1 / 53

กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ

กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ด้วยความยินดียิ่ง. วิสัยทัศน์. “ กรมพลศึกษา... เป็นองค์กรนำด้านการ พลศึกษา สร้างความสุข เพื่อ มวลชน ”. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง.

lucine
Télécharger la présentation

กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ด้วยความยินดียิ่ง

  2. วิสัยทัศน์ “ กรมพลศึกษา...เป็นองค์กรนำด้านการพลศึกษา สร้างความสุขเพื่อมวลชน ”

  3. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง “กรมพลศึกษาต้องเตรียมความพร้อมขององค์กร และพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ด้วยการเร่งรัดพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา และบุคลากรทางการกีฬาและนันทนาการให้เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมและพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน และกีฬาเพื่อมวลชน ” นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา

  4. มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา “ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถ และคุณสมบัติที่ควรมีในการประกอบวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 สมรรถนะ ”

  5. 1.สมรรถนะทั่วไป(Generic Competencies) “ คุณสมบัติทั่วไปของบุคคลที่ควรมีในการเข้าสู่วิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรม และแรงจูงใจ”

  6. 2. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรมและแรงจูงใจ ”

  7. 3. สมรรถนะตามหน้าที่(Functional Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงาน หรือแต่ละระดับความรับผิดชอบของบุคคลในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประกอบด้วย ความรู้ และทักษะ ”

  8. การจัดทำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ตัดสินกีฬา เป็นภารกิจโดยตรงของกรมพลศึกษา ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมาย ให้ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของบุคลากร ด้านพลศึกษา สุขภาพ การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา

  9. วัตถุประสงค์ • เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและเพิ่มพูนสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2554 - 2558) ของกรมพลศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาพลศึกษา สุขภาพ กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีเป้าประสงค์ในการมีบุคลากรด้านการกีฬา ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเพียงพอ

  10. วัตถุประสงค์ 2. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2558 และก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรสาขาอาชีพต่างๆ อย่างเสรี ตามกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ MRAsและความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา หรือ MNP

  11. AEC: เกิดเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี

  12. ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ Mutual Recognition Arrangement:MRAs เป็นข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องมาตรฐานนักวิชาชีพของประชาคมอาเซียนในการให้การยอมรับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนด ใบอนุญาต ใบคำร้อง ที่ได้รับในประเทศสมาชิก โดยสอดคล้องกับกฎระเบียบภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง จะช่วยอำนวยความสะดวก การเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ ในภูมิภาค ได้อย่างเสรี

  13. การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพการยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาวิศวกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2548 สภาวิศวกร กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ สาขาสถาปัตยกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2550 สภาสถาปนิก กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 แพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาทันตแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 ทันตแพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ

  14. การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพการยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาพยาบาล ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2549 สภาการพยาบาล กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักบัญชี ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2551 สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักสำรวจ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2550 สภาวิชาชีพนักสำรวจ กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาท่องเที่ยว ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2555 กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ

  15. ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา Movement of Natural Person Agreement: MNP จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ประสงค์จะให้บริการในประเทศสมาชิกในสาขาเกี่ยวกับการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองชั่วคราว การพำนักชั่วคราวและการอนุญาตทำงานของบุคคลธรรมดาชั่วคราว

  16. ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคลากรครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคลากร • 25 สาขาอาชีพ • คอมพิวเตอร์ • วิจัยและพัฒนา • ให้เช่า • โฆษณา • วิจัยตลาดและสำรวจ • ความเห็น • บริหารจัดการ • เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร • เกี่ยวเนื่องกับประมง • เกี่ยวเนื่องกับป่าไม้ • เกี่ยวเนื่องกับเหมืองแร่ • ที่ปรึกษา • ซ่อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ • การแปล • จัดประชุม • โทรคมนาคม • ผลิตสื่อวิทยุและโทรทัศน์ • ก่อสร้าง • การศึกษา • สิ่งแวดล้อม • การเงิน • สุขภาพ • โรงแรม • การขนส่ง • กีฬา • วิศวกรรม

