1 / 65

Kenaf (ปอแก้ว) MALVACEAE

Kenaf (ปอแก้ว) MALVACEAE. Siamese or Thai Jute Hibiscus cannabinus L. Hibiscus sabdariffa L. main stem. petiole. Kenaf leaf is alternate bearing , a) upper surface, b) lower surface. staminal column. main stem. petal. epicalyx. sepal. Kenaf flower is sessile.

lindsey
Télécharger la présentation

Kenaf (ปอแก้ว) MALVACEAE

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Kenaf (ปอแก้ว) MALVACEAE • Siamese or Thai Jute • Hibiscus cannabinus L. • Hibiscus sabdariffa L.

  2. main stem petiole Kenaf leaf is alternate bearing , a) upper surface, b) lower surface

  3. staminal column main stem petal epicalyx sepal Kenaf flower is sessile

  4. แหล่งกำเนิด และนิเวศ • เขตร้อน และกึ่งร้อน ของทวีปอัฟริกา • แพร่กระจายระหว่าง 45 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้ • ออกดอกเมื่อวันสั้นกว่า 12 ชม (เดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน) • เป็นพืชผสมตัวเอง (Self pollination) • ทนแล้งได้ดี ต้องการฝน 500 - 650 มม • อุณหภูมิสำหรับการเติบโต 15.5 - 26.6 องศา ซ • ต้องการดินร่วนทราย ไม่ทนต่อน้ำขัง ไม่ต้องการดินดีนัก

  5. แหล่งปลูกของโลก • อินเดีย • จีน • พม่า • อียิปต์ • บังคลาเทศ • ไทย • เนปาล • บราซิล

  6. พื้นที่ปลูก ผลผลิต และผลผลิตเฉลี่ยของประเทศผู้ผลิตปอ ประเทศ พื้นที่ปลูก ผลผลิต ผลผลิตเฉลี่ย (1000 ไร่) (1000 ตัน) (กก./ไร่) บังคลาเทศ 2,993 1,853 619 อินเดีย 6,563 1,740 265 จีน 419 186 444 ไทย 102 29 284 รัสเซีย 131 45 344 พม่า 233 33 142 เนปาล 73 15 205 เวียตนาม 36 11 306 ชิลี 63 10 159 คิวบา 63 10 159

  7. สถานการณ์การผลิตปอของโลกสถานการณ์การผลิตปอของโลก • อินเดียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ประมาณ 30- 40 % • ปี 2528/29 โลกเคยผลิตปอได้สูงสุด 4.120 ล้านตัน แต่ปัจจุบันการผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.23 ต่อปี ในปี 2539/40 มีการผลิต 2.670 ล้านตัน • ผู้ผลิตที่สำคัญของโลกได้แก่ อินเดีย (50%) บังคลาเทศ (30%) จีน (10%) ไทย (5%)

  8. แหล่งปลูกของไทย • 2475 หลวงอิงคศรีกสิการ ได้นำพันธุ์ปอแก้ว เข้ามาปลูกครั้งแรกที่ โรงเรียนเกษตรกรรมโนนวัด (สถานีทดลองพืชไร่โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา) • ปัจจุบัน แหล่งปลูกปอแก้วอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

  9. เนื่อที่ปลูก และผลผลิตปอแก้ว ปี 38/39 ภาค เนื้อที่ ผลผลิดรวม ผลผลิตเฉลี่ย (ไร่) (ตัน) (กก/ไร่) อิสาน 596,544 131,754 221 กลาง 26,478 7,571 286 รวม 623,022 139,325 224 ที่มา : ศูนย์สถิติการเกษตร, 2538

  10. เนื่อที่ปลูก และผลผลิตปอแก้ว ปี 39/40 ภาค เนื้อที่ ผลผลิดรวม ผลผลิตเฉลี่ย (ไร่) (ตัน) (กก/ไร่) อิสาน 457,180 103,353 226 กลาง 18,097 5,946 329 รวม 475,277 109,299 230 ที่มา : ศูนย์สถิติการเกษตร, 2541. รายงานผลการสำรวจ ฝ้ายและปอ

