1 / 13

การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสมัยอยุธยา

การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสมัยอยุธยา. การค้า สมัยอยุธยา. แบ่งออกเป็น 2 ระดับ การค้าภายใน การค้ากับต่างประเทศ. การค้าภายใน. ระบบไพร่  มี “การเกณฑ์แรงงาน” และ “ส่วย” แต่ โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ยังคง เป็น “ระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ”

Télécharger la présentation

การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสมัยอยุธยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสมัยอยุธยา

  2. การค้า สมัยอยุธยา แบ่งออกเป็น 2 ระดับ • การค้าภายใน • การค้ากับต่างประเทศ

  3. การค้าภายใน • ระบบไพร่  มี “การเกณฑ์แรงงาน” และ “ส่วย” • แต่ โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ยังคง เป็น “ระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ” • หมู่บ้าน หรือ ชุมชน – พึ่งตนเองได้ในระดับสูง • การค้าระหว่างหมู่บ้าน มีปริมาณไม่มาก • เป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น • ชาวจีน มักเป็น พ่อค้า (เพราะไม่ติดอยู่กับระบบไพร่ ทำให้เดินไปค้าขายต่างเมืองได้) • ศูนย์กลางการค้า หรือ ตลาด มักตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ใช้ “เรือ” เป็นพาหนะในการเดินทางค้าขาย

  4. การค้ากับต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง • สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึง สมัยสมเด็จพระบรมราชธิราชที่ 3– เป็นการค้าแบบโบราณยังไม่ติดต่อกับชาติตะวันตก • สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถึง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช – ชาติตะวันตกมีบทบาทในการค้าค่อนข้างมาก • สมัยสมเด็จพระเพทราชา เป็นต้นมา – ชาติตะวันตก ลดอิทธิพลทางการค้า ขณะที่ชาวจีนมีบทบาททางการค้ามากขึ้น

  5. การค้ากับต่างประเทศ (ต่อ) • การค้าต่างประเทศของอยุธยา มีการค้ากับดินแดน 2 ส่วน • ส่วนแรก พ่อค้าที่มาจาก “มหาสมุทรอินเดีย” ได้แก่ พ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ ทำการค้าแถบ เมืองท่าในพม่า มอญ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทรมลายูบริเวณช่องแคบมะละกา และเมืองท่าตอนเหนือของเกาะชวา (แคว้นบันตัม) • ส่วนที่สอง การค้าที่ทำการค้ากับจีนเป็นหลัก – การค้าที่เมืองท่าบางเมืองทางตอนเหนือของเกาะชวา (บัตตาเวีย) เมืองท่าทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู เมืองท่าบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงเมืองท่าของจามปาและญวน

  6. การค้ากับต่างประเทศ (ต่อ) • การค้าทั้งสองส่วน ไม่ได้ แยกจากกัน แต่ อยุธยา เป็น “ศูนย์กลางแห่งหนึ่งในการช่วยส่งต่อสินค้าจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่ง” • อยุธยา เน้น การส่งสินค้าจากจีนไปยังมหาสมุทรอินเดีย • โดย อยุธยา มีความสำคัญ 2 ประการ • ศูนย์กลางของสินค้าประเภทของป่า • ศูนย์กลางแห่งหนึ่งของการค้าส่งผ่านระหว่างจีนกับมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งส่งสินค้าผ่านไปยังดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • การค้าต่างประเทศ ผู้ประกอบการที่สำคัญ คือ กษัตริย์ ที่ทำการค้าผ่าน “พระคลังสินค้า” – นอกจากนี้ มี กลุ่มเจ้านายและขุนนาง ที่ทำการค้าอิงกับอำนาจการเมืองในระบบศักดินา

  7. การค้ากับต่างประเทศ (ต่อ) • สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้จันทร์ ไม้ซุง ไม้ฝาง ไม้กะลำพัก กำยาน แก่นคูณ ขี้ผึ้ง รง ครั่ง หวาย งาช้าง หนังกวาง นอแรด และรังนก นอกจากนี้ยังมี ข้าว พริกไทย เครื่องเทศ หมาก มะพร้าว ดีบุก ทองคำ เงิน ตะกั่ว เครื่องปั้นดินเผา และพลอยต่างๆ • สินค้าขาเข้า ได้แก่ ผ้าแพรต่างๆ เช่น แพรม้วน แพรดอก แพรโล่ ผ้าไหม ผ้าม้วย ผ้าลายทอง เครื่องถ้วยชาม เครื่องกระเบื้อง พัด น้ำหอม ฉากญี่ปุ่น ดาบ หอก เกราะ ปืน กระสุนปืน ทองแดง กำมะถัน และอาหารแห้งต่างๆ จากจีน

