1 / 35

การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้

การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้ . โดย 1.นางสาว วาสนา สาภู 2.นางสาว วราภรณ์ พลเดชา 3.นางสาว ประภาพร ภูครองนา. วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก.

Télécharger la présentation

การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้ โดย 1.นางสาว วาสนา สาภู 2.นางสาว วราภรณ์ พลเดชา 3.นางสาว ประภาพร ภูครองนา

  2. วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกวิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก • ..... แผลถูกไฟไหม้ หมายถึงแผลที่ผิวหนังหรือเนื้อถูกทำลายเนื่องจากถูกความร้อน ซึ่งอาจเกิดจากไฟหรือกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ รวมถึงการถูกสารเคมีวัตถุจำพวกกรดและด่างด้วยแผลถูกน้ำร้อนลวก หมายถึง แผลที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ถูกทำลายเนื่องจากถูกความร้อนจากสิ่งต่างๆ เช่น น้ำเดือด ไอน้ำ หรือน้ำมันร้อนๆ เป็นต้นอาการของผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีอาการและอันตรายมากหรือน้อยก็แล้วแต่ผิวหนังที่ถูกไหม้หรือลวก หากมีบาดแผลกว้างจะทำให้ติดเชื้อและมีโรคแทรกซ้อนได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ระยะของอาการและอันตรายก่อนที่จะปฐมพยาบาล ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  3. วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกวิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก • ระยะช็อคขั้นต้นระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการช็อคทันที เมื่อถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติ ชีพจรเต้นเบาแต่เร็วมาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก และอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีและรวดเร็ว • ระยะช็อคขั้นที่สองจะเกิดขึ้นภายหลังจากถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกแล้วประมาณ 2 -24 ชั่วโมงอาการคล้ายอาการช็อคขั้นต้น แต่รุนแรงกว่า การช็อคขั้นนี้มีสาเหตุมาจากการเสียน้ำในร่างกายมาก เพราะถูกไฟเผาและเหงื่อออก • ระยะเกิดพิษระยะเกิดพิษจะเป็นระยะที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดหนองที่บาดแผล อาการขั้นนี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกมาแล้วประมาณ 48 - 72 ชั่วโมง อาการระยะนี้จะมีอาการอักเสบ มีหนอง มีไข้สูง ชีพจรเต้นเร็ว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และอาจถึงแก่ความตายได้ • ระยะเกิดแผลเป็นเมื่อบาดแผลหายมักจะเกิดแผลเป็นขึ้นจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่บาดแผล ที่ถูกไหม้หรือลวก หรือการรักษาถูกต้องเพียงใด

  4. การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ปฏิบัติได้ดังนี้ • ถ้ามีอาการช็อค ควรรักษาอาการช็อคเสียก่อน โดยปฏิบัติดังนี้ • ยกปลายเท้าให้สูงกว่าระดับศีรษะ • ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณบาดแผล • ถ้ามีอาการปวดมากควรใช้ยาระงับปวด • ถ้าหากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการผายปอด • แต่งบาดแผล โดยปฏิบัติดังนี้ • ตัดเสื้อที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกออ • ตัดผิวหนังส่วนที่พองออก เพราะอาจลุกลามให้เกิดหนองได้ และอาจทำให้ทายาได้ไม่ถึงบาดแผล • ล้างบาดแผลด้วยน้ำอุ่น น้ำด่างทับทิม หรือน้ำเกลือ • ใช้ยาทาบาดแผล เช่น น้ำมันพืช ขี้ผึ้งซัลฟา หรือขี้ผึ้งยูคาลิปตัส เป็นต้น • ถ้ามีอาการมากต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

