1 / 49

กฎหมายการศึกษา

กฎหมายการศึกษา. เหตุใดต้องศึกษากฎหมาย. เพื่อให้สังคมอยู่รวมกันอย่างสงบสุข กฎหมายเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย. ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับ ว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย. แต่. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64. บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้น จากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้แต่ถ้าศาลเห็นว่า

Télécharger la présentation

กฎหมายการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายการศึกษา

  2. เหตุใดต้องศึกษากฎหมายเหตุใดต้องศึกษากฎหมาย • เพื่อให้สังคมอยู่รวมกันอย่างสงบสุข • กฎหมายเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย

  3. ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมายไม่มีบทบัญญัติใดบังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย แต่

  4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้น จากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำผิดอาจจะไม่รู้กฎหมาย บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดศาลอาจอนุญาต ให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

  5. ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัวความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว

  6. ความเข้าใจกฎหมายผิด ไม่อาจอ้างเป็นข้อแก้ตัว • นายฟ้าไม่ได้ไปคัดเลือกเข้ารับราชการทหารตามหมายเกณฑ์โดยคิดว่าวันที่ระบุในหมายให้ไปคัดเลือกเป็นวันอาทิตย์ คงไม่คัดเลือก ไม่เป็นข้อแก้ตัว (คำพิพากษาฎีกาที่ 64/2489)

  7. กฎหมาย หมายถึง • กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลให้ต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมาย ภูมิชัย และคณะ.2542

  8. ลักษณะของกฎหมาย

  9. 1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์ • กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน (standard) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิดทำได้หรือไม่ได้ เช่น

  10. ป.อาญา ม.334 • ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

  11. 1. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล • กฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของบุคคล ความประพฤติ (behavior)ได้แก่การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมจิตของคน ตัวอย่าง

  12. ตัวอย่าง 1 • นายดำอยากให้นายแดงตายจึงใช้ปืนยิงนายแดง โดยรู้ว่าการยิงนายแดงเช่นนี้จะทำให้นายแดงตาย เราเรียกการกระทำนี้ว่า นายแดงมีเจตนาฆ่านายแดง การที่นายดำยกปืนยิงนายแดงเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การบังคับจิตใจ

  13. ตัวอย่าง 2 • นายขาวเป็นคนไทยที่ทำงานแล้วมีรายได้ นายขาวจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประมวลรัษฎากรที่กำหนด แต่นายขาวนิ่งเฉยไม่ยอมยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษี การนิ่งเฉยนี้เป็นการไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ

  14. ตัวอย่าง 3 • นายฟ้านอนพักอยู่ในห้องเดียวกับนายเหลือง ระหว่างนอนอยู่นายฟ้าละเมอขึ้นมาทำร้ายนายเหลือง แม้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เป็นการเคลื่อนไหวนอกเหนอการควบคุมของจิตใจ • นายฟ้าไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะมิได้กระทำผิดโดยเจตนา

  15. 3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ • กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคล เพื่อให้บุคคลจำเป็นต้องปฏิบัติตาม จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายกฎเกณฑ์ข้อบังคับใดไม่มีสภาพบังคับไม่เรียกว่าเป็น กฎหมาย

  16. สภาพบังคับ สภาพบังคับที่เป็นผลร้าย สภาพบังคับที่เป็นผลดี

  17. สภาพบังคับที่เป็นผลร้ายสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย • โทษทางอาญา เช่น ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ • โทษทางแพ่ง เช่น การตกเป็นโมฆะ การตกเป็นโมฆียะ

  18. สภาพบังคับที่เป็นผลดีสภาพบังคับที่เป็นผลดี ปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะแรงจูงจูงจากผลประโยชน์ที่ ได้รับ เช่น • สิทธิได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล • บุตรที่เกิดในระหว่างสมรสกฎหมายถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีภรรยา คู่สมรสฝ่ายที่มีรายได้ ประมวลรัษฎากรให้สิทธินำคู่สมรสอีกฝ่ายไปหักค่าค่าลดหย่อนได้จำนวน 30,000 บาท

  19. 4. กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน • กฎหมายนั้นมีสภาพบังคับ แต่สภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีประบวนการแน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบังคับให้เป็นไปตามสภาพบังคับ โดยผ่าน ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์เป็นต้น

  20. คดีอาญา กระทำความผิด แจ้งตำรวจ สอบสวนหา ผู้กระทำผิด ศาลพิจารณา พนักงานอัยการ เป็นโจทย์ฟ้อง ส่งสำนวนให้ พนักงานอัยการ กรมราชทัณฑ์

  21. คดีแพ่ง กระทำความผิด ฟ้องร้องยังศาล ศาลพิจารณา ยึดทรัพย์หรือ ขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้ร้องขอต่อ กรมบังคับคดี สั่งให้ลุกหนี้ ชำระหนี้

  22. บทบาทของกฎหมายในสังคมบทบาทของกฎหมายในสังคม

  23. กฎหมายทำหน้าที่ควบคุมสังคม (Social control) • กฎหมายทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทในสังคม (Settlement of dispute) • กฎหมายทำหน้าที่บันทึกนิติการณ์(recording of legal phenomena)

  24. กฎหมายทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ในสังคมกฎหมายทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ในสังคม • กฎหมายทำหน้าที่วิศกรสังคม (social engineering)

  25. ระบบกฎหมาย

  26. ระบบกฎหมาย (legal system) หรือสกุลกฎหมาย (legal family) หมายถึง กฎหมายต่างๆที่พอจะจัดกลุ่มรวมเข้าด้วยกันได้ เพราะความสัมพันธ์หรือการมีจุดร่วมกันในบางเรื่อง