  11. เนื่อที่ปลูกและผลผลิตปอแก้ว ปี 43/44 ภาค เนื้อที่ ผลผลิดรวม ผลผลิตเฉลี่ย (ไร่) (ตัน) (กก/ไร่) อิสาน 106,101 27,764 281 กลาง 3,651 879 244 รวม 109,752 28,643 280 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2541. (www.oae.go.th)

  12. พันธุ์ปอแก้ว • ปอแก้วไทย (Hibiscus sabdariffa var altissima) พันธุ์ต้นเขียว พันธุ์ขอนแก่น 50, พันธุ์โนนสูง 2 • ปอแก้วคิวบา (Hibiscus cannabinus) พันธุ์ 977-044, พันธุ์ขอนแก่น 60

  13. ปอแก้วไทย ปอแก้วคิวบา

  14. การเตรียมดิน • ควรไถพรวนตั้งแต่กลางเดือนเมษายน และปลูกก่อนเดือนมิถุนายน • แต่ถ้าปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ อาจจะปลูกล่า ไปประมาณปลายเดือนมิถุนายน หรือ ต้นเดือนกรกฏาคม • การไถพรวนเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องไถลึกนัก (เกษตรกรนิยมปลูก เดือนเมษายน)

  15. การปลูก • หว่านเมล็ด (Broadcasting) 3-4 กก/ไร่ • หยอดหลุม (Hill planting) ระยะปลูก 30 - 50 x 5 - 10 ซม. ใช้เมล็ด 2 - 3 กก/ไร่ • โรยเป็นแถว (Drill planting) ระยะระหว่างแถว 30 - 50 ซม. • ควรคลุกเมล็ดด้วยยากันรา เบนเลท หรือ ไดโฟลาแทน อัตรา 5 - 10 กรัม/เมล็ด 1 กก.

  16. การกำจัดวัชพืช • Pre-emergence herbicide ใช้ napropamide (Devrinol) อัตรา 1 กก/ไร่ • ทำรุ่นเมื่อต้นปอแก้วอายุประมาณ 2 เดือน หรือสูงประมาณ 50 ซม.

  17. การใส่ปุ๋ย • สูตร 8 - 8 - 8 อัตรา 50 กก/ไร่ เมื่ออายุ 1 - 2 เดือน หรือหลังการกำจัดวัชพืช • ใส่ปุ๋ยคอก • ปลูกพืชบำรุงดิน และปุ๋ยพืชสด • ปลูกพืชหมุนเวียน

  18. โรค • โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica และ Rhizoctonia soloni • โรคโคนเน่า (Collar rot) สาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica

  19. โรค • โรคใบไหม้ หรือโรคยอดเน่า (Leaf blight : top rot) สาเหตุจากเชื้อ Phyllosticta hibisci • โรครากปม (Root knot) สาเหตุจากใส้เดือนฝอย (Meloidogyne incognita)

  20. การป้องกันโรค • ปลูกปอแก้วในที่ไม่มีน้ำขัง และที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ • ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น พันธุ์ THS 2, THS 12 หรือ THS 22 • คลุกเมล็ดด้วยยากันรา เบนเลท หรือ ไดโฟลาแทน 5 - 10 กรัม/เมล็ด 1 กก • ถอน และเผาต้นที่เป็นโรคทิ้ง • ปลูกพืชหมุนเวียน

  21. แมลงศัตรูและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด • เพลี้ยจักจั่น (Leaf hopper; Amarasca biguttula) • เพลี้ยอ่อน (Aphid; Aphis gossypii) • เพลี้ยแป้ง (Mealy bug; • หนอนเจาะลำต้น (Stem borrer; Heliocoverpa armigera) • การกำจัด ใช้ยาประเภทดูดซึม เช่น อโซดริน ไดเมทโธเอท หรือ ไซกอน เมื่อพบแมลงระบาด

  22. ความต้องการน้ำ และการใช้น้ำ • เป็นพืชทนแล้ง แต่ถ้าได้รับฝนสม่ำเสมอ จะเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ เมื่อเก็บเกี่ยว ยังต้องการใช้น้ำสำหรับการแช่ฟอก • แต่ ถ้าน้ำมากเกินไป และดินระบายน้ำเลว จะเกิดโรคโคนเน่า หรือรากเน่า

