1 / 52

การพยาบาลโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

การพยาบาลโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. ส่งเลือดไปฟอกที่ปอด. ส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย. ระบบการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย. หัวใจห้องขวาไหลไปปอดเพื่อรับออกซิเจน หัวใจห้องซ้ายส่งเลือดที่ฟอกจากปอดแล้วไปเลี้ยงทั่วร่างกาย. หัวใจห้องบนซ้าย. หัวใจห้องบนขวา. หัวใจห้องล่างซ้าย.

michi
Télécharger la présentation

การพยาบาลโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพยาบาลโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดการพยาบาลโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

  2. ส่งเลือดไปฟอกที่ปอด ส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย

  3. ระบบการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายระบบการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หัวใจห้องขวาไหลไปปอดเพื่อรับออกซิเจน หัวใจห้องซ้ายส่งเลือดที่ฟอกจากปอดแล้วไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจห้องล่างขวา

  4. หัวใจทำงานอย่างไร • หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อซึ่งมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะแบ่งเป็นห้องๆมีทั้งหมด4ห้อง อยู่ทางด้านขวา2ห้องด้านซ้าย2ห้องมีลิ้นหัวใจทั้งหมด 4ลิ้นลิ้นหัวใจจะทำหน้าที่ควบคุมให้เลือดไหลผ่านหัวใจไปข้างหน้าไม่ให้ไหลย้อนกลับมาทางเดิมเลือดจากหัวใจห้องขวาจะไหลเข้าไปในปอดเพื่อรับออกซิเจน หลังจากนั้นเลือดจะแดงขึ้นและกลับมาหัวใจทางด้านซ้าย เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อร่างกายใช้ออกซิเจนไปแล้ว เลือดจะมีสีคล้ำขึ้น และไหลกลับมายังหัวใจห้องขวาเพื่อไปฟอกที่ปอดต่อไป

  5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดคืออะไร?โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดคืออะไร? • ความพิการของหัวใจที่เกิดขึ้นจะเป็นตั้งแต่ช่วงที่ตั้งครรภ์ซึ่งมีการสร้างส่วนต่างๆของร่างกาย

  6. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นโรคเรื้อรังอุบัติการณ์ในประเทศไทย 7.4 คน/เด็กคลอดมีชีวิต 1000 คน ปี2543 เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ร.พ ศรีนครินทร์ พบ 1426 คนซึ่งโรคนี้เป็นความผิดปกติทางโครงสร้างซึ่งจะส่งผลต่อระบบการไหลเวียน อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค(ตำแหน่ง และพยาธิสภาพที่ผิดปกติของหัวใจ)ลักษณะของเด็ฏโรคหัวใจพิการมักเติบโตช้า นั่นคือ น้ำหนัก ส่วนสูงน้อยกว่าปกติ เด็กอายุ5.5-6.5 ปี มีน้ำหนักต่ำกวา เปอร์เซนไตล์ที่15 ร้อยละ69-72ตามลำดับ ซึ่งมาจากสาเหตุความผิดปกติของการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ และส่งผลต่อความอยากอาหารลดลง ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเหนื่อยง่ายทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย การจำกัดเกลือทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารจืด จึงรับประทานได้ไม่มาก การติดเชื้อในร่างกายบ่อยๆทำให้การดูดซึมลดลง การสะสมไขมันในร่างกายมีน้อย ทำให้เพิ่มการเผาผลาญ เพื่อให้อวัยวะสำคัญเช่น สมอง ทำงานได้

  7. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีผลต่อ เด็กอย่างไร? • เด็กโรคหัวใจบางคนอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ • จะทราบว่ามีโรคหัวใจต่อเมื่อแพทย์ตรวจพบ • เสียงหัวใจผิดปรกติที่เรียกว่า”เสียงฟู่ • บางคนมีโรคหัวใจที่ทำให้เกิดโรคหัวใจวาย • ซึ่งจะแสดงอาการคือมีอาการหอบเหนื่อย • เหนื่อยงาย หัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักไม่ขึ้น • ตามเกณฑ์ บางคนมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด • ชนิดเขียวเด็กจะมีอาการปากเล็บเขียวคล้ำ • มีนิ้วปุ้มถ้ามีอาการเขียวอยู่นาน

  8. อะไร?เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอะไร?เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด • ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจเป็นผลทางกรรมพันธ์หรือผลจากสภาวะแวดล้อม มีส่วนน้อยที่จะพอทราบสาเหตุ เช่นมารดาเป็นหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์มารดาที่ดื่มสุราหรือกินยาบางอย่างระหว่างตั้งครรภ์

