1 / 34

แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน เส้นความยากจนและการวัดความยากจน ความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา

บทที่ 5 ความยากจนและการกระจายรายได้. แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน เส้นความยากจนและการวัดความยากจน ความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ผลกระทบของความยากจน. หนังสืออ่านประกอบ : Todaro, M. and S. C. Smith. (2003) Economic Development. Chapter 6.

Télécharger la présentation

แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน เส้นความยากจนและการวัดความยากจน ความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 ความยากจนและการกระจายรายได้ • แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน • เส้นความยากจนและการวัดความยากจน • ความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา • ผลกระทบของความยากจน หนังสืออ่านประกอบ: Todaro, M. and S. C. Smith. (2003) Economic Development. Chapter 6. ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์ (2544) พัฒนาชนบทยั่งยืน สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์ บทที่ 5 Website:world bank: topic Povertyและสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  2. รายได้ และสัดส่วนของรายได้ของประชากรภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร หมายเหตุ: ตัวเลขในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นค่าเฉลี่ย 2 ปี (2540-2541) ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2539 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2544

  3. ธนาคารโลก (1970) คนยากจน คือ คนที่มีระดับรายได้หรือรายจ่ายต่ำกว่าระดับต่ำสุดของความต้องการขั้นพื้นฐาน เส้นความยากจน (poverty line) เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสถานที่ แต่ละประเทศจะมีเส้นความยากจนที่เหมาะสมของตนเอง เส้นความยากจนคำนวณได้จากข้อมูลรายได้ แบบแผนการใช้จ่าย ภาวะหนี้สินของครัวเรือน โดยการสำรวจเป็นช่วงๆ ปัจจุบัน ความยากจนไม่ใช่มองแค่เพียงรายได้เท่านั้น แต่ความยากจนมองได้หลายมิติ เช่น การขาดแคลนอาหาร การไม่รู้หนังสือ รวมทั้งการมีสุขภาพที่ไม่ดี • แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน

  4. What is poverty? • Poverty is hunger. Poverty is lack of shelter. • Poverty is being sick and not being able to see a doctor. • Poverty is not having access to school and not knowing how to read. • Poverty is not having a job, is fear for the future, living one day at a time. • Poverty is losing a child to illness brought about by unclean water. • Poverty is powerlessness, lack of representation and freedom. • Poverty has many faces, changing from place to place and across time

  5. ความยากจนยังอาจรวมไปถึงการขาดสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน สิทธิของสตรี ความไม่มั่นคงในการดำเนินชีวิต และการถูกกีดกันทางสังคม เป็นต้น แนวคิดที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อวิธีการคำนวณเส้นความยากจน เส้นความยากจนค่อยๆ เปลี่ยนจากการคำนวณเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว มาเป็นการประเมินเชิงคุณภาพด้วย แนวคิดเกี่ยวกับความยากจนขึ้นอยู่กับแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการหรือสิ่งที่จำเป็นของมนุษย์ (Human needs) ที่ใช้ในขณะนั้น • แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน

  6. ธนาคารโลกได้กำหนดเส้นความยากจนนานาชาติ (International poverty line) ใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศเป็นมาตรฐาน เส้นความยากจนมาตรฐานนี้ไม่ขึ้นอยู่กับรายได้เฉลี่ยต่อหัว แต่คำนึงถึงความแตกต่างของระดับราคาสินค้าในแต่ละประเทศ คนยากจนคือคนที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่า $1.25 ต่อวัน โดยใช้การเปรียบเทียบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศตามอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity:PPP) ความยากจนในลักษณะนี้เป็นความยากจนโดยสมบรูณ์ (absolute poverty) • แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน

  7. Absolute poverty or relative poverty ? ความยากจนโดยสมบรูณ์ เป็นการใช้ความต้องการขั้นพื้นฐานที่เพียงพอเป็นตัววัดหรือกำหนด ความยากจนโดยเปรียบเทียบเป็นการเปรียบเทียบกับมาตรฐานการครองชีพหรือมาตรฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีอยู่ Chronic poverty or temporary poverty ? ความยากจนแบบชั่วคราว เกิดขึ้นจากการขึ้นๆ ลงๆ ของรายได้และรายจ่าย อันอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ • แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน

  8. เส้นความยากจนถูกสร้างหรือกำหนดบนพื้นฐานของอะไรเส้นความยากจนถูกสร้างหรือกำหนดบนพื้นฐานของอะไร รายได้ รายจ่าย หรือปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย? การกำหนดเส้นความยากจนมีอยู่หลายวิธี เช่น การคำนวณค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่สนองตอบต่อความต้องการพื้นฐาน การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารที่จำเป็นต่อการบริโภคและร่างกายได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง (the budget standard approach) การกำหนดรายได้ขั้นต่ำโดยการเก็บข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่าง (consensual income poverty) • เส้นความยากจนและการวัดความยากจน

  9. เส้นความยากจนและการวัดความยากจนเส้นความยากจนและการวัดความยากจน • เส้นความยากจน (Poverty line) ประกอบด้วย • เส้นความยากจนด้านอาหาร (Food poverty line) และ • เส้นความยากจนที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food poverty line) • Food poverty line กำหนดขึ้นจากความต้องการสารอาหาร แคลอรีและโปรตีนของคนที่แตกต่างกันตามเพศและอายุ รวมทั้งแบบแผนการบริโภคและค่าครองชีพที่แตกต่างกันตามภูมิภาคและพื้นที่ แต่ได้รับอรรถประโยชน์ (utility) เท่ากัน • Non-food poverty line กำหนดจากความต้องการสินค้าอุปโภคที่จำเป็น เช่น เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย เป็นต้น

  10. เส้นความยากจนของประเทศไทยเส้นความยากจนของประเทศไทย ที่มา:Knowledge Management and Poverty Reduction Policy Unit, NESDB. “Poverty in Thailand”.

  11. เส้นความยากจนปี 2531-50 แยกตามภูมิภาคและพื้นที่

  12. เส้นความยากจนและการวัดความยากจนเส้นความยากจนและการวัดความยากจน • ตัวชี้วัดความยากจน • Head Count Ratio: จำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน (NP) ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด (N) ข้อเสีย คือ ไม่ได้พิจารณาถึงขนาดของรายได้ที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนว่าต่ำกว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งบอกถึงขนาดของความยากจนที่มีอยู่

  13. จำนวนประชากรที่มีชีวิตด้วยเงินที่น้อยกว่า 1$ ต่อวันจำแนกตามภูมิภาค

  14. จำนวนคนจนด้านรายจ่ายในประเทศไทยจำนวนคนจนด้านรายจ่ายในประเทศไทย

  15. สัดส่วนคนจนในประเทศไทยสัดส่วนคนจนในประเทศไทย ที่มา:Knowledge Management and Poverty Reduction Policy Unit, NESDB. “Poverty in Thailand”.

  16. เส้นความยากจนและการวัดความยากจนเส้นความยากจนและการวัดความยากจน • Poverty Gap : ปริมาณรายได้ที่จะทำให้คนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนทุกคนมีรายได้อยู่เหนือเส้นความยากจน Yp= poverty line, Yi =รายได้ที่แท้จริงของบุคคล Np =จำนวนผู้มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ช่องว่างความยากจน เป็นการวัดขนาดของความยากจน สามารถใช้กำหนดงบประมาณอย่างหยาบๆ เพื่อช่วยให้คนจนหลุดพ้นจากความยากจน

  17. เส้นความยากจนและการวัดความยากจนเส้นความยากจนและการวัดความยากจน • Poverty Gap Index or Poverty Gap Ratio: ดัชนีช่องว่างความยากจนบอกระดับความยากจนว่ามีมากน้อยเท่าไร เทียบกับเส้นความยากจน N =จำนวนประชากรทั้งหมด ค่า PGI มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 ค่าดัชนียิ่งสูงแสดงว่ายิ่งมีความยากจนมาก ใช้ในเปรียบเทียบขนาดของความยากจนโดยเฉลี่ยระหว่างประเทศได้

  18. เส้นความยากจนและการวัดความยากจนเส้นความยากจนและการวัดความยากจน • Severity of Poverty Index or Squared of Poverty Gap Index: ดัชนีความรุนแรงของความยากจน ใช้วัดความรุนแรงของปัญหาความยากจนว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยให้น้ำหนักกับขนาดยากจนมากๆ ถ้าช่องว่างความยากจนมีมาก ค่าดัชนีนี้จะสูงมาก

  19. เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน จำนวนคนจน (ด้านรายจ่าย) ปี 2531-2550 ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สคช.

