1 / 15

การเข้าใจบุคลิกภาพโดยใช้แนวคิดจิตวิทยาตะวันออก

[ขงจื้อ เต๋า พุทธ- เซน เถรวาท]. เข้าสู่บทเรียน. การเข้าใจบุคลิกภาพโดยใช้แนวคิดจิตวิทยาตะวันออก. คำอธิบายก่อนเรียน. คำอธิบายก่อนเรียน. ในบทเรียนแต่ละบท ก่อนเรียน ขอให้ นัก ศึกษา ทำ แบบประเมินตนเองให้เสร็จสิ้นเสียก่อน. 2. ลองทำ โดยพิจารณาคำตอบด้วยตนเอง ก่อนที่จะทำแบบทดสอบอื่นๆ ต่อไป.

mala
Télécharger la présentation

การเข้าใจบุคลิกภาพโดยใช้แนวคิดจิตวิทยาตะวันออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. [ขงจื้อ • เต๋า • พุทธ- • เซน • เถรวาท] เข้าสู่บทเรียน การเข้าใจบุคลิกภาพโดยใช้แนวคิดจิตวิทยาตะวันออก

  2. คำอธิบายก่อนเรียน คำอธิบายก่อนเรียน • ในบทเรียนแต่ละบท ก่อนเรียน ขอให้นักศึกษาทำแบบประเมินตนเองให้เสร็จสิ้นเสียก่อน • 2. ลองทำ โดยพิจารณาคำตอบด้วยตนเอง ก่อนที่จะทำแบบทดสอบอื่นๆ ต่อไป

  3. สภาวะจิตทุกๆสภาวะมีลักษณะเป็นกลาง 7 ประการ คือ เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • 1. ผัสสะ คือ การรู้ตัวต่อการรับรู้วัตถุ – รูป • 2. สัญญา คือ การรับรู้ เป็นการจำได้ในขั้นแรก • 3. เจตนา คือ ปฏิกิริยาที่ถูกวางเงื่อนไข ที่สอดคล้องกับการรับรู้วัตถุเป็นครั้งแรก • 4. เวทนา คือ การที่วัตถุเร้าเพทนาการ หรือมีการรับสัมผัสเกิดขึ้น • 5. เอกัคคตาคือ การเพ่งความรู้ตัวไปที่จุดเดียว • 6. มนสิการ คือ การใส่ใจอย่างเต็มใจ • 7. ชีวิตอินทริยะ คือ การใส่ใจที่ไม่มีเจตนา แต่ด้วยความหลงไหลติดใจในตัววัตถุนั้น แล้วก็เกิดพลังจิตขึ้นมา ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา

  4. องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ไม่ดีองค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ไม่ดี เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ไม่ดีที่เป็นแกนสำคัญคือ การหลงผิดหรือโมหะ เป็นสภาวะที่จิตขุ่นมัว ทำให้รับรู้วัตถุที่อยู่ในความรู้ตัวดีเกิดความผิดพลาด เป็นความไร้เดียงสาขั้นพื้นฐาน+ ต้นเหตุของทุกข์ • สภาวะนี้ไม่ใช่การมีความลำเอียงหรืออคติ แต่นำไปสู่การมีทัศนะที่ผิดๆ หรือฐิติและมีการจัดประเภทบางสิ่งผิดไปได้ เช่น ที่ปรากฏอย่างชัดเจนในผู้ป่วยหวาดระแวง จึงมีความทุกข์เพราะชอบระแวงบุคคลที่ไม่มีอันตรายใดๆ ในแนวคิดทฤษฎีบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาตะวันตก ใช้ชื่อว่า "fixed ego or self" (อัตตา / ตัวตนที่ฝังใจ ตายตัว ไม่ยืดหยุ่น)

  5. องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ไม่ดี (ต่อ) เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • ความงงงวย (วิจิกิจฉา-vicikiccha) หมายถึง ความไม่สามารถที่จะตัดสินใจ หรือการตัดสินได้อย่างถูกต้อง เมื่อองค์ประกอบนี้มีมากในบุคคลใด จิตใจของเขาจะเต็มไปด้วยความสงสัย และถ้าเป็นมากที่สุด (อาจเป็นอัมพาตได้) • องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ไม่ดีที่เป็นด้านการใช้ปัญญาการคิดการรู้ตัวต่อมา คืออหิริกะ (ahirika) คือความไร้ยางอาย ความไม่สงสารใคร(ใจโหด) หรือไม่เกรงกลัวบาป (อโนตตัปปะ - anottappa)

