1 / 51

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง (ผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด) : บทเรียนจากประสบการณ์

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง (ผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด) : บทเรียนจากประสบการณ์. นางบุญมี สันโดษ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พย.ม.การพยาบาลผู้ใหญ่ APN Oncology 25 มกราคม 2554 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม.

marlo
Télécharger la présentation

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง (ผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด) : บทเรียนจากประสบการณ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง(ผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด): บทเรียนจากประสบการณ์ นางบุญมี สันโดษ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พย.ม.การพยาบาลผู้ใหญ่ APN Oncology 25 มกราคม 2554 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

  2. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP)แนวคิดและความสำคัญ

  3. หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence) ข้อเท็จจริงที่สังเกต หรือ พิสูจน์หรือยืนยันได้ ความรู้ที่ผ่านการทดลองใช้หรือพิสูจน์ในทางปฏิบัติแล้ว สมมติฐานทางทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าเป็นความจริงโดยมีข้อมูลหรือหลักฐานประกอบการยืนยัน โดยสรุป ความรู้ ข้อมูลหรือความจริงที่เป็นอยู่ ทั้งที่มาจากงานวิจัยและไม่ใช่งานวิจัย มาจากความคิดเห็น ประสบการณ์ หรือข้อมูลทางประวัติศาสตร์

  4. ชนิดของหลักฐานเชิงประจักษ์ (Type of Evidence) รายงานผลการวิจัย (primary research) รายงานผลการประเมินโครงการ รายงานการประเมินผลลัพธ์ของโรงพยาบาล/หอผู้ป่วย ความรู้จากผู้ป่วย ผู้รับบริการ ผู้ดูแล ความรู้จากประสบการณ์ทางคลินิก / ความรู้จากบริบท ท้องถิ่น ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinions) รายงานผลการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (Systematic review) แนวปฏิบัติทางคลินิก (Clinical practice guidelines)

  5. การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best practice ) การปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล (effectiveness) และมีประสิทธิภาพ (efficiency) ซึ่งสามารถยืนยันด้วยหลักฐาน หรือประจักษ์พยานได้ โดยแสดงถึงตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่ดี ทั้งนี้ต้องรวบรวมมาด้วยวิธีการที่มีความน่าเชื่อถือ

  6. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP) …เป็นกระบวนการสืบค้นหาหลักฐานความรู้จากงานวิจัยหรือ best practiceนำมาประกอบการพิจารณา ตัดสินใจ และกำหนดเป็นแนวปฏิบัติหรือจัดทำเป็นมาตรฐานที่นำไปสู่การปฏิบัติ... (Sackett et al, 1996)

  7. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP) • คือ การใช้แนวทางปฏิบัติที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีมาประกอบการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย โดย • กระทำอย่างมีสติรอบคอบ (conscientious) • ทำอย่างเปิดเผยและเป็นที่รู้จัก (explicit) • มีการพิจารณาก่อนตัดสินใจ (judicious) • (Sackett et al, 1996)

  8. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP) …เป็นการปฏิบัติการโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ร่วมกับทักษะความชำนาญของผู้ปฏิบัติ ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เฉพาะเจาะจงและเป็นที่ต้องการของผู้รับบริการ... (Pearson, 2001)

  9. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP) เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติที่ทำอย่างเป็นระบบ น่าเชื่อถือ โดยอาศัยbest practiceที่ประจักษ์แล้วว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด น่าเชื่อถือและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด จะต้องทำเฉพาะเรื่อง เฉพาะปัญหา (related to specific problem) โดยต้องระบุหัวข้อการปฏิบัติให้ชัดเจนว่าจะเป็นการปรับปรุงการปฏิบัติเรื่องอะไร

  10. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence - Based Practice : EBP) เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ โดยพิจารณาเอาผลการวิจัยที่ยืนยันว่าการปฏิบัตินั้นได้ผลดีมาเป็นแนวทางสำหรับปรับปรุงคุณภาพ เป็นการลดช่องว่างระหว่างการวิจัยกับการปฏิบัติ

  11. ความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์Evidence - Based Practice : EBP

