510 likes | 839 Vues
การสำรวจดินโครงการเฉลิมพระเกียรติ ตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย หมู่ที่ 4 บ้านมะเมียงเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านตะเพรา หมู่ที่ 11 บ้านตร๊อบ และหมู่ที่ 12 บ้านมะเมียงใต้ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (การจัดการลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์). วัลลพ พงษ์ราศรี
E N D
การสำรวจดินโครงการเฉลิมพระเกียรติ ตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย หมู่ที่ 4 บ้านมะเมียงเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านตะเพรา หมู่ที่ 11 บ้านตร๊อบ และหมู่ที่ 12 บ้านมะเมียงใต้ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (การจัดการลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์) วัลลพ พงษ์ราศรี อภิสิทธิ์ พิประโคน
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ • เพื่อกำหนดพื้นที่ตัวอย่างสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ดิน ตามสภาพปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำ • เพื่อศึกษาลักษณะและสมบัติดิน สภาพการใช้ที่ดิน ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ และงานด้านปฐพีกลศาสตร์บางสาขา ในพื้นที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ดิน • เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดิน
วิธีการดำเนินการ 1. ศึกษาและวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประเมินศักยภาพ และ ปัญหาของทรัพยากรดิน สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ โดยการศึกษาข้อมูล แบบบูรณาการ (Integrate) ได้แก่ ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน ข้อมูลทรัพยากรน้ำ ข้อมูลทรัพยากรดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
2.กำหนดพื้นที่ตัวอย่างตามสภาพปัญหา โดยการคัดเลือกพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ที่มีลักษณะเป็นตัวแทน หรือครอบคลุมสภาพปัญหาต่างๆ ของลุ่มน้ำ ได้มาก เป็นพื้นที่โครงการ เพื่อสาธิตการพัฒนาที่ดินตามสภาพปัญหาต่างๆ ของลุ่มน้ำฯ
3. ศึกษาพื้นที่โครงการอย่างละเอียด โดยการสำรวจภาคสนามในระดับละเอียด โดยศึกษาลักษณะและสมบัติดิน สภาพการใช้ที่ดิน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ เพื่อ - จัดทำแผนที่ดินแบบละเอียด มาตราส่วน 1:4,000 - จัดทำแผนที่การใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:4,000 - จัดชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ และความเหมาะสมของดินทางด้านวิศวกรรม - ประเมินศักยภาพของทรัพยากรดินเพื่อกำหนดเขตการใช้ที่ดิน และจัดทำแผนที่ศักยภาพของทรัพยากรดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ มาตราส่วน 1:4,000 - สรุปปัญหา กำหนดแนวทางในการพัฒนา และเขียนรายงานการสำรวจดิน
การศึกษาและวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติการศึกษาและวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประเมินศักยภาพ และปัญหาของทรัพยากรดิน สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
ที่ตั้งและอาณาเขตลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ที่ตั้งและอาณาเขตลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ เป็นลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำย่อยลำชี อยู่ใน ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำมูล มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโชคนาสาม ตำบลปรือ และตำบลโคกสะอาด อำเภอปราสาท บางส่วนของ ตำบลจีกแดก และตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก และบางส่วนของตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 77,194 ไร่
แผนที่ลุ่มน้ำมูล แสดงลุ่มน้ำย่อยลำชี และลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
สภาพภูมิอากาศลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์สภาพภูมิอากาศลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ จากการจำแนกสภาพภูมิอากาศโดยยึดหลักการของ Koppen สามารถจัดสภาพภูมิอากาศลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ เป็นแบบทุ่งหญ้าซาวานาในเขตร้อน(Tropical Savannah Climate : Aw) ฤดูกาล แบ่งได้ 3 ฤดูกาล ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยตลอดปี 1,441.56 มิลลิเมตร อุณหภูมิ เฉลี่ยตลอดปี 27.41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยตลอดปี 68.94 เปอร์เซ็นต์
สภาพการสมดุลน้ำ • เป็นการวิเคราะห์หาช่วงฤดูกาลเพาะปลูกพืชในฤดูฝน ช่วงปริมาณน้ำมากเกินพอ และช่วงของการขาดน้ำ • ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วย • ปริมาณน้ำฝน • ค่าศักย์การคายระเหยน้ำ
สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์มีสภาพภูมิประเทศแบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 0-12 เปอร์เซ็นต์ และอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 160-330 เมตร สภาพภูมิประเทศจะสูงทางด้านทิศใต้ และลาดเอียงลงมาทางทิศเหนือ
ธรณีวิทยาลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ธรณีวิทยาลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ลักษณะทางธรณีวิทยาในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ เกิดอยู่ในยุคครีเทเซียส ประกอบด้วยกลุ่มหินโคราช หมวดหินที่พบคือ หมวดหินโคกกรวด (Khok Kruat Formation: Kkk) ซึ่งประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทราย สีน้ำตาลอมแดงและแดงเรื่อ และหินกรวดมนปนปูน และหมวดหินภูพานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหินทราย หินทรายปนกรวด และหินกรวดมน สีขาว สีเทาอ่อน และสีส้ม
ธรณีวิทยาลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ธรณีวิทยาลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นกำเนิดดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นกำเนิดดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ • ที่ราบตะกอนน้ำพา (alluvial plain) • ตะกอนน้ำพา (alluvium) ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินธวัชบุรี (Th) และดินธวัชบุรีที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด (Th-fsi) • พื้นเกือบราบ (peneplain) • ส่วนต่ำของพื้นพื้นเกือบราบ (lower part of peneplain) • ตะกอนชะมาทับถมจากหินตะกอนเนื้อละเอียด (wash deposit from fine grained clastic rock) • -ชุดดินที่พบ ได้แก่ ดินขามทะเลสอที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด (Kts-fsi) • ส่วนบนของพื้นเกือบราบ (upper part of peneplain) • ตะกอนชะมาทับถมจากหินตะกอนเนื้อหยาบ (wash deposit from coarse grained clastic rock) • -ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินมหาสารคาม (Msk) ดินน้ำพองที่มีการระบายดีปานกลาง (Ng-mw) ชุดดินโนนแดง (Ndg) ดินโนนแดงที่มีศิลาแลงอ่อน (Ndg-pic) และชุดดินพระทองคำ (Ptk) • ตะกอนชะมาทับถมบนหินตะกอนเนื้อละเอียด (wash deposit over fine grained clastic rock) • -ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินนาดูน (Nad) • พื้นผิวเหลือจากการกร่อนซอยแบ่ง (dissected erosion surface) • วัตถุตกค้างและเศษหินเชิงเขาของหินทราย (residuum and colluvium from sandstone) • -ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินปักธงชัย (Ptc) และชุดดินวังน้ำเขียว (Wk)
สภาพทางน้ำและแหล่งน้ำ ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ • แหล่งน้ำผิวดิน ระบบลำน้ำ จัดเป็นประเภท ระบบลำน้ำชั่วคราว ซึ่งจะมีน้ำแช่ขังอยู่เพียงบางช่วงเวลา หรือแช่ขังเฉพาะในช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำต้นทุน ปริมาณน้ำท่าจากลำน้ำสายต่างๆ ได้แก่ห้วยสมบูรณ์ ห้วยตราว ห้วยกันแสง ห้วยตาลวก ห้วยรองรึ และห้วยโตง • น้ำบาดาล ปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาได้ 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เป็นน้ำที่มีคุณภาพปานกลาง คือ มีปริมาณของสารละลายทั้งหมดที่พบในน้ำ (TDS) น้อยกว่า 750 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งพื้นที่ที่สามารถพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลได้ มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 91.33 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
แผนที่แสดงเส้นทางน้ำลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์แผนที่แสดงเส้นทางน้ำลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
สภาพการใช้ที่ดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์สภาพการใช้ที่ดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 67,092 ไร่ หรือร้อยละ 86.90 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ (นาข้าว มีเนื้อที่มากที่สุด 47,812 ไร่ หรือร้อยละ 61.94 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 5,447 ไร่ หรือร้อยละ 7.06 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 2,398 ไร่ หรือร้อยละ 3.11 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 1,571 ไร่ หรือร้อยละ 2.04 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ 686 ไร่ หรือร้อยละ 0.89 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
การใช้ที่ดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์การใช้ที่ดินลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
ทรัพยากรดิน ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์โดยใช้ข้อมูลแผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน ปี พ.ศ.2549
แผนที่ดิน ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
ผลการศึกษาทรัพยากรดิน สภาพการใช้ที่ดินและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
กำหนดเขตศักยภาพของ ทรัพยากรดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ ลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์
1.เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งและเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ มีเนื้อที่ 9,234 ไร่ หรือร้อยละ 11.96 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย ชุดดินธวัชบุรี ดินธวัชบุรีที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด และดินขามทะเลสอที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด ได้แก่หน่วยแผนที่ Th-Th-fsi-silAและ Kts-fsi-silA
2. เขตเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดปานกลาง ที่มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ มีเนื้อที่ 10,984 ไร่ หรือร้อยละ 14.23 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย ชุดดินโนนแดง ดินโนนแดงที่มีศิลาแลงอ่อน และชุดดินนาดูน ได้แก่ หน่วยแผนที่ Nad-slB, Ndg-lsA, Ndg-slA, Ndg-slB และNdg-pic-slB
3. เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด มะม่วง ขนุน และหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีข้อจำกัดเล็กน้อยเนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมดีสำหรับปลูกอ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดเล็กน้อยเนื่องจากดินมีความ อุดมสมบูรณ์ต่ำ และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และ ถั่วเขียว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายและเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกยางพารา มีข้อจัดปานกลาง ที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง มีเนื้อที่ 7,088ไร่ หรือร้อยละ 9.18 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ได้แก่ ชุดดินพระทองคำ (หน่วยแผนที่ Ptk-slB)
4.เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด มะม่วง ขนุน ยางพารา และหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีข้อจำกัดเล็กน้อยเนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมดีสำหรับปลูกอ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ มีเนื้อที่ 5,608 ไร่ หรือร้อยละ 7.26 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ได้แก่ ชุดดินปักธงชัย (หน่วยแผนที่ Ptc-slB)
5. เขตพื้นที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ สับปะรด และไม้ยืนต้นโตเร็ว มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ มีเนื้อที่ 9,371 ไร่ หรือร้อยละ 12.14 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ฯ ประกอบด้วย ชุดดินมหาสารคาม และดินน้ำพองที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง ได้แก่หน่วยแผนที่ Msk-lsB, Msk-Ng-mw-lsB
6.เขตพื้นที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวมีข้อจำกัดรุนแรงที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภท หรือทำนาในดินดอนที่เป็นดินทรายหนา และมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ต่ำ มีเนื้อที่ 27,689 ไร่ หรือร้อยละ 35.87 ของพื้นที่ลุ่มน้ำฯ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Msk-lsB/b และ Msk-Ng-mw-lsB/b
7.เขตพื้นที่ที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นดินตื้นและเป็นพื้นที่หินพื้นโผล่ และมีความลาดชันมาก มีเนื้อที่ประมาณ 572 ไร่ หรือร้อยละ 0.74 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Wk-slC-RC
8.เขตพื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ประมาณ 515 ไร่ หรือร้อยละ 0.67 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ 9.เขตพื้นที่อยู่อาศัย มีเนื้อที่ประมาณ 5,447ไร่ หรือร้อยละ 7.06 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ 10.เขตพื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 686 ไร่ หรือร้อยละ 0.89 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
สภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำฯสภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ จากการวิเคราะห์สภาพปัญหา แบบองค์รวม พบว่า ปัญหาต่างๆ มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพหรือทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งระดับหรือความรุนแรงของปํญหาขึ้นอยู่กับความถูกต้องเหมาะสมของการใช้ที่ดินกับศักยภาพของทรัพยากรดิน กล่าวคือ การใช้ที่ดินผิดประเภท หรือไม่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรดิน จะทำให้ปัญหาที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย กลายเป็นปัญหาที่รุนแรงได้ ซึ่งปัญหาต่างๆในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร พอสรุปได้ดังนี้
1.ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรดิน ได้แก่ ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินเป็นทรายหนา เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย และปัญหาดินตื้นและหินพื้นโผล่ ในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ 2.ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้แก่ปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารมีปริมาณน้อย ลำน้ำธรรมชาติมีสภาพตื้นเขิน พื้นที่ลุ่มน้ำอยู่นอกเขตชลประทาน ปริมาณแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีน้อย และทรัพยากรดินส่วนใหญ่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำถึงค่อนข้างต่ำ 3.ปัญหาการจัดการ ได้แก่ ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภท และ ปัญหาการรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การศึกษาพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯการศึกษาพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ พื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติ ตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย หมู่ที่ 4 บ้านมะเมียงเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านตะเพรา หมู่ที่ 11 บ้านตร๊อบ และหมู่ที่ 12 บ้านมะเมียงใต้ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 10,557 ไร่ โดยการคัดเลือกพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำฯ ที่มีลักษณะเป็นตัวแทน หรือครอบคลุมสภาพปัญหาต่างๆ ของลุ่มน้ำได้มาก เพื่อทำการศึกษาพื้นที่อย่างละเอียดโดยการสำรวจดินภาคสนาม เพื่อศึกษาลักษณะและสมบัติดิน สภาพการใช้ที่ดิน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น สามารถนำไปจัดทำแผนการจัดการที่ดินแบบประณีตในระดับไร่นาของเกษตรกรได้
ที่ตั้งโครงการเฉลิมพระเกียรติฯที่ตั้งโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
ผลการศึกษาพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯผลการศึกษาพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
แผนที่ดินโครงการเฉลิมพระเกียรติฯแผนที่ดินโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
แผนที่การใช้ที่ดินโครงการเฉลิมพระเกียรติฯแผนที่การใช้ที่ดินโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
แผนที่ศักยภาพของทรัพยากรดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจโครงการเฉลิมพระเกียรติฯแผนที่ศักยภาพของทรัพยากรดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
ศักยภาพของทรัพยากรดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ 1.เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วยหน่วยแผนที่ Th-silA มีเนื้อที่ประมาณ 644 ไร่ หรือร้อยละ 6.10 ของพื้นที่โครงการฯ 2.เขตเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยหน่วยแผนที่ Kts-slA Re-slA Rn-slA และ St-slA มีเนื้อที่ประมาณ 1,295ไร่ หรือร้อยละ 12.27 ของพื้นที่โครงการฯ
3. เขตเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วย หน่วยแผนที่ Bli-slA Ltc-slA Ltc-slB Nad-slA Ndg-slA Ndg-slB Ndg-pic-slA Ndg-pic ca-slA และUb-lsB มีเนื้อที่ประมาณ 5,543 ไร่ หรือร้อยละ 52.51 ของพื้นที่โครงการฯ
4. เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด มะม่วง ขนุน ยางพารา และหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมดีสำหรับปลูกอ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วยหน่วยแผนที่ Ckr-slA Ckr-slB มีเนื้อที่ประมาณ 644 ไร่ หรือร้อยละ 6.10 ของพื้นที่โครงการฯ
5. เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด มะม่วง ขนุน และหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมดีสำหรับปลูกอ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และ ถั่วเขียว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายและเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกยางพารา มีข้อจัดปานกลางที่มีปฏิกิริยาดิน เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง ประกอบด้วยหน่วยแผนที่ Ptk-slB มีเนื้อที่ประมาณ 115 ไร่ หรือร้อยละ1.09 ของพื้นที่โครงการฯ
6. เขตเหมาะสมดีสำหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และสับปะรด มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และถั่วลิสง มีข้อจำกัดปานกลาง ที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วย หน่วยแผนที่ Msk-lsA Msk-lsB และ Ng-lsB มีเนื้อที่ประมาณ 1,308 ไร่ หรือร้อยละ 12.38 ของพื้นที่โครงการฯ
7.พื้นที่ป่าไม้ชุมชน มีเนื้อที่ประมาณ 40ไร่ หรือร้อยละ0.38 ของพื้นที่โครงการฯ 8.พื้นที่อยู่อาศัย มีเนื้อที่ประมาณ 614 ไร่ หรือร้อยละ 5.82 ของพื้นที่โครงการฯ 9.พื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 354 ไร่ หรือร้อยละ 3.35 ของพื้นที่โครงการฯ
ปัญหาในการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ 1.ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรดิน ได้แก่ ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินเป็นทรายหนาและเนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย 2.ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ที่พบในพื้นที่พื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ คือ ปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารมีปริมาณน้อย ลำน้ำธรรมชาติมีสภาพตื้นเขิน พื้นที่ลุ่มน้ำอยู่นอกเขตชลประทาน ปริมาณแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีน้อย และทรัพยากรดินส่วนใหญ่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ 3.ปัญหาการจัดการ ได้แก่ ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และปัญหาการรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
แนวทางในการพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ การพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการฯ ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จำเป็นต้องใช้วิธีแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ทั้งปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรดิน ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และปัญหาการจัดการ โดยบูรณาการกิจกรรมต่างๆที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และศักยภาพของทรัพยากรดินในแต่ละเขตการใช้ที่ดิน
ข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถจัดการและแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ได้ครอบคลุมทุกสภาพปัญหาควรคัดเลือกและกำหนดพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม
พื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติมพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม บริเวณตอนบนของลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ในเขตพื้นที่บ้านช้างหมอบ ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง และบ้านนาพูล ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 11,658 ไร่ เพื่อให้สามารถจัดการและแก้ไขปัญหาของลุ่มน้ำห้วยสมบูรณ์ ได้ครอบคลุมทุกสภาพปัญหาได้แก่ 1.ปัญหาดินตื้นและหินพื้นโผล่ ในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ 2.ปัญหาการใช้ที่ดินผิดประเภท ทำให้พืชเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำรุนแรง