1 / 31

นาย รัชต์ เทพ ดีประหลาด ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วิธีการซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549. นาย รัชต์ เทพ ดีประหลาด ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การใช้บังคับ.

milo
Télécharger la présentation

นาย รัชต์ เทพ ดีประหลาด ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 นายรัชต์เทพ ดีประหลาด ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  2. การใช้บังคับ • ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป • (ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ ๔ และข้อ๑๖) • ไม่รวมถึง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ

  3. คำนิยาม • การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การจัดหาพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วยวิธีการซื้อหรือการจ้าง แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและคุมงาน การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ โดยกำหนดให้ผู้เสนอราคาได้เสนอราคาแข่งขันกันเองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลา และ ณ สถานที่ที่กำหนดโดยไม่เปิดเผยตัวเลขที่มีการเสนอราคา (Sealed Bid Auction) • ราคาสูงสุด หมายความว่า ราคากลาง วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ หรือราคาสูงสุดที่ทางราชการจะพึงรับได้ตามหลักเกณฑ์ที่ กวพ.อ. กำหนด

  4. คณะกรรมการตามระเบียบฯคณะกรรมการตามระเบียบฯ • คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อส.) • คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน และร่างเอกสารประกวดราคา • คณะกรรมการประกวดราคา

  5. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อส.) • องค์ประกอบ • - ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ ๙ • อำนาจหน้าที่ : • - ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ ๗ และข้อ ๑๐

  6. คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา • หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ • องค์ประกอบ : หน่วยงานเป็นผู้กำหนด • อำนาจหน้าที่ : • จัดทำร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา รวมถึงร่างประกาศเชิญชวนด้วย • รวบรวมคำวิจารณ์ ข้อเสนอแนะ ความเห็นจากสาธารณชนมาพิจารณาปรับปรุงร่างขอบเขตของงาน และร่างเอกสารการประกวดราคา • ปรับปรุงร่างขอบเขตของงานฯ ให้มีความเหมาะสม

  7. คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ • หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ • องค์ประกอบ (ตามระเบียบ) • ประธานกรรมการ 1 คน จากบุคลากรในหน่วยงาน • กรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และไม่มากกว่า 5 คน ซึ่งอย่างน้อย 1 คนต้องมิได้เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานนั้นเป็นกรรมการและเลขานุการ • เจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานนั้นเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

  8. คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ (-ต่อ-) • ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/ว๑๘๒ ลว.๑๒ ต.ค.๒๕๕๕ ผ่อนผันการแต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้ • กรณีการจัดหาพัสดุในวงเงินไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท ให้มีคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่า ๓ คน แต่ไม่เกิน ๗ คน จะมีกรรมการบุคคลภายนอกหรือไม่ก็ได้โดยให้บุคลากรของหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุเป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการด้วยหรือไม่ก็ได้

  9. คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ (-ต่อ-) • กรณีการจัดหาพัสดุในวงเงินเกิน ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๗ คน และต้องมีกรรมการบุคคลภายนอก อย่างน้อยหนึ่งคน โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานนั้นเป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการด้วยหรือไม่ก็ได้

  10. คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ(-ต่อ-)คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ(-ต่อ-) • อำนาจหน้าที่ • เผยแพร่เอกสารเชิญชวน • รับซองข้อเสนอด้านเทคนิค • พิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น(ผู้มีสิทธิเสนอราคา) • พิจารณารับข้อเสนอราคาของผู้มีสิทธิเสนอราคา หลังจากกระบวนการเสนอราคาสิ้นสุดลง

  11. ขั้นตอนการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ขั้นตอนการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง การจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง การเผยแพร่เอกสารประกาศเชิญชวน การรับซองข้อเสนอด้านเทคนิค การคัดเลือกเบื้องต้น การอุทธรณ์ผลการคัดเลือกเบื้องต้น

  12. ขั้นตอนการจัดหาพัสดุ (-ต่อ-) • 8. การเสนอราคา • การเตรียมการเสนอราคา • วิธีการเสนอราคา • การควบคุมการเสนอราคา • ผลของการเสนอราคา • การอุทธรณ์ผลการเสนอราคา

