1 / 50

การบรรยายหลักสูตร “การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”

การบรรยายหลักสูตร “การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”. หัวข้อวิชา ระบบข้อมูลสารสนเทศและการใช้ประโยชน์. โดย พัชรินทร์ นาคะประวิง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร 16 มิถุนายน 2552. เนื้อหาวิชา. ความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ

manchu
Télécharger la présentation

การบรรยายหลักสูตร “การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายหลักสูตร“การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”การบรรยายหลักสูตร“การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ” หัวข้อวิชา ระบบข้อมูลสารสนเทศและการใช้ประโยชน์ โดย พัชรินทร์ นาคะประวิง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร 16 มิถุนายน 2552

  2. เนื้อหาวิชา • ความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ • ระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร

  3. ข้อมูลและสารสนเทศ • ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พื้นที่ปลูก ปริมาณผลผลิต ราคาสินด้า จำนวนเกษตรกร • สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผล หรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการ หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง • การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ

  4. ความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (DATA) ประมวลผล (PROCESSING) สารสนเทศ (INFORMATION)

  5. องค์ประกอบของสารสนเทศองค์ประกอบของสารสนเทศ • องค์ประกอบของสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 4. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน

  6. การผลิตสารสนเทศ • มีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการผลิตสารสนเทศ 9 วิธี ดังนี้ • 1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้

  7. การผลิตสารสนเทศ • 2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล 2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน 2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์ • 3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่ง ประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติ ของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน

  8. การผลิตสารสนเทศ • 4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร • 5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย

  9. การผลิตสารสนเทศ • 6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว • 7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์

  10. การผลิตสารสนเทศ • 8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ • 9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ

  11. สารสนเทศที่ดี • ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำไปทางใดทางหนึ่ง 2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

  12. ระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร ระบบข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 31 ระบบ ระบบข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร จำนวน 7 ระบบ ระบบข้อมูลตามโครงการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 8 ระบบ ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน จำนวน 13 ระบบ ระบบข้อมูล ภูมิสารสนเทศ จำนวน 3 ระบบ

  13. ระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตรระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร • ระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร (ข้อมูลสถิติ) 7 ระบบ 1. ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (6,544,446 ครัวเรือน) 2. ฐานข้อมูลภาวะการเพาะปลูกพืช (881 อำเภอ) 3. ฐานข้อมูลรายงานการเกิดภัยธรรมชาติ (881 อำเภอ) 4. ฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร (881 อำเภอ) 5. ฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (59,295 แห่ง) 6. ฐานข้อมูลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (7,105 ศูนย์) 7. ฐานข้อมูลทะเบียนอาสาสมัครเกษตรและเกษตรหมู่บ้าน (128,714 คน)

  14. ระบบฐานข้อมูลตามโครงการระบบฐานข้อมูลตามโครงการ • ระบบฐานข้อมูลตามโครงการ 8 ระบบ 1. ฐานข้อมูลโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 2. ฐานข้อมูลโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ 3. ฐานข้อมูลโครงการสายใยรัก 4. ฐานข้อมูลโครงการรับจำนำผลผลิตการเกษตร 5. ฐานข้อมูลโครงการพื้นที่พิเศษมันสำปะหลัง 6. ฐานข้อมูลโครงการเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ส่งออก 7. ฐานข้อมูลเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร 8. ฐานข้อมูลโครงการสำรวจโรงงานปุ๋ยอินทรีย์

  15. ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) • ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) 13 ระบบ 1. ระบบงานบริหารงานบุคคล ( DPIS 4.0 ) 2. ระบบงานบริหารจัดการองค์กร ( HRD) 3. ระบบงานใบรับรองเงินเดือน 4. ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 5. ระบบงานนำเข้าเอกสารราชการ 6. ระบบแผนปฏิบัติราชการผู้บริหาร 7. ระบบข้อมูลงานวิจัย-งานวิชาการ 8. ระบบข้อมูลคลังความรู้การเกษตร

  16. ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) • ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office)13 ระบบ (ต่อ) 9. ระบบการจองห้องประชุม 10. ระบบรายงานติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเกษตร 11. ระบบงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ 12. ระบบการบริหารจัดการรถยนต์ (จองรถยนต์) 13. ระบบการรายงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร

  17. ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ • ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ 3 ระบบ 1. ระบบให้บริการแผนที่ ในงานส่งเสริมการเกษตร (GIS Online) ( ขอบเขตการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการเกษตร พื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ที่ตั้ง ศบกต . ฯลฯ ) 2. ระบบสนับสนุนงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ต่างๆเช่น - โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา - โครงการศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ - โครงการพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ - โครงการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง - โครงการพื้นที่วางกับดักแมลงวันผลไม้ ฯลฯ 3. ระบบให้บริการตรวจสอบชุดดินทางอินเตอร์เน็ต

