1 / 12

นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา

นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา. โดย รศ.นพ. กำจร ตติย ก วี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 14 พ.ย. 55. กรอบแผนระยะ ยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557-2565.

lotte
Télécharger la présentation

นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษานโยบายการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา โดย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 14 พ.ย. 55

  2. กรอบแผนระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557-2565 เป้าหมาย : ยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสำหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัฒน์สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกของธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับมาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ

  3. ปัจจัยภายในอุดมศึกษา 9 ประเด็น 1. รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น 2. การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน 3. ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ 4. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5. การเงินอุดมศึกษา 6. การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา 7. เครือข่ายอุดมศึกษา 8. การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตการพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9. การสร้างพื้นฐานการเรียนรู้

  4. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่11 (ฉบับร่าง) ยุทธศาสตร์: การพัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์ กลยุทธ์ 1. เพิ่มจำนวนอาจารย์ให้เพียงพอ 2. พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ 3. พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย 4. ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์ 5. พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

  5. แผนพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษาระยะยาว15 ปี (พ.ศ.2550-2564) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ที่เป็นอาจารย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอาจารย์โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3การพัฒนาอาจารย์ประจำ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษาในมิติความเป็นผู้นำธรรมาภิบาลและการจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาอุดมศึกษาด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นๆ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรสาขาขาดแคลนและบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบการจ้างงาน และเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการและระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา

  6. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ที่เป็นอาจารย์ แนวการจัดสรรทุนการศึกษาและทุนพัฒนาอาจารย์ของ สกอ. ควรแบ่งโควตาระหว่างทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทุนทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ให้ชัดเจน เช่น 70: 30 หรือ 60:40 หรือ 50:50 และเกณฑ์การจัดสรรทุนบางประเภทอาจจะแตกต่างกันตามพันธกิจที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา

  7. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอาจารย์โดยกลุ่ม มหาวิทยาลัยใหม่ การจัดสรรทุนพัฒนาอาจารย์ในสาขาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องการและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเน้นในสาขาการศึกษาทั่วไป คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาษา ไอที วิชาพื้นฐานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และวิชาเฉพาะด้าน

  8. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาอาจารย์ประจำ 1. พัฒนาระบบหรือโครงสร้างเพื่อประเมินทักษะด้านการสอน 2. ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) 3. พัฒนาในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นถึงความเหมาะสมของทักษะต่างๆ ตั้งแต่ Early Career, Middle Career ไปถึงอาจารย์วิชาชีพ (Late Career)

  9. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากร อุดมศึกษาในมิติความเป็นผู้นำธรรมาภิบาลและการจัดการ (Leadership, Governance and Management-LGM) กำหนดให้มีภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาลและความสามารถด้านการบริหารจัดการเป็นสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอุดมศึกษา

  10. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาอุดมศึกษาด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นๆ - การพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ ทักษะเชิงอาชีพรวมทั้งการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยการสร้างความเชื่องโยงกับภาคธุรกิจเอกชนให้มีประสิทธิภาพ - ความร่วมมือกับภาคการผลิตและธุรกิจ วิจัยร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม - ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากร(mobility)ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

  11. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรสาขาขาดแคลนและบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ - สร้างความเข้มแข็งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน - ผลิตบุคลากรในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพียงพอ

  12. ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบการจ้างงานและเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการและระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา - การกำหนดเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

More Related