  13. 1.การจัดทำร่างขอบเขตของงาน(Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา • ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา • คณะกรรมการฯ จัดทำร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา นำเสนอร่าง TOR ขออนุมัติต่อหัวหน้าหน่วยงาน • หัวหน้าหน่วยงานอนุมัติ นำสาระสำคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะ วิจารณ์ หรือให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางเว็บไซต์มายังหน่วยงานโดยเปิดเผยตัว

  14. การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (-ต่อ-) • กรณีที่มีข้อเสนอแนะความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์ให้คณะกรรมการพิจารณาว่าสมควรปรับปรุงร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคานั้นหรือไม่ • กรณีเห็นสมควรปรับปรุง ให้ดำเนินการปรับปรุงให้เสร็จ แล้วนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอความเห็นชอบ อีกครั้ง • กรณีไม่เห็นสมควรปรับปรุง ก็ให้นำเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอความเห็นชอบ อีกครั้งหนึ่งเช่นกัน • ซึ่งทั้ง 2 กรณีจะต้องนำลงประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลางอีกครั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งนี้จะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติม ก็ได้ • (หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๘.๓/ว ๓๐๒ ลว. ๒๑ ก.ค. ๒๕๔๙)

  15. การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (-ต่อ-) • กรณีที่ไม่มีข้อเสนอแนะหรือคำวิจารณ์ใด ๆ หน่วยงานไม่ต้องนำร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา ลงประกาศในเว็บไซต์ของหน่วยงานและของกรมบัญชีกลางอีก (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/ว๑๘๒ ลว.๑๒ ต.ค.๒๕๕๒)

  16. 2. การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง • เสนอหัวหน้าหน่วยงานคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ จากทะเบียนรายชื่อผู้ให้บริการตลาดกลาง ฯ ทางเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th

  17. 3. การจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง • เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้หัวหน้าหน่วยงานให้ความเห็นชอบ โดยให้แนบ TOR และเอกสารฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

  18. 4. การเผยแพร่เอกสารประกาศเชิญชวน • คณะกรรมการประกวดราคานำสาระสำคัญของเอกสารเชิญชวน เอกสารประกวดราคา และเอกสารเบื้องต้นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถเผยแพร่ได้ลงประกาศใน website ของหน่วยงาน และ www.gprocurement.go.th เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน • การแจกจ่ายเอกสาร หรือการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาฯ ณ สถานที่ที่กำหนด ซึ่งสถานที่นั้นจะต้องติดต่อได้สะดวก และไม่เป็นเขตหวงห้าม จัดเตรียมเอกสารให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างงานนั้น รายละ 1 ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือขาย (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 46 วรรคหนึ่ง) • ให้จัดส่งประกาศและเอกสารประกวดราคาฯ พร้อมเอกสารแนบ ให้ สตง. หรือ สตง.ภูมิภาค เพื่อใช้ในการตรวจสอบต่อไปด้วย (ตามหนังสือ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) 0421.3/ ว 419 ลว. 19 ต.ค.55)

  19. การเผยแพร่เอกสารประกาศเชิญชวน (-ต่อ-) • การแจกจ่ายเอกสารหรือการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ประกาศเชิญชวนซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 3 วัน นับแต่วันที่ได้ประกาศทางเว็บไซต์ • (กรณีการขายเอกสาร ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ทางราชการต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น และหมายรวมถึง ค่าถ่ายเอกสารและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องเพื่อให้ได้มาซึ่งสำเนาเอกสารประกวดราคา แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนอิ่นที่ส่วนราชการได้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าว เช่น คชจ.ในการสำรวจออกแบบ หรือค่าจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่มีการแสวงหากำไรจากการขายเอกสาร) • การกำหนดวันรับซองข้อเสนอทางด้านเทคนิค จะต้องให้เวลาผู้ประสงค์จะเสนอราคาจัดทำข้อเสนอฯไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสุดท้ายของการแจกจ่ายหรือจำหน่ายเอกสารประกวดราคา และกำหนดให้รับซองข้อเสนอทางด้านเทคนิคเพียงวันเดียว