  23. การเจริญเติบโตของปอแก้วการเจริญเติบโตของปอแก้ว • primary หรือ vegetative phase คือ ระยะที่งอกจากเมล็ดจนเริ่มสร้างดอก พืชจะเจริญเติบโตอย่ารวดเร็ว สร้างกิ่งใบ และราก เนื้อเยื่อ Cambium สร้างส่วนท่อน้ำ ท่ออาหาร ที่เป็น Fiber bundle แต่จะมีผนังเซลล์บาง • secondaryหรือ reproductive phase คือ ระยะที่ปอเริ่มสร้างดอก ไปจนถึงแก่

  24. ระยะ Reproductive phase แบ่งออกเป็นระยะย่อย ได้ 3 ระยะ • Floral inception ระยะที่ตาดอกเริ่มพัฒนา ไปเป็นดอก การสร้าง Fiber bundle จะลดน้อยลง แต่ผนังเซลล์เริ่มหนา และแข็งแรงขึ้น มีการสะสม cellulose, hemicellulose, pectin, lignin, calose และ ไขมัน

  25. Reproductive phase ระยะย่อยที่ 2 • Anthesis ระยะที่ดอกบาน เนื้อเยื่อ cambium จะหยุดการเจริญเติบโต ส่วนเส้นใยจะเริ่มแก่ ดอกจะเริ่มทะยอยบาน จากโคนต้นขึ้นไปเรื่อย ๆ มีการเคลื่อนย้ายอาหารที่สะสมในต้น มาใช้ในการสุกแก่และการพัฒนาของดอก และผล

  26. Reproductive phase ระยะย่อยที่ 3 • Fruiting stage ระยะการพัฒนาของผล อัตราการ สังเคราะห์แสงและการสร้างคาร์โบไฮเดรท กลับสูงขึ้น เนื้อเยื่อ cambium เปลี่ยนไปเป็นท่อน้ำท่ออาหาร จนหมดสิ้น มีการเคลื่อนย้ายสารอาหาร ออกจาก fiber bundle ไปใช้ในการเจริญของเมล็ด ทำให้ ลิกนินในเส้นใย สูงขึ้น การสูญเสียน้ำในระยะนี้ ทำให้ pectin และ pectase แข็งไม่ยืดหยุ่น ทำให้ คุณภาพเส้นใยต่ำลง

  27. การเก็บเกี่ยว • เมล็ดพันธุ์ เก็บราวเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ควรเก็บเกี่ยวเมื่อ ฝักแก่ 3 ใน 4 ของต้น ตัดต้น แล้วตากแดดจนแห้ง แล้วนวดให้เมล็ดหลุดจากฝัก ตากต่อไปอีก 2 - 3 แดด ทำความสะอาด แล้วนำไปเก็บรักษา • ผลผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย ไร่ละ 30 -50 กก.

  28. การเก็บเกี่ยว • เส้นใย เก็บเกี่ยว ตามอายุ 95 - 120 และ 140 - 160 วัน สำหรับปอแก้วคิวบา และ ปอแก้วไทย ตามลำดับ หรือพิจารณาจาก ความสูงของต้นมากกว่า 150 ซม. หรือ จากดอกบานได้ราว 50 % ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน • ทำการตัดต้นชิดดิน เลือกต้นที่ขนาดยาวเท่ากัน มัดเป็นกำขนาด 20 - 25 ซม. ปล่อยทิ้งให้ใบร่วง 2 - 3 วัน แล้วนำไปแช่ฟอก

  29. การแช่ฟอก (Retting) • นำมัดต้นปอที่ใบร่วงแล้วไปแช่ในบ่อน้ำ วางซ้อน ทับกันไม่เกิน 3 ชั้น กดให้จมใต้ผิวน้ำ 10 - 15 ซม. • จุลินทรีย์ในน้ำจะเข้าไปใช้น้ำตาลในส่วนเปลือกนอก และ cambium จนหมด แล้วใช้ pectin ในท่อน้ำ ท่ออาหาร จนเหลือแต่ส่วนเส้นใย • การแช่ฟอกใช้เวลา 10 -21 วัน ถ้าอุณหภูมิสูง และน้ำนิ่ง จะใช้เวลาน้อยกว่าสภาพอุณหภูมิต่ำ

