1 / 25

ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กับประชาคมอาเซียน

ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กับประชาคมอาเซียน. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510. CAMBODIA. อาเซียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ปี 2540. ปี 2540.

misae
Télécharger la présentation

ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กับประชาคมอาเซียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน

  2. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510

  3. CAMBODIA อาเซียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510 ปี 2510

  4. ASEAN Factsheet • สมาชิกผู้ก่อตั้ง • ไทย • มาเลเซีย • อินโดนีเซีย • ฟิลิปปินส์ • สิงคโปร์ สมาชิกเพิ่มเติม +บรูไน ดารุสซาลาม ปี 2527 + เวียดนาม ปี 2538 + ลาว ปี 2540 + เมียนมาร์ ปี 2540 + กัมพูชา ปี 2542 ประชากร – 600.15 ล้านคน พื้นที่- 4.5 ล้าน ตาราง กม. GDP รวม 1,540 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวม 1,800 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนจากต่างประเทศ 39,623 ล้านเหรียญสหรัฐ

  5. ประชาคมอาเซียนปี 2558 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

  6. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (20 พ.ย. 2550) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ - มีกฎกติกาในการทำงาน(Rules-based) - มีประสิทธิภาพ - มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีผลใช้บังคับเมื่อ 15 ธ.ค. 2551

  7. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประชาคมเศรษฐกิจ (AEC Blueprint) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint) ประชาคม สังคมและวัฒนธรรม (ASCC Blueprint) มั่งคั่ง มั่นคง เอื้ออาทร

  8. การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558 ASCC AEC AC APSC เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี / AFTA เหลือ ร้อยละ 0 / เปิดเสรีการลงทุนภายใต้หลัก national treatment / เปิดเสรีบริการเร่งรัด 4 สาขา (e-ASEAN สุขภาพ ท่องเที่ยว การขนส่งทางอากาศ) / MRA วิชาชีพ 8 สาขา / เชื่อม โยงตลาดทุนและพันธบัตร / ใช้ประโยชน์จาก คตล.เขตการค้าเสรีอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน / มีพลวัต คงความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค / มีเอกภาพ ไว้เนื้อเชื่อใจ สงบสุข แข็งแกร่ง รับผิดชอบ สามารถรับมือกับความท้าทาย ต่าง ๆ ได้ / เป็นประชาธิปไตย มีธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม / คุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการพัฒนา ในทุก ๆ ด้าน มีความยุติธรรม มีความมั่นคงทางสังคม และมีการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

  9. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSC) เป็นส่วนหนึ่งของกลไกสืบเนื่องจาก Bali Concord II ในปี พ.ศ.2546 (ค.ศ. 2003) เพื่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) หรือ วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" (ASEAN Vision 2020) ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เซบู ฟิลิปปินส์ ได้เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

  10. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 (ปี 2552) ในสมัยที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ได้รับรองแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยมุ่งหวังจะเป็นหลักประกันให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติ ในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรมและการมีความปรองดองต่อกัน

  11. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) แผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC Blueprint) 1. ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 2. ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ 3. ประชาคมที่ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอกที่มีการรวมตัวและลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น

  12. เป้าหมายหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคงเป้าหมายหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคง • ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง • การอยู่ร่วมกันโดยสันติ • แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี • สร้างกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกันด้านประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน • ความรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุมรอบด้าน เช่นโรคระบาด ภัยพิบัติธรรมชาติ และการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ • สร้างปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกและคงความเป็นศูนย์กลางและบทบาทของอาเซียน

  13. วัตถุประสงค์ มุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แผนการจัดตั้งประชาคมฯ ประกอบด้วยความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ความยุติธรรมและสิทธิ ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

  14. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - กฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และได้มีการระบุเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ในข้อ A.1.5 ของ APSC Blueprint ด้วย- ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อเดือน ก.ค. 2552 ได้เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ขึ้นเพื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตามที่ระบุไว้ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของ AICHR

  15. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • ประเทศสมาชิกอาเซียนจะแต่งตั้งผู้แทน ประเทศละ 1 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี • ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนไทยใน AICHR สมัยแรก (ต.ค. 2552 - ธ.ค. 2555) • ดร.เสรี นนทสูติ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนไทยใน AICHR คนปัจจุบัน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 29 ม.ค. 2556 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2558

  16. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration - AHRD) จัดทำขึ้น โดย AICHR ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเดือน ก.ค. 2552 • ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประสงค์ให้ปฏิญญาฉบับนี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่การเป็นกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน เช่น อนุสัญญา สนธิสัญญา รวมทั้งการจัดทำตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในอนาคต

  17. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (AHRD) - เมื่อวันที่18 พ.ย. 2555 ผู้นำอาเซียนได้ให้การรับรอง AHRD ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ควบคู่กับการลงนามในแถลงการณ์พนมเปญเพื่อรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าว โดย AHRD ประกอบด้วยเนื้อหาสาระหลัก 7 ส่วน ได้แก่ (1) อารัมภบท (2) หลักการทั่วไป (3) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (4) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (5) สิทธิในการพัฒนา (6) สิทธิในสันติภาพ (7) ความร่วมมือในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน

  18. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (AHRD) - ไทยได้จัดทำหนังสือคำแปล AHRD และแถลงการพนมเปญว่าด้วยการรับรอง AHRD โดยได้จัดส่งให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาและเผยแพร่ตามช่องทางการศึกษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้บรรจุไฟล์รูปแบบ PDF ไว้ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศด้วย

  19. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ภารกิจสำคัญของ AICHR คือ การเผยแพร่ปฏิญญาฯ ให้เป็นที่รับรู้ของสาธารณชนในวงกว้างและทุกภาคส่วน ผู้แทนไทยใน AICHR และในคณะทำงานฯ ได้จัดกิจกรรมสร้างเสริมความตระหนักรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งหารือกับภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดจนหารือกับองค์กรรายสาขาของอาเซียนเพื่อนำ AHRD ไปสู่การปฏิบัติ

  20. การส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคม - APSC Blueprint ข้อ A.1.6 ระบุเรื่องการเพิ่มการมีส่วนร่วมองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนที่เกี่ยวข้องต่อการขับเคลื่อนความคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาการทงการเมืองของอาเซียนให้ดำเนินไปข้างหน้า โดยปัจจุบัน องค์กรรายสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน (ASEAN Sectoral Bodies)ล้วนมีบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

  21. การส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคม - ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง AICHR กับองค์กรภาคประชาสังคมและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศได้จัดให้มีการพบหารือระหว่างผู้แทนภาคประชาสังคมกับผู้บริหารของกระทรวงฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและรับทราบข้อห่วงกังวลของภาคประชาสังคม

  22. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ AICHR Advanced Programme on Human Rights - Training of the Trainers (TOT) ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและกลไกสิทธิมนุษยชน ในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐในการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

  23. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ไทยจะเป็นประธานจัดการประชุม Special Meeting of AICHR ระหว่างวันที่ 14 – 16 พ.ย. 2557 โดยจะจัด back-to-back กับ Workshop on Regional Mechanisms ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 17 – 18 พ.ย. 2557

  24. อนาคต • บทบาทในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ AICHR • การรับข้อมูล (receive communication) จากผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน • Human Rights Dialogue • การ mainstream ประเด็นสิทธิมนุษยชนใน Blueprints หรือเอกสารหลักของอาเซียนในอนาคต • บทบาทในกระบวนการ UPR ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

  25. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/aseanhttps://www.facebook.com/ASEANThailand.MFA One Vision One Identity One Community

More Related