  5. บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้น้ำร้อนลวก และการปฐมพยาบาล • บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้น้ำร้อนลวกบาดแผลลวกคือ แผลที่เกิดจากความร้อนเช่น                  - ความร้อนจากเปลวไฟหรือไฟไหม้                  - ความร้อนจากไอน้ำเดือดหรือของเหลวร้อน                  - ความร้อนจากสารเคมี                  - ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าดูด หรือฟ้าผ่า                  - ความร้อนจากรังสี ต่าง ๆ อาการที่ได้รับคือ ปวดแสบปวดร้อนผิวหนังแดงพอง หรืออาจเป็นรอยไหม้เกรียมในกรณีที่ถูกรังสีมาก ๆและควรระวังผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดซึ่งอาจเกิดสภาวะหยุดหายใจได้ ต้องรีบผายปอดทันทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจเองได้ • การปฐมพยาบาล ผู้ป่วยแผลลวก ควรปฏิบัติดังนี้                  - ถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก                  - แต่ถ้าบางส่วนติดแน่นกับผิวหนังไม่ควรดึงออก                  - ควรใช้น้ำเย็นราดบริเวณผิวหนังที่ถูกความร้อน เพื่อลดความร้อนที่จะไปทำลายผิวหนัง                   - ถ้าปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งวางประคบตรงบริเวณแผลหรือ                   - ปิดด้วยผ้าก๊อสเพื่อป้องกันมิให้ถูกอากาศภายนอก                   - ใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือ ขี้ผึ้ง วาสลิน ทาบนผ้าก๊อสปิดบริเวณแผล                   - ถ้าถูกสารเคมีต้องรีบล้างสารเคมีนั้นออกจากผิวหนังด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วที่สุด                   - ถ้ากระหายน้ำให้ดื่มน้ำเล็กน้อย และไม่ควรให้น้ำเย็นจัด                   - ถ้ามีอาการมากต้องรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

  6. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล • สำลี • ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์) • คีมสำหรับบ่งเสี้ยน • ผ้าสามเหลี่ยม • ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ • กรรไกรขนาดกลาง • เข็มกลัดซ่อนปลาย • แก้วล้างตา • พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น • ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage) • ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้

  7. ไฟไหม้/น้ำร้อนลวก Burns • ลักษณะทั่วไปบาดแผลไฟไม้น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนพอทนได้ และค่อย ๆ หายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นมาก   (กินบริเวณกว้าง และแผลลึก) มักมีจะภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทุพพลภาพหรือตายได้สาเหตุมักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ สิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่พบได้แก่1. ความร้อน เช่น น้ำร้อน (หม้อน้ำ กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ) น้ำมันร้อน ๆ (ในกะทะ) ไฟ (เตาไฟตะเกียง บุหรี่ ประทัด พลุ) วัตถุที่ร้อน (เช่น เตารีด จานชามที่ใส่ของร้อน)2. ไฟฟ้าช็อต ดูรายละเอียดเพิ่มเติม3. สารเคมี เช่น กรด ด่าง4. รังสี เช่น แสงอัลตราไวโอแลต (แสงแดด) รังสีเรเดียม รังสีโคบอลต์ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น

  8. อาการอาการขึ้นกับ ขนาด ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล • 1. ขนาด หมายถึงบริเวณพื้นที่ของบาดแผล แผลขนาดใหญ่ (กินบริเวณกว้าง) จะมีอันตรายกว่าแผลขนาดเล็ก อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ ถึงกับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษ ถึงตายได้การประเมินขนาดกว้างของบาดแผล นิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ถ้าคิดหยาบๆให้เทียบเอาว่า แผลขนาดหนึ่งฝ่ามือ (ของผู้ป่วย) เท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย เช่นถ้าแผลมีขนาดเท่ากับ 10 ฝ่ามือ ก็คิดเป็นประมาณ 10% เป็นต้นทางการแพทย์ได้แบ่งเปอร์เซ็นต์ของผิวหนัง ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นมาตรฐานทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งสะดวกในการคิดคำนวณ2. ความลึก ผิวหนังมีความลึก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) และชั้นหนังแท้ (dermis)เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ออกเป็น 3 ขนาด ด้วยกัน ดังนี้

