1 / 31

การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491) อาหารฮาลาล

การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491) อาหารฮาลาล. โดย วิวัฒน์ หวังเจริญ. บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับอาหารฮาลาล. บทที่ 2. หัวข้อบรรยาย. 2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน 2.2 การเชือดหรือการฆ่าสัตว์ 2.3 การชำระล้างให้สะอาด. ท่านทราบหรือไม่ว่า.

mabli
Télécharger la présentation

การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491) อาหารฮาลาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491)อาหารฮาลาล โดย วิวัฒน์ หวังเจริญ

  2. บทบัญญัติของศาสนาอิสลามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับอาหารฮาลาล บทที่ 2

  3. หัวข้อบรรยาย 2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน 2.2 การเชือดหรือการฆ่าสัตว์ 2.3 การชำระล้างให้สะอาด

  4. ท่านทราบหรือไม่ว่า • บทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาจสามารถพิจารณาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ - สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน - การเชือดหรือฆ่าสัตว์ และ - การชำระล้างให้สะอาด (ปราศจากนะยิส)

  5. ส่วนอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งที่เป็นฮารอมและนะยิสลงมาในอาหาร ซึ่งสามารถจัดการได้โดย.... - การเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่ขั้นตอน การผลิต การขนส่ง การเก็บรักษา และ การวางจำหน่าย เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพของอาหารไว้ได้ และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งที่เป็น ฮารอมและนะยิสต่างๆ ได้

  6. 2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน • สิ่งที่อนุญาตให้รับประทานตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สัตว์ พืช และ เครื่องดื่ม • โดยในส่วนของสัตว์จะมีข้อกำหนดมากที่สุด ในขณะที่ในส่วนของพืชไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ระบุไว้นอกจาก... -ห้ามรับประทานพืชที่มีพิษและมีอันตราย

  7. ส่วนเครื่องดื่ม มีการระบุรายละเอียดของสิ่งที่ห้ามรับประทานดังนี้ -สิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ยาพิษ เพราะเป็น สิ่งที่ทำลายร่างกาย - สิ่งที่เป็นสิ่งสกปรก เช่น เลือด ปัสสาวะ หรือ นมจากสัตว์ที่ห้ามรับประทานเนื้อของสัตว์เหล่านั้น - สิ่งที่ทำให้มึนเมา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผสมอยู่

  8. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ - สัตว์น้ำทุกชนิด (สัตว์ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้บนบก) สามารถรับประทานได้ - สัตว์ที่มีบทบัญญัติให้รับประทานได้และผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา - ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีบทบัญญัติห้ามรับประทาน เช่น ล่อ ลา - ห้ามรับประทานสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน

  9. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์ที่เห็นว่าสกปรกหรือน่ารังเกียจ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน ยกเว้นสัตว์ที่มีระบุได้ว่าอนุญาตให้รับประทานได้ เช่น จิงโจ้ แย้ ซัมมูร (สัตว์รูปร่างคล้ายแมว) วับร์ (สัตว์ชนิดหนึ่งตัวเล็กกว่าแมว เบ้าตามีสีดำไม่มีหาง) อิบนุอัรส์ (สัตว์ชนิดหนึ่งตัวเล็ก เป็นศัตรูกับหนู สามารถจับหนูออกจากรูได้)

  10. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวงา แข็งแรง และสามารถใช้เขี้ยวงาทำร้ายสัตว์อื่นได้ เช่น สุนัข สุกร หมาป่า หมี แมว เสือ และลิง เป็นต้น รวมทั้งนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บที่แข็งแรง โดยสามารถใช้กรงเล็บนั้นทำร้ายสัตว์อื่นได้ เช่น เหยี่ยวชนิดต่างๆ นกอินทรีย์ เป็นต้น

  11. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์มีพิษ สัตว์นำโรค เช่น ตะขาบ หนู เป็นต้น - ห้ามรับประทานสัตว์ที่ปรากฏชัดว่าเป็นอันตราย เช่น งู แมงป่อง เป็นต้น

  12. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานซากสัตว์ ไม่ว่าจะตายด้วยสาเหตุใดก็ตาม โดยซากสัตว์จะหมายถึง สัตว์ที่เสียชีวิตโดยไม่ได้ถูกทำการเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา ไม่ว่าจะเสียชีวิตเองหรือตายด้วยการกระทำของผู้อื่นหรือสัตว์อื่น ทั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับปลา และ ตั๊กแตน ที่ตาย ซึ่งศาสนาอนุญาตให้รับประทานได้

