1 / 31

วัคซีนป้องกัน โรคพีอาร์อาร์เอส

วัคซีนป้องกัน โรคพีอาร์อาร์เอส. จารุณี สาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์

lionel
Télécharger la présentation

วัคซีนป้องกัน โรคพีอาร์อาร์เอส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส จารุณีสาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298 E mail: jaruneesatra@gmail.com

  2. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส มีการใช้วัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นในหลายประเทศ (Modified-live PRRV vaccines) เพื่อควบคุมโรคพีอาร์อาร์เอส ในอเมริกาและยุโรปได้มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนชนิดเชื้อตายเพื่อช่วยลดการแท้งลูกและความอ่อนแอของลูกสุกรที่เกิดจาก reproductive form ของ PRRSV

  3. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส วัคซีนทุกชนิดที่ขึ้นทะเบียนในอเมริกาเป็น antigenic type 2 ในยุโรปได้มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด เป็น antigenic type 1 จำนวน 2 ชนิด และเป็น antigenic type 2 จำนวน 1 ชนิด ในประเทศไทยได้มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนทั้งชนิดเชื้อเป็น และชนิดเชื้อตาย มีทั้ง antigenic type 1 และ 2

  4. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส เชื่อว่าวัคซีนจะใช้ได้ผลมากที่สุดก็ต่อเมื่อเลือกใช้ชนิดที่มีความสัมพันธ์ทาง antigenic ใกล้เคียงที่สุดกับเชื้อในท้องที่ ถึงแม้ว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ PRRSV แต่จากประสบการณ์วัคซีนจะไปช่วยลดปัญหาของ PRRS ในฝูงสุกรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นในฝูงสุกรที่ปลอดโลก แม่สุกรตั้งท้อง หมูสาวและสุกรพ่อพันธุ์ในระยะผสมพันธุ์

  5. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส มีแนวโน้มว่าจะใช้วัคซีน PRRS ชนิดเชื้อเป็นในแม่สุกรและสุกรสาว 3-6 สัปดาห์ ก่อนการผสมพันธุ์ และในลูกสุกรตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ เพื่อลดปัญหาของโรค PRRS วัคซีน PRRS ชนิดเชื้อเป็นสามารถคงอยู่ในสุกรพ่อพันธุ์และขับออกมากับน้ำเชื้อ (semen) - วัคซีน PRRS ชนิดเชื้อเป็นอาจถูกขับออกและแพร่กระจายให้สุกรสัมผัส ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

  6. วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส - ในประเทศจีน มีรายงานว่าการใช้วัคซีน Ingelvac PRRS มีประสิทธิภาพในการช่วยลดทั้งอัตราการเป็นโรคและอัตราการตายในลูกสุกรหย่านมจนถึงระยะเวลาที่จับขาย - ในประเทศจีน มีรายงานเปรียบเทียบการใช้วัคซีน CircoFlex และ Ingelvac PRRS ในการควบคุมโรค High fever disease (HFD) ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า local PRRS MLV + local killed PCV2 vaccine - ในประเทศไทยมีรายงานว่าการใช้วัคซีน PCV2 ร่วมกับวัคซีน PRRS สามารถช่วยลดและควบคุมโรคในฟาร์มที่ติดเชื้อร่วมกันของ PRRSV และ PCV2

  7. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส(Conventional vaccines) 1. คุณสมบัติของเชื้อ (Characteristics of the seed) 1.1 คุณสมบัติทางชีวภาพ (Biological characteristics) เชื้อ PRRS ที่แยกมาและใช้ในการผลิตวัคซีน ต้องแนบมากับประวัติที่อธิบายถึงแหล่งที่มาและการผ่านเชื้อ Master seed virus (MSV) ต้องมีความปลอดภัยต่อสุกรตามอายุที่แนะนำให้ใช้วัคซีน และสามารถป้องกันการให้เชื้อพิษทับ ต้องแสดงได้ว่าเชื้อที่ใช้เตรียม MSV ไม่เปลี่ยนกลับไปรุนแรงหลังผ่านในสัตว์ที่เป็นโฮสต์