  9. เราจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้อย่างไร?เราจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้อย่างไร? • มารดาควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิด การได้รับรังสีในมารดาสูงอายุมีโอกาสเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้บ่อยขึ้น จึงควรตรวจเช็คโครโมโซมของบุตรในครรภ์มารดาที่ยังไม่เคยเป็นหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันก่อนการตั้งครรภ์ • อย่างน้อย2-3 เดือน

  10. รูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องล่าง:(ventricle septum defect :VSD) • รูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังห้องล่างขวาและออกสู่หลอดเลือดแดงของปอดทำให้เลือดไปปอดมีปริมาณมากและเลือดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย(ภายหลังจากการฟอกจากปอดแล้ว)และหัวใจห้องล่างซ้ายจะเพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งเป็นการรับภาระมากขึ้น(จากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น)จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ การวินิจฉัย จากการตรวจหัวใจ ถ่ายภาพรังสีทรวงอกและหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจและคลื่นเสียงสะท้อน ความถี่สูง ซึ่งสามารถบอกขนาดของรูรั่ง ตำแหน่ง ความดันในห้องหัวใจ

  11. รูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน(atrail septal defect : ASD) • พบบ่อยเป็นอันดับรองลงมาผลจากการที่มีรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบนเนื่องจากความดันในหัวใจห้องบนค่อนข้างต่ำและความดันในหัวใจห้องขวาในเด็กเล็กค่อนข้างสูงทำให้ความแตกต่างของความดันในห้องหัวใจบนซีกซ้ายและขวามีไม่มากปริมาณเลือดที่จะไหลผ่านจากหัวใจห้องบนซ้ายผ่านรูรั่วไปห้องบนขวายังมีน้อย(แม้ว่ารูรั่วจะมีขนาดใหญ่)ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆความดันในหัวใจห้องขวาบนลดต่ำลงร่วมกับความต้านทานในหลอดเลือดแดงของปอดลดลง ปริมาณเลือดแดงไหลผ่านจากหัวใจห้องบนซ้ายไปด้านขวามากขึ้นเรื่อยๆทำให้สามารถตรวจพบเสียงฟู่หัวใจ และมีอาการ เหนื่อยง่าย หัวใจห้องขวาขยายใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่มักตรวจพบโดยบังเอิญ(มากกว่า3ปี)ส่วนอาการหัวใจวายหรือเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายมักพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่

  12. Patent ductus arteriosus: PDA(การคงอยู่ของหลอดเลือดแดงเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ทั้งสอง) • หลอดเลือดหัวใจเกินซึ่งในภาวะปกติเมื่อทารกอยู่ในครรภ์มมารดาหลอดเลือดนี้จะมีขนาดใหญ่เป็นทางลัดผ่านของเลือดจากหัวใจห้องขวาล่างไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายซึ่งไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างของลำตัวเมื่อทารกคลอดออกมาหลอดเลือดนี้จะหดตัวเล็กลงจนปิดไปภายใน10วันในรายที่มีความผิดปกติทำให้หลอดเลือดนี้ยังคงอยู่ เลือดแดงส่วนหนึ่งจากหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายจะไหลผ่านไปยังหลอดเลือดแดงของปอดปริมาณเลือดไปปอดเพิ่มขึ้นและไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องซ้ายเพิ่มขึ้นคล้ายรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องล่างควรทำผ่าตัดเมื่อเด็กอายุได้6 เดือน

  13. Tetralogy of Falot ; อาการเจริญเติบโตช้าความรุนแรงขึ้นอยู่กับการตีบที่บริเวณลิ้นPulmonary • .ในตอนแรกพบเด็กเขียวเฉพาะตอนออกกำลัง หรือการดูดนม ร้องไห้เด็กเดินได้ชอบนั่งหยองๆทำให้เลือดไปปอดมากขึ้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCT Hb สูงกว่าปกติ(<65-70) • ภาวะแทรกซ้อน: สมองพิการ Cyantic spellsที่เป็นบ่อยๆนานๆ ฝีในสมองในเด็กที่มีอายุ>2ปี Infective pericarditis,Thrombotic pulmonary vascular disease ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด • การรักษาให้อาหารที่ถูกต้อง, ให้ภูมิคุ้มกันครบ, รักษาสุขภาพปากฟัน,ให้ยาป้องกันInfective caritis หากต้องถอนฟัน,ป้องกันการเกิด Cerebrovascular accidents โดยไม่ปล่อยให้เด็กเกิดภาวะโลหิตจาง