  17. ทุกขภาวะของคนไทย 1. กระทรวงสาธารณสุข สำรวจปี พ.ศ.2555 พบว่า คนไทยรูปร่างท้วมถึงอ้วน มีมากกว่า 17 ล้านคน นับเป็นอันดับ 5 ของ เอเชียแปซิฟิก ที่สำคัญ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อ้วนขึ้นโดยเฉลี่ย 4 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตจากโรคอ้วน ประมาณปีละ 20,000 คน

  18. ทุกขภาวะของคนไทย 2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ระบุ คนไทยอ้วนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นจำนวนถึง 1 ใน 5 ของจำนวนคนไทยทั้งหมด ภาครัฐสูญเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาพยาบาล ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท

  19. ทุกขภาวะของคนไทย 3. มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมอนามัย วิจัยปี พ.ศ.2555 พบว่าเด็กไทยเป็นโรคอ้วนอย่างรวดเร็วในอัตราเร่ง สูงที่สุดในโลก โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 และวัยเริ่มทำงาน อายุ 20–29 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วน 21.7%

  20. ทุกขภาวะของคนไทย 4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 แถลงข้อมูลเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 12 นำสู่โรคเรื้อรัง อีกหลายประเภท ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต และกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา

  21. จากทุกขภาวะที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อความสามารถจากทุกขภาวะที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อความสามารถ ด้านการแข่งขันกีฬา พิจารณาจากจำนวนเหรียญรางวัล รวมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (เหรียญทอง,เหรียญเงิน, เหรียญทองแดง) ของประเทศไทยมีสัดส่วนลดลง

  22. ทุกขภาวะของคนไทย ประเทศไทยเคยได้รับเหรียญรางวัลรวมสูงสุด ร้อยละ 9.13(39เหรียญจาก 427 เหรียญ ) เมื่อเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2513 เหลือเพียงร้อยละ 3.29 (52 เหรียญจาก 1,577 เหรียญ) คราวเอเชียนเกมส์ล่าสุดครั้งที่ 16 พ.ศ.2553

  23. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 1. สัดส่วนเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.83 (17 เหรียญ จาก 600 เหรียญ) คราวการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 20 พ.ศ.2515 สู่ร้อยละ 6.25(58 เหรียญ จาก 927 เหรียญ) เป็นลำดับ 4 ถัดจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน จากการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 27 พ.ศ. 2543

  24. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 2. ตรงกันข้ามทุกขภาวะของประชาชนออสเตรเลีย กลับเพิ่มขึ้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย สำรวจพบ วัยผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ชายร้อยละ 68 ผู้หญิงร้อยละ 55 เด็กร้อยละ 17 มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สวนทางกับความเป็นเลิศทางกีฬาที่เพิ่มขึ้น

  25. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 3. ส่งผลให้ปีพ.ศ. 2553 รัฐบาลออสเตรเลีย ทบทวนยุทธศาสตร์กีฬาของประเทศ จาก “บนลงล่าง” เน้นความเป็นเลิศ มุ่งจำนวนเหรียญรางวัล เป็น “กีฬาจากรากหญ้า” สร้างโอกาสการเล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง มองการกีฬาอย่างเป็นองค์รวม

  26. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 4. วิธีการดำเนินงาน “กีฬาจากรากหญ้า”สร้างโอกาสให้ เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง ประการหนึ่ง คือ การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูพลศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ทางกีฬาตั้งแต่รากฐาน โดยเริ่มจากเยาวชนในโรงเรียน

  27. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 1. เป็นประเทศลำดับต้นที่ประกาศใช้ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ อย่างเป็นทางการ ด้วยพื้นฐานความคิด “ผู้ฝึกสอนกีฬาคุณภาพ การกีฬาคุณภาพ”

  28. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ ของสมาคมกีฬาและพลศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.2549 มุ่งหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพของหลักสูตร การฝึกอบรม นำเสนอรูปแบบการฝึกสอนที่ดีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬา เสนอแนวทางการมุ่งสู่กีฬาอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการกีฬาของประชาชนทั่วไป

  29. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 3. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ รวม 40 เกณฑ์มาตรฐานย่อย ได้แก่ ปรัชญาและจริยธรรม ความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บ สภาพร่างกาย ความเจริญเติบโตและการพัฒนาการ การสอนและการสื่อสาร ทักษะและกลยุทธ์ทางการกีฬา องค์กรและการบริหาร และการประเมินผล