  8. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส (Conventional vaccines) (ต่อ) 1. คุณสมบัติของเชื้อ (Characteristics of the seed) 1.2 หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ (Quality criteria) MSV ต้องปราศจากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อมัยโค-พลาสม่า และต้องผ่านการตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดอื่น รวมทั้ง TGE virus, porcine adenovirus, porcine circovirus type 1&2, porcine haemagglutinating encephalitis virus, porcine parvovirus, bovine viral diarrhoea virus, reovirus และ rabies virus โดยใช้เทคนิค fluorescent antibody (FA). และ MSV ต้องปราศจากการปนเปื้อน เชื้อไวรัสชนิดอื่นโดยการตรวจดูพยาธิสภาพต่อเซลล์ (CPE) และ haemadsorption บน vero cell line และ embryonic swine cell type

  9. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส(Conventional vaccines) (ต่อ) 2. วิธีการผลิต (Method of manufacture) 2.1 วิธีการ (Procedure) เพาะเลี้ยงเชื้อ PRRSV ใน African green monkey kidney cell line เช่น MA-104 หรือ Vero cell การเพิ่มจำนวนไวรัสจาก MSV โดยการผ่านเชื้อต้องไม่เกิน 5 passages นอกเสียจากได้พิสูจน์แล้วว่าการผ่านเชื้อใน passages ต่อๆ ไป เชื้อไวรัสยังสามารถป้องกันโรคในสุกร ในการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ให้ใส่เซลล์ไตลิงลงในท่อหรือขวด(vessels) และเลี้ยงเซลล์ด้วย MEM + FBS แล้วเติมเชื้อ PRRSV (working virus stock) ซึ่งมักใช้ passage ที่ 1-4 จาก MSV ลงในเซลล์เพาะเลี้ยง แล้วอินคิวเบทนาน 1-8 วัน สุ่มตัวอย่างของเซลล์เพาะเลี้ยงมาตรวจดู CPE และตรวจสอบการปนปื้อนเชื้อแบคทีเรีย

  10. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส(Conventional vaccines) (ต่อ) 2. วิธีการผลิต (Method of manufacture) 2.1 วิธีการ (Procedure) (ต่อ) สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Killed virus vaccines) จะฆ่าฤทธิ์ (inactivate) เชื้อไวรัสด้วยสารเคมี ไม่ว่าจะใช้ formalin หรือ BEI แล้วผสมกับแอดจูแวนท์ที่เหมาะสมถ้าใช้ formalin เป็นสารฆ่าฤทธิ์ บรรจุภัณฑ์สุดท้าย (final product) ต้องผ่านการตรวจหาสารตกค้างของฟอร์มาลินซึ่งต้องต่ำกว่า 0.74 กรัมต่อลิตร สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Modified live virus, MLV, vaccines) มักจะผสม stabilizer ก่อนบรรจุขวดและดูดแห้ง (lyophilization)

  11. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส (Conventional vaccines) (ต่อ) 2. วิธีการผลิต (Method of manufacture) 2.2 ข้อกำหนดสำหรับสารและมีเดีย Fetal Bovine Serum (FBS) ต้องปราศจากการปนเปื้อน pestivirusหรือแอนติบอดีต่อ pestivirusและปราศจากความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน spongiform encephalopathy 2.3 การควบคุมในขบวนการผลิต (In-process control) แต่ละชุดการผลิตของวัคซีนพีอาร์อาร์เอส ต้องตรวจหาปริมาณไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อใช้เป็นมาตรฐานของการผลิตวัคซีน ชุดที่มีปริมาณไวรัสต่ำไปก็ต้องทำให้เข้มข้นขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณไวรัสที่ถูกต้อง