  14. Complete Transposition of the GreatVesselsพบบ่อยในทารกแรกเกิด เขียวแต่กำเนิด เหนื่อยง่ายหายใจแรง • เด็กน้ำหนักน้อย และเตี้ยเด็กเกิน 1ปี เขียวเนื่องจากการผสมของเลือดที่ระดับ atrium ไม่เพียงพอ นิ้วปุ้ม เด็กจะได้รับการผ่าตัดแบบประทังชีวิต • การผ่าตัดแบบแก้ไขทั้งหมดตอนอายุ 3-9 เดือน • (ถ้าไม่ได้รับการรักษาเด็กจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน นอกจากนี้ การติดเชื้อ การผ่าตัด หรือโรคแทรกซ้อนเป็นสาเหตุการตายอย่างหนึ่งด้วย)

  15. โรคหัวใจพิการชนิดตัวไม่เขียวแบ่งเป็น2ชนิดคือโรคหัวใจพิการชนิดตัวไม่เขียวแบ่งเป็น2ชนิดคือ • เลือดไปปอดมากเช่นaterial septal defect, ventricle septal defect,patent ductus arteriosus , aterioventricle canal defect ชนิดอุดตันของหลอดเลือดจากหัวใจห้องล่าง coarctation of aorta,aortic stenoosis , pulmonary stenosis โรคหัวใจพิการชนิดเขียว**เลือดไปปอดน้อยTetralogy of fallot, Tricuspidatresia***ชนิดเลือดไปปอดมาก เช่น Transposition of great artery, total anomalous pulmonary venous return

  16. การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 2ชนิดใหญ่ๆ คือ รักษาชั่วคราวยังไม่ได้แก้ไขทั้งหมด มี 3ชนิดคือ เพิ่มเลือดไปสู่ปอด ลดจำนวนเลือดไปปอด เพิ่มจำนวนเลือดที่ร่วมกับเม็ดเลือดแดงใน Atrium เช่นBlalock-Hanlon atrium • การแก้ไขให้เป็นปกติทั้งหมดชนิดSimple เช่น PDA หรือ ASDเช่น การผ่าตัด division of PDA Closured of ASD VSD Total Correction of Tetralogy of Fallot ที่พบบ่อยคือ Blalock-taussig”s shunt เป็นการสร้างทางติดต่อโดยใส่เส้นเลือดเทียม ทำให้ออกซิเจนไปสู่ปอดเพิ่มขึ้นผู้ป่วยเหนื่อยและเขียวน้อยลง, Glenn shuntทำให้เพิ่มออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีเลือดไปปอดน้อยเนื่องจาก Low pressure shunt ซึ่งไม่ทำให้ความดันในปอดสูงเกินไป

  17. ปัญหาแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการปัญหาแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการ • ภาวะหัวใจวาย ภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ ความดันในปอดสูง ฝีในสมอง เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถ้ามีอาการของโรคมากจะน้ำหนักน้อย และเติบโตช้าอาการเขียวที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำนำไปสู่ภาวะหัวใจวายปอดบวมน้ำ เลือดข้น และการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ความดันในปอดสูงและการอุดตันของเลือดไปปอด,ความผิดปกติของปอดการอุดตันของท่อทางเดินหายใจทั้งขนาดใหญ่และเล็ก

  18. เราจะรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอย่างไร?เราจะรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอย่างไร? • ในช่วง25-30ปีที่ผ่านมา • มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดกันอย่างกว้างขวางทำให้ปัจจุบันนี้ เราสามารถโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้แทบทุกชนิด ทั้งจากการผ่าตัดและรักษาด้วยยา หรือรักษาโดยวิธีการสวนหัวใจการควบคุมอาหารจืดการออกกำลังกายการดูแลช่องปากและฟัน การนัดตรวจเป็นระยะๆ

  19. การพิจารณาในการผ่าตัดการพิจารณาในการผ่าตัด • ผู้ป่วย VSD ขนาดเล็กไม่มีอาการผิดปกติเฝ้าติดตามอาการติดเชื้อ ส่วน VSD ขนาดใหญ่และมีภาวะหัวใจล้มเหลว จะได้รับยาDigitalis และยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือดแต่ผู้ป่วย • ASDถ้าปล่อยไว้จะทำให้เกิดความดันในปอดสูง หรือทำให้เกิดหัวใจวายได้ต้องพิจารณาทำการผ่าตัด

