1 / 8

กลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน

กลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน. ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การจ่ายค่าตอบแทนบริการทางนิเวศวิทยา (payment for ecological services – PES). การจ่ายค่าตอบแทน (payments) ตามมูลค่าในตลาด การให้รางวัล (rewards)

ludwig
Télécharger la présentation

กลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ:กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่านกลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ:กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. การจ่ายค่าตอบแทนบริการทางนิเวศวิทยา (payment for ecological services– PES) • การจ่ายค่าตอบแทน (payments) ตามมูลค่าในตลาด • การให้รางวัล (rewards) • การจ่ายค่าชดเชย (compensation) • การให้รางวัลสำหรับผู้ที่ทำให้เกิดบริการทางด้านนิเวศวิทยา หรือผู้ที่จัดทำคุณประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม • ชาวบ้านหรือชุมชนจะได้รับค่าตอบแทนจากการที่เป็นผู้ที่เสียสละหรือจัดการให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศ • ค่าตอบแทนอาจเป็นในรูปของเงินและ/หรือผลประโยชน์ แรงจูงใจในรูปแบบอื่นๆ เช่น อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ โอกาสในการทำงาน สิทธิประโยชน์ หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต • Pro-poor PES – เป็นการใช้กลไก PES เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความยากจนไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (win-win solution)

  3. กลไกเชิงนโยบาย (policy tools) ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: 3 แบบจำลองเชิงแนวคิด • การควบคุมสั่งการโดยรัฐ (command-and-control) • การจัดการทรัพยากรโดยความร่วมมือของชุมชน (community-based natural resource management –CBNRM) • การใช้กลไกของตลาดในการสร้างแรงจูงใจ (market values) เช่น ระบอบกรรมสิทธิ์ทรัพยากรส่วนบุคคล การซื้อขาย PES • กรอบความคิดที่ใช้ในการศึกษา • สิทธิในทรัพยากร (entitlement) • อำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power) • การปกครองจิตสำนึกของประชาชน (governmentality) • วิถีการดำรงชีพ (livelihood) • สถาบันสังคม (institutions) • ผู้กระทำการทางสังคม (social actors)

  4. กรณีศึกษาจังหวัดน่าน: การปลูกข้าวโพด VS ระบบนิเวศลุ่มน้ำตอนบน วิถีการดำรงชีพของชาวบ้าน บริการนิเวศวิทยาของลุ่มน้ำตอนบน

  5. ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน: ผลการศึกษาเบื้องต้น • เศรษฐศาสตร์การเมืองของการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่าน – เป็นความเชื่อมโยงของโครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์ตั้งแต่ระดับโลกลงมาถึงระดับท้องถิ่น ที่ประกอบไปด้วยผู้กระทำการที่สำคัญ เช่น รัฐบาล นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น สถาบันการเงิน สหกรณ์การเกษตร บรรษัทขนาดใหญ่ พ่อค้า สมาพันธ์ผู้ปลูกข้าวโพด และเกษตรกร • วาทกรรมชาวบ้าน “ไม่มีทางเลือกอื่น เป็นวิถีการดำรงชีพ” • ปรากฏการณ์ของการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านจึงเป็นการ “ร่วมชุมนุมกัน” (assemblages) ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่มผู้กระทำการและสถาบันต่างๆ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปลูกข้าวโพดในเชิงพาณิชย์

  6. รูปแบบ กลไก และกระบวนการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน • รูปแบบการดำเนินการของกองทุนลุ่มน้ำน่านควรเป็นลักษณะของคณะกรรมการร่วมหลายฝ่าย • ควรนำเอาบทเรียนและประสบการณ์การเรียนรู้ของท้องถิ่นจากกองทุนที่มีการดำเนินการมาก่อน เช่น เครือข่ายทางสังคมของชาวบ้าน โดยการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง • การจ่ายค่าตอบแทนอาจเป็นดาบสองคม กล่าวคือ อาจนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งหรือสร้างความอ่อนแอให้กับระบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ เช่น ป่าชุมชน และระบบเหมืองฝาย • กลไกการจ่ายเป็นเงินสดให้กับชาวบ้านเป็นรายบุคคลอาจไปทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีในการร่วมมือกันของชุมชน

  7. สถาบันและองค์กรในการจัดการกองทุนลุ่มน้ำน่านสถาบันและองค์กรในการจัดการกองทุนลุ่มน้ำน่าน • ชาวบ้าน: เห็นว่าไม่ควรให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว แต่ควรดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการหลายฝ่ายร่วมกัน แต่เน้นเรื่องการให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท): มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.อบจ. และเทศบาล มีศักยภาพที่จะเป็นผู้บริหารและจัดการกองทุน เพราะมีประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบผ่านการเลือกตั้ง • หน่วยราชการ: เห็นว่าตนเองยังควรมีบทบาทในการบริหารจัดการกองทุนลุ่มน้ำ อย่างน้อยก็ในฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือทางวิชาการและกฎหมาย • ภาคประชาสังคม: เห็นว่าควรทำในรูปของเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุน • ภาคเอกชน: มีแนวโน้มที่จะให้มีการบังคับใช้กฎหมายไปพร้อมๆกับการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำ

  8. สรุป ความเป็นไปได้ และประเด็นที่ท้าทาย • การดำเนินการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำควรเป็นในลักษณะของผสมผสานกันของหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน (hybrid system)ที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม • เกือบทุกฝ่ายต่างเห็นว่า “เงินเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกของปัญหา” • คนที่ร่ำรวยและมีอำนาจอาจมีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากกองทุนมากกว่าคนจน (elite capture) • ปัญหาการขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในชาวบ้านยังคงมีอยู่ในหลายกลุ่มผู้กระทำการ • ปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้สินและบริโภคนิยมในหมู่ชาวบ้าน • ความรู้ เทคนิควิทยา และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวัดและประเมินคุณค่าทางด้านนิเวศวิทยาของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน

More Related