1 / 27

บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด

บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด. รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี. มาตรฐานห้องสมุด. มาตรฐาน ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ Standards guidelines rules act.

Télécharger la présentation

บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุดบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี

  2. มาตรฐานห้องสมุด • มาตรฐาน • ระเบียบ • คำสั่ง • ประกาศ • Standards • guidelines • rules • act

  3. การจำแนกประเภทของมาตรฐานการจำแนกประเภทของมาตรฐาน • การจำแนกมาตรฐานตามลักษณะการนำไปใช้ - มาตรฐานบังคับใช้ - มาตรฐานไม่บังคับใช้ • การจำแนกมาตรฐานตามระดับของการนำไปใช้ - มาตรฐานระดับองค์กร - มาตรฐานระดับชาติ - มาตรฐานระดับภูมิภาค - มาตรฐานระดับนานาชาติ

  4. การจำแนกมาตรฐานของห้องสมุดการจำแนกมาตรฐานของห้องสมุด -มาตรฐานห้องสมุดโดยรวม - มาตรฐานห้องสมุดแต่ละประเภท - มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานห้องสมุดโดยตรง เช่น มาตรฐานการลงรายการทางบรรณานุกรม - มาตรฐานที่เกี่ยวข้องและนำมาใช้ในห้องสมุด เช่น มาตรฐานด้านความปลอดภัย อาคารสถานที่

  5. ความสำคัญของมาตรฐาน • ความสำคัญต่อการบริหาร • ความสำคัญต่อการดำเนินงาน • ความสำคัญต่อการบริการ • ความสำคัญต่อวิชาชีพ

  6. องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานห้องสมุด องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานห้องสมุด • สมาคมวิชาชีพ • หน่วยงานภาครัฐต้นสังกัดที่กำกับดูแลห้องสมุด • องค์การทางด้านมาตรฐาน

  7. สมาคมวิชาชีพ • การเป็นวิชาชีพหรืออาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญซึ่งเป็นที่ยอมรับและยกย่องในสังคม • องค์กรอันเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ซึ่งสามารถเป็นปากเสียงแทน ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นได้โดยส่วนรวม • อำนาจขององค์กรนั้นเกิดจากสมาชิก • มีเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติของสมาชิก • มีจรรยาบรรณวิชาชีพ • การใช้วิชาชีพนั้นบริการสังคม

  8. บทบาทของสมาคมวิชาชีพ • การให้การศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ • การบำรุงขวัญและกำลังใจของมวลสมาชิก • การเป็นตัวแทน หรือการแสดงบทบาทส่งเสริม สนับสนุนสถานภาพของ ผู้ประกอบวิชาชีพ • การบำรุงรักษาเกียรติคุณและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ • การกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ • การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ อันจะทำให้วิชาชีพนี้เป็นที่เชื่อถือ • การพัฒนาวิชาชีพให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสังคม

  9. สมาคมวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์สมาคมวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ • ระดับชาติ คือ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2497 • ระดับภูมิภาค ที่สำคัญคือ สภาบรรณารักษ์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือคอนซาล (Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) • ระดับนานาชาติคือ สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมห้องสมุดและสถาบัน หรืออิฟลา (International Federations of Library Associations and Institutions – IFLA) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1927 (พ.ศ.2470) มีสำนักงานถาวรอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

  10. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนดำเนินกิจการเป็นสมาคมห้องสมุดประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2497 • ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์เมื่อเมื่อวันที่ 2กันยายน พ.ศ. 2519 นับเป็นสมาคมแรกในพระราชูปถัมภ์ • มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 25 คน ซึ่งสมาชิกเป็นผู้เลือกให้รับผิดชอบการบริหารงานมีวาระ 2 ปี และมีชมรมในสังกัด รวม 9 ชมรม จำแนกตามความสนใจของสมาชิก

  11. บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในด้านมาตรฐาน….จากอดีตถึงปัจจุบันบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในด้านมาตรฐาน….จากอดีตถึงปัจจุบัน • พ.ศ. 2508 มีความพยายามจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศเป็นโครงการ 5 ปี เพื่อบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2510 – 2514 • กรมวิเทศสหการได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งมีนายบุญชนะ อัตถากร อธิบดีกรมวิเทศสหการในขณะนั้นเป็นประธาน เพื่อจัดทำโครงการพัฒนางานห้องสมุดของประเทศ

  12. อนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศ • อนุกรรมการงานด้านหอสมุดแห่งชาติ มีนายกฤษณ์ อินทโกสัย รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดประชาชน มีนายสมาน แสงมลิ หัวหน้ากองการศึกษาผู้ใหญ่ เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีนางสาวสุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ และบรรณารักษ์หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดโรงเรียน มีนางสาวรัญจวน อินทรกำแหง ศึกษานิเทศก์ฝ่ายห้องสมุด กรมวิสามัญศึกษา เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดเฉพาะ มีนายฉุน ประภาวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเอกสาร สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์มีนางสาวสุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาบรรณารักษ์ และบรรณารักษ์หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน

  13. ร่างมาตรฐานเพื่อเสนอบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์

  14. โครงการพัฒนางานห้องสมุดของประเทศมิได้รับการพิจารณาบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ • ยกเว้นโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ จึงมิได้มีการรับรองมาตรฐานและมิได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ • เป็นการเริ่มต้นของความพยายามและความร่วมมือของบรรณารักษ์ในการที่จะให้มีการพัฒนามาตรฐานในวิชาชีพนี้ และเป็นแผนพัฒนาห้องสมุดในระดับประเทศ