  13. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานเลือดสัตว์ทุกชนิดยกเว้น ตับและม้ามถือเป็นเลือดที่ศาสนาอนุญาตให้รับประทานได้ (เพราะในสมัยก่อนเข้าใจว่าตับและม้าม คือ ก้อนเลือด)

  14. สำหรับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ หากเป็นสิ่งที่ผลิตจากหรือมีส่วนผสมของ สิ่งที่เป็นฮารอมดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นฮารอมหากเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นฮาลาลหรือฮารอม ต้องทำการพิสูจน์ให้แน่ชัดก่อนนำมาใช้

  15. 2.2 การเชือดหรือฆ่าสัตว์ • สำหรับวิธีการเชือดหรือฆ่าสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลามนั้น มีเงื่อนไขที่จำเป็นต้องมีและปฏิบัติ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 4 กรณีดังนี้ - เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้เชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกเชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับวิธีการเชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด

  16. (1) เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้เชือด • ผู้เชือดต้องเป็นมุสลิมหรือเป็นผู้ศรัทธาตามหลักเบื้องต้นของการศรัทธาในศาสนาอิสลาม • มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ • ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ • ผู้เชือดจะต้องไม่เชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลเลาะฮ์ (ซบ.)

  17. (2) เงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกเชือด • ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามบัญญัติของศาสนา • ไม่มีการทรมานหรือทารุณสัตว์ก่อนหรือขณะเชือด • สัตว์ที่จะถูกเชือด ต้องอยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ถ้าหากทำการเชือดสัตว์ที่อยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเหมือนสัตว์ใกล้ตาย ไม่ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนา และไม่อนุญาตให้รับประทาน

  18. (3) เงื่อนไขเกี่ยวกับวิธีการเชือด • ผู้เชือดจะต้องเอ่ยนามของอัลเลาะฮ์ (ซบ.) เมื่อเริ่มเชือด (บิสมิลลา) • ต้องตัดหลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดสองข้างลำคอให้ขาดจากกันในครั้งเดียว ถ้าหากตัดไม่ขาด สัตว์ตัวนั้นก็ไม่อนุญาตให้รับประทาน • ควรผินหน้า (ทั้งผู้เชือดและสัตว์) ไปทางกิบลัด (ทิศอันเป็นที่ตั้งของนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย)

  19. (4) เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด • เครื่องมือที่ใช้เชือดต้องทำให้เกิดบาดแผลด้วยคมของเครื่องมือที่ใช้ ไม่ว่าเครื่องมือนั้น จะเป็นเหล็ก ทองแดง ตะกั่ว หรือสิ่งใดก็ตาม ดังนั้นการทุบสัตว์ให้ตายโดยใช้ก้อนหินหรือสิ่งอื่นใดที่ไม่มีคม ไม่ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม และเครื่องมือที่ใช้ต้องมีความคม เพื่อให้สัตว์ตายอย่างรวดเร็ว และ ไม่ทรมานในขณะถูกเชือด

  20. (4) เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด (ต่อ) • เครื่องมือที่ใช้ในการเชือดจะต้องไม่ใช้ฟันและเล็บ (โดยให้ถือว่า กระดูกทุกชนิดของมนุษย์และ สัตว์ รวมอยู่ในคำว่าฟันและเล็บด้วย)

  21. 2.3 การชำระล้างให้สะอาด • การชำระล้างที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของนะยิส ดังรายละเอียดต่อไปนี้ • มุค๊อฟฟะฟะห์ (นะยิสย่อย) ได้แก่ ปัสสาวะของเด็กชายซึ่งอายุไม่ถึง 2ขวบ ไม่ได้กินหรือดื่มสิ่งอื่นใดที่ทำให้อิ่มนอกจากน้ำนมของแม่ • วิธีการชำระล้าง:ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกเสียก่อน แล้วใช้น้ำพรมบนรอยเปื้อนนะยิสนั้นให้ทั่วก็ใช้ได้

  22. มูตาวัสซิเตาะห์ (นะยิสปานกลาง) ได้แก่ อาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง ซากสัตว์ (ยกเว้นมนุษย์ ปลา และตั๊กแตน) น้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทาน สุรา และของเหลวที่ทำให้มึนเมา • วิธีการชำระล้าง: ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด โดยวิธีใช้น้ำไหลผ่าน 1ครั้งก็ใช้ได้ แต่ถ้า 3ครั้งจะดีกว่า

  23. ในกรณีที่ไม่สามารถใช้น้ำไหลผ่านได้ เช่น ปัสสาวะบนพื้นที่ไม่มีทางไหล ให้เอาผ้าเช็ดปัสสาวะจนแห้ง นำผ้าไปซักให้สะอาด แล้วเอาผ้าเปียกมาเช็ดตรงรอยเปื้อนปัสสาวะ เอาผ้าไปซักให้สะอาด แล้วเอาผ้าเปียกมาเช็ดตรงรอยเปื้อนอีก ทำดังนี้ 3 ครั้งก็ใช้ได้ ถึงแม้ว่าปัสสาวะนั้นจะแห้งแล้ว ก็ให้ทำความสะอาดด้วยวิธีเดียวกัน