  9. ก. บาดแผลดีกรีที่ 1 ข. บาดแผลดีกรีที่ 2 ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 • ก. บาดแผลดีกรีที่ 1 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้นหนังกำพร้าชั้นในยังไม่ถูกทำลาย สามารถเจริญขึ้นมาแทนที่ส่วนผิวนอกได้ จึงมีโอกาสหายได้สนิทและไม่มีแผลเป็น (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ)มักเกิดจากการถูกแดดเผา (อาบแดด) การถูกน้ำร้อนไอน้ำเดือด หรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียด ๆ และไม่นาน ผิวหนังส่วนที่เป็นบาดแผลจะมีลักษณะแดงบวมเล็กน้อย และปวดแสบปวดร้อน ไม่มีตุ่มพอง หรือหนังหลุดลอกมีลักษณะแบบเดียวกับรอยแดดเผาซึ่งถือเป็นบาดแผลไหม้ดีกรีที่ 1แบบหนึ่งบาดแผลดีกรีที่ 1 ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ และโปรตีนจึงไม่ต้องคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผล มักจะหายได้เองและไม่มีอันตรายร้ายแรง

  10. ข. บาดแผลดีกรีที่ 2 หมายถึงบาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ (ใต้หนังกำพร้า)แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้ จึงหายได้เร็วและ ไม่เกิดเป็นแผลเป็นเช่นกัน (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ)มักเกิดจากถูกของเหลวลวก หรือถูกเปลวไฟบาดแผลจะมีลักษณะแดงและพุเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็ก และใหญ่ ผิวหนังอาจหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดง ๆ มีน้ำเหลืองซึม มีอาการเจ็บปวด อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีนและเกลือแร่และติดเชื้อได้ง่าย

  11. ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมดรวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลผิวหนังทั้งชั้นจะหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดง ๆ หรือแดงสลับขาว หรือเป็นเนื้อที่ไหม้เกรียมมักเกิดจากไฟไหม้หรือถูกของร้อนนาน ๆ หรือไฟฟ้าช็อต ถือเป็นบาดแผลที่ร้ายแรง อาจเกิดภาวะขาดน้ำหรือติดเชื้อรุนแรงได้แผลมักจะหายยาก และเป็นแผลเป็นในการเกิดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแต่ละครั้ง อาจมีบาดแผลที่มีความลึกขนาดต่าง ๆ กัน ในคนเดียวกันได้ และบางครั้งในระยะแรก อาจแยกบาดแผลดีกรีที่ 2และ 3 ออกจากกันไม่ชัดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองชนิดนี้ ล้วนถือเป็นบาดแผลที่มีอันตรายรุนแรงและควรคิดเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผล

  12. การรักษา • การปฐมพยาบาลเมื่อพบคนที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรรีบให้การช่วยเหลือ ก่อนส่งโรงพยาบาลดังนี้1. รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน และป้องกันมิให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาจใช้น้ำเย็นราด หรือแช่ในน้ำใส่น้ำแข็ง หรือ ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบ หรือใช้ถุงพลาสติก ใส่น้ำแข็งผสมน้ำเล็กน้อยวางตรงบริเวณที่มีบาดแผล อย่างน้อย 20 นาทีหรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง • 2. ปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือผ้าสะอาด3. ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีตุ่มใส ควรไปหาหมอ