  30. ความสอดคล้องจากประสบการณ์ของ 2 ประเทศ มหาอำนาจกีฬา คือ “การยกระดับความสามารถของ บุคลากรด้านการกีฬา ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ บุคลากรด้านกีฬา”

  31. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 1. เริ่มดำเนินการปีงบประมาณ 2554 จำนวน 4 มาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล, ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล, ผู้นำนันทนาการ และนักบริหารจัดการการกีฬา

  32. มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และมาตรฐานวิชาชีพผู้ตัดสินกีฬา เพิ่มเติมอีก 8 ชนิดกีฬา รวม 16 มาตรฐาน ได้แก่ มวยไทย เซปักตะกร้อ ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล และ วู้ดบอล

  33. กระบวนการจัดทำ 1. ยกร่างมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการจัดประชุมระดมสมองและความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้บริหารองค์กรกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่อมวลชน โดยใช้หลักการความน่าเชื่อถือทางวิชาการ (Academic Credibility) ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศิลปากร

  34. กระบวนการจัดทำ 2. นำร่างมาตรฐานวิชาชีพมาจัดการประชุมวิพากษ์ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมอย่างเปิดกว้าง (Open Participation) ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน จากองค์กรกีฬา สมาคมกีฬา สถาบันการศึกษา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา สื่อมวลชน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น ไปปรับปรุงฉบับร่าง ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการ ได้รับ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

  35. ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างโอกาสที่เปิดกว้าง มากขึ้นในการประกอบอาชีพ

  36. ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อนักกีฬาเป็นเครื่องประกันคุณภาพ ความรู้ ความสามารถของผู้ฝึกสอนกีฬา ตลอดจนผู้ตัดสินกีฬาที่ทำหน้าที่ในการแข่งขัน ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

  37. ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อวงการกีฬาสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ในมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้ของวงการกีฬา ส่งผลกระทบต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการกีฬา คุณภาพนักกีฬา เกิดความเข้มแข็งของการกีฬาทั้งระบบ

  38. ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและมีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา ประชาชน มีร่างกายแข็งแรง ทุกขภาวะด้านสุขภาพลดน้อยลง

  39. ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งด้านการกีฬาและด้านอื่นๆ ที่ล้วนต้องอาศัยความเข้มแข็งของประชาชนเป็นพื้นฐาน

  40. แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพแนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 1 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับ การกีฬ่าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพไปใช้ ตลอดจนจัดทำโครงการนำร่องประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา เพื่อขึ้นทะเบียนทั้งของกรมพลศึกษาและสมาคมกีฬา

  41. แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ขั้นตอนที่ 2 กรมพลศึกษานำข้อสรุปจากขั้นตอนที่ 1 จัดทำระเบียบหรือข้อบังคับกรมพลศึกษา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา เพื่อเป็นพื้นฐานการยกระดับสู่ พระราชบัญญัติมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา

  42. แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 2 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับคุรุสภา และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อ1. ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา

  43. แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 2. ขอความร่วมมือให้ครูพลศึกษา และนักวิชาการ นันทนาการประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ารับการประเมินสมรรถนะจากกรมพลศึกษา

  44. แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 3. ร่วมกันกำหนดแนวทางการนำผลการประเมิน สมรรถนะจากกรมพลศึกษา ไปพิจารณาดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละหน่วยงาน

  45. ความร่วมมือผลักดันมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาความร่วมมือผลักดันมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา

  46. การเสวนาหัวข้อ “มาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการกีฬา... ก้าวสู่ AEC”

  47. นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ รองเลขาธิการ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บุคลากรดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2547 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2553

  48. ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองอธิบดีกรมพลศึกษา หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ.2547-2550 หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย พ.ศ.2534-2543 นักกีฬาฟุตบอล สโมสรกีฬาราชประชา พ.ศ.2520-2523

  49. คุณมนตรี ไชยพันธุ์ รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา พ.ศ.2539-2541 ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมกีฬา พ.ศ.2541-2542 ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน พ.ศ.2542-2543

More Related