  20. การตรวจร่างกายผู้ป่วยเด็กการตรวจร่างกายผู้ป่วยเด็ก • ดูน้ำหนักส่วนสูง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวเจริญเติบโตช้า เด็กโรคลิ้นหัวใจAortic pulmonary ตีบเจริญเติบโตปกติ • ลักษณะทั่วไป เด็ก Down syndrome มีโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ร้อยละ 40-50 • .ผิวหนัง ซีด หรือไม่ซีดอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ • ศรีษะมักดูค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว • หน้า บวม พบได้จากโรคลิ้น tricuspid • ,constrictive pericarditisและการอุดตันของ • Superior vena cava • ตา เด็กที่มีโรคความดันโลหิตสูง • อาจพบความผิดปกติที่Retina

  21. .หูเด็กหัวใจพิการแล้วมีหูหนวกร่วมด้วยให้นึกถึงRubella Syndrome • ปากริมฝีปากบอกความซีดได้ดีที่สุด นอกจากนี้เด็กโรคหัวใจที่ฟันผุมากให้นึกถึงต้นเหตุของ Infective endocarditis • คอ คลำดูว่าต่อมธัยรอยด์โตกว่าปกติหรือไม่ • ทรวงอกเหมือนโล่พบได้ใน Turner”s Syndromeเด็กที่เป็นPectus excavatum มีโอกาสเป็นโรค Mitral prolapse มากกว่าเด็กปกติ • ปอด มีความผิดปกติของการหายใจ, crepitation หรือ Whezzing ? • ท้อง ตับ คลำได้บริเวณลิ้นปี่สามารถบอกภาวะหัวใจวายได้ดี(เล็กลง)ม้ามจะโตในเด็กที่มีภาวะหัวใจวายมานาน

  22. แขนขา ดูว่า ปวด บวม แดง อน เด็กที่มีนิ้วเกินมักพบในMarfan Syndrome,พบนิ้วยาวมากกว่าปกติในJaneway Lesion ฝ่ามือที่ปลายนิ้ว มีเลือดออกใต้เล์บคล้ายเสี้ยนตำพบได้ใน Infective endocarditis • ระบบประสาทเด็กปัญญาอ่อนอาจพบร่วมกับกลุ่มโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วยเช่น การเคลื่อนไหวของแขนขาโดยไม่ตั้งใจเด็กที่เป็น Beri-Beri จะพบ Deep tendon reflexลดลงนอกจากนี้ยังสามารถบอกตำแหน่งของฝีในสมองได้ • การตรวจระบบไหลเวียนเลือดVital signs • ดู อัตราการเต้นของหัวใจเด็กอายุ 6ปี=100/min,เด็กโต=70-80/minอัตราการหายใจเด็กโตการหายใจลดลงเป็น 18 /min(เด็กเกิดใหม่= 40/min) • ความดันเด็ก>2ปี ถึงเด็กโต=100-130/60-80 มมปรอท

  23. Pulse pressure แคบกว่าปกติในCadiac tamponade และกว้างกว่าปกติในAortic ที่รั่วมาก • ความดันที่แขน ขา ถ้าความดันที่ขาน้อยกว่าแขนนึกถึงCoarctation ของ Aortaแต่ถ้าความดันของแขนน้อยกว่าขาให้นึกถึง Takayasu”s Diseaseลักษณะทั่วๆไปที่พบบ่อย Dyspnea, Orthopnea พบในหัวใจวาย • Cyanosis จะเห็นได้ถ้าความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลงเหลือ 75-58%(ดูจากริมฝีปากชัดเจน) • มือเขียวแต่ท้าไม่เขียวClubbing เกิดได้เร็วใน Infctive carditis

  24. การเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัด • เตรียมด้านร่างกาย: ตรวจเลือด ขอเลือดเพื่อใช้ในการผ่าตัด ถ่ายภาพรังสีทรวงอก คลื่นหัวใจ พบทันตแพทย์เพื่อดูแลช่องปากและฟันป้องกันการติดเชื้อร่างกาย พบนักกายภาพบำบัดเพื่อฝึกหายใจอย่างถูกต้องป้องกับการติดเชื้อที่ปอดหลังผ่าตัดจากการไม่กล้าไอ และการออกกกำลังข้อต่อหัวไหล่ป้องกันไหล่ติด • เตรียมด้านจิตใจ: ท่านควรศึกษาข้อมูลโดยการสอบถามแพทย์พยาบาลเมื่อท่านมีข้อซักถามกรุณาอย่าเก็บไว้ แพทย์ของท่านและ เจ้าหน้าที่ หอผู้ป่วย 3ข.ทุกคนมีความเต็มใจเป็นอย่างยิ่งที่จะดูแลท่านและครอบครัวโปรดให้ความไว้วางใจ