  20. 5. การรับซองข้อเสนอด้านเทคนิค • คณะกรรมการประกวดราคารับซองข้อเสนอทางด้านเทคนิค ณ ที่ทำการของหน่วยงาน • การดำเนินการรับซองข้อเสนอทางด้านเทคนิค ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 49 (1) (2) (3) และ(4)

  21. 6. การคัดเลือกเบื้องต้น • คณะกรรมการประกวดราคาคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคา โดยพิจารณาว่าต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ข้อเสนอด้านเทคนิคมีความเหมาะสม และ ไม่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน • ให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งผลการพิจารณาการคัดเลือกเบื้องต้นให้ ผู้ประสงค์จะเสนอราคาแต่ละรายทราบผลการพิจารณาเฉพาะของตน โดยไม่เปิดเผยรายชื่อต่อสาธารณชน หรือไม่มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา • หากมีผู้มีสิทธิเข้าเสนอราคาเพียงรายเดียว ให้ยกเลิกการดำเนินการทั้งหมด แล้วเริ่มดำเนินการใหม่ หรือจะขออนุมัติจาก กวพ.อส. ดำเนินการจัดหาด้วยวิธีการอื่นก็ได้ (หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค(กวพอ) ๐๔๒๑.๓/ว๒๘๙ ลว.๓๐ ก.ค.๒๕๕๕)

  22. 7. การอุทธรณ์ผลการคัดเลือกเบื้องต้น • ผู้ยื่นเสนอราคาที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น สามารถคัดค้านผลการพิจารณา โดยอุทธรณ์ต่อหัวหน้าหน่วยงาน ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง • ให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้เสร็จภายใน 7 วัน • ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของหัวหน้าหน่วยงานจะดำเนินการขั้นตอนต่อไปไม่ได้ • กรณีที่หัวหน้าหน่วยงานวินิจฉัยว่าผู้ประสงค์จะเสนอราคารายใดควรได้รับการพิจารณาเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคา ให้เพิ่มชื่อผู้นั้นในรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา • ถ้าหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาไม่เสร็จภายใน 7 วัน ให้ถือว่า อุทธรณ์ฟังขึ้น • คำวินิจฉัยของหัวหน้าหน่วยงาน ให้เป็นอันถึงที่สุดในชั้นฝ่ายบริหาร

  23. 8. การเสนอราคา • การเตรียมการเสนอราคา • วิธีการเสนอราคา • การควบคุมการเสนอราคา • ผลของการเสนอราคา • การอุทธรณ์ผลการเสนอราคา

  24. การเสนอราคา : การเตรียมการเสนอราคา • ให้หน่วยงานแจ้งวัน เวลาและสถานที่แก่ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ เพื่อดำเนินกระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ • ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมาเสนอราคาตามสถานที่ที่กำหนด และแยกแต่ละรายออกจากกัน โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ 1 คนเข้าประจำด้วย ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเสนอราคาสามารถส่งผู้แทนมาได้รายละไม่เกิน 3 คน และห้ามมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าด้วยวิธีใด • เมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคาแล้ว ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะเปลี่ยนหรือเพิ่มผู้แทนไม่ได้ แต่สามารถถอดถอนผู้แทนบางคนด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งได้

  25. การเสนอราคา : การเตรียมการเสนอราคา (-ต่อ-) • เมื่อถึงกำหนดเวลาเริ่มการเสนอราคา • ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนตามที่กำหนด ให้ประธานคณะกรรมการประกวดราคาประกาศเป็นผู้หมดสิทธิเสนอราคา ซึ่งผู้มีสิทธิเสนอราคาจะถูกยึดหลักประกันซอง • ให้ประธานแจ้งผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา • มีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานยกเลิกการดำเนินการทั้งหมด