  6. องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดีองค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดี เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • 1.มีสติ • 2.มีหิริ-โอตตัปปะปะ คือละอายใจและเกรงกลัวต่อการทำบาป • 3.มีความถ่อมตัว • 4.มีศรัทธา • 5.มีอโลภะ คือจิตไม่เต็มไปด้วยความโลภมาก • 6.มีอโทสะ คือจิตไม่มีแต่ความโกรธ ความพยาบาท • 7.ตัตรมัชฌัตตตา คือหลักความเป็นกลางของจิต =การรักษาสภาวะสมดุลของจิต • ก็คือ อุเบกขา นั่นเอง • 8. ปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งจิตและกาย รู้สึกเย็นไปทั่วร่าง ตัวเบา หมดทุกขเวทนาหรือคือจิตอ่อนโยน จิตตรง จิตเบา • ดังนี้ จึงมีความยินดีมาก เพราะเป็นธรรมะที่คนสามัญพบได้ยาก

  7. สุขภาพจิตในพระอภิธรรมสุขภาพจิตในพระอภิธรรม เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 พระอภิธรรมเห็นว่า กายและจิตแยกเด็ดขาดจากกันไม่ได้ ทุกๆ องค์ประกอบของ การมีสุขภาพดีมีผลกระทบ ทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้น จึงมีกลุ่มขององค์ประกอบ ที่มาจากภายนอก และมีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ได้แก่ 1. ความปราดเปรียว ฉับไว (buoyancy - lahuta) 2. ความอ่อนโยน แต่หนักแน่น (pliancy - muduta) 3. การปรับตัวได้ (adaptability - kammannata) 4. ความเชี่ยวชาญ (proficiency - pagunnata)

  8. หลักพุทธจิตวิทยา เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51

  9. พุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • พุทธศาสนา ได้เสนอหลักการส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การให้ความรักและความเมตตากรุณาแก่กัน การให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การชื่นชมกับความสำเร็จของบุคคลอื่น (มุทิตา) เพื่อช่วยให้บุคคลอื่นมีความสุข = เมตตาธรรมค้ำจุนโลก • ปุถุชน คนปกติมีปัจจัยทั้ง 2 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีทุกข์บ้าง สุขบ้างระคนกันไป สภาวะจิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนเราแต่ละคนน่าจะมีช่วงเวลาพบประสบการณ์ที่เป็นสุขอย่างยิ่ง หรือประสบการณ์ที่เป็นทุกข์อย่างหนัก ไปตามกระแสของความรู้ตัวว่า มีอยู่มากหรือน้อย • มีคนจำนวนน้อยที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์มากที่สุด ดังนั้นในทางศาสนาพุทธจึงเน้นว่าคนเรา(ส่วนใหญ่)มีแต่ความทุกข์หรือมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีเป็นส่วนใหญ่ สอดคล้องกับข้อสรุปของฟรอยด์ที่ว่า ทุกคนเป็นโรคประสาท

  10. จิตวิทยาในวิสุทธิมรรคจิตวิทยาในวิสุทธิมรรค เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • เป้าหมายของการพัฒนาจิตวิทยาในวิสุทธิมรรค ก็คือการเพิ่มปริมาณของการมีสภาวะจิตที่มีสุขภาพดี และลดปริมาณของความมีสุขภาพไม่ดี ของบุคคลแต่ละคน • บุคคลจำนวนน้อยบรรลุถึงการมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ดีคืออนุสัย (anusaya) ได้แก่ แนวโน้มที่แฝงอยู่ในจิต อันจะนำไปสู่การเกิดสภาวะสุขภาพจิตที่ไม่ดี • อนุสัยนี้จะคล้ายตะกอนที่นอนอยู่ก้นแก้วน้ำใสๆ เมื่อถึงเวลาที่น้ำในแก้วนี้ถูกกวนให้ขุ่น ตะกอนจะลอยขึ้นมาเหนือน้ำและปะปนไปทั่วเนื้อของน้ำที่เคยใสดี