  30. การแช่ฟอก (Retting) • น้ำที่แช่ฟอกจะต้องสะอาด ไม่มีเหล็กปนอยู่ จะได้เส้นใยที่ขาวสะอาด สวยงาม • การใช้แอมโมเนียมซัลเฟต และกระดูกป่น ช่วยให้ระยะเวลาการฟอกสั้นลง และได้เส้นใยสะอาด สวยงาม

  31. การลอกเส้นใย (Extracting หรือ Stripping) • เมื่อต้นเปื่อยได้ที่ นำไปลอกเอาเส้นใยออก ในน้ำลึก ประมาณเอว โดยใช้มือจับส่วนโคนของเปลือกนอก ฟาด หรือแกว่งในน้ำ เพื่อล้างเปลือกและส่วนอื่น ๆ ออก ให้เหลือแต่ส่วนเส้นใย ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไป ตากแดด ให้แห้ง • เมื่อแห้งให้สางเส้นใยปอยุ่งออก แล้วมัดเรียงเป็นฟ่อน ขนาดหนัก 70 -100 กก. เรียกว่าเส้นใยปอฟอก(Retting fiber)

  32. เส้นใยปอที่ลอกโดยวิธีการอื่น ๆ • ปอกลีบแห้ง (Dry ribbon fiber) ทำการลอกเปลือกลำต้นปอสด โดยไม่ต้องแช่ฟอก แล้วนำไปตากให้แห้ง • เส้นใยปอขูด (Decorticated fiber) ทำการลอกเปลือกลำต้นปอสด แล้วขูดผิวนอกออก ให้เหลือเฉพาะเส้นใย แล้วจึงนำไปตากให้แห้ง

  33. เส้นใยปอที่ลอกโดยวิธีการอื่น ๆ • ลอกเปลือกเช่นปอกลีบแห้ง แต่ นำไปแช่ฟอก เช่นเดียวกับการแช่ฟอกทั่วไป • ใช้สารเคมี เช่น NaOH, Na2CO3, Na2SO4, NaCl, Ca(OH)2แช่ฟอกเส้นใยปอกลีบสด หรือต้นปอ ในขณะทำการแช่ฟอก ช่วยร่นระยะเวลา และ ได้ปอคุณภาพดี

  34. การปลูกปอแก้วเพื่อส่งโรงงานเยื่อกระดาษการปลูกปอแก้วเพื่อส่งโรงงานเยื่อกระดาษ • ทำเช่นเดียวกับการปลูกเพื่อเอาเส้นใย แต่ใช้ระยะปลูกชิดกว่า • เก็บเกี่ยวเมื่อปอออกดอกเต็มที่ ตัดชิดดิน แล้วส่งขายโรงงานเยื่อกระดาษที่ จังหวัดขอนแก่น

  35. คุณภาพ และมาตรฐานปอแก้วฟอกของไทย • ความยาว • ความนุ่ม • สี • โคนแข็ง • ปลายแข็ง • จุดแข็ง • ความสะอาด • ความเหนียว • ความชื้น • สิ่งเจือปน

  36. ชั้นคุณภาพของปอแก้วฟอกชั้นคุณภาพของปอแก้วฟอก • ดีเลิศ • A, B, C • ปอยุ่ง • หัวปอ

  37. มาตรฐานปอฟอกของกระทรวงพาณิชย์มาตรฐานปอฟอกของกระทรวงพาณิชย์ • ปอฟอกยาว • ปอฟอกยาวชั้นเลิศ ยาวกว่า 1.5 ม. สะอาด สีขาว นุ่ม ไม่มีจุดแข็ง วัตถุเจือปนน้อยกว่า 1.0 % • ปอฟอกยาวชั้นหนึ่ง วัตถุเจือปนไม่เกิน 1.5 % • ปอฟอกยาวชั้นสอง ยาวไม่น้อยกว่า 1.25 ม. สะอาดปานกลาง มีโคนแข็งไม่เกิน 10 % วัตถุเจือปนไม่เกิน 2.0 % • ปอฟอกยาวชั้นสาม • ปอฟอกยาวชั้นสี่ • ปอฟอกตัด ยาวไม่ต่ำกว่า 15 ซม. • ปอฟอกยุ่ง

