1 / 21

การพัฒนา

การพัฒนา. การจัดชั้นหนังสือ. ด้วยระบบสัญลักษณ์. โดย. สุภาวดี เพชรชื่นสกุล. ปัญหาที่พบ. หาหนังสือในชั้นไม่พบ. จัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นล่าช้า. จัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น. ไม่ถูกต้อง. ศึกษาดูงาน. National Library Board. Singapore. 1. ใช้สีประกอบเลขเรียกหนังสือ เช่น หมวด 500 ใช้แถบสีเขียว

Télécharger la présentation

การพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนา การจัดชั้นหนังสือ ด้วยระบบสัญลักษณ์ โดย สุภาวดี เพชรชื่นสกุล

  2. ปัญหาที่พบ หาหนังสือในชั้นไม่พบ จัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นล่าช้า จัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น ไม่ถูกต้อง

  3. ศึกษาดูงาน National Library Board Singapore • 1. ใช้สีประกอบเลขเรียกหนังสือ เช่น • หมวด 500 ใช้แถบสีเขียว • หมู่ย่อย 520 ใช้แถบสีเหลือง • หมู่ย่อย 525 ใช้แถบสีแดง • 2. ใส่สัญญาณความถี่ RFID (Radio Frequency Identification) • ลงในตัวเล่มหนังสือ แล้วใช้เครื่องอ่านสัญญาณอ่านหนังสือที่จัดเรียงขึ้นชั้น • จะทำให้ทราบว่าหนังสือมีการจัดเรียงถูกต้องหรือไม่ และหนังสือรายการใด • หายไปจากชั้น

  4. นำมาพัฒนาในสำนักหอสมุดนำมาพัฒนาในสำนักหอสมุด โดยนำหลักเกณฑ์ในการใช้แถบสีกำหนดหมวด และความถูกต้อง ของการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น ดังนี้ 1. การใช้แถบสีกำหนดหมวด สำนักหอสมุดจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้:D.C. จึงกำหนดแถบสีต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ ของแต่ละหมวด จำนวน 10 หมวด 2. ให้บรรณารักษ์เป็นผู้ตรวจ การจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

  5. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 1. กำหนดสีของสัญลักษณ์ในแต่ละหมวด เช่น การกำหนดสีสัญลักษณ์ของหนังสือภาษาไทย ดังนี้ หมวด 000 ใช้สัญลักษณ์สีชมพู หมวด 100 ใช้สัญลักษณ์สีเขียวอ่อน หมวด 200 ใช้สัญลักษณ์สีฟ้า หมวด 300 ใช้สัญลักษณ์สีเขียวเข้ม

  6. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 2. นำหนังสือในช่วงชั้นที่ต้องการทำสัญลักษณ์มาจัดเรียง ตามหลักการเรียงหนังสือขึ้นชั้นให้ถูกต้อง 3. เมื่อจัดเรียงหนังสือเรียบร้อยแล้ว ให้ติดสัญลักษณ์ ตามสีที่กำหนดไว้ด้านล่างสุดของสันหนังสือ

  7. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 4. ในกรณีที่หนังสือในหมวดนั้น ๆ มีจำนวนมาก อาจจะกำหนดสีของสัญลักษณ์ เพิ่มเติม โดยมีสีของสัญลักษณ์หลักที่เรากำหนดอยู่ด้วย เช่น หมวด 600 อาจแบ่งได้เป็น ชั้นหนังสือที่ 1 - 4 ใช้สัญลักษณ์สีแดง ชั้นหนังสือที่ 5 - 9 ใช้สัญลักษณ์สีแดงกับสีเหลือง ชั้นหนังสือที่ 10 - 13 ใช้สัญลักษณ์สีแดงกับสีเขียวอ่อน

  8. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 5.เขียนตัวเลขกำกับลำดับของหนังสือนั้น ๆ บนสัญลักษณ์ โดยอาจจะเขียนเรียงลำดับจาก 1 2 3 4 5 ไปจนสิ้นสุด หรืออาจจะเขียนเรียงลำดับโดยการเว้นช่วงไว้ก็ได้ เช่น 1 4 7 10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและจำนวนของหนังสือใหม่ที่คาดว่าจะเพิ่มเข้าอีก

  9. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 6. สำหรับหนังสือที่มี 1 ชื่อเรื่องแต่มีหลายฉบับ ให้กำหนดการเขียน ดังนี้

