1 / 16

Aerodrome Certification

Aerodrome Certification. การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน องค์การการบิน พลเรือน ระหว่างประเทศ. หัวข้อที่จะนำเสนอ. ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน การรับรองสนามบินตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( ICAO) การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗.

Télécharger la présentation

Aerodrome Certification

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Aerodrome Certification การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

  2. หัวข้อที่จะนำเสนอ • ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน • การรับรองสนามบินตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) • การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗

  3. ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบินที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน ข้อ ๑๕ ของอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กำหนดไว้ว่า สนามบินทุกแห่งในรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเปิดให้อากาศยานแห่งชาติของตน ใช้เป็นสาธารณะจะต้องเปิดให้อากาศยานของรัฐผู้ทำสัญญาอื่น ๆ ทั้งหมดใช้เช่นเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกัน Article 15 of the ICAO Convention: Requires that all aerodromes open to public use, under the jurisdiction of the country, provide uniform conditions for aircraft of all other contracting States.

  4. ที่มาหรือสาเหตุที่ต้องมีการรับรองสนามบิน (ต่อ) ICAO Annex 14 Volume I ยังกำหนดมาตรฐานไว้ด้วยว่า: รัฐภาคีต้องรับรองสนามบินที่ใช้สำหรับการบินระหว่างประเทศให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในภาคผนวกนี้ นอกจากนี้ การรับรองสนามบินยังทำให้รัฐภาคีอนุสัญญาชิคาโกสามารถ ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยด้วยการกำกับดูแลสนามบินผ่านทางกฎหมาย ให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ

  5. การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน ICAO ตามเอกสารองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หมายเลข ๙๗๗๔ คู่มือการรับรองสนามบิน (Doc 9774 Manual on Certification of Aerodromes) กำหนดไว้ว่า ก่อนที่องค์การด้านการบินพลเรือนของแต่ละประเทศจะออกใบรับรองสนามบิน (aerodrome certificate) ให้แก่สนามบิน จะต้องมั่นใจว่า ๑. ผู้ขอและบุคลากรมีสมรรถนะ (competence) และประสบการณ์ (experience) ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการและการรักษาสนามบิน ๒. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) ที่ผู้ขอจัดทำและยื่นให้พร้อมคำขอต้องเป็นไปตามมาตรฐานและมีข้อมูลครบถ้วน ๓. กระบวนการดำเนินงานของสนามบินต้องให้ความปลอดภัยแก่อากาศยาน ๔. มีระบบการจัดการด้านนิรภัย (SMS)

  6. การรับรองสนามบินตามมาตรฐาน ICAO (ต่อ) อาจสรุปได้ว่า ประเด็นที่องค์การการบิน พลเรือนแต่ละประเทศจะพิจารณา ประกอบด้วย

  7. ๑. ความปลอดภัย มาตรฐานทางกายภาพของสนามบิน ต้องเป็นไปตามภาคผนวก ๑๔ • บทที่ ๓ ลักษณะทางกายภาพ (Chapter 3 Physical characteristics) • บทที่ ๔ การจำกัดและกำจัดสิ่งกีดขวาง (Chapter 4 Obstacle restriction and removal) • บทที่ ๕ เครื่องช่วยทัศนวิสัยในการเดินอากาศ (Chapter 5 Visual aids for navigation) • บทที่ ๖ เครื่องช่วยทัศนวิสัยสำหรับแสดงสิ่งกีดขวาง (Chapter6 Visual aids for denoting obstacles) • บทที่ ๗ เครื่องช่วยทัศนวิสัยสำหรับแสดงพื้นที่จำกัดการใช้งาน (Chapter7 Visual aids for denoting restricted use areas) • บทที่ ๘ ระบบไฟฟ้า (Electrical systems)

  8. ๒. ความพร้อมของผู้ดำเนินการและบุคลากร การดำเนินงานหรือบริการของสนามบิน ต้องเป็นไปตาม • ภาคผนวก ๑๔ บทที่ ๙ บริการเกี่ยวกับการดำเนินงานของสนามบิน • เอกสาร ICAO หมายเลข ๙๑๓๗ คู่มือการบริการของท่าอากาศยาน (Doc 9137 Airport Services Manual)

  9. ๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) • วัตถุประสงค์คู่มือการดำเนินงานสนามบินจะบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ทั้งตำแหน่งสนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ อุปกรณ์ กระบวนการดำเนินงาน โครงสร้างองค์การ และการบริหารจัดการ • รูปแบบ คู่มือการดำเนินงานสนามบินต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการตีพิมพ์ ง่ายต่อการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน • การเก็บรักษาและการแจกจ่าย ผู้ดำเนินการสนามบินต้องปรับปรุงให้คู่มือการดำเนินงานสนามบินเป็นปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการแห่งหลักเพื่อการตรวจสอบ • การให้ความเห็นชอบ องค์การการบินพลเรือนของแต่ละประเทศต้องให้ความเห็นชอบแก่คู่มือการดำเนินงานสนามบิน