  24. มูฆ็อลลาเซาะห์ (นะยิสใหญ่) ได้แก่ สุนัข สุกร หรือทุกสิ่งอันเกิดจาสัตว์ทั้งสองนี้ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ รอยเท้าที่เปียกหรือน้ำลายของมัน เป็นต้น วิธีการชำระล้าง:ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วใช้น้ำดินหรือน้ำดินสอพองล้างให้ไหลผ่านเป็นครั้งที่ 1 แล้วจึงเอาน้ำสะอาดล้างให้น้ำไหลผ่านอีก 6 ครั้ง รวมเป็น 7 ครั้ง

  25. นอกจากวิธีการชำระล้างที่ถูกต้องกับประเภทของนะยิสแล้ว น้ำที่ใช้ทำความสะอาดก็จะต้องเป็นน้ำที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนาด้วย ซึ่งน้ำที่สามารถใช้เพื่อการชำระล้างได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม มี 7ชนิด คือ 1. น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง น้ำประปา 2. น้ำฝน น้ำค้าง น้ำตก 3. น้ำทะเลมหาสมุทร

  26. 4. น้ำบ่อ น้ำบาดาล 5. น้ำจากหิมะหรือน้ำแข็ง 6. น้ำจากลูกเห็บ 7. น้ำจากตาน้ำ

  27. และยังมีการแบ่งระดับความสะอาดของน้ำไว้เป็น 4 ประเภทดังนี้ คือ 1.น้ำมุตลัก (น้ำสะอาด) คือ น้ำสะอาดและชำระล้างสิ่งอื่นให้สะอาดได้ ซึ่งหมายถึงน้ำทั้ง 7 ชนิดข้างต้น 2. น้ำมูซัมมัส (น้ำสะอาดที่เปลี่ยนสภาพ) คือ น้ำสะอาดที่สามารถใช้ทำความสะอาดสิ่งอื่นๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้ (มักโระฮ์) หากไม่จำเป็น ได้แก่ น้ำสะอาดที่อยู่ในภาชนะที่เกิดสนิมได้และถูกแดดเผาจนร้อน

  28. 3. น้ำมุสตะอ์มัล (น้ำสะอาดที่ไม่บริสุทธิ์) คือ น้ำที่สะอาด แต่ใช้ทำความสะอาดสิ่งอื่นไม่ได้ เช่น น้ำที่ถูกใช้ทำความสะอาดไปแล้ว แม้จะไม่มีการเปลี่ยนสี กลิ่น และรสก็ตาม 4. น้ำนะยิส (น้ำสกปรก) คือ น้ำที่มีนะยิสเจือปนอยู่และมีปริมาณน้ำไม่ถึง 216ลิตร (2กุลละห์) หรือหากมีปริมาณเกิน 216ลิตร แต่สภาพของน้ำเปลี่ยนสี กลิ่น รส จะนำไปใช้ชำระล้างสิ่งสกปรกไม่ได้ (ปริมาณน้ำ 2 กุลละห์นี้ เมื่อเทียบเป็นลิตร แหล่งข้อมูลต่างๆ มีการให้ตัวเลขที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ คือ 193 200 และ 216 ลิตร)

  29. ดังนั้นจึงมีข้อพึงระวังเกี่ยวกับการทำความสะอาดโดยการชำระล้างดังต่อไปนี้ คือ 1. สิ่งสกปรก (นะยิส) และวิธีทำความสะอาดตามบัญญัติอิสลาม มีความแตกต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไป 2. น้ำที่ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรก (นะยิส) จะต้องเป็นน้ำสะอาดตามบัญญัติอิสลาม

  30. 3. วิธีชำระล้างสิ่งสกปรก (นะยิส) แต่ละประเภทมีกฎเกณฑ์เฉพาะซึ่งต่างจากวิธีการทั่วไป เช่น จำนวนครั้งของการล้าง น้ำต้องไหลผ่าน หรือ การใช้น้ำดิน เป็นต้น 4. ต้องระวังอย่าให้นะยิสตกลงไป หรือใช้ภาชนะที่เปื้อนนะยิสตักน้ำที่ใช้ทำความสะอาด เพราะจะทำให้น้ำนั้นเป็นน้ำนะยิส

  31. จบบทที่ 2 ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม แล้วพบกันในบทที่ 3 ครับ

More Related