  13. ข้อแนะนำ • 1. การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่แนะนำในปัจจุบันคือ รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบทันทีหลังเกิดเหตุ อย่าใช้ยาสีฟัน น้ำปลา หรือยาหม่องทา2. บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่เกิดในเด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ ถึงแม้จะมีขนาดไม่กว้างมาก แต่ก็อาจมีอันตรายมากกว่าที่พบในคนหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลทุกราย3. บาดแผลที่ข้อพับ อาจทำให้เกิดแผลเป็น ดึงรั้งข้อต่อให้คดงอ (เหยียดไม่ได้) สามารถป้องกันได้โดยใช้เฝือกดามข้อในบริเวณนั้นตั้งแต่แรก4. ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ ในระยะ 2-3 วันแรก คือ ภาวะขาดน้ำและช็อกถ้ามีบาดแผลกว้างแพทย์จะให้น้ำเกลือชนิดริงเกอร์แล็กเทต (Ringer's lactate)  ในวันแรกอาจให้ขนาด 4 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่บาดแผล 1 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ครึ่งหนึ่งใน 8 ชั่วโมงแรก อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้หมดใน 16 ชัวโมงต่อมา วันต่อมาอาจต้องให้น้ำเกลือ และพลาสมาส่วนการติดเชื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากมีบาดแผล 2-3 วันไปแล้ว (หรือหลัง 1 สัปดาห์) ถ้าบาดแผลมีขนาดกว้างก็มีโอกาสติดเชื้อรุนแรง โดยทั่วไป ถือว่าบาดแผลดีกรีที่ 2 ที่มีขนาดมากกว่า 30% และบาดแผลดีกรีที่ 3 ที่มีขนาดมากกว่า 10% ถือเป็นบาดแผลรุนแรง รักษายากและมักจะมีอัตราตายสูง5. ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรกินอาหารโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่) ให้มาก ๆ เพราะร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกไปทางบาดแผล6. ถ้ามีบาดแผลถูกกรดหรือด่าง ควรให้การปฐมพยาบาล โดยรีบชะล้างแผลด้วยน้ำก๊อก นานอย่างน้อย 5 นาที แล้วส่งโรงพยาบาล แพทย์อาจให้การรักษาแบบเดียวกับบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

  14. การป้องกัน • ควรหาทางป้องกันบาดแผลไฟไหม้น้ำรอนลวก โดย- อย่าให้เด็กเล็กเล่นในห้องครัว- อย่าวางกาน้ำร้อน หม้อน้ำแกง กระติกน้ำร้อน ตะเกียง ไม้ขีดหรือวัตถุอื่น ๆ ที่มีความร้อนไว้ใกล้มือเด็ก- อย่าวางบุหรี่ ตะเกียง ใกล้ผ้าห่ม มุ้ง หรือสิ่งที่อาจติดไฟได้ง่าย

  15. ไฟฟ้าช็อต Electric Shock • ไฟฟ้าช็อต เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในบ้าน โรงเรียน โรงงาน และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้าอาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ การใช้เครื่องไฟฟ้าผิดวิธี หรือจากการรู้เท่าไม่ถึงารณ์ เป็นต้น คนที่ถูกไฟฟ้าช็อตอาจมีอาการรุนแรงแตกต่างกันไป (ตั้งแต่บาดแผลไหม้เพียงเล็กน้อยจนกระทั่งตาย)ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

  16. อาการ • อาการขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวบางคนเมื่อถูกไฟฟ้าช็อต อาจเพียงแต่ทำให้ล้มลงกับพื้น (ถ้าตกจากที่สูงก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้) หรือ ของหล่นจากมือถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แล้วตามด้วยอาการตื่นเต้น หายใจเร็ว และหมดสติอาจหยุดหายใจหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงตายได้ทันทีบางคนอาจหมดสติชั่วครู่เมื่อฟื้นขึ้นมาอาจรู้สึกปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และ มีความรู้สึกหวาดผวาได้

