1 / 19

การลงโทษผู้ทิ้งงาน

การลงโทษผู้ทิ้งงาน. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน. 1.ผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญา 2.คู่สัญญา/ผู้รับจ้างช่วงไม่ปฏิบัติตามสัญญา 3.คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องหรือ พัสดุตามสัญญา/วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน/ ไม่ครบถ้วน ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรง. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ต่อ).

maris-bauer
Télécharger la présentation

การลงโทษผู้ทิ้งงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลงโทษผู้ทิ้งงาน

  2. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงานหลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน 1.ผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญา 2.คู่สัญญา/ผู้รับจ้างช่วงไม่ปฏิบัติตามสัญญา 3.คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องหรือ พัสดุตามสัญญา/วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน/ ไม่ครบถ้วน ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรง

  3. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ต่อ) 4.งานก่อสร้างสาธารณูปโภค ใช้ของที่มีข้อบกพร่อง/ ไม่ได้มาตรฐาน/ไม่ครบถ้วน 5.ที่ปรึกษาที่มีผลงานบกพร่อง/ผิดพลาด/ก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรง 6.ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคา/กระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา

  4. การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไปตามข้อ 1-5 1. หัวหน้าส่วนราชการรายงานเสนอปลัดกระทรวงพร้อมความเห็นโดยเร็ว 2. ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรส่งชื่อให้ผู้รักษาการสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน 3. กวพ. เสนอความเห็นว่าสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน 4. ผู้รักษาการพิจารณาสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน 5. ผู้รักษาการระบุชื่อผู้ทิ้งงานในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน 6. ผู้รักษาการแจ้งเวียนชื่อให้ส่วนราชการอื่นทราบ/แจ้งผู้ทิ้งงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  5. การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • ผู้เสนอราคา ผู้เสนองาน กระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือ ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม

  6. การพิจารณาผู้ทิ้งงานตามข้อ 6(ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคาหรือ กระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา) 1.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคล ดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน หรือไม่ 2.แจ้งเหตุที่สงสัยไปให้ผู้เสนอราคา/เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ ชี้แจงภายในเวลาที่กำหนดไม่น้อยกว่า 15 วัน 3.ดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไป

  7. ผลการลงโทษผู้ทิ้งงาน 1. ลงโทษนิติบุคคล ถ้าการกระทำเกิดจากผู้บริหาร ลงโทษผู้บริหารด้วย 2. การสั่งลงโทษนิติบุคคล มีผลถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีผู้บริหารคนเดียวกันด้วย 3. การสั่งลงโทษบุคคลธรรมดา มีผลถึงนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริหารด้วย หมายเหตุผู้บริหาร – หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นๆ

  8. การอุทธรณ์การลงโทษ 1. ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้รักษาการตามระเบียบภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้งการลงโทษ 2. ชี้แจงข้อเท็จจริง (ถ้ามี) 3. การพิจารณาอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 4. คำสั่งยกอุทธรณ์มาตรา 45 วรรคสองและวรรคสามประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2540) ข้อ 2 (5) 5. ฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน ตามมาตรา 49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542

  9. การขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานการขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน 1. ได้ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี 2. มิได้กระทำไปด้วยเจตนาทุจริตหรือเป็นการเอาเปรียบทางราชการ 3. เป็นนิติบุคคลที่มีฐานะมั่นคงและมีเกียรติประวัติดีมาก่อน 4. ยอมรับและรู้สำนึกความผิดในการกระทำของตน (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ น.ว.105/2504 ลว. 18 ต.ค.2504)

  10. เอกสารประกอบการขอเพิกถอน(บุคคลธรรมดา)เอกสารประกอบการขอเพิกถอน(บุคคลธรรมดา) • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี) • สำเนาการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี • สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลังไม่น้อยกว่า 1 ปี • สำเนาหลักฐานการทำงานกับภาคเอกชน (ถ้ามี) • สำเนาใบรับรองผลงาน

  11. เอกสารประกอบการขอเพิกถอน (นิติบุคคล) • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล • สำเนาการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี • สำเนารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตย้อนหลัง 3 ปี • สำเนาหลักฐานการทำงานกับภาคเอกชน (ถ้ามี) • สำเนาใบรับรองผลงาน

  12. แบบแสดงรายละเอียดการทำ (ทง.1-3) • การแจ้งรายละเอียดและส่งเอกสารหลักฐานประกอบในการพิจารณาผู้ทิ้งงาน • แจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 1305/ว 4739 ลว. 30 พ.ค. 43 • รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบประกอบคำบรรยาย

  13. วิธีปฏิบัติในการเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผลวิธีปฏิบัติในการเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผล • การเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะถูกลงโทษเป็นผู้ทิ้งงาน(นิติบุคคล บุคคลธรรมดาและผู้บริหาร ได้ชี้แจงก่อนถูกลงโทษ ให้ส่งหนังสือให้ชี้แจงไม่น้อยกว่า 15 วัน • แจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว 9696 ลว. 21 ต.ค. 42 • รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบประกอบคำบรรยาย

  14. เหตุที่จะไม่ถูกลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงานตามมติ ครม.ว113 • ข้อ 1.2 • ต้องเป็นสัญญาที่ถูกบอกเลิกหลัง 1 ตุลาคม 2550 - 17 มิถุนายน 2551 • ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมัน เหล็ก วัสดุก่อสร้าง • ต้องเป็นงานก่อสร้าง

  15. ข้อ 3 มี 2 เงื่อนไข ดังนี้ • เงื่อนไขที่ 1 • เสนอราคามาก่อนจนถึงวันที่ ครม. มีมติ (17 มิถุนายน 2551) และอยู่ระหว่างรอการลงนามในสัญญา • ผู้เสนอราคาไม่ประสงค์ลงนามในสัญญาหรือข้อตกลง • ต้องมีคำขอภายใน 60 วัน • ให้ถอนการเสนอราคาโดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน • ต้องเป็นงานก่อสร้าง • ให้คืนหลักประกันซอง

  16. ข้อ 3 มี 2 เงื่อนไข ดังนี้(ต่อ) • เงื่อนไขที่ 2 • ลงนามในสัญญาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2551 • ยังไม่ได้ทำงานหรือยังไม่ได้ส่งงานงวดแรก • ต้องมีคำขอภายใน 60 วัน (วันที่ 18 สิงหาคม 2551) • ให้ยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน • ให้คืนหลักประกันสัญญา

  17. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตาม กม.ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ เว้นแต่ในกรณีที่กม.ใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. นี้ • ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย

  18. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • มาตรา 30 วรรคหนึ่ง • ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

  19. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2543) • ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครอง • 1. การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหา หรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณี(1) การสั่งรับ หรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ • (2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ • (3) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นในลักษณะเดียวกัน • (4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน • 2. การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

More Related