  18. ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (http://services.doae.go.th) • ประกอบด้วยข้อมูลของครัวเรือนเกษตรกร ชื่อ-สกุล ที่อยู่ สถานที่ทำการเกษตร ลักษณะการประกอบอาชีพ รายได้หลัก รายได้รอง จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเป็นสมาชิกองค์กร การถือครองที่ดิน การเพาะปลูก การเลี้ยงปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ

  19. แบบจัดเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (ทบก.01)

  20. ระบบฐานข้อมูลภาะการเพาะปลูกพืชรายเดือนระบบฐานข้อมูลภาะการเพาะปลูกพืชรายเดือน • ประกอบด้วยข้อมูล พื้นที่เพาะปลูก ชนิดพืชที่ปลุก ชนิดพันธุ์ เนื้อที่ปลูกที่ยืนต้น เนื้อที่ปลูกที่ปลูกเพิ่มใหม่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว เนื้อที่เสียหาย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ราคาผลผลิตเฉลี่ย

  21. แบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการผลิตข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับและสมุนไพร (รม. 01)

  22. แบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น (รม. 02)

  23. ขั้นตอนการดำเนินการ ระบบข้อมูลภาวะการเพาะปลูกพืชรายเดือน

  24. ระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกรระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร • จัดเก็บทะเบียนและข้อมูลของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานกลุ่ม สถานะทางการเงินและทรัพย์สินการดำเนินงานของกลุ่ม การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมาชิกและเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งประเมินการดำเนินงานของกลุ่ม http://farmgroup.doae.go.th

  25. ระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกรระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร

  26. ระบบฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชนระบบฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชน • ประกอบด้วย ชื่อวิสาหกิจชุมชน ที่ตั้ง สมาชิกผู้มีอำนาจทำการแทน จำนวนสมาชิก รายละเอียดข้อมูลของสมาชิก กิจการ-กิจกรรมที่ดำเนินการ ลักษณะการประกอบการ http://smce2.doae.go.th

  27. ระบบรายงานผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร (e-Project) • จัดเก็บข้อมูลการรายงานแผนและผลการปฏิบัติงาน เชิงปริมาณทั้งงานและเงินของทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณและโครงการ (คง.2) ของกรมฯ เป็นรายกิจกรรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการในส่วนกลาง (Project Director) นำเข้าข้อมูลโครงการ เพื่อให้หน่วยงานรายงานความก้าวหน้าแผนและผลการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ติดตามสถานการณ์ แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ

  28. ระบบรายงานผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร (e-Project) http://project.doae.go.th

  29. ระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร (RBM) • จัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรของกรมฯ ตามแบบบันทึกข้อมูลเป็นรายโครงการ (กสก.) รายงานตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินเกษตรกรก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ มีการนำความรู้ไปปฏิบัติหรือไม่

  30. ระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร • จัดเก็บข้อมูลแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนของสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อให้ทราบการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน เช่น จัดประชุม จัดสัมมนา ติดตามนิเทศงาน เมื่อใดและที่ไหน http://www.research.doae.go.th/aes

  31. ระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร

  32. สถิติข้อมูลในงานส่งเสริมการเกษตรสถิติข้อมูลในงานส่งเสริมการเกษตร

  33. เว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตรเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร http://www.doae.go.th

  34. ระบบอินทราเน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบอินทราเน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร http://ssnet.doae.go.th

  35. http://www.agriinfo.doae.go.th/

  36. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม • องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) เครือข่าย (Network) กระบวนการ (Procedure)

  37. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน -เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 4,184 เครื่อง - ส่วนกลาง จำนวน 719 เครื่อง - ส่วนภูมิภาค จำนวน 3,465 เครื่อง - เครื่อง Notebook จำนวน 75 เครื่อง - เครื่อง Scanner จำนวน 110 เครื่อง - อุปกรณ์ Switching จำนวน 23 เครื่อง - เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวน 27 เครื่อง ฯลฯ

  38. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • เว็บไซต์กรม (doae.go.th) ตั้งแต่ 2540 969 เว็บไซต์ • อินทราเน็ต (Songserm Net) ตั้งแต่ 2542 1 ระบบ ( ศูนย์รวมข้อมูล ข่าวสารฉับไว สื่อสารทำความเข้าใจ เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ ) • ระบบโปรแกรมออนไลน์ ตั้งแต่ 2545 30 ระบบ • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( @ doae.go.th) ตั้งแต่ 2548 3,239 บัญชีผู้ใช้(หน่วยงาน 1,089 บัญชี , บุคคล 2,150 บัญชี) • ระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ตั้งแต่ 2548 - ส่วนกลาง + 6 เขต ( 7 จุด )