  12. ความสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ • เป้าหมายหลักของการจัดบริการสุขภาพภายใต้ระบบสุขภาพยุคใหม่ • แนวคิดการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • กิจกรรมเพื่อการประกันคุณภาพ การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล • สังคมในยุคที่เน้นการใช้ความรู้ในการขับเคลื่อนงานต่างๆให้สำเร็จ • ความคาดหวังของประชาชนต่อระบบบริการสุขภาพที่สูงขึ้น • ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน โรคเกิดใหม่ อุบัติภัย • การพัฒนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Advanced Practice Nurse : APN)

  13. การพัฒนาการพยาบาลให้มีคุณภาพสูงสุด คือ ภารกิจรับผิดชอบที่สำคัญของผู้ที่อยู่ในวิชาชีพทุกคน พ.ร.บ.วิชาชีพ 2540 :มุ่งเน้นให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ • มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 3 ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กำหนดลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลฯ ไว้ว่าเป็นการปฏิบัติบนพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ทันสมัยมีหลักฐานยืนยันได้

  14. ระบบสุขภาพแนวใหม่ • เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ • เน้นการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • เน้นความคุ้มค่าคุ้มทุน • เน้นการประเมินผลลัพธ์อย่างครอบคลุม • รู้จักคุณค่าและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม • เน้นการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ / ประเด็นจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน • เน้นการประสานความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม

  15. เป้าหมายของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์เป้าหมายของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ • ปรังปรุงคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล • พัฒนาคุณภาพงานบริการ • มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การดูแลที่ดี • เป็นการปิดช่องว่างระหว่างการวิจัยและการปฏิบัติ • ลดค่าใช้จ่าย

  16. กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ กำหนดหัวข้อปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ การสืบค้นหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ การประเมินคุณค่าของหลักฐานความรู้ การพัฒนาแนวปฏิบัติ การใช้แนวปฏิบัติที่สร้างขึ้น การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุง การเผยแพร่แนวปฏิบัติ

  17. ขั้นตอนที่ 1. การกำหนดหัวข้อปัญหา  เป็นกิจกรรมขั้นแรกของการปรับปรุงระบบงาน/กิจกรรมคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาปัญหา โอกาสพัฒนา การทำดีอยู่แล้วก็ยังต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ดี ที่มีอยู่อาจยังไม่เป็นระบบ ทีมงานต้องร่วมกันวิเคราะห์ค้นหาประเด็นสำคัญของการบริการพยาบาล ไม่ควรผลักดันให้หาอะไรสักอย่างมาทำโดยไม่รู้ความหมายหรือไม่มีจุดมุ่งหมาย จัดลำดับความสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพบริการมากที่สุดมาดำเนินการก่อน (ถ้ามีหลายประเด็น)

  18. การคัดเลือกประเด็นปัญหาการคัดเลือกประเด็นปัญหา • High Risk • High Volume • High Variation • High Cost • Problem prone • Not satisfied

  19. High Risk:- กิจกรรมการปฏิบัติการดูแลใดๆที่หากมีความบกพร่อง / ไม่มีมาตรฐานการปฏิบัติที่ชัดเจน จะเกิดผลกระทบ/อันตรายแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ • High Volume :- • เรื่องที่มีปริมาณในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลเป็นจำนวนมาก • กิจกรรมหรือการปฏิบัติการดูแลที่ต้องทำเป็นประจำ • มีปริมาณผู้ใช้บริการในเรื่องเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก • อุบัติการณ์ปัญหาพบบ่อยๆ แม้จะเป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง

  20. High Variation:- มีความแตกต่างกันในการปฏิบัติมาก หรือ มีการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดไว้ หรือผลลัพธ์แปรปรวน • High Cost :- • การปฏิบัติการดูแลที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าไม่มีมาตรฐานหรือแนวทางการดูแลที่ชัดเจนจะทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นหรือได้รับผลลัพธ์ไม่คุ้มค่า • ใช้อุปกรณ์มาก ราคาแพง

  21. Problem prone:-  เรื่องที่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหา  กิจกรรมหรือการปฏิบัติใดๆที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ  บุคลากรเคยมีประสบการณ์มาก่อนว่าเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหามาก่อน แม้จะไม่รุนแรงก็ตาม • Not satisfied:- • มีความยุ่งยาก ไม่สะดวก มีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติบ่อยๆ • ได้ผลไม่เป็นที่พึงพอใจ มีข้อร้องเรียนบ่อยๆ