  8. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ (การติดต่อกับต่างประเทศ) ความสัมพันธ์กับอาณาจักรใกล้เคียง • ทิศเหนือ- อาณาจักรล้านนา– ล้านนา สลับกับการตกเป็น “ประเทศราช” ของอยุธยาและพม่า (จนกระทั่งสมัยพระเจ้าบุเรงนอง) • ทิศตะวันออก- อาณาจักรขอม (เขมร) – ทำสงครามกันตลอดเวลา ส่วนใหญ่ อยุธยา เป็นฝ่ายไปรุกขอม (ซึ่งเสียเปรียบอยุธยาทั้งด้านกำลังคนและเศรษฐกิจ) • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ–อาณาจักรล้านช้าง– เป็นไมตรีต่อกัน • ทิศใต้–หัวเมืองมลายู– เป็น “ประเทศราช” อยู่ไกลจากราชธานีมาก และมัก “แข็งเมือง” บ่อยๆ อยุธยาส่งกองทัพไปปราบปรามบ่อยครั้ง • ทิศตะวันตก– อาณาจักรพม่าและมอญ– สงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ และผลประโยชน์ในภูมิภาค – สงครามเกิดขึ้น 24 ครั้ง

  9. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเลความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเล • จีน – มีความสัมพันธ์ทั้งทางการทูตและการค้า • ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่งทูตคณะทูตไปจีน ถึง 89 ครั้ง ขณะที่ จีนส่งคณะทูตมาอยุธยา 18 ครั้ง • ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอยุธยากับจีน อยู่ภายใต้ “การค้าในระบบบรรณาการ” ที่ต้องผ่านคณะทูต • กษัตริย์อยุธยา พอใจในกำไรที่ได้จากการค้ากับจีน ในระบบบรรณาการ เพราะสินค้าจีนสามารถขายได้ราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น อยุธยายังพอใจในคุณภาพและคุณค่าของสินค้าจีนที่ได้รับเป็นของขวัญจากจักรพรรดิจีน

  10. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเล (ต่อ) • จีน (ต่อ) - จากรายการสิ่งของที่เป็นบรรณาการไปจีน มีถึง 44 ประเภท มากกว่าชาติอื่นที่ติดต่อกับจีน ส่วนใหญ่เป็น ของป่าและสัตว์ป่า • เมื่อจีนใช้ “ระบบหนังสือเดินทาง” – อยุธยา เป็นชาติแรกที่ได้รับพระราชทานหนังสือเดินทาง • อยุธยา ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่จีน เช่น อัตราภาษีขาเข้า ที่พ่อค้าจีนจ่ายเพียง 12 ชัก 2 (พ่อค้าชาติอื่น จ่าย 9 ชัก 2) • ญี่ปุ่น– มีหลักฐาน พ.ศ. 1941 มีเรือสินค้าจากอยุธยาเดินทางมาค้าขายที่หมู่เกาะริวกิว (สินค้า – หนังสัตว์ สุรา ไม้จันทร์ น้ำตาล) ต่อมา พ.ศ. 2135 มีเรือญี่ปุ่นมาค้าขายกับอยุธยา ที่ นครศรีธรรมราชและปัตตานี • มีการส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี ขอเปิดการค้ากับอยุธยา ใน พ.ศ. 2149

  11. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเล (ต่อ) • ญี่ปุ่น (ต่อ)- อยุธยา (สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ) ส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปยังญี่ปุ่น • ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำการค้าในอยุธยาตามเมืองท่าสำคัญๆ • ชาวญี่ปุ่นเข้ามาประกอบการค้า และเข้ารับราชการสมัครเป็น “กองทหารอาสาญี่ปุ่น” เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอยุธยา ชาติตะวันตก– โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส • โปรตุเกส– ส่งทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี เป็นการติดต่อทางการค้า มีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน (โปรตุเกสได้ยึดมะละกา ถือว่าเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา) – ทั้งโปรตุเกสและอยุธยาสามารถค้าขายและตั้งบ้านเรือนภายในเมืองท่าฝ่ายตรงข้ามได้

  12. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเล (ต่อ) • ฮอลันดา– ภายใต้บริษัทดัตช์อินเดียตะวันออก เข้ามาครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมาตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานี (พ.ศ. 2146) • สิทธิพิเศษทางการค้า เช่น สามารถค้าขายในอยุธยาได้เสรี และในเมืองนครศรีธรรมราชโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร (เสียแต่จังกอบและฤชา) ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2160 ผูกขาดการซื้อหนังกวางและหนังสัตว์อื่นๆ (ยกเลิกในสมัยพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฮอลันดายังคงได้สิทธิผูกขาดการค้าหนังสัตว์ต่อ) • อังกฤษ – ภายใต้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้ส่งทูตเข้ามาสมัยพระเจ้าทรงธรรม และได้เข้ามาตั้งสถานีการค้า แต่ขัดแย้งกับฮอลันดา และเข้ามาอีกครั้ง สมัยพระนารายณ์ ได้รับสิทธิผูกขาดซื้อดีบุกที่ไชยา ชุมพร พัทลุง

  13. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับดินแดนโพ้นทะเล (ต่อ) • อังกฤษ (ต่อ) - เหตุการณ์การรบที่เมืองมะริด พ.ศ. 2230 ระหว่างอยุธยากับอังกฤษ การค้าลดลง • ฝรั่งเศส– มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา • สมัยสมเด็จพระนารายณ์ - สังฆราชแห่งเบริตและคณะ ได้แวะพักที่อยุธยา ระหว่างเดินทางไปญวนและจีน และถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 • สมเด็จพระนารายณ์ยอมให้มีการเผยแพร่ศาสนา และทรงแต่งตั้งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2227 • ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส เป็นไปด้วยดีเฉพาะในสมัยของพระนารายณ์

More Related