  26. การเสนอราคา : วิธีการเสนอราคา • การเสนอราคาให้ใช้วิธีแบบปิด (Sealed Bid Auction) เท่านั้น • ช่วงเวลาการแข่งขันเสนอราคา 30-60 นาที • สามารถเสนอราคาได้หลายครั้ง • มีการเสนอลดราคาขั้นต่ำ (Minimum Bid) แต่ละครั้ง ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสูงสุดของการประกวดราคาฯ (ตามหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) 0421.3/ว /289 ลว.30 ก.ค.2555) • ในระหว่างการแข่งขันเสนอราคา ไม่มีการรับ-ส่งข้อเสนอราคาทางโทรสาร (Fax)

  27. การเสนอราคา : วิธีการเสนอราคา(-ต่อ-) • การแสดงผลที่หน้าจอผู้เสนอราคา • เมื่อถึงเวลาเสนอราคา จะมีข้อความที่หน้าจอของผู้เสนอราคาว่าเริ่มการเสนอราคาแล้ว • ช่วงเวลา 3-5 นาทีสุดท้าย ระบบจะไม่แสดงว่าราคาของผู้ใดมีสถานะใด • เมื่อสิ้นสุดเวลา หากมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย ให้ต่อเวลาไปอีกครั้งละ 3 นาที จนได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเพียงรายเดียว

  28. การเสนอราคา : การควบคุมการเสนอราคา • คณะกรรมการฯ อย่างน้อยกึ่งหนึ่งอยู่ประจำสถานที่ที่กำหนด • กวพ.อส. อาจกำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงระหว่างการเสนอราคาก็ได้ • อาจกำหนดให้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ให้สาธารณชนทราบก็ได้ • ต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตและการสมยอมด้านราคา • กรณีมีข้อขัดข้องไม่อาจเสนอราคาได้ ให้สั่งพักการเสนอราคาเมื่อแก้ไขแล้วให้ดำเนินการต่อภายในเวลาที่เหลืออยู่ แต่ต้องแล้วเสร็จภายในวันเดียวกัน แต่หากเห็นข้อขัดข้องไม่อาจแก้ไขได้ ให้ประธานสั่งยกเลิกการเสนอราคาและนัดเสนอราคาใหม่

  29. การเสนอราคา : ผลของการเสนอราคา • คณะกรรมการประกวดราคาประชุมทันทีที่กระบวนการเสนอราคาสิ้นสุดลง เพื่อมีมติสมควรรับข้อเสนอของผู้มีสิทธิเสนอราคารายใด แล้วรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาภายในวันทำการถัดไป • กรณีที่หัวหน้าหน่วยงานเห็นชอบด้วย ให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งผลให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทราบทุกราย

  30. การเสนอราคา : ผลของการเสนอราคา(-ต่อ-) • กรณีที่หัวหน้าหน่วยงานไม่เห็นชอบด้วย ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการประกวดราคาเพื่อชี้แจงภายใน 3 วัน เมื่อได้รับคำชี้แจงแล้ว • หากเห็นชอบด้วย ให้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ • หากไม่เห็นด้วยภายใน 3 วัน ให้สั่งยกเลิกการประกวดราคาแล้วแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทราบทุกรายและรายงาน กวพ.อส. ทราบ • ให้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบและประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง อย่างน้อย 3 วัน

  31. การเสนอราคา : การอุทธรณ์ผลการเสนอราคา • กรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เข้าสู่กระบวนการเสนอราคาไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของหัวหน้าหน่วยงาน ให้อุทธรณ์ต่อ กวพ.อส.ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง • กวพ.อส. พิจารณาอุทธรณ์ ให้เสร็จภายใน 30 วัน ในระหว่างนี้จะดำเนินการขั้นตอนต่อไปมิได้ มติ กวพ.อส. ให้เป็นอันถึงที่สุดในชั้นของฝ่ายบริหาร • กรณีที่อุทธรณ์ฟังขึ้น ให้สั่งให้หน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุดำเนินกระบวนการเสนอราคาใหม่ โดยเริ่มจากขั้นตอนใดก็ได้ตามแต่จะมีคำสั่ง • กรณีที่อุทธรณ์ฟังไปไม่ขึ้นหรือฟังขึ้นแต่ไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงผลการพิจารณาที่ได้แจ้งไปแล้ว ให้แจ้งเพื่อดำเนินการตามระเบียบต่อไป

More Related