  22. เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเพิ่ม •  ภาวะสุขภาพของประชาชน •  เกิดความสูญเปล่า ซ้ำซ้อน เพิ่มภาระงานมากเกินไป • เสียเวลาโดยไม่จำเป็น เสียโอกาส • เป็นข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ

  23. กระบวนการกำหนดปัญหา • 1. วิเคราะห์กระบวนการ/วิธีปฏิบัติในปัจจุบัน • สอดคล้องกับมาตรฐาน? เป็นไปตามหลักวิชาการ? ทันสมัย? มีพื้นฐานบน evidence? ผลลัพธ์เป็นไปตามเกณฑ์? ตัวชี้วัดคุณภาพเป็นอย่างไร? 2. ถ้ามีแนวปฏิบัติดีแล้ว ทบทวนให้มั่นใจว่าจะนำไปสู่ระดับคุณภาพที่พึงประสงค์

  24. กระบวนการกำหนดปัญหา 3. ถ้าแนวปฏิบัติยังมีความบกพร่องร่วมกันทบทวนและจัดทำใหม่ ให้ อยู่บนพื้นฐาน evidence 4. ถ้ามีแนวปฏิบัติที่จัดทำไว้แล้ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ทบทวนและนำมาพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับ Setting

  25. การเขียนหลักการและเหตุผล • ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา • ขนาดของปัญหา ความรุนแรง ผลกระทบ ค่าใช้จ่าย อัตราตาย ความพิการ คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพ ฯลฯ • ตัวเลข สถิติ ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ จากงานวิจัย หน่วยงาน • ความจำเป็น ความต้องการในการปฏิบัติการตามหลักฐานเชิงประจักษ์ • ทั้งหมดต้องมีหลักฐานอ้างอิง

  26. ขั้นตอนที่ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ • เป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว • มีความเป็นรูปธรรม สามารถวัดได้ ประเมินได้ • ผลลัพธ์ คือผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ( ภายหลัง implementation ) • ผลลัพธ์ (outcome) ได้แก่ clinical outcome , Functional outcome, Financial outcome , perceptual outcome

  27. ขั้นตอนที่ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ • outcome ควรเกิดกับ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ หน่วยงาน/องค์กร • เป็นสิ่งที่เกิดจาก Intervention ของ CPGs • อาจเป็นได้ทั้งผลลัพธ์ระยะสั้น ผลลัพธ์ระยะยาว • มีการวางแผนการประเมินผลลัพธ์ล่วงหน้า (แบบประเมิน เครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูล)

  28. ขั้นตอนที่ 3. การสืบค้นหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ • กำหนดเกณฑ์ในการสืบค้น :- ขึ้นอยู่กับว่าต้องการงานระดับใด • กำหนดคำสำคัญของการสืบค้น :- จาก population ,intervention ,outcome ,types of evidence • กำหนดแหล่งสืบค้น :- จาก electronic databases ,hand searching ,reference lists , personal communication(ผู้ทรงคุณวุฒิ) • วิธีการสืบค้น :- สืบค้นทางelectronics, hand-searching, • สรุปผลการสืบค้น :- จัดทำรายการผลการสืบค้นและจำแนกประเภทของหลักฐานที่ได้

  29. แหล่งสืบค้นหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ • Bibliographic databases :- CINAHL ,Medline ,Embase ,ProQuest ,PubMed ,SienceDirect , Blackwell Synergy etc. • Website :- www.joannabriggs.edu.au :- www.guideline.gov • :- www.cochrane.org :- www.his.ox.ac.uk/guidelines/ • :- www.york.ac.uk :- www.ncbi.nim.nih.gov/PubMed • :- www.medsch.wise.edu :- www.nice.org.uk • :- www.health-evidence.ca:- www.sign.ac.uk

  30. ขั้นตอนที่ 4. การประเมินคุณค่าหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ • ต้องมาจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ที่มีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ • ผลลัพธ์ต้องตรงกันกับที่กำหนดในการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน • ข้อเสนอแนะจากหลักฐานสามารถนำไปปฏิบัติกับกลุ่มผู้ใช้บริการในหน่วยงานได้ง่ายและสะดวกที่สุด • มีระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่เหมาะสม • หลักฐานจาก systemic reviewที่ถูกต้องตามเกณฑ์เป็นสิ่งที่ควรนำมาใช้มากกว่างานวิจัยเดี่ยวๆ (single study)

  31. ขั้นตอนที่ 4.การประเมินคุณค่าหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ • ทุกๆหลักฐานต้องผ่านการพิจารณา ตัดสินใจร่วมกันในกลุ่มผู้พัฒนา CPGs ที่มีประสบการณ์ และใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์ ความเสี่ยง ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ก่อนนำไปเป็นแนวปฏิบัติ

  32. การประเมินคุณภาพงานวิจัย • RCT design  กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มที่ศึกษา? กลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกระทำเหมือนกัน?  การวัดผลลัพธ์เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม? •  กลุ่มตัวอย่างมีความเหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม? •  Double blind randomized technic? • กลุ่มตัวอย่างอยู่ครบ > 80%

  33. การประเมินคุณภาพงานวิจัย • Quasi-experimental design  เกณฑ์ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความชัดเจน? กลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกระทำเหมือนกัน?  การวัดผลลัพธ์เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม? •  กลุ่มตัวอย่างมีความเหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม? •  สถิติที่ใช้มีความเหมาะสม? • กลุ่มตัวอย่างอยู่ครบ > 80%

  34. การประเมินคุณภาพงานวิจัย • Systematic review  มีประเด็นทางคลีนิกที่สำคัญเกี่ยวข้องกับหัวข้อพัฒนา? การสืบค้นข้อมูลอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ?  มีการประเมินและพิจารณาคุณสมบัติของงานวิจัยที่นำมาทบทวน? •  ข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนผลการวิจัยมีความไวต่อการนำไปใช้? •  ข้อสรุปเชิงปริมาณได้รับการอภิปรายอย่างมีเหตุผลและเหมาะสมโดยคำนึงถึงการนำไปใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาทางคลีนิกในวงกว้างได้?

  35. การประเมินคุณภาพงานวิจัย • Guidelines  การประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติต้องประเมินทั้งเนื้อหาและกระบวนการพัฒนา พิจารณาเนื้อหาที่เป็นข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติ  เครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมินคือ The Appraisal of Guidelines for Research and Evaluation : AGREE  สร้างและพัฒนาโดย The AGREE Collaboration, St.George’Hospital Medical School,London

  36. การจัดระดับของงานวิจัย The Joanna Briggs Institute (JBI) กำหนดโดย NHMRC (Alan Pearson, 2007)

  37. การแบ่งเกรดของข้อเสนอแนะ ตามความสามารถในการประยุกต์ใช้ (JBI, 2007) Grade A: ข้อเสนอแนะสามารถนำไปใช้ได้เลย เป็นที่ยอมรับเชิงจริยธรรม มีเหตุผลสนับสนุนที่ดีมากในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ และประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน Grade B :ข้อเสนอแนะสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้องมีการเตรียมบุคลากรและอุปกรณ์อีกเล็กน้อย การยอมรับเชิงจริยธรรมยังไม่ชัดเจน มีเหตุผลสนับสนุนที่ดีพอควรในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ และประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนพอควร

  38. การแบ่งเกรดของข้อเสนอแนะ ตามความสามารถในการประยุกต์ใช้ (JBI, 2007) Grade C:ข้อเสนอแนะสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้องมีการเตรียมบุคลากรและอุปกรณ์อีกมาก การยอมรับเชิงจริยธรรมอาจมีข้อโต้แย้งบ้าง มีข้อจำกัดของเหตุผลสนับสนุนในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ และประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์อาจมีข้อจำกัดควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

  39. ขั้นตอนที่ 5. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลีนิก ประกอบไปด้วย 2 phase Phase 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Development of Evidence Practice Guidelines : CPGs) - กำหนดทีมงานรับผิดชอบ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ - สืบค้น ประเมินคุณค่าและคัดเลือกหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ - ยกร่าง ตรวจสอบคุณภาพแนวปฏิบัติ และทำรูปเล่ม

  40. ขั้นตอนที่ 5. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลีนิก Phase 2 การนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ (Implementation of Clinical Practice Guidelines) ประชุมชี้แจง อบรมผู้ปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้อง กำกับดูแล นิเทศติดตามการปฏิบัติต่อเนื่อง