  17. การรักษา • การปฐมพยาบาลเมื่อพบคนที่ถูกไฟฟ้าช็อต ควรรีบให้ความช่วยเหลือดังนี้1. รีบปิดสวิตช์ไฟ หรือถอดปลั๊กไฟทันที2. ถ้าทำไม่ได้ จำเป็นต้องช่วยให้คนที่ถูกไฟฟ้าช็อตหลุดออกจากสายไฟที่มีกระแสไฟวิ่งอยู่ โดยผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างสูง ต้องยืนอยู่บนฉนวนแห้ง ๆ เช่น ไม้กระดานกระดาษหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม เสื่อ ผ้ายาง หรือผ้า แล้วใช้ด้ามไม้กวาด ไม้กระดานขาเก้าอี้ไม้หรือ ไม้เท้าไม้ที่แห้งเขี่ยสายไฟให้พ้นจากผู้ป่วยหรือดันร่างกายส่วนที่สัมผัสไฟให้หลุดออกจากสายไฟห้ามใช้โลหะหรือวัตถุที่เปียกน้ำเป็นอันขาด ค วรใช้ไม้หรือฉนวนไฟฟ้าที่แห้ง และห้ามมิให้แตะต้องถูกตัวผู้ป่วยโดยตรง จนกว่าจะหลุดพ้นออกจากสายไฟเสียก่อน3. ตรวจดูการหายใจ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจทันที ถ้าหัวใจหยุดเต้น(คลำชีพจรไม่ได้) ให้ทำการนวดหัวใจพร้อมกันไป จนกว่าจะหายใจได้เอง ถ้าผู้ป่วยหายใจได้เองแต่ยังหมดสติควรจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าพักฟื้น และให้ทำการปฐมพยาบาล เช่นเดียวกับผู้ป่วยหมดสติจากสาเหตุอื่น ๆ4. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลด่วน และควรตรวจดูการหายใจอย่างใกล้ชิด ถ้าหยุดหายใจ ควร เป่าปากช่วยมาตลอดทาง จนกว่าจะถึงโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด

  18. การรักษา • ถ้าผู้ป่วยมีชีวิตรอดจนถึงโรงพยาบาล ควรตรวจดูอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะช็อกภาวะขาดน้ำ บาดแผลไหม้ กระดูกหัก เป็นต้น และให้การรักษาตามอาการที่พบสำหรับบาดแผลไหม้ (ถ้ามี) ควรให้การดูแลรักษาแบบบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ควรระวังบาดแผลที่เห็นจากภายนอก แม้จะดูเล็กน้อย แต่เนื้อเยื่อส่วนลึกอาจถูกทำลายรุนแรงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หรือมีเลือดออก หรือมีการติดเชื้อในเวลาต่อมาได้

  19. การป้องกัน • ควรหาทางป้องกัน ด้วยการติดตั้งและซ่อมแซมสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง(เช่น ปลั๊กไฟ ควรติดตั้งให้พ้นมือเด็กเล็ก อย่าให้เอาอะไรไปแหย่เล่นได้) และรู้จักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยความระมัดระวังควรหาทางป้องกัน ด้วยการติดตั้งและซ่อมแซมสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง(เช่น ปลั๊กไฟ ควรติดตั้งให้พ้นมือเด็กเล็ก อย่าให้เอาอะไรไปแหย่เล่นได้) และรู้จักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยความระมัดระวัง

  20. สิ่งผิดๆที่พบบ่อยๆในการดูแลแผลไฟไหม้สิ่งผิดๆที่พบบ่อยๆในการดูแลแผลไฟไหม้ • ทาแผลด้วยยาสีฟัน อันนี้เจอบ่อยมากๆ ในหนังก็มีให้ดูด้วย เป็นความเชื่อที่ผิดๆนอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังสกปรกมากๆอีกด้วย เวลาล้างแผลให้คนไข้แต่ละทีฟองตรึม ทำให้ประเมินแผลลำบาก คนไข้ก็เจ็บมากเพราะ พยาบาลต้องฟอกแผลนานกว่ายาสีฟันจะหมด นึกภาพออกไหม้คะ แผลที่ไหม้จนถึงเนื้อข้างใน เนื้ออ่อนๆแดงๆ ต้องมาโดนล้างนานๆมันปวดแสบปวดร้อนมากนะคะ สงสารคนเจ็บเถอะ อย่าเอายาสีฟันมาทาเลยนะคะ • ครีม เนย น้ำมันล้านสรรพคุณทั้งหลายนอกจากไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังทำให้แผลระบายความร้อนไม่ได้ด้วยนะคะ ยิ่งร้อนไปกันใหญ่ • เจาะถุงน้ำ นึกออกไหมคะแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกบางทีจะมีถุงพองน้ำใสๆใหญ่บ้างเล็กบ้างถ้ามีบ่อยมันไว้อย่างนั้นแหละคะ ไม่ต้องไปเจาะไปลอกไปดึงทึ้งมันออก เพราะคนไข้จะปวดแสบปวดร้อนบริเวณนั้นไปนานมากๆ นั้นเป็นเพราะบริเวณชั้นผิวหนังของเราจะมีปลายประสาทขนาดเล็กๆหลายๆอันอยู่บริเวณนั้น ถ้าเราไปเอาหนังที่ปิดบริเวณนั้นออกก็จะทำให้เราปวดแสบปวดร้อนทรมาณมากมายแม้เพียงลมพัดผ่านจำไว้นะคะเอาน้ำเย็นราดๆล้างๆเอาสิ่งสกปรกรอบๆถุงออกก็พอแล้ว