  25. ต้อง X-ray ตรวจคลื่นหัวใจ พบหมอฟัน(ทันตแพทย์) ขอเลือด ตรวจดูความเข้มข้นของเลือด เกลือแร่ในร่างกาย พบนักกายภาพบำบัดเพื่อฝึกหายใจอย่างถูกต้อง ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมความพร้อม

  26. การดูแลรักษาสุขภาพฟันในผู้ป่วยโรคหัวใจถ้าฟันผุจะเกิดอะไรขึ้น?การดูแลรักษาสุขภาพฟันในผู้ป่วยโรคหัวใจถ้าฟันผุจะเกิดอะไรขึ้น? . แบคทีเรียจะหลุดเข้าไปในกระแสเลือดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ หรือเกิดฝีในสมองในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจพิการแกำเนิดชนิดเขียวท่านควรดูแลบุตรหลานโดย 1.ดีที่สุด คือไม่ให้มีฟันผุ 2.เมื่อไปพบทันตแพทย์ท่านต้องบอกด้วยว่าบุตรหลาน ของท่านเป็นโรคหัวใจอยู่ด้วย 3.ถ้าแพทย์และทันตแพทย์สั่งให้รับประทานยาก่อน และหลังทำฟัน ท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด. 4แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร/เช้า-ก่อนนอน

  27. การดูแลของบุคคลในครอบครัวการดูแลของบุคคลในครอบครัว • เนื่องจากเด็กแรกเกิด-6 ปีดูแลตนเองได้น้อยและเป็นระยะเริ่มต้นของพัฒนาการทั้งร่างกาย และสังคม และส่วนหนึ่งมาจากความเจ็บป่วยของเด็กเองซึ่งการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆและต้องเข้ารับการรักษา ส่งผลให้การเจริญเติบโตช้า • มารดาไม่ได้เสริมคุณค่าและปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับวัย**ด้านพัฒนาการไม่ได้รับการกระตุ้นเพราะกลัวว่าเด็กจะเหนื่อยเกินไป

  28. การป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่ายจากการที่มีน้ำในปอดทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลงการป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่ายจากการที่มีน้ำในปอดทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นหวัด ไข้ ไอ หรือ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปที่แออัดการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี เช่นโรงหนัง ห้างสรรพสินค้า ความสะอาดของผิวหนังเพราะเด็กกลุ่มนี้มีเหงื่ออกมากกว่าปกติ ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรดูแลของใช้ เสื้อผ้าให้สะอาด ช่องปาก ฟัน ฟันผุจะทำให้แบคทีเรียในกระแสเลือดส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจได้ เด็กควรได้วัคซีนครบ

  29. เด็กที่มีฟันแล้วไม่ได้รับการดูแลและรักษาสุขภาพฟันทำให้เกิดปัญหาฟันผุเด็กที่มีฟันแล้วไม่ได้รับการดูแลและรักษาสุขภาพฟันทำให้เกิดปัญหาฟันผุ • การดูแลที่จำเป็นBasic need • อาหารเด็กอายุ0-6ปีควรได้พลังงาน 1200-1550 แคลอรี, ข้าวแป้ง 2-3ถ้วย, โปรตีน(เนื้อสัตว์ ถั่ว)3-4ช้อนโต๊ะไข่วันละ 1 ฟอง • นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม วันละ 2แก้ว, ผักใบเขียววันละ 4-8 ช้อนโต๊ะ, ผลไม้เช่นกล้วย ส้ม มะละกอ ส้ม ทุกวัน น้ำมันพืช 1-2ช้อนโต๊ะ จากอาหารทอด หรือ ผัด • ป้องกันภาวะซีดจาการเพิ่มธาตุเหล็กในอาหารพวก ไข่แดง เลือดหมู เลือดไก่ • เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีสุขภาพดี ไม่จำกัดน้ำ ควรได้รับน้ำวันละ5-6 แก้ว แต่รายที่มีอาการบวม/ หัวใจวายรุนแรง จำกัดน้ำ 70 ซีซี/วัน