  15. เป็นเชื้อให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯเป็นเชื้อให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • แผนพัฒนาห้องสมุดที่ทำขึ้นนี้ได้นำมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุดและเป็นเชื้อทำให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เห็นว่ามาตรฐานเป็นรากฐานทางวิชาการและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันต้นสังกัด ทั้งส่วนราชการและเอกชน • สมาคมฯจึงได้กำหนดมาตรฐานห้องสมุดประเภทต่างๆขึ้นใช้เป็นแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงานสำหรับห้องสมุดที่ตั้งขึ้นใหม่และเพื่อให้ห้องสมุดที่ดำเนินการอยู่แล้วมีแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้สูงขึ้น

  16. บทบาทของสมาคมฯในด้านมาตรฐานบทบาทของสมาคมฯในด้านมาตรฐาน • การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2529 และการประชุมทางวิชาการเรื่อง “มาตรฐานเพื่อพัฒนาบริการห้องสมุด” • การจัดตั้งแผนกมาตรฐานห้องสมุดเป็น แผนกหนึ่งในโครงสร้างการบริหารงานของสมาคม เมื่อพ.ศ.2530

  17. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกมาตรฐานห้องสมุดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกมาตรฐานห้องสมุด • จัดทำโครงการและแผนงานของแผนกมาตรฐาน • ประสานงานกับชมรมต่างๆในสังกัดของสมาคมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณามาตรฐานฉบับร่าง ฉบับปรับปรุงแก้ไข • ดำเนินการให้มีการรับรองมาตรฐานฉบับร่างและฉบับปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้ • ดำเนินการให้มีการเผยแพร่มาตรฐาน • ติดตามและประเมินผลการนำมาตรฐานไปใช้ • จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในเรื่องมาตรฐานห้องสมุด

  18. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจัดทำมาตรฐานประเภทต่างๆในช่วง พ.ศ.2530 -2531 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ • มาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดวิทยาลัยครู • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

  19. การประกาศใช้มาตรฐานห้องสมุดการประกาศใช้มาตรฐานห้องสมุด • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2550 • มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ.2549 • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2545 • มาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษาเพื่อการอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีพ.ศ.2535 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2533 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533

  20. การพัฒนาการทำงานในวิชาชีพอย่างมีมาตรฐานการพัฒนาการทำงานในวิชาชีพอย่างมีมาตรฐาน • แผนกวิจัยและพัฒนาจะจัดทำวารสารฉบับใหม่ คือวารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • การจัดทำวารสารห้องสมุด ให้เป็นวารสารทางวิชาการที่ได้เกณฑ์มาตรฐาน • การประกาศใช้จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ.2550 • การปรับปรุงรูปแบบการจัดประชุมทางวิชาการ

  21. การยกระดับสถานภาพและมาตรฐานบุคลากรวิชาชีพโดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและส่งเสริมสถานภาพและมาตรฐานครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 11 ราย มีดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ประธานแผนกมาตรฐานห้องสมุด เป็นประธาน • การแก้ไขข้อบังคับของสมาคมฯ พ.ศ. 2539 จะนำเสนอให้สมาชิกพิจารณาในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550

  22. ความพยายามในด้านมาตรฐาน • การปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดต่างๆที่ล้าสมัย • การจัดทำมาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ • การจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ • การจัดทำมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

  23. ภาพสะท้อนโดยรวมเรื่องมาตรฐานที่ยังต้องการการพัฒนา ภาพสะท้อนโดยรวมเรื่องมาตรฐานที่ยังต้องการการพัฒนา • ต่างคนต่างทำ • ทำมาตรฐานจากสภาพเดิมของตน • ทำโดยไม่ยึดหลักวิชาการ หรือมุ่งสู่สากล • ความคิดเชิงลบเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรฐาน

  24. ปัญหาด้านบทบาทของสมาคม • ความเป็นองค์กรที่ไม่มีกฎหมาย หรือกฎระเบียบรองรับในการ แหล่งรวมพลังของวิชาชีพ • ความตระหนักในวิชาชีพ • ความเป็นงานอาสาสมัคร • วัฒนธรรมขององค์กร และคนในวิชาชีพ

  25. สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น • การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนามาตรฐาน หรือ มาตรฐานที่เกิดจากกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ • ความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งห้องสมุด บุคลากรและองค์กรในวิชาชีพ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในการพัฒนามาตรฐาน • ความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อวิชาชีพและประเทศชาติของเรา • การมีมาตรฐานและตัวชี้วัดที่มุ่งสู่การพัฒนาและความเป็นสากล • การสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานในด้านงบประมาณการจัดทำและการประกาศใช้

  26. ทิ้งท้าย...ฝากให้ท่านคิดทิ้งท้าย...ฝากให้ท่านคิด • ถ้าไม่มีมาตรฐาน ... งานไปไม่รอด • ถ้าไม่ยึดมาตรฐาน...เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี วิชาชีพไปไม่รอด • ถ้าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างจ้ำ.....ไปไม่ถึงฝั่ง • ถ้าต่างคนต่างพูด.....ผลลัพธ์ก็ไม่เกิด • สมาคมคือใคร......คือท่าน คือเรา สมาคมเป็นของทุกคน

  27. ขอบคุณในความสนใจและหวังในความร่วมมือของท่านขอบคุณในความสนใจและหวังในความร่วมมือของท่าน

More Related