  11. การเจริญสติปัฏฐาน (Mindfulness meditation) เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • การเจริญสติปัฏฐาน = แนวทางในการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ • แต่ไม่เหมือนวิธีการทำสมาธิธรรมดา • การทำให้บุคคลเปลี่ยนนิสัยในการรับรู้และการคิด คือ ผู้ฝึกตั้งใจฟังเสียงที่เป็นกลางที่ดังขึ้นครั้งเดียว  พร้อมกับเสียงพูดเร้าอารมณ์ และรับฟังเสียงทุกเสียงที่เข้ามากระทบหู โดยให้ความสนใจเท่าๆกัน • เป็นการฝึกความสามารถในการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมได้ทุกสิ่ง โดยที่จิตใจมีความเข้มแข็งเพียงใด เป็นการตรวจสอบตนเองด้วย

  12. แนวสติปัฏฐาน 4 เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • "แนวสติปัฏฐาน 4" แปลว่า ให้ตั้งใจเจริญสติเพียรเพ่งอยู่ที่ 4 แห่งคือ กาย เวทนา จิต และธรรม ส่วน "กรรมฐาน" แปลว่า การงานอันมีฐานที่ตั้งรองรับ การเพ่งพิจารณาด้วยสติสัมปชัญญะ + ความเพียรลงไปที่ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม  ที่จะเป็นที่รองรับการฝึกจิตให้เข้าสู่ขั้นปัญญาได้ตามลำดับ • "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นแจ้งในอริยสัจจธรรมทั้ง 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค อันเป็นความจริงที่ประเสริฐสุด เหนือความจริงทั้งหลายในโลกที่เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ คือสามารถเห็นว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน(หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ดังกล้าวนั้น วิปัสสนาเป็นกระบวนการเกิดปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา มิใช่ปัญญาที่เกิดจากการศึกษา สดับตรับฟัง(สุตมยปัญญา) หรือปัญญาที่เกิดจากการคิดนึก (จินตนมยปัญญา)

  13. สถานภาพและการประเมินทฤษฎีจิตวิทยาตะวันออกในปัจจุบันสถานภาพและการประเมินทฤษฎีจิตวิทยาตะวันออกในปัจจุบัน เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • พระอภิธรรมยังไม่เป็นที่สนใจแก่นักจิตวิทยาบุคลิกภาพตะวันตกมากนัก เพราะมีแนวคิดที่ขัดกันอยู่ในทัศนะของศาสนาพุทธ ชีวิตมนุษย์ถูกมองว่า มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเหมือนสายโซ่ เน้นเป็นพิเศษที่สภาวะจิตของบุคคล ในขณะที่เขากำลังจะเสียชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดว่า  เขาจะได้ไปเกิดอยู่ในสถานภาพใด ในชาติหน้า

  14. ความสนใจของนักจิตวิทยาสมัยใหม่ความสนใจของนักจิตวิทยาสมัยใหม่ เนื้อหาพิเศษ 18/11/51 06/11/51 06/11/51 06/11/51 • ในขณะที่นักจิตวิทยาสมัยใหม่ หันมาสนใจจิตวิทยาตะวันออกโบราณ อย่างพระอภิธรรม แต่นักพฤติกรรมนิยมกลับมีความลำเอียงและต่อต้านแนวคิดเหล่านี้ • อันที่จริง จิตวิทยาตะวันออกมาจากความเชื่อทางศาสนาและเมตาฟิสิกส์ส่วนใหญ่ มีรากฐานมาจากการสังเกตและประสบการณ์ตรง • ในทางตรงกันข้าม จิตวิทยาตะวันตกนั้น ส่วนใหญ่มาจากความเชื่อเชิงวิทยาศาสตร์และปรัชญา แต่ละหลักความเชื่อ ต่างก็มีทั้งข้อดีเด่นและข้อด้อยด้วยกันทั้งนั้น จึงถือว่า เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ที่มีชื่อเสียงทุกแนวคิด • บุคคลกลุ่มใดนิยมบูชากลุ่มของตนมากเป็นพิเศษ  ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเข้าข้างความเชื่อของกลุ่มตนมากเกินไป จนได้ชื่อว่า มีอคติทางบวกต่อของๆตน แต่มีอคติทางลบต่อของๆคนกลุ่มอื่นๆ เท่านั้นเอง

  15. สิ้นสุดสาระการเรียนรู้สิ้นสุดสาระการเรียนรู้ สิ้นสุดสาระการเรียนรู้ 06/11/51 06/11/51 กลับสู่หน้าหลัก Click ขอบคุณค่ะ

More Related