  12. การผลิตและข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับวัคซีนพีอาร์อาร์เอส (Conventional vaccines) (ต่อ) 2. วิธีการผลิต (Method of manufacture) 2.4 การทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final product batch tests) วัคซีนแต่ละชุดการผลิตต้องผ่านการตรวจสอบ ความบริสุทธิ์ (purity) ความปลอดภัย (Safety) และความคุ้มโรค (Potency) วัคซีนชนิดเชื้อเป็นต้องผ่านการตรวจหาปริมาณความชื้นด้วย การตรวจสอบความปราศจากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและรา (Sterility) และความบริสุทธิ์ (Purity) ตัวอย่างวัคซีนถูกนำไปตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย รา และ pestivirus

  13. การทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final product batch tests)(ต่อ) การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ดูดวัคซีนปริมาตร 0.2 มล. จากตัวอย่างวัคซีนจำนวน 10 ขวด ใส่ลงในหลอดที่บรรจุ soybean casein digest medium หลอดละ 120 มล. จำนวน 10 หลอด นำไปอินคิวเบทที่อุณหภูมิ 30-35o C นาน 14 วัน แล้วตรวจดูการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อราในวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ดูดวัคซีนปริมาตร 0.2 มล. จากตัวอย่างวัคซีนจำนวน 10 ขวด ใส่ลงในหลอดที่บรรจุ soybean casein digest medium หลอดละ 40 มล. จำนวน 10 หลอด นำไปอินคิวเบทที่อุณหภูมิ 20-25o C นาน 14 วัน แล้วตรวจดูการเจริญเติบโตของเชื้อรา สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ดูดวัคซีนปริมาตร 1 มล. จากตัวอย่างวัคซีนจำนวน 10 ขวด ใส่ลงในมีเดียที่เหมาะสม จำนวน 10 หลอด

  14. การทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final product batch tests)(ต่อ) การทดสอบความปลอดภัย (Safety test) สามารถทำการทดสอบร่วมกันทั้งในหนูตะเภา หนูขาว และ สุกร การทดสอบความคุ้มโรค (Potency test) สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ตรวจหาปริมาณไวรัสในตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดยการไตเตรท (log10) ในไมโครเพลท ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตาย อาจใช้สุกรหรือสัตว์ทดลองอื่น ให้วัคซีนแล้วตรวจวัดระดับแอนติบอดีหรือให้เชื้อพิษทับ - การตรวจสอบคู่ขนานโดยใช้ ELISA antigen-quantifying techniques เพื่อเปรียบเทียบค่ามาตรฐานในการยอมรับผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่สัมพันธ์กับความคุ้มโรค ซึ่งค่ามาตรฐานต้องแสดงถึงการให้ความคุ้มโรคในสุกร

  15. 3. Requirement for authorisation 3.1 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety requirements) ความปลอดภัยในสัตว์เป้าหมายและสัตว์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย (Target and non-target animal safety) - ต้องดำเนินการศึกษาในพื้นที่เพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยของวัคซีนโดยต้องมีสุกรที่ไม่ได้รับวัคซีนอยู่ด้วยเพื่อติดตามเรื่องการขับออกของไวรัสวัคซีน (attenuated virus)

  16. 3. Requirement for authorisation 3.1 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety requirements) (ต่อ) การเปลี่ยนกลับรุนแรงของวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Reversion-to-virulencefor attenuated/live vaccines) ต้องแสดงให้เห็นว่า MSV ไม่เปลี่ยนกลับไปรุนแรงหลังจากผ่านเชื้อในสัตว์ที่เป็นโฮสต์หลาย passages ถึงแม้ว่าคำจำกัดความของคำว่า “virulence” สำหรับ PRRSV จะยุ่งยาก แต่ทราบกันว่า attenuated PRRSV isolates ทำให้เกิด viraemia และจะแพร่กระจายเชื้อให้สัตว์ที่มีความไวต่อเชื้อ ต้องแสดงว่า MSV ไม่รุนแรงในลูกสุกรและในสัตว์ตั้งท้อง เมื่อผ่านเชื้อในสัตว์ดังกล่าวอย่างน้อย 5 passages โดยใช้ route ที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ

  17. 3. Requirement for authorisation 3.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ (Potency requirements) สำหรับการผลิตสุกร (For animal production) - การทดลองเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันซึ่ง MSV ที่ระดับ passage สูงที่สุดที่จะใช้ในการผลิตวัคซีนต้องให้ความคุ้มโรคต่อเชื้อพิษทับที่รุนแรงและไม่สัมพันธ์กัน (virulent, unrelated challenge strain) ความคุ้มโรคต่อ Respiratory form: ฉีดวัคซีนด้วยระดับ passage สูงสุดของ MSV ให้ลูกสุกรอายุ 3 สัปดาห์ ให้เชื้อพิษทับ PRRSV ที่รุนแรง หลังให้วัคซีน 2-16 สัปดาห์ แล้วตรวจสอบความคุ้มโรคจากอาการทางระบบหายใจของ PRRS

  18. 3. Requirement for authorisation 3.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ (Potency requirements) (ต่อ) สำหรับการผลิตสุกร (For animal production) -ความคุ้มโรคต่อ Reproductive form: ให้เชื้อพิษทับ PRRSV ที่รุนแรง แก่สุกรที่ได้รับวัคซีนเมื่อตั้งท้องได้ประมาณ 85 วัน พิจารณาความคุ้มโรคโดยคำนวณจากสัดส่วนแนวโน้มของการเกิดโรคที่ลดลงเนื่องจากการให้วัคซีน ถ้าการป้องกันโรคจากอาการของระบบสืบพันธุ์ รวมถึงการตายของตัวอ่อนแบบมัมมี่ การตายแรกคลอดและ/หรือลูกสุกรที่อ่อนแอเป็นที่ยอมรับได้ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

  19. 3. Requirement for authorisation 3.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ (Potency requirements) (ต่อ) สำหรับการผลิตสุกร (For animal production) ต้องศึกษาระยะเวลาที่ให้ภูมิคุ้มกัน (Duration of immmunity) สำหรับ Respiratory form: ต้องแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาให้ภูมิคุ้มกันนานถึงอายุที่จับออกขาย สำหรับ Reproductive form: ต้องแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาให้ภูมิคุ้มกันนานถึงระยะหย่านมของลูกสุกร สำหรับการควบคุมและกำจัดโรค (For control and eradication) : ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีน

  20. 3. Requirement for authorisation 3.3 ความคงสภาพ (Stability) วัคซีนทุกชนิดต้องมีวันหมดอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี (24 เดือน) เพื่อแสดงถึงความคงสภาพของวัคซีน โดยทำ Real-time stability studies ด้วยเพื่อยืนยันความเหมาะสมของวันหมดอายุ หลายชุดการผลิตของวัคซีนชนิดเชื้อเป็นควรทำการไตเตรทซ้ำเป็นระยะๆ ตลอดวันหมดอายุของวัคซีนเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของวัคซีน จากค่าที่ตรวจได้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนถ้าการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้มีปริมาณของไวรัสในวัคซีนต่ำหรือสูงเกินไป

  21. 3. Requirement for authorisation 3.3 ความคงสภาพ (Stability) (ต่อ) สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ใช้การทดสอบความคุ้มโรคในสัตว์ทดลอง โดยทำการตรวจซ้ำเมื่อถึงวันหมดอายุเพื่อแสดงความคงสภาพของวัคซีนตามมาตรฐาน โดยทำคู่ขนานไปกับการตรวจโดยการใช้ ELISA antigen-quantifying techniques

  22. Vaccines based on biotechnology 1. Vaccine available and their advantages ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสที่ผลิตโดยอาศัยพื้นฐานความรู้ทางไบโอเทค 2. Special requirements for biotechnological vaccines ยังไม่มีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับวัคซีนไบโอเทค

  23. ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณไวรัส ระดับแอนติบอดี และการฉีดพิษทับในสุกรของวัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น Comparison studies on virus content, antibody level and pig challenge test of modified live PRRS vaccines วิลาสินี ท้าวเพชร 1เกรียงไกร ไชยคำ 1จารุณีสาตรา11 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298, jaruneesatra@gmail.com

  24. วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณไวรัสในวัคซีน ตรวจหาแอนติบอดี และเปอร์เซ็นต์ความคุ้มโรคโดยการฉีดพิษทับในสุกรที่ ฉีดวัคซีน PRRS ทั้ง 4 สเตรน ดังนี้ สเตรน VP-046 BIS, European type สเตรน DV, European type สเตรน ATTC VR 2332, American type สเตรน ALL 183, European type

  25. การทดลอง ใช้ลูกสุกรพันธุ์ผสมสามสายพันธุ์ (Large White, Landrace and Duroc Jersey) อายุ 4 สัปดาห์ จำนวน 25 ตัว แบ่งสุกรออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่ม 1 ให้วัคซีน สเตรน VP-046 BIS, European type 2 มล./โด๊ส กลุ่ม 2 ให้วัคซีน สเตรน DV, European type 2 มล./โด๊ส กลุ่ม 3 ให้วัคซีน สเตรน ATTC VR 2332, American type 2 มล./โด๊ส กลุ่ม 4 ให้วัคซีน สเตรน ALL 183, European type2 มล./โด๊ส กลุ่ม 5 ไม่ให้วัคซีน เป็นกลุ่มควบคุม

  26. การทดลอง (ต่อ) หลังฉีดวัคซีน 4 สัปดาห์ ให้เชื้อพิษทับไวรัสPRRS ชนิดรุนแรงที่แยกได้จากสุกรป่วย สเตรน EU ให้แก่สุกรทุกตัว โดยการหยอดจมูกตัวละ 2 มลเชื้อไวรัสได้รับความอนุเคราะห์จาก ผศ. น.สพ. ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  27. การทดลอง (ต่อ) -วัดอุณหภูมิร่างกาย ชั่งน้ำหนักก่อนฉีดพิษทับและหลังฉีดพิษทับ 10 วัน -เจาะเลือด เก็บซีรั่มเพื่อนำไปตรวจหาระดับแอนติบอดี ก่อนฉีดวัคซีน หลังฉีดวัคซีน 4 สัปดาห์ และหลังฉีดพิษทับ 10 วัน -เมื่อครบ 10 วัน ปลดสุกรทุกตัว ผ่าซากตรวจดูวิการของปอด แล้วคำนวณเปอร์เซ็นต์ความคุ้มโรค

  28. ตารางที่ 1ผลการตรวจหาปริมาณไวรัสของวัคซีน PRRS ชนิดเชื้อเป็น ทั้ง 4 สเตรน

  29. ตารางที่ 2ผลการตรวจหาแอนติบอดี (ค่า S/P ratio) ในซีรั่มโดยชุดตรวจสอบอีไลซ่า(Herd Check*PRRS Virus Antibody Test Kit 2XR) ในสุกรที่ฉีดวัคซีนทั้ง 4 สเตรน และกลุ่มควบคุม

  30. ตารางที่ 3ผลการตรวจหาแอนติบอดี (ค่า S/P ratio) ในซีรั่มโดยชุดตรวจสอบอีไลซ่า(Herd Check*PRRS Virus Antibody Test Kit 2XR) ในสุกรที่ฉีดวัคซีนทั้ง 4 สเตรน และกลุ่มควบคุม * % ความคุ้มโรค

  31. ขอบคุณที่เข้ารับฟังการบรรยายขอบคุณที่เข้ารับฟังการบรรยาย คำถามคำตอบ

More Related