  41. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลีนิกการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลีนิก Systemic review/meta-analysis Evidence / Best practice Expert opinion&consensus (clinical judgment & experience) Recommendations Well designed study Clinical Practice Guidelines Development

  42. หลักสำคัญในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (CPGs)  ต้องมีเป้าหมายหลักที่ผลลัพธ์การบริการ ต้องมาจาก the best available evidence และต้องระบุ strength of evidence การแปลง evidence ต้องผ่านการตัดสินใจของผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเพื่อให้ได้มาซึ่ง good clinicalrecommendations ต้องเป็น multidisciplinaryteam (customers &stakeholders)

  43. หลักสำคัญในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (CPGs) CPGs ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายหน่วยงาน ควรพัฒนาบนฐานค่าใช้จ่ายที่ลดลง CPGs ที่พัฒนาแล้วต้องมีการเผยแพร่และนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการติดตามประเมินผลการนำCPGs ไปใช้ และผลลัพธ์ที่ได้อย่างต่อเนื่อง ควรมีการ revised อย่างสม่ำเสมอ

  44. ขั้นตอนที่ 6. การใช้แนวปฏิบัติทางคลีนิก สามารถใช้ได้หลายทาง ได้แก่  การใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นเอง (สร้างเองและใช้เอง) ให้ดำเนินการตามขั้นตอน 2 phaseที่กล่าวมาข้างต้น)  การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกที่ผู้อื่นทำไว้เต็มรูปแบบ จะต้องมีการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ก่อนตัดสินใจนำมาใช้ โดยใช้เครื่องมือ AGREE (The Appraisal of Guidelines for Research and Evaluation) ซึ่งการประเมินต้องประเมินตามคู่มือ (manual practice) ของ AGREE Collabolationสามารถ download ได้ที่ http://www.agreetrust.org/instrument.htm หรือ www.G-I-N.net

  45. การใช้แนวทางปฏิบัติที่ผู้อื่นสร้างไว้แล้วโดยมีการประยุกต์ หรือดัดแปลงแนวปฏิบัติก่อนการนำมาใช้ ซึ่งผ่านการประเมินโดยใช้ AGREEแล้วมีข้อจำกัดบางประการในการมาใช้ในหน่วยงานตนเอง ในกรณีนี้ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และระบุให้ชัดเจนว่าประยุกต์อย่างไร มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง คือการทบทวนวิชาการเชิงประจักษ์ที่ทันสมัยเพิ่มเติมเข้าไป

  46. ขั้นตอนที่ 7. การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุง 7.1 ประเมินโครงสร้างและประเมินกระบวนการ - ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ให้บริการ - ประเมินการปฏิบัติตาม CPGs (guidelines adherence) - ประเมินความสะดวก ยากง่ายในการใช้ CPGs - ประเมินปัญหา อุปสรรคในการใช้ CPGs

  47. ขั้นตอนที่ 7. การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุง สร้างแบบสอบถาม / แบบสังเกต / สัมภาษณ์ / แบบรวบรวมข้อมูล 7.2 ประเมินผลลัพธ์ของการใช้ CPGs - รวบรวมผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้ CPGs - ประเมินความพึงพอใจ ทัศนคติของผู้ใช้ CPGs

  48. ขั้นตอนที่ 7. การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุง 7.3 หลังการทดลองใช้และมีการประเมินผล ถ้าพบว่ามีข้อที่ยังต้องปรับปรุง หรือประเด็นปัญหา ให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ พัฒนาเพิ่มเติม หรือปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมกันก่อนนำไปเผยแพร่ต่อไป

  49. ขั้นตอนที่ 8. การเผยแพร่แนวปฏิบัติ เมื่อการพัฒนาแนวปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสอบ ทดลองใช้ ประเมินผล ปัญหาอุปสรรค ปรับปรุงแนวปฏิบัติจนสามารถใช้ได้สมบูรณ์ ให้จัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ประกาศใช้ในหน่วยงาน ในโรงพยาบาล พร้อมกับมีการสื่อสารที่ชัดเจน ติดตามประเมินผลต่อเนื่องต่อไป

More Related