  39. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร TOT Internet I P Star 100 M Frame Relay VoIP เขต 6 เขต VoIP 2 Mbps x 6 วงจร Dial CDMA ADSL สนง.อำเภอ และศูนย์ 28 แห่ง สนง.จังหวัด –อำเภอ –ศูนย์ 977 แห่ง 100 Mbps 5 M ADSL

  40. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร • ADSL (2 Mb - 128 Kb ) 922 หน่วยงาน • CDMA (256 Kb – 64 Kb) 58 หน่วยงาน • Dial –Up Modem (56 Kb) 6 หน่วยงาน • IP Star (512 Kb – 128 Kb) 28 หน่วยงาน • Frame Relay (ส่วนกลาง 100 Mb - เขต 2 Mb) 7 หน่วยงาน • ระบบโทรศัพท์ Voice Over IP ระหว่างส่วนกลาง และเขต 6 เขต

  41. ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th)

  42. ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th) ตัวอย่างบทเรียน On Line

  43. ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th) • ขั้นตอนเบื้องต้นในการเรียนออนไลน์ 1. คลิกที่ Studentใส่ User name และ Password2. คลิกแก้ไขข้อมูลส่วนตัว (ข้อระวัง ระบบจะให้ท่านกรอกรหัสผ่านอีกรอบ ให้ดูด้วยว่าท่านได้เปลี่ยนภาษาได้ถูกต้องหรือไม่)3. เลือกวิชาที่ลงทะเบียน  4. เข้าทำ Pre-test  แบบทดสอบก่อนเรียน (ในแต่ละบทไม่ต้องทำ Pre-test แล้ว) เมื่อทดสอบเสร็จเรียบร้อย จะทราบผลทันที่(มีทดสอบบางหลักสูตร)5. คลิกเมนูเข้าเรียน

  44. ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning) (http://e-learning.doae.go.th) • ขั้นตอนเบื้องต้นในการเรียนออนไลน์ 6. เมื่อเลิกเรียนให้คลิกที่ เลิกเรียน ด้านซ้าย ข้างบน จะเป็นการบันทึกเวลาในการเรียน7. ผู้เรียนจะต้องคลิกปุ่ม >> ตลอดเป็นการเปลี่ยนหน้า หากไม่คลิก ระบบจะตัดภายใน 15 นาที ต้องเข้าเรียนใหม่8. ผู้เรียนสามารถทำข้อสอบหลังเรียน Post-test ได้ 2 ที่ด้วยกัน คือ หน้าเมนู  และหน้าสารบัญ (มีบางหลักสูตร)9. ผู้เรียนสามารถเช็คเวลาเรียนได้หน้าเมนู เลือก รายงานการเข้าเรียน10. ผู้เรียนจะต้องทำแบบสอบถาม และร่วมตอบกระดานข่าว

  45. บทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • จัดเก็บข้อมูลและจัดทำสารสนเทศ • ใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร • ถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่เกษตรกร

  46. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ในศาสนสถาน หรือชุมชนที่เหมาะสม โดยต่อยอดจากโครงการหนึ่งวัดหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ (OTEC) • วัตถุประสงค์ - เพื่อให้เป็นแหล่ง การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของเด็ก เยาวชนและชุมชน - เพื่อให้เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เพื่อขยายบริการไปสู่ส่วนท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพการ ให้บริการ อินเทอร์เน็ตทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี - เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีการเข้าถึงสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย

  47. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน • โดยในโครงการจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการอบรมให้แก่ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และในแต่ละศูนย์จะมี กิจกรรมการประกวดสารสนเทศชุมชนและการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ดี กิจกรรม ติดตาม ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน เพื่อลดช่องว่างที่เกิดจากการขาดทักษะและความรู้ ในการใช้งานอุปกรณ์รวมไปถึงการใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการอบรมเพื่อให้เกิดการต่อยอดและ นำเข้าสารสนเทศ องค์ความรู้อันเป็นสารประโยชน์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ประสบการณ์ เข้าสู่เว็บไซต์ TKC เพื่อเผยแพร่สู่สังคมต่อไป • นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง พร้อม ทั้งศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

  48. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร

  49. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) แก่เกษตรกร ส่งเสริมเกษตรกรยุคใหม่ ให้รู้จักการใช้ไอทีสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต เกษตรกรรุ่นใหม่ ต้องใช้ไอทีเป็น

  50. เป้าหมายการพัฒนางานข้อมูลสารสนเทศและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • ระบบข้อมูลสารสนเทศมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมใช้งาน • เจ้าหน้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน • เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ • เกษตรกรรับบริการงานส่งเสริมการเกษตรผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ • เกษตรกรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้

More Related