  20. ความยากจนที่วัดจากตัวชี้วัดของธนาคารโลกความยากจนที่วัดจากตัวชี้วัดของธนาคารโลก

  21. ผลกระทบของความยากจน • ความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร การขาดอาหารและสุขภาพที่แย่ลง (food insecurity, malnutrition, poor health) ความไม่มั่นคงทางด้านอาหารเป็นทั้งสาเหตุและผลของความยากจน รายได้ต่ำทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการซื้ออาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมาบริโภคได้อย่างพอเพียง รายได้ของคนจนส่วนใหญ่เป็นผลตอบแทนจากแรงงาน สุขภาพที่แย่ส่งผลต่อรายได้ที่ต่ำลงในอนาคตด้วย

  22. ผลกระทบของความยากจน • ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (lack access to credit market) คนจนขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับการขอสินเชื่ออย่างเป็นทางการ การขาดโอกาสในการเข้าถึงตลาดสินเชื่อทำให้คนจนตกอยู่ในวงจรแห่งความยากจนต่อไปเรื่อยๆ สำหรับสถาบันการเงิน การปล่อยเงินกู้ให้คนยากจน ทำให้ต้นทุนการปล่อยกู้สูงขึ้นและมีความเสี่ยงสูง

  23. ผลกระทบของความยากจน • ทรัพยากรที่ด้อยคุณภาพ (Poor resources) (ที่ดิน น้ำ คน) ผลจากการขาดโอกาสในการเข้าถึงตลาดเงินทุน ทำให้คนจนไม่มีเงินลงทุนในการปรับปรุงสภาพทรัพยากรการผลิตให้ดีขึ้น ทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนา เนื่องจากไม่มีเวลาไปเรียนหนังสือเพราะต้องทำงานหารายได้ ทรัพยากรที่ด้อยคุณภาพส่งผลประสิทธิภาพการผลิตต่ำและรายได้ต่ำเป็นวงจรแห่งความยากจน

  24. การลงทุนต่ำ ผลิตภาพต่ำ การออมต่ำ รายได้ต่ำ • วงจรแห่งความทุกข์ยาก

  25. วงจรแห่งความทุกข์ยาก (ต่อ) ดร.อภิชัย พันธเสน, “การพัฒนาชนบท: สมุทัยและมรรค ตอน แนวคิด ทฤษฎี และภาพรวมการพัฒนา” (หน้า 11-17) • การพัฒนาชนบทโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ความยากจนโดยสมบรูณ์ (Absolute Poverty)หมดไป แต่เกิดความยากจนโดยเปรียบเทียบ (Relative Poverty) • เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค (Pattern of consumption) มีการบริโภคสูงขึ้น ต้องหารายได้เพิ่มมากขึ้น • ขยายฐานการผลิต โดยการเพิ่มปัจจัยการผลิตเพิ่มต้นทุน • ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้อย่างรวดเร็ว ปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น • วงจรอุบาทว์: โง่ จน เจ็บ

  26. วงจรแห่งความทุกข์ยาก (ต่อ) • ทำอย่างไรให้วงจรแห่งความทุกข์ยากไม่เกิดขึ้น ? โง่ => ให้การศึกษา สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นเรื่องความคิด การวิเคราะห์

  27. สรุป • ความยากจนไม่ได้เป็นเรื่องของรายได้อย่างเดียว แต่รวมถึงการไม่รู้หนังสือ การขาดโภชนาการ และการเจ็บป่วย การไม่มีงานทำ การขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ และการขาดสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น สิทธิมนุษยชน การถูกกีดกันทางสังคม เป็นต้น • เส้นความยากจนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสถานที่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของมนุษย์ และมีอยู่หลายวิธีในการคำนวณ • ความยากจนก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ และในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านั้นก็เป็นสาเหตุของความยากจนด้วย การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วย

More Related