  30. การดูแลเรื่องการขับถ่าย ควรฝึกให้เด็กขับถ่ายเป็นเวลาเป็นประจำ อย่าให้ท้องผูกเพราะการเบ่งถ่ายทำให้เด็กเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว อาจทำให้ขาดออกซิเจนเฉียบพลันได้ • อาหารเพิ่มเส้นใยต่างๆและเครื่องดื่มเช่นน้ำส้มน้ำ มะขาม น้ำลูกพรุนจะช่วยให้ระบาย และผู้ดูแลควรสังเกตว่าเด็กถ่ายปัสสาวะน้อยลงและมีอาการบวมร่วมด้วยเพื่อประเมินภาวะหัวใจวาย น้ำส้ม

  31. การพักผ่อนและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมการพักผ่อนและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม • การนอนหลับ การผ่อนคลาย ความตึงเครียด เช่น ดู ทีวี ซีดี ร้องเพลง การพักผ่อน ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานน้อยลง ซึ่งจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย ควรนอน 10-12ชั่วโมงในเวลากลางคืน 1-2 ชั่วโมงในเวลากลางวัน • การออกกำลังกายควรเป็นไปตามปกติยกเว้นการแข่งขันเช่นการวิ่งไล่ จับ การปีนป่าย กระโดดโลดเต้น ถ้าเหนื่อยควรหยุดเล่นทันทีเพราะอาจเกิดอันตรายต่อเด็กได้

  32. การส่งเสริมต่อพัฒนาการ โรคหัวใจพิการไม่มีผลต่อสติปัญญาของเด็ก(โดยที่ไม่มีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย) • ผู้ดูแลควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ • การเรียนรู้รับประทานอาหารเอง ควบคุมการขับถ่าย การนอนหลับ การทรงตัว การเดิน วิ่ง ปีนป่าย มีความชำนาญการใช้มือ เช่นการติดกระดุม • ด้านสังคม รู้จักกฎระเบียบ ครอบครัวรู้จักแยกแยะเมื่อผิดหวัง หรือ รอคอย • เรียนรู้อันตราย เช่นที่สูง ไฟ คนแปลกหน้า • สื่อสารกับคนอื่นได้เรียนรู้ที่จะสร้างสัมพันธ์กับบิดา มารดา

  33. พัฒนาการด้านร่างกาย ควรปล่อยให้เด็กเล่นในที่กว้าง ร่มรื่น ปลอดภัย ระวังอุบัติเหตุ กระตุ้นให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมอ่างอิสระควรแนะนำอยู่ห่างๆ • ด้านภาษาควรเปิดโอกาสให้เด็กได้พูด ชวนเด็กพูดคุย เล่านิทานอ่านหนังสือ ด้านอารมณ์เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวพบในเด็ก 3 ขวบขึ้นไป เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรสนใจมากนัก ยกเว้น จะก่อให้เดอันตรายเช่นการทำลายข้าวของ ทำร้ายตนเอง เด็กโรคนี้มีความเครียดจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยๆ บิดามารดา ควรปลอบโยนให้กำลังใจสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน พี่ และส่งเสริมให้เด็กปรับตัว ต่อการอยู่ร่วมในสังคม

  34. ผู้ดูแลควรสังเกตอะไรบ้างเพื่อช่วยลดความรุนแรงของความเจ็บป่วยผู้ดูแลควรสังเกตอะไรบ้างเพื่อช่วยลดความรุนแรงของความเจ็บป่วย • สังเกตการหายใจ สีผิว เล็บ ไข้ ไอ จาม เจ็บคอ นอนราบได้ หายใจเร็วหายใจลำบากซึ่งเป็นอาการหนึ่งของหัวใจวาย ควรให้นอนหัวสูงไม่วางแขนไว้ที่หน้ท้องเพราะจะทำให้หายใจลำบากและควรรีบส่งโรงพยาบาล • เด็กเขียวเพิ่มขึ้นจากการขาดออก:ซิเจนเฉียบพลัน หายใจเร็วลึก ร้องไห้งอแง ผู้ดูแลควรให้เด็กนอนเข่าชิดอก ปลอบให้หยุดร้อง เมื่อเด็กไม่สบายควรไปพบเเพทย์ทุกครั้ง (เหงื่อออกมาก ไม่ยอมรับประทานอาหาร)