  21. อุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูด • กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ ศูนย์กลางการหายใจในสมองกลายเป็นอัมพาการสูบฉีดโลหิตเป็นไปอย่างไร้ผล รวมไปถึงอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้วิธีการช่วยเหลือ 1.รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยการปิดสวิตช์ หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า เช่น ถุงมือยาง กระดาษแห้งรองมือ ดึงให้คนเจ็บหลุดจากกระแสไฟ ระหว่างนั้นให้คนรีบตามแพทย์ในทันที2. ระหว่างรอแพทย์ รีบผายปอดคนเจ็บที่มีอาการช๊อคทันที และทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหายใจ หรือจนกว่าจะถึงมือแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง3. ในทันทีที่คนช็อคหายใจได้ต้องให้คนไข้ได้รับเป็นความอบอุ่นเป็นอย่างดี4. ให้คนไข้นั่งอยู่ในท่าเอนกาย และอยู่ในที่สงบเงียบ เพราะคนไข้อาจช๊อคขึ้นมาอีกได้จึงต้องคอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะถึงมือแพทย์

  22. อันตรายของแผลไหม้ • ความรุนแรงของแผลไหม้และโอกาสที่จะหายขึ้นอยู่กับความกว้างของแผล ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดพื้นที่ผิวทั่วร่างกายเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้ระดับเป็นเกณฑ์ตัดสินดังนี้ • ระดับที่ ๑ ความกว้างของแผลจะครอบคลุมพื้นที่ผิวหนังของร่างกายเพียงร้อยละ ๑๐ - ๒๐ เป็นแผลไหม้ขนาดเล็กและโดยปกติแผลขนาดนี้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ควรส่งผู้บาดเจ็บไปสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อ • ระดับที่ ๒ ความกว้างของแผลจะครอบคลุมพื้นที่ผิวหนังของร่างกายร้อยละ ๒๐ - ๗๐ แผลจะมีความรุนแรงน้อยลง และสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ หากได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลทันที • ระดับที่ ๓ แผลจะมีความกว้างร้อยละ ๕๐ - ๘๐ ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอันตรายถึงชีวิต นอกจากผู้บาดเจ็บเป็นคนแข็งแรงมากอาจมีโอกาสรอดชีวิตได้บ้าง

  23. การพิจารณาความกว้างของแผลไหม้การพิจารณาความกว้างของแผลไหม้ • เป็นการคาดคะเนตาม กฎเลขเก้า (Rule of nine) โดยคิดผิวหนังที่ถูกเผาไหม้เป็นร้อยละของพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด วิธีนี้ใช้เฉพาะในรายผู้ใหญ่เท่านั้น • แผลไหม้เล็ก ๆ น้อย ๆ แม้เพียงร้อยละ ๙ - ๑๐ ของพื้นผิวร่างกาย ก็จำเป็นต้องส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาพยาบาล อันตรายของแผลไหม้ที่พบเสมอ ๆ คือ การติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การคาดคะเนความกว้างของแผลไหม้ ในเด็กมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่มากคือ ในเด็กให้เปอร์เซ็นต์ของศีรษะสูง เด็กยิ่งเล็กเปอร์เซ็นต์ของศีรษะยิ่งสูง ปัจจัยสุดท้ายความรุนแรงของแผลไหม้จะขึ้นอยู่กับความลึกของแผลด้วยโดยแยกตามชั้นของผิวหนังที่ถูกทำลาย