  27. ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law System) • หรือ โรมาโน-เยอรมันนิค หรือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือ ระบบประมวลกฎหมาย • กฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นที่มาของกฎหมาย ในการพิพากษาคดี ศาลจะยึดถือบทกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ คำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย คำพิพากษาหลังๆ ไม่จำเป็นต้องผูกพันกับคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

  28. ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ • อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส และประเทศไทย

  29. 2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common law System) • ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดจากอังกฤษ ที่เดิมท้องถิ่นพิพากษาอรรถคดีตามจารีตประเพณี ต่อมาได้จัดตั้งศาลหลวงขึ้นและส่งผู้พิพากษาเดินทางไปพิพากษาคดีทั่วราชอาณาจักร และได้ก่อตั้งข้อบังคับที่มีลักษณะเดียวกันของกฎหมาย โดยก่อตั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปขึ้น ซึ่งเป็นสามัญ(common) ทั่วราชอาณาจักร จึงเกิดกฎหมาย Common law

  30. ประเทศที่ใช้ Common law • อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหภาพแอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์

  31. 3. ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Social Law System) • สังคมนิยม หมายถึง การรวมทุกอย่างหรือส่วนใหญ่เข้าเป็นสมบัติร่วมของสังคมไม่ใช่ของส่วนบุคคลแต่ละคน ระบบกฎหมายให้ความสำคัญแกรัฐมากกว่าเสรีภาพบุคคล กฎหมายไม่ใช่สิ่งสำคัญในสังคมในที่สุดก็จะหมดไป

  32. ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสังคมนิยมประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสังคมนิยม • รัสเซีย ยูเครน บอสเนีย จีน

  33. 4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System) • ระบบกฎหมายที่มาจากคำสอนในศาสนา เช่น หลักธรรมคัมภีร์ต่างๆ มุ่งสอนการดำเนินวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมมากกว่าจะตั้งเป้าหมายของบ้านเมือง แต่ในที่สุดหลักธรรมคำสอนเป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นกฎหมายบ้านเมือง

  34. ตัวอย่าง • กฎหมายอิสลาม กฎหมายฮินดู

  35. ประเภทของกฎหมาย

  36. 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษรกับกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร1.กฎหมายลายลักษณ์อักษรกับกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร • กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written law)คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยผ่านกระบวนการในการตรากฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ฯลฯ

  37. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten law) คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยผ่านกระบวนการในการตรากฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป

  38. 2.กฎหมายเอกชนกับกฎหมายหมาชน2.กฎหมายเอกชนกับกฎหมายหมาชน

  39. กฎหมายเอกชน (Private law)คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกัน ในฐานะ ผู้ใต้ปกครอง ที่ต่างฝ่ายต่างเท่าเทียมกัน

  40. กฎหมายมหาชน (Public law)คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่นในฐานะที่รัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครอง

  41. สาขาย่อยในกฎหมายเอกชนสาขาย่อยในกฎหมายเอกชน • กฎหมายแพ่ง (civil law) • กฎหมายพาณิชย์ (commercial law) • กฎหมายการเกษตร (agriculture law) • กฎหมายสังคม(social law) • กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (procedure law) • กฎหมายอาญา (criminal law)

  42. สาขาย่อยในกฎหมายมหาชนสาขาย่อยในกฎหมายมหาชน • กฎหมายรัฐธรรมนูญ (constitutional law) • กฎหมายปกครอง (administrative law) • กฎหมายการคลังและการภาษีอากร (public finance and taxation law)

  43. 3.กฎหมายสารบัญญัติกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ3.กฎหมายสารบัญญัติกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ • กฎหมายสารบัญญัติ(substentive law)กฎหมายที่บัญญัติถึงหน้าที่ ข้อห้าม หรือกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา

  44. กฎหมายวิธีสบัญญัติ (procederal law)คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการในการยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายวิธีพิจารณาความต่างๆ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  45. 4.กฎหมายในประเทศกับกฎหมายระหว่างประเทศ4.กฎหมายในประเทศกับกฎหมายระหว่างประเทศ • กฎหมายในประเทศ (internal law)กฎหมายที่ออกโดยองค์กรทีมีอำนาจในการตรากฎหมายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายต่างๆ ที่รัฐสภาตรา

  46. กฎหมายระหว่างประเทศ (international law)คือกฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศ และใช้บังคับในสังคมระหว่างประเทศ เช่น บัญญัติโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation)หรือเกิดจากความตกลงระหว่างภาคีสมาชิกที่เห็นพ้องต้องกันในกฎหมายนั้น เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา

  47. ประเภทกฎหมายระหว่างประเทศประเภทกฎหมายระหว่างประเทศ 1)กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (public international law)คือกฎหมายซึ่งทำให้บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศมีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น สนธิสัญญาต่างๆเกี่ยวกับเขตแดน สนธิสัญญาสงบศึก เป็นต้น

  48. ประเภทกฎหมายระหว่างประเทศประเภทกฎหมายระหว่างประเทศ 2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (private international law)คือกฎหมายซึ่งกำหนดถึงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างประเทศของเอกชน ในปัญหาเกี่ยวกับสัญชาติ ภูมิลำเนา หรือสถานที่ที่ก่อให้เกิดนิติกรรม

  49. ประเภทกฎหมายระหว่างประเทศประเภทกฎหมายระหว่างประเทศ 3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (international criminal law)คือ กฎหมายซึ่งกำหนดเกี่ยวกับอำนาจศาลของประเทศต่างๆ ในการปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาในกรณีที่มีปัญหาว่าด้วยการขัดกันระหว่างอำนาจของศาลในประเทศและต่างประเทศ เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

More Related