1 / 2

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ. ผู้จัดทำ 1. ด.ช. ดนุสรณ์ สุภาจารุวงศ์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 5 2. ด.ช. พงษ์ญพัช จงสุขพิพัฒน์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 8 3. ด.ช. ณภัทร จันทราพันธกุล ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 18 ที่ปรึกษา คุณครู สุกัญญา พิทักษ์.

miller
Télécharger la présentation

บทคัดย่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทคัดย่อ ผู้จัดทำ 1. ด.ช. ดนุสรณ์ สุภาจารุวงศ์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 52. ด.ช. พงษ์ญพัช จงสุขพิพัฒน์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 83. ด.ช. ณภัทร จันทราพันธกุล ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 18ที่ปรึกษาคุณครู สุกัญญา พิทักษ์ โครงงานนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิตบีดคาร์บอนจากโซเดียมอัลจิเนต โดยใช้เทคนิคการตรึงสารที่เรียกว่าเอนแคปซูเลชัน และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบีดคาร์บอนที่ผลิตได้ โดยทดสอบการดูดซับสีและยาฆ่าแมลง ผลการทดลองพบว่าบีดคาร์บอนสามารถดูดซับสีผสมอาหารสีเขียว และยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organophosphophateได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับได้ดีกว่าบีดคาร์บอน 2% เล็กน้อย และบีดคาร์บอนยังสามารถนำมาดูดซับซ้ำได้ และยังคงประสิทธิภาพเมื่อเก็บในตู้เย็นเป็นเวลา 15 วัน ที่มาของโครงงาน • ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสี กลิ่น สารพิษและโลหะหนักได้ดี การใช้งานมีทั้งประเภทผง เกล็ด ก้อนและแท่ง แต่ก็มีข้อเสียคือรูปผงกระจายและเลอะเทอะ รูปเกล็ดและแท่งสามารถแตกได้ การตรึงด้วยเทคนิคเอนแคปซูเลชันเป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน และหากตรึงถ่านกัมมันต์ให้อยู่ในรูปเม็ดบีดก็จะสะดวกในการใช้งานขึ้น โดยอาจนำมาใช้ในการดูดสารพิษยาฆ่าแมลงในการล้างผักและใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบีดคาร์บอนจากโซเดียมอัลจิเนต ด้วยการตรึงโดยเทคนิคเอนแคปซูเลชัน โดยใช้ถ่านกัมมันต์เข้มข้น 1.5 และ 2% จากนั้นนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับของบีดคาร์บอนที่ผลิตได้ โดยทดสอบการดูดซับสีและยาฆ่าแมลง

  2. สรุปผล 1. บีดคาร์บอน 1.5 % มีขนาด 3-5 มิลลิเมตร เล็กกว่าบีดคาร์บอน 2 % ซึ่งมีขนาด 5-6 มิลลิเมตร2. บีดคาร์บอนไม่สามารถดูดซับสีจากขมิ้นชันได้แต่เมื่อทดสอบดูดซับสีผสมอาหารที่เป็นสีเขียว พบว่าบีดคาร์บอน 1.5 และ 2 % สามารถดูดซับสีเขียวได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับสีได้ดีกว่าเล็กน้อยเมื่อนำบีดที่ดูดซับสีผสมอาหารแล้วมาดูดซับซ้ำพบว่าบีดคาร์บอนยังมีความสามารถในการดูดซับสีเขียวได้ดีเช่นเดิม 3. ในการทดสอบการดูดซับยาฆ่าแมลงด้วยชุดทดสอบ MJPK พบว่าบีดคาร์บอนสามารถดูดซับยาฆ่าแมลงจากระดับที่ไม่ปลอดภัยจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ภายในเวลา 80 นาที โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับได้ดีกว่าเล็กน้อย 4. ในการทดสอบดูประสิทธิภาพหลังการเก็บรักษาในน้ำสะอาดและเก็บในตู้เย็นเป็นเวลา 15 วัน พบว่าบีดคาร์บอนยังคงความสามารถในการดูดซับได้ดีเช่นเดิม วิเคราะห์ผล บีดคาร์บอนที่ใช้เทคนิคการตรึงด้วยโซเดียมอัลจิเนตมีประสิทธิภาพในการดูดซับสีบางประเภทและยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organophosphophateได้ เนื่องจากทั้ง อัลจิเนตและคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสาร อนินทรีย์ บีดคาร์บอนที่ผลิตได้จึงมีความสามารถในการดูดซับสีและยาฆ่าแมลงได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % มีความสามารถในการดูดซับได้ดีกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่า ทำให้พื้นที่ผิวในการดูดซับมากกว่าบีดคาร์บอน2 % ข้อเสนอแนะ 1. การทดลองนี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้น หากต้องการศึกษาต่อไปควรใช้เครื่องมือวัดที่วัดค่าสารได้แน่นอน และควรทำการทดสอบกับสารประเภทอื่นเพิ่มเติม 2. ในการผลิตบีดคาร์บอนนี้ เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการนำเสนอรูปแบบใหม่ของคาร์บอนเพื่อเป็นแนวทางในการไปใช้งานบางอย่างที่ต้องการแยกคาร์บอนออกได้ง่ายยิ่งขึ้นและอาจนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง แต่บีดคาร์บอนอาจไม่สามารถนำไปใช้กับการดูดซับสารได้ทุกประเภท

More Related