  10. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 7. กรณีที่มีหนังสือใหม่เข้ามาแทรก ให้เขียนเลขกำกับลำดับของหนังสือ เล่มใหม่ ดังนี้ 7.1 หนังสือมีการเรียงลำดับตามปกติ 1 2 3 4 หนังสือใหม่ที่เข้ามาแทรก ให้เขียนเลขกำกับ โดยใช้เส้น ในการแบ่งเลข ซึ่งจะแบ่งจากตรงกลางเป็นเลข 50 และหากมี หนังสือใหม่เข้ามาแทรกระหว่างนี้ โดยอาจจะอยู่ก่อนหรืออยู่หลัง เลข 50 ก็ให้แบ่งออกไปช่วงละ 25 เช่น

  11. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ หนังสือใหม่มาอยู่ระหว่างลำดับที่ 2 กับ 3

  12. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์

  13. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์

  14. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 7.2 หนังสือที่มีการเรียงลำดับโดยการเว้นช่วง 1 4 7 10 หนังสือใหม่ที่เข้ามาแทรกให้เขียนเลขกำกับที่เว้นไว้ก่อนเป็นอันดับแรก เช่น หนังสือใหม่ที่เข้ามาอยู่ระหว่างลำดับที่ 4 กับ 7 และ 7 กับ 10

  15. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 8. หนังสือที่มีการเรียงลำดับเล่มที่ กรณี เล่มที่ 1 เล่มที่ 2 เล่มที่ 3..... ให้เขียนเลขกำกับติดกัน โดยไม่ต้องเว้นช่วงไว้ เช่น หนังสือที่มีชื่อเรื่องเป็นเล่มที่ 1 - 3 ต่อจากเลขกำกับที่ 7 (กรณีเว้น 2 ช่วง)

  16. ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ขั้นตอนการทำระบบสัญลักษณ์ 9. เมื่อเขียนตัวเลขกำกับเรียบร้อยแล้ว ให้นำเทปใสติดทับบนสัญลักษณ์นั้น เพื่อป้องกันการหลุดลอกและเพื่อความคงทนในการใช้งาน 10. นำหนังสือที่ดำเนินการเขียนสัญลักษณ์ เรียบร้อยแล้วไปจัดเรียง ขึ้นชั้นหนังสือ และนำหนังสือ ในช่วงชั้นอื่น ๆ มาดำเนินการ ทำสัญลักษณ์ต่อไป

  17. ผลการดำเนินงาน ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ดำเนินการพัฒนาการจัดชั้นหนังสือด้วยระบบสัญลักษณ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยจัดทำหนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526, หนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ พ.ศ. 2526 - 2533, หนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน, หนังสือภาษาต่างประเทศ, หนังสืออ้างอิงภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์, นวนิยายและเรื่องสั้น ปัจจุบันได้มี การทำระบบสัญลักษณ์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ฉบับ

  18. ตอบโจทย์ปัญหา 1. ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการ ค้นหาหนังสือบนชั้น โดยสามารถหาหนังสือ ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการ ของสำนักหอสมุด ในเรื่องการหาหนังสือ บนชั้นไม่พบลดลงและจากการสำรวจ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคต้น ปีการศึกษา 2554 ด้านการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศบนชั้น สามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว พบว่า อยู่ในระดับมาก

  19. ตอบโจทย์ปัญหา 2. เจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นบริการได้อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการตรวจการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นของบรรณารักษ์ พบว่า ร้อยละของความถูกต้องในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีการทำสัญลักษณ์หนังสือครบทุกประเภท ดังนี้ (ที่มา: ผลการตรวจการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น พ.ศ. 2549-2553)

  20. ตอบโจทย์ปัญหา 3. เจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นบริการ ได้อย่างรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น จากปริมาณการรับคืนหนังสือ (2,000 เล่ม/วัน) และปริมาณหนังสือที่ใช้ภายใน สำนักหอสมุด (In House Use) (660 เล่ม/วัน) พบว่า เจ้าหน้าที่ สามารถจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นบริการ ได้ตามกำหนดเวลาของการจัดเรียง หนังสือขึ้นชั้นในแต่ละวัน (76 เล่ม/ชั่วโมง/คน) (ที่มา: สถิติการรับคืนหนังสือและหนังสือใช้ภายในห้องสมุด เดือนพฤศจิกายน 2554)

  21. โมเดลการพัฒนาการจัดชั้นหนังสือด้วยระบบสัญลักษณ์โมเดลการพัฒนาการจัดชั้นหนังสือด้วยระบบสัญลักษณ์

More Related