  24. ๒. ความรุนแรงของแผลไหม้ตามความลึก ของผิวหนังของร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ • ระดับที่ ๑ ความร้อนทำลายเฉพาะหนังกำพร้า ผิวหนังจะแดง และปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผล เพราะปลายประสาทถูกทำลาย เช่น ถูกแดดเผา น้ำร้อนลวก ถูกเตารีด หรือถูกไฟจากเตา • ระดับที่ ๒ ความร้อนทำลายผิวหนังชั้นหนังแท้ ผิวหนังจะพองเพราะมีน้ำเหลืองไหลออกมาจากหลอดเลือดฝอยที่ถูกความร้อนทำลาย มารวมตัวกันใต้หนังกำพร้า ภาวะแทรกซ้อนที่พบเสมอในแผลไหม้ระยะที่ ๒ คือ ช็อค และปวดแสบปวดร้อนมาก เนื่องจากปลายประสาทถูกทำลายจากความร้อน • ระดับที่ ๓ ความร้อนทำลายลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก บริเวณแผลอาจถูกเผาไหม้จนกระทั่งเป็นสีถ่าน บางส่วนของชิ้นเนื้อจะหายไป อาจเห็นกระดูกโผล่ออกมาหรือกระดูกถูกทำลาย อาการปวดมีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตด้วยการช็อคและการติดเชื้อ โดยทั่ว ๆ ไปผู้บาดเจ็บที่มีอาการหนักจะมีแผลไหม้ทั้ง ๓ ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ ๑ ถึง ๓ ในระยะแรกยังไม่ทราบความลึกของแผลจนกระทั่งผิวหนังหลุด จึงทราบว่าแผลลึกระดับไหนและเจ็บปวดมากตรงบริเวณที่ลึกที่สุด แผลไหม้ระดับที่ ๑ และ ๒ สามารถรักษาให้หายได้ โดยไม่ต้องใช้ศัลยกรรมตกแต่งเหมือนแผลไหม้ระดับที่ ๓

  25. วิธีปฐมพยาบาล ผู้ถูกฟ้าผ่า • -   ก่อนอื่นให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ถ้ามีก็ต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่า-   เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันทีเนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูด   (ต่างจากกรณีคนที่ถูกไฟฟ้าดูด)

  26. การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่า • การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าจะใช้วิธีเดียวกับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อตซึ่งฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง ได้แนะนำวิธีปฐมพยาบาลในเอกสาร “ขั้นตอนผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า โดยการทำ CPR” ว่าหากผลได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหวชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามากถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคล้ำชีพจรไม่พบม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลงหมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า “เป่าปาก” ร่วมกับนวดหัวใจ โดยวางมือตรงกึ่งกลางลิ้นปี่เล็กน้อยถ้าทำการปฐมพยาบาลคนเดียวให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถ้าทำการปฐมพยาบาลสองคน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้งสลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง ก่อนนำ

  27. ภาพแสดง การลดความร้อนออกจากบริเวณแผลไหม้

  28. การปฐมพยาบาลแผลไหม้ • ผู้ป่วยแผลไหม้แม้จะมีอาการรุนแรงแต่จะไม่ทำให้ถึงแก่กรรมทันที เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีอาการตกเลือดอย่างรุนแรงหรือผู้ป่วยที่หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น อย่างไรก็ตามผู้ปฐมพยาบาลต้องรีบแก้อาการช็อคและลดอันตรายจากความร้อนให้ก่อนที่จะส่งสถานพยาบาลให้การรักษาต่อ • หลักการปฐมพยาบาลแผลไหม้ • ๑. บรรเทาความเจ็บปวด • ๒. ป้องกันการช็อค • ๓. ป้องกันการติดเชื้อ • การบรรเทาความเจ็บปวดผู้ปฐมพยาบาลใช้วิธีง่าย ๆ คือให้ลดความร้อนออกจากบริเวณบาดแผลทันที แม้ว่าแผลไหม้จะมีความเจ็บปวดมาก ด้วยการราดน้ำ แช่น้ำ หรือ ใช้ผ้าชุบน้ำวางบนบริเวณบาดแผล

