จะต้องตัด subnet แรก กับ subnet สุดท้ายออกไป เพราะติดเรื่องzero subnet และ all 1s subnet - แต่ถ้าใช้สอบ certify ตั้งแต่ CCNP ขึ้นไป หรือ ใช้งาน กับ product ของ ciscoซึ่งใช้ ios ล่าสุดสูตรที่ใช้ในการหา subnet ก็คือ 2nเหมือนกับอันแรกเลยที่ไม่ต้องมีการตัด subnet แรก และ subnet สุดท้ายออกไป ก็เพราะว่า ปัจจุบัน ios ของ cisco ที่ใช้อยู่ในอุปกรณ์ ตั้งแต่เวอร์ชั่น 12.0 ขึ้นไป มีคำสั่ง ip subnet zero ซึ่งจะทำให้ใช้งาน ip ที่อยู่ใน subnet แรกได้และ พวก ip ที่อยู่ใน subnet สุดท้ายนั้น ด้วย rfc ใหม่ๆ ก็กำหนดให้สามารถใช้งานได้เช่นกัน

  45. ตัวอย่าง ที่2 Ex2.IP 10.10.10.0/13 เป็น IP ที่นำไป set ให้ host ได้หรือไม่ วิธีคิด จากโจทย์ /13แปลงเป็นเลขฐาน 2 11111111.11111/000. 00000000.00000000 จากสูตรจำนวน Subnet =2n แทนค่าจากสูตร จะได้ จำนวน Subnet = 25= 32 Subnet แทนค่าจากสูตร จะได้ จำนวน Host/Subnet = 219-2= 524,286 Host/Subnet โดยที่ n คือ bit ที่ยืม (bit 1) สูตรหา Host/Subnet = 2n-2 โดยที่ n คือ bit ที่เหลือ (bit 0)

  46. ตัวอย่าง ที่2 จากโจทย์ IP 10.10.10.0/13 /13 แปลงเป็นเลขฐาน 2 11111111.11111/000. 00000000.00000000 Subnet mask ถ้าดูจากตารางคำนวณ จะได้ 255.248.0.0

  47. ตัวอย่าง ที่2 จากโจทย์ IP 10.10.10.0/13 นำมาเขียนเป็นหมายเลข IP Address ได้ดังนี้ 10.0.0.0 – 10.7.255.255 10.8.0.0 – 10.15.255.255 10.10.10.0 อยู่ในช่วงนี้ IP ที่ใช้งานได้คือ 10.8.0.1 – 10.15.255.254 IP 10.10.10.0/13 นำไป set ให้host ได้หรือไม่ ตอบ ได้ IP Calculatorโปรแกรมช่วยคำนวณ IP Address

  48. ตัวอย่าง ที่4 จากรูปถ้ากำหนด IP มาให้ เป็น 192.168.55.0 /24 ให้ทำการแบ่ง จำนวน host ให้เหมาะสมกับแต่ละ Subnet จะได้ดังนี้

  49. ตัวอย่าง ที่4 วงที่ 1 ต้องการ 7 hosts จะได้ Mask ที่เหมาะสมคือ /28 จะมีจำนวน host 14 ตัว เพียงพอกับความต้องการ ( ใช้ /29 ไม่ได้เนื่องจากจะได้จำนวน hosts เพียง 6 ตัวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ ) ถ้าเราใช้IP ของ subnet แรกของ /28 IP ที่ใช้งานไปคือ 192.168.55.0 - 192.168.55.15 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ IP 192.168.55.16 – 192.168.55.255

  50. ตัวอย่าง ที่4 วงที่ 2 ต้องการ 2 hosts จะได้ Mask ที่เหมาะสมคือ ?? /30 จะมีจำนวน hosts 2 ตัวพอดี ในการเลือกใช้ IP ต้องเลือก subnets ที่IP ไม่ซ้ำกับที่แบ่งให้วงที่1 เช่น เลือกใช้ subnet ที่มี IP ตั้งแต่ 192.168.55.16 - 192.168.55.19 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ 192.168.55.20 – 192.168.55.255

More Related