  35. ควรให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอป้องกันการเกิดภาวะตัวเย็นซึ่งจะเกิดการใช้ออกซิเจนมากขึ้นสูญเสียพลังงานมากขึ้นผู้ป่วยที่เขียวมากหรือตัวเย็นจะทนต่อภาวะตัวเย็นไม่ได้และเกิดภาวะอุณหภูมิในร่างงงกายต่ำจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ควรให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอป้องกันการเกิดภาวะตัวเย็นซึ่งจะเกิดการใช้ออกซิเจนมากขึ้นสูญเสียพลังงานมากขึ้นผู้ป่วยที่เขียวมากหรือตัวเย็นจะทนต่อภาวะตัวเย็นไม่ได้และเกิดภาวะอุณหภูมิในร่างงงกายต่ำจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ • การเจริญเติบโตช้า มาจากสาเหตุ • รับประทานอาหาร น้อย ตับโต มีน้ำในช่องท้อง กระเพาะอาหารถูกเบียดรับประทานได้น้อยลงการบวมของเยื่อบุทางเดินอหารร่วมกกับการขาดพลังงาน • เกิดจากการรักษาเช่นจากยาบางชนิดเช่น Digitalisทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน(ถ้าใช้ขนาดสูง)ยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ • การย่อยและการดูดซึมซึ่งเกิดจากน้ำย่อยจากตับอ่อนต่ำ ความเข้มข้นของน้ำดีในลำไส้ต่ำความดันในหลอดน้ำเหลืองสูงจากภาวะหัวใจวาย

  36. การนำการ์ตูนมาใช้โดยนำแนวคิดของ Kinder 1959นักจิตวิทยาการศึกษา: การ์ตูนสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าคำพูดยาวๆได้หลายคำอีกทั้งดึงดูดความสนใจจูงใจ • การ์ตูนเหมาะกับเด็กทุกวัยทุกวิชาซึ่งสื่อการสอนในปัจจุบันได้นำการ์ตูนมาเป็นสื่อและมีผู้ศึกษาไว้มากมายเช่นกาญจนา ศิริวงศ์ 2539 ศึกษาการบำบัดด้วยหนังสือต่อความวิตกกังวลจากกกการแยกจากผู้เลี้ยงดูของเด็กป่วยก่อนวัยเรียน การให้ข้อมูลเด็กควรเลือกให้เหมาะกับวัย พัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจาการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ 2539 พบว่า เด็กวัยก่อนเรียน ชอบดูการ์ตูน ร้อยละ96.48 เเละเด็กวัยเรียน ชอบอ่าหนังสือการ์ตูน ร้อยละ95.48

  37. การเตรียมรับผู้ป่วยจาก หอผู้ป่วยหนักCCU/ SICU Infusion pump (กรณีให้ยา) และเด็กเล็กที่ต้องควบคุมปริมาตร IVF ตะแกรงใส่ขวด ICD (Drainage )ปกติICD จะมี 2สาย ได้แก่ pericadial drain =ขวา , mediastinal Drain = ซ้าย ควรดูแลให้เป็นระบบปิดเสมอวางสายไม่ให้หักพับ Milking สายก่อนการ Reccord ทุกครั้ง น้ำปัสสาวะ= 20 ซีซี/ชั่วโมง Urine sp.gr.=1.015-1.030 IVF เปลี่ยนเป็น 5%D/5 500 ml โดยใช้ Set micridrip เพื่อควบคุมปริมาณ IVF และจำกัดเกลือ ยาAntibiotic มักให้ 48 ชั่วโมงยาแก้ปวด Moให้ ทุก2-4ชั่วโมง

  38. หลังผ่าตัดควรดูแลบุตรหลานของท่านหรือตัวท่านเองอย่างไร?หลังผ่าตัดควรดูแลบุตรหลานของท่านหรือตัวท่านเองอย่างไร? ฝึกหายใจ หรือเป่ากระดาษ หรือใบพัด(ของเล่นเด็กโดยให้เด็กหายใจเข้าก่อนแล้วกลั้นไว้แล้วเป่าแรงๆ 1 ครั้ง หรือ จะร้องเพลง หมั่นพลิกตะแคงตัว ลุกนั่ง ลงเดินออกกำลังกาย หลังผ่าตัด ดมออกซิเจน 2-3 วันหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ

  39. 9.ออกกำลังหัวไหล่โดยการแกว่งแขนหรือยกมือ9.ออกกำลังหัวไหล่โดยการแกว่งแขนหรือยกมือ ขึ้น-ลงทุกวัน (ทำทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) การใช้ผ้ายืดผยุงทรวงอกร่วม กับการให้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการปวดได้ (โปร่งนภา อัครชิโนรศ2543) . คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป แต่เพิ่มความสังเกตลูกเมื่อพบสิ่ง ผิดปรกติควรปรึกษาแพทย์ ควรมีวินัยในการรักษาและให้ความร่วมมือ กับทีมการรักษาพยาบาลเพื่อ ผลประโยชน์ของท่านและบุตรหลาน

