701 likes | 1.64k Vues
การป้องกันอุบัติเหตุ. 230-334 Safety in Chemical Operations. หลักการพื้นฐานในการป้องกันอุบัติเหตุ. 1. การค้นหาสาเหตุ ( Discover Causes ). สาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุ อันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น ได้
E N D
การป้องกันอุบัติเหตุ 230-334 Safety in Chemical Operations
หลักการพื้นฐานในการป้องกันอุบัติเหตุหลักการพื้นฐานในการป้องกันอุบัติเหตุ
1. การค้นหาสาเหตุ ( Discover Causes ) • สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ • อันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ • สอบสวนทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ เเละจดบันทึกไว้เพื่อวิเคราะห์
การควบคุมสาเหตุทางสภาพเเวดล้อม( Control Environment Causes ) • เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ • สภาพทางฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ ที่รู้สึกเเละสัมผัส • เเก้ไขสิ่งชำรุดเเละใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ปรับปรุงสถานที่ทำงาน เช่น ระบบเเสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ
3. การควบคุมสาเหตุทางประพฤติ ( Control Behavioristic Causes ) • การตรวจตราดูเเล • การวิเคราะห์งาน • การบริหารงานบุคคล • การบรรจุงาน • การฝึกอบรม • ระเบียบวินัย • การตรวจสุขภาพ
4. กิจกรรมส่งเสริม ( Supplementary Activities ) • คู่มือทำงาน • วารสาร โปสเตอร์ สไลด์ ภาพยนตร์ • ประชุม • การประกวด • ตู้รับความคิดเห็น
5. การติดตามผล ( Follow Up ) • เป็นระยะ ๆ • เป็นประจำ • เมื่อมีการเเก้ไขปรับปรุง
หลักการ 3E ในการป้องกันอุบัติเหตุ • Engineering : การใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการคำนวณเเละออกเเบบเครื่องจักรเครื่องมือ ที่มีสภาพการ ใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายให้เเก่ ส่วนที่เคลื่อนไหวหรืออันตรายของเครื่องจักร
Education : การให้การศึกษาหรือการฝึกอบรม หรือเเนะนำคนงาน หัวหน้าคนงาน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ในการทำงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุเเละเสริมสร้างความปลอดภัย
Enforcement : การกำหนดวิธีการทำงาน อย่างปลอดภัย เเละมาตรการควบคุมบังคับ ให้คนงาน ปฏิบัติตามเป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบ ทั่วกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลง โทษ เพื่อให้เกิดความสำนึก เเละหลีกเลี่ยงการทำงานที่ ไม่ถูกต้องหรืออันตราย
กิจกรรม 5ส • สะสาง ( SEIRI ) • สะดวก( SEITON ) • สะอาด ( SEISO ) • สุขลักษณะ ( SEIKETSU ) • สร้างนิสัย( SHITSUKE )
บทบาทของเเต่ละฝ่ายในการป้องกันอุบัติเหตุ ฝ่ายจัดการหรือเจ้าของกิจการ • มีความตั้งใจจริงต่อการรักษาความปลอดภัย เเละป้องกันอุบัติเหตุ • จัดการสอนหรืออบรมการทำงานที่ถูกวิธี • รับผิดชอบต่อการสร้างสภาพเเวดล้อมของการทำงานให้ปลอดภัย • ปฏิบัติตามกฎหมายเเละออกระเบียบเพื่อความปลอดภัย
ฝ่ายหัวหน้าคนงานเเละวิศวกรฝ่ายหัวหน้าคนงานเเละวิศวกร • เเนะนำให้ความรู้คนงานเเละเเก้ไขการทำงานที่ไม่ปลอดภัย • สนับสนุนคนงานเเละกระตุ้นให้สนใจต่อเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ • เสนอฝ่ายบริหารให้ปรับปรุงเเก้ไขสภาวะต่าง ๆ ที่ไม่ปลอดภัย
ฝ่ายคนงาน • ปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับ เเละระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยเคร่งครัด • รายงานสภาวะทำงานหรือสิ่งเเวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยเเก่ หัวหน้างาน • เสนอความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการทำงานเเละ ความปลอดภัย
ความหมายของ 5ส • สะสาง : การเเยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นกับของที่ไม่ จำเป็นให้ขจัดทิ้งไป • สะดวก : การจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ง่ายต่อการนำไปใช้เเละเก็บคืนที่เดิม • สะอาด : ทำความสะอาดสถานที่เเละอุปกรณ์เครื่องใช้ จำเป็น • สุขลักษณะ : สภาพที่สะอาดหมดจดถูกสุขลักษณะโดยการรักษา เเละปฏิบัติ 3 ข้อข้างต้นให้คงสภาพหรือดีขึ้นเสมอ • สร้างนิสัย : การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นมาจนติดนิสัย
กิจกรรม 5 ส เป็นพื้นฐานของการบริหารการผลิตอย่างเเท้จริง ถ้าเเบ่งปัจจัยการผลิตเป็น 3M คือ Man , Material เเละ Machine ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มเเรกเป็นสิ่งมีชีวิตคือ คน อีกกลุ่มเป็นสิ่งไม่มีชีวิต คือ วัสดุเเละเครื่องจักรจะเห็นว่าการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการผลิตทั้งสองกลุ่ม ได้รับการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีกิจกรรม 5 ส เป็นพื้นฐานในการจัดการ
คำถาม • ปัจจุบันอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ การหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อีกจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่ควรทำก็คือค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น ๆ รวมถึงอุบัติเหตุในด้านต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ขั้นตอนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นี้ในการค้นหาสาเหตุพึงปฏิบัติคือขั้นตอนใด
เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักการป้องกันอุบัติเหตุวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันก็คือหลักการ 3E และE Engineering ก็เป็นการใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้อง หากนักเรียนพบว่าในงานโรงงานแห่งหนึ่งมักมีคนงานในโรงงานได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมาจาจากเครื่องจักรในโรงงานนักเรียนจะนำความรู้ในหลักการข้างต้นมาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร
หากนักเรียนเป็นวิศวกรในโรงงานแห่งหนึ่งซึ่งเพิ่งได้รับการบรรจุงานและพบว่าปัญหาอย่างหนึ่งในโรงงานแห่งนี้ก็คือทำงานในสภาวะงานที่ไม่ปลอดภัยและคนงานมองเรื่องการได้รับอุบัติเหตุในการทำงานเป็นเรื่องของดวงและโชคทั้ง ๆ ที่พบว่าปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้นักเรียนจะใช้บทบาทของนักเรียนเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
ในโรงงานแห่งหนึ่งย่อมประกอบไปด้วยบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายย่อมมีบทบาทหน้าที่เป็นของตนเอง แต่บทบาทข้อหนึ่งที่ทุก ๆ ฝ่ายพึงกระทำร่วมกันเพื่อให้โรงงานนั้นก้าวไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นคือบทบาทในเรื่องใด
หากนักเรียนเป็นฝ่ายบริหารของโรงงานแห่งหนึ่งกิจกรรม 5 ส เป็นพื้นฐานของการบริหารงานของที่นี่ หากต้องการให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวนักเรียนก็มีความรู้ในเรื่องหลักการ 3M อยู่บ้าง นักเรียนจะบริหารและจัดการงานของโรงงานนักเรียนโดยใช้หลักการ 3 M ประยุกต์ใช้กับหลักเดิมที่มีอยู่ได้อย่างไรบ้าง
การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม เป๋นหน้าท่ำคัญประการหนึ่งของฝ่ายบริหาร และมีความสำคัญมากเพราะเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ช่วยแก้ปัญหาการบริหารงานได้อย่างกว้างขวาง วิธีการป้องกันอุบัติเหตุที่กระทำกันมีหลายวิธีดังนี้
การป้องกันอุบัติเหตุ • 1. โดยการออกกฏโรงงาน (Regulation)ให้มาตรฐานการทำงาน แนวทางปฏิบัติ การทดสอบ การดำเนินงานและหน้าที่ปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องและปลอกภัยในโรงงาน • 2. โดยการจัดทำมาตรฐาน(Standardization) กำหนดมาตรฐานของโครงสร้าง เครื่องจักรกลและขั้นตอนปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับคุณสมบัติทางความแข็งแรงของวัสดุ
การป้องกันอุบัติเหตุ • 3 โดยการตรวจสอบ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของคนงาน เพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางความแข็งแรงของวัสดุ • 4. โดยการวิจัยทางเทคนิค เป็นการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ โครงสร้างการใช้งานของเครื้องจักรต่าง ๆ วิธีการปฏิบัติงานและการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยของคนงาน
การป้องกันอุบัติเหตุ • 5 โครงการวิจัยทางการแพทย์ เป็ฯการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับร่างกายคนงานและความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกายในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบในการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก้การปฏิบัติงาน
การป้องกันอุบัติเหตุ • 6. โดยการวิจัยทางจิตศาสตร์ ศึกษาหาต้นเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจคนงานกับการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน • 7. โดยการวิจัยทางสถิติ เป็นการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลและวิจัยหาแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุและจุดที่มีการเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด เพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุในแบบต่าง ๆ
การป้องกันอุบัติเหตุ • 8 โดยการให้การศึกษา โดยการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาและในโรงงานอุตสาหกรรม • 9 โดยการฝึกอบรม โดยการอบรมคนงานทุกคนที่เข้ารับหน้าที่ เพื่อให้มีการทำงานที่ปลอดภัยที่สุด
การป้องกันอุบัติเหตุ • 10 โดยการเชิญชวน ด้วยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเคยชินและนิสัยการทำงานที่ดีแก่คนงานทั่วไป ที่อ่านหรือพบเห็นสื่อประชาสัมพันธ์เหล่านั้นเป็นประจำอยู่ทุกวัน • 11 โดยการประกันภัย ใช้การให้รางวัลชมเชยแก่คนงานที่ทำงานดีเด่น มีอุบัติเหตุเกิดน้อยที่สุด • 12 โดยการให้ระเบียบปฏิบัติสำหรับงานแต่ละชนิดโดยเฉพาะ
การป้องกันอุบัติเหตุ ทั้ง 11ข้อแรกข้างต้นจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อข้อที่ 12ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิง วิฑูรย์ สิมะโชคดีและวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ, ISBN 974-7948-85-3 อิสรา ธีระวัฒน์สกุล, 1996, วิศวกรรมความปลอดภัย, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่