  10. ๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) (ต่อ) ข้อมูลที่จะมีไว้ในคู่มือการดำเนินงาน ๑. ข้อมูลทั่วไป เช่น วัตถุประสงค์และขอบเขตของคู่มือการดำเนินงานสนามบิน เงื่อนไขการใช้สนามบิน ระบบการบันทึกการเคลื่อนที่ของอากาศยาน ๒. รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของสนามบิน เช่น แผนที่แสดงขอบเขตของสนามบิน ตำแหน่งที่ตั้งของสนามบิน พิกัดทางภูมิศาสตร์ ๓. รายละเอียดของสนามบินที่จะต้องรายงานต่อหน่วยบริการข้อมูลข่าวสารด้านการบิน (Aeronautical Information Service-AIS) เช่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสนามบิน อุณหภูมิอ้างอิงของสนามบิน ชื่อผู้ดำเนินการสนามบินและที่อยู่ในการติดต่อ ขอบเขตของสนามบิน

  11. ๓. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน (aerodrome manual) (ต่อ) ข้อมูลที่จะมีไว้ในคู่มือการดำเนินงาน ๔. รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของสนามบินและมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น กระบวนการรายงานของสนามบิน การเข้าพื้นที่เคลื่อนไหวของสนามบิน แผนฉุกเฉินของสนามบิน การกู้ภัยและดับเพลิง การตรวจพินิจพื้นที่เคลื่อนไหวและพื้นผิวจำกัดสิ่งกีดขวางโดยผู้ดำเนินการสนามบิน เครื่องช่วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน การบริหารจัดการลานจอด การบำรุงรักษาพื้นที่เคลื่อนไหว การจัดการความปลอดภัยลานจอดอากาศยาน การควบคุมยานพาหนะในเขตการบิน การจัดการอันตรายที่เกิดจากสัตว์ การควบคุมสิ่งกีดขวาง ๕. การบริหารจัดการสนามบินและระบบการจัดการด้านนิรภัย (SMS)

  12. ๔. ระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System) เป็นไปตามเอกสาร ICAO หมายเลข๙๘๕๙คู่มือการจัดการด้านนิรภัย(Doc 9859 Safety Management Manual) ประกอบด้วย (๑) นโยบายความปลอดภัยเกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านนิรภัย (๒) โครงสร้างองค์กรด้านการจัดการความปลอดภัย และการมอบหมายความรับผิดชอบงานด้านนี้ (๓) ยุทธศาสตร์และการวางแผนระบบการจัดการด้านนิรภัย รวมถึงการกำหนดเป้าหมายสมรรถนะด้านความปลอดภัย (๔) การปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านนิรภัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการในการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัย

  13. ๔. ระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System) (ต่อ) (๕) มาตรการในการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุ (๖) ระบบการตรวจสอบภายในและทบทวนด้านความปลอดภัย (๗) ระบบการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสนามบิน เช่น การบันทึกเกี่ยวกับการดำเนินการและการบำรุงรักษาสนามบิน (๘) การฝึกอบรมบุคลากรและสมรรถนะของบุคลากร รวมถึงการทบทวนและประเมินความเพียงพอของการฝึกอบรมที่ให้แก่บุคลากรของสนามบิน

  14. การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ การออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ ตามมาตรา ๖๐/๖ ประเด็นที่พิจารณา ๑. คุณสมบัติและลักษณะผู้ขอตามมาตรา ๖๐/๓, มาตรา ๖๐/๔ (นิติบุคคล ทุน) ๒. ลักษณะทางกายภาพของสนามบิน ๓. ลักษณะทางกายภาพของสิ่งกีดขวางโดยรอบ ๔. สิ่งอำนวยความสะดวกสนามบิน สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์ ๕. บริการที่สนามบินต้องมีทั้งในยามปกติและฉุกเฉิน ๖. ผู้จัดการสนามบินมีใบรับรองตามมาตรา ๖๐/๑๒

  15. การรับรองสนามบินตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ (ต่อ) ประเด็นที่พิจารณา ๗. ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน ๘. ระบบการตรวจสอบภายใน ๙. ระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร ๑๐. คู่มือการดำเนินงานสนามบิน ๑๑. ทุนเพียงพอแก่การดำเนินงานตามมาตรา ๖๐/๓ ๑๒. บุคลากรมีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอตามมาตรา ๖๐/๓ ๑๓. ระบบการจัดการด้านนิรภัย ๑๔. ระบบการรักษาความปลอดภัย

  16. ขอบคุณค่ะ

More Related