  40. .การออกกำลังกายตามความเหมาะสม 3. การสังเกตอาการข้างเคียง เช่นการไอมีเสมหะเป็นฟอง นอนราบไม่ได้ เหนื่อยง่ายและมากขึ้น บวม ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ฯลฯ .ผู้ป่วยเด็กควรฝึกให้บุตรหลานรับประทานผัก ผลไม้แทนขนมหวานหรือขนมสำเร็จรูปต่างๆ เพื่อป้องกันการได้รับเกลือจากสารปรุงรสในอาหารสำเร็จรูป คำถามให้เด็กรับประทานน้ำอัดลมได้ไหม ให้เด็กรับประทานขนมกรอบๆได้มากน้อยแค่ไหน

  41. ตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานและต้องงดและอาหารจำกัดเกลือตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานและต้องงดและอาหารจำกัดเกลือ จำกัดเกลือในอาหารหรืออาหารสำเร็จรูป

  42. .ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน จำกัดเกลือในอาหาร หรืออาหารสำเร็จรูป(แต่ลูกชอบขนมกรอบๆล่ะคะ?)

  43. ควรคุมกำเนิด อย่างน้อย 1 ปี และต้องปรึกษาแพทย์ของท่านถ้าต้องการมีบุตร

  44. .***ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและสอบถามกับแพทย์เมื่อท่านเกิดความสงสัยเพื่อท่านจะเกิดความเข้าใจในการรักษาอย่างถูกต้อง.***ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและสอบถามกับแพทย์เมื่อท่านเกิดความสงสัยเพื่อท่านจะเกิดความเข้าใจในการรักษาอย่างถูกต้อง ** ต้องมาตรวจตามนัด / . ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด เช่นการไอขับเสมหะ **รับประทานยาที่แพทย์สั่ง ให้(ไม่ควรซื้อยากินเอง)

  45. จำกัดน้ำ 1200 ซีซี / วัน เช้า6.00-14.00= 500 บ่าย 14.00-22.00= 400 ดึก22.00-6.00ช 300;ซีซี จำกัดน้ำดื่ม ควรงดน้ำอัดลมเพราะ จะทำให้ท้องอืดและได้สารความ หวานมากเกินไป น้ำดื่ม / วัน แผลตัดไหมที่รูท่อระบายเท่านั้นแผลแห้งดีสามารถอาบน้ำได้ น้ำผสมนม

  46. .ถ่ายอุจจาระทุกวันอย่าให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระอาจทำให้ให้โรคหัวใจชนิดรุนแรงกำเริบได้ สิ่งที่เราและท่านคาดหวังให้เป็นคือทุกคนมีหัวใจแข็งแรง สุขภาพดี

  47. เด็กๆหลังผ่าตัดแล้วสบายดีเปิดแผลได้เด็กๆหลังผ่าตัดแล้วสบายดีเปิดแผลได้ แผลแห้งดี

  48. คำถามฝาก 1.ลูกดิฉันถ้าเลื่อนผ่าตัดออกไปนานๆแล้วหัวใจไม่วาย หรือคะ? ทำไมคุณหมอไม่รีบผ่าให้ล่ะคะ? 2. ทำไมผ่าใหม่ๆต้องให้ลูกรีบขยับตัวคะ? 3.เบื่อทำไมคุณหมอ เดี๋ยวเลื่อนๆ คนเฝ้าแย่เลย 4.ทำไมต้องให้บริจาคเลือดด้วยคะ?โรงพยาบาลน่า จะมีเลือดไว้เรียบร้อยนะคะ 5โรงพยาบาลจัดอาหารให้ได้สิแต่อยู่บ้านต้องซื้อกินค่ะ 6.ทำไมคณหมอไม่บอกให้ทำฟันเรียบร้อยก่อนมา เสียเวลารอทำฟันอีก 7.หมอมาไหมคะ ไม่เคยเห็นหมอเลยเห็นแต่นักเรียน 8ทำไมเดี๋ยวให้กิน เดี๋ยวให้งด 9ถ้าที่นี่ไม่มีคิวไปผ่าที่อื่นได้ไหมแล้วกลับมานอนที่นี่

  49. ทำไมหมอพูดแต่ภาษาอังกฤษทำไมหมอพูดแต่ภาษาอังกฤษ • ทำไมไม่บอกว่าผลที่ตรวจต่างๆไปเป็นอย่างไร • คุณหมอพูดไม่เคลียรื • ทำไมหมอไม่อยู่ให้ถามเลยไปเร็วๆ ไม่เข้ามาหเลย • ให้นอนนานแล้วอยู่กับเด็กเจี้ยวจ้าวนอนไม่ค่อยหลับ

More Related