  29. วิธีการปฐมพยาบาลแผลไหม้ในระดับต่าง ๆ • แผลไหม้ระดับที่ ๑ ผู้ปฐมพยาบาลควรที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น ด้วยการใช้ความเย็น โดยจุ่มบริเวณที่เป็นแผลลงในน้ำที่เย็นจัด ๆ (น้ำที่มีน้ำแข็งลอย) • แผลไหม้ระดับที่ ๒ สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าให้ผิวหนังที่พองแตก แนวทางที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติคือ ใช้ผ้าช้อนกันหลาย ๆ ชั้น ชุบน้ำเย็นจัด ๆ ปิดบริเวณแผล หรือใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่พ่นให้แล้วส่งสถานพยาบาลให้การรักษา • แผลไหม้ระดับที่ ๓ ผู้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือได้บ้างเล็กน้อย ด้วยการคลุมบริเวณแผลให้ด้วยผ้าที่ปราศจากเชื้อโรค และต้องส่งต่อสถานพยาบาลให้การรักษาโดยเร็วที่สุด การช็อคและการติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งจะต้องระมัดระวังอย่างมาก

  30. คำถาม 1.อาการบาดแผลที่ถูกไฟไหม้มีอาการเป็นอย่างไร ก.ปวดแสบปวดร้อน ข.แผลบวมพองขึ้น ค.ทุกข์ทรมาน ง.ผิวหนังถลอกออก 2.สิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลไฟไหม้คือข้อใด ก.น้ำร้อนลวก ข.ไฟฟ้าช๊อต ค.สารเคมี ง.แสงแดด

  31. 3. อาการขึ้นกับ..ขนาด..ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด ก.ความกว้างของบาดแผล ข.พื้นที่ของบาดแผล ค.ความลึกของบาดแผล ง.ถูกทุกข้อ 4.ถ้าแผลมีขนาดเท่ากับฝ่ามือคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ก.5% ข.10% ค.15% ง.20%

  32. 5.เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้ออกเป็นกี่ขนาด5.เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้ออกเป็นกี่ขนาด ก.1 ขนาด ข.2 ขนาด ค.3 ขนาด ง.4 ขนาด 6.การลดความร้อนออกจากบริเวณบาดแผลทำด้วยวิธีง่ายๆคือวิธีใด ก.ใช้น้ำแข็งประคบ ข.ใช้ผ้าเย็นโปะเอาไว้ ค.ใช้น้ำเย็นราดที่แผล ง.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นโปะไว้

  33. 7.ข้อใดคือการหลีกเลี่ยงจากการถูกไฟไหม้7.ข้อใดคือการหลีกเลี่ยงจากการถูกไฟไหม้ ก.ไม่ประมาท ข.อยู่ห่างจากกองไฟ 5-6 เมตร ค.ใช้น้ำมันก๊าดดับไฟ ง.ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก 8.เมื่อเราถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกควรใช้อะไรทาเพื่อลดความเจ็บปวด ก.ว่านหางจระเข้ ข.ครีมทาผิว ค.ยาสีฟัน ง.คารามาย

  34. 9.ข้อใดคืออุปกรณ์การปฐมพยาบาล9.ข้อใดคืออุปกรณ์การปฐมพยาบาล • สำลี • แปรง • น้ำเปล่า • ผ้าเช็ดหน้า 10.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์การปฐมพยาบาล • กรรไกร • น้ำยาล้างแผล • ผ้าก๊อสปิดแผล • ถ้วย จาน ช้อน

  35. เฉลย 1. ก 2. ข 3. ข 4. ข 5. ค 6. ก 7. ง 8. ค 9. ก 10. ง

More Related