  38. การตลาดปอฟอก • พ่อค้าท้องถิ่น • ผู้รวบรวมในท้องถิ่น • ตลาดในกรุงเทพ • ตลาดโรงงานปอ และโรงงานทอกระสอบ • ตลาดส่งออก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

  39. สถานการณ์ปอแก้ว • การผลิต (2533 - 40) • ของไทย พื้นที่ปลูกลดลง 7.18 % ผลผลิตลดลง 5.51 % • ของโลก พื้นที่ปลูกลดลง 5.23 % • การตลาด (2539/40) • ส่งออกปอฟอกไปยังประเทศ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ จำนวน 3 562 ตัน ลดลง 8.6 % • มีการนำเข้าประมาณ 22 564 ตัน • ความต้องการปอใช้ในประเทศ 100 000 ตัน • ราคาปอ 4.24 - 5.16 บาท/กก

  40. สถานการณ์ปอแก้ว • ปัญหาการผลิต • ขาดเมล็ดพันธุ์ที่ดี • ขาดแหล่งน้ำเพื่อแช่ฟอก และฝนแล้ง • ขาดแคลนแรงงาน • เส้นใยคุณภาพต่ำ • ราคาไม่จูงใจ • เกษตรกรหันไปปลูก อ้อย มันสำปะหลัง พริก ข้าวโพด

  41. ปอกระเจา Jute Tiliaceae • ปอกระเจาฝักกลม (Corchorus capsularis L) • ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L)

  42. flower auricle pod Jute a) leaf and flower b) pod and seed

  43. ปอกระเจาฝักยาว ปอกระเจาฝักกลม

  44. แหล่งกำเนิดและนิเวศวิทยาแหล่งกำเนิดและนิเวศวิทยา • ปอกระเจาฝักกลม มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ ของประเทศจีน • ปอกระเจาฝักยาว มีแหล่งกำเนิดในทวีปอัฟริกา • ปลูกแพร่หลายในเขตร้อน มีอุณหภูมิระหว่าง 25 - 37 องศา ซ. • ต้องการปริมาณน้ำฝน กว่า 1,000 มม. • ออกดอกเมื่อวันสั้น แสงน้อยกว่า 11 ชั่วโมง

  45. แหล่งปลูก • อินเดีย • ปากีสถาน • อเมริกา • ไต้หวัน • บังคลาเทศ • จีน • อียิปต์ • อัฟริกา

  46. แหล่งปลูกในประเทศไทย 46,654 (2538/39) และ 38,614 (39/40) ไร่คือ จังหวัดในภาคอิสาน ใกล้แหล่งน้ำ • สกลนคร • ศรีสะเกษ • เลย • หนองบัวลำภู • นครพนม • อุบลราชธานี • มุกดาหาร • ยโสธร

  47. พันธุ์ • ปอกระเจาฝักกลม พันธุ์โนนสูง, JRO 7835 (อายุ 120 วัน) • ปอกระเจาฝักยาว JRO 632 (อายุ 90 - 120 วัน)

  48. การเตรียมดินปลูก • สามารถเริ่มปลูกตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม • ควรไถพรวน เตรียมดินอย่างปราณีต กว่าการปลูกปอแก้ว

  49. การปลูก • หว่าน ใช้เมล็ด 1 - 3 กก/ไร่ • โรยเป็นแถว ระยะแถวปลูก 30 ซม ใช้เมล็ด 1/3 กก. • ควรคลุกเมล็ดด้วย ยากันเชื้อรา เทอราคลอ หรือ เทอแซน อัตรา 2.5 กรัม/เมล็ด 1 กก. • หลังการปลูก 1 เดือน หรือเมื่อต้นปอสูงประมาณ 50 ซม. ให้ถอนแยกเหลือระยะระหว่างต้น 10 ซม.

  50. การกำจัดวัชพืช • ใช้แรงคนทำรุ่น เมื่ออายุประมาณ 1 และ 2 เดือน

More Related