1 / 29

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก. พ.ศ.2546. จัดทำโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ นางอโนชา ชีวิตโสภณ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. บทนำ.

Télécharger la présentation

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 จัดทำโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ นางอโนชา ชีวิตโสภณ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

  2. บทนำ • เป็นกฎหมายใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546 • มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศ ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2547 • เป็นกฎหมายรองรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา53 และ 80 เรื่องการคุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว • เป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของ สหประชาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี

  3. บทนำ (2) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 53 และมาตรา 80 กำหนดให้รัฐคุ้มครองเด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวจากความรุนแรงและการปฏิบัติอื่นไม่เป็นธรรม และส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชาย และความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและชุมชน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลเด็ก ให้สามารถดำรงชีพได้สมกับความเป็นมนุษย์ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด

  4. บทนำ (3)อนุสัญญาสิทธิเด็ก ค.ศ.1990ประเทศไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2535 มุ่งคุ้มครองเด็ก 4 ประการ 1.สิทธิในการอยู่รอด 2.สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง 3.สิทธิในการพัฒนา 4.สิทธิในการมีส่วนร่วม

  5. เจตนารมณ์ของกฎหมาย • วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อเด็กให้เป็นรูปธรรมและชัดเจน • ผู้ปฏิบัติต่อเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ต้องปฏิบัติอยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา22-29

  6. หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • 1. สร้างกลไกการบังคับใช้กฎหมายขึ้นใหม่ ได้แก่ • 1.1 มีคณะกรรมการผลักดันทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด • 1.2 กำหนดพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 30 และมาตรา 66-67

  7. หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (2) • 1.3 มีผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในเขตพื้นที่โดยตำแหน่งตามมาตรา 24 • (1) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ • (2) ผู้ว่า กทม. และผู้ว่าจังหวัด • (3) นายอำเภอ และปลัดอำเภอ • (4) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  8. หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (3) • 1.4 มีผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กซึ่งปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลเด็กเฉพาะรายตามมาตรา 48

  9. หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (4) • 2. วางมาตราฐานในการปฏิบัติต่อเด็ก หมวด 2 :มาตรา 22-29 ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 26 หรือ 27 มีโทษอาญาตามมาตรา 78 และ 79 • 3. มีกองทุนคุ้มครองเด็ก หมวด 8 :มาตรา 68-77 • 4. มีระบบควบคุมสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน (รับเลี้ยงเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี + จำนวน 6 คนขึ้นไป) • 5. มีมาตรการในการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา หมวด 7 :มาตรา 63-67

  10. การปฏิบัติต่อเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 2 มาตรฐาน • มาตรฐานทางอาญา ผู้ไม่ปฏิบัติมีโทษทางอาญา เช่น มาตรฐานตาม มาตรา 26 และ มาตรา27 • มาตรฐานทางปกครอง ผู้ไม่ปฏิบัติไม่มีโทษทางอาญา แต่อาจทำให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องมีอำนาจเข้าไปดูแลเด็กโดยแนะนำ ช่วยเหลือ ตักเตือนจนถึงส่งตัวเด็กเข้าสถานคุ้มครองสวัสดิภาพต่าง ๆ เช่น มาตรา29

  11. โครงสร้างมีทั้งสิ้น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 88 มาตรา • หมวดที่ 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก • หมวดที่ 3 การสงเคราะห์เด็ก • หมวดที่ 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • หมวดที่ 5 ผู้คุ้มครองเด็กสวัสดิภาพเด็ก

  12. โครงสร้าง (2)มีทั้งสิ้น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 88 มาตรา • หมวดที่ 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู • หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา • หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 9 บทกำหนดโทษ

  13. คำจำกัดความ • เด็ก คือ บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่รวมผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส • นักเรียน คือ เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและ อาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน • นักศึกษา คือ เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือของเอกชน

  14. ศาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • มาตรา 5 บัญญัติว่า หมายถึง ศาลเยาวชนและครอบครัว คดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมาสู่ศาล 2 ประเภท คือ • คดีอาญา คือ ตามบทกำหนดโทษใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กกำหนดโทษรวม 9 มาตรา ได้แก่ มาตรา 78 ถึง มาตรา 86 • คดีทางปกครอง คือ กรณีไม่มีโทษทางอาญาแต่บัญญัติให้นำคดีมาสู่ศาล 5 มาตรา ได้แก่ มาตรา 38, 42, 43, 46 และ 73

  15. หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ • ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ • 1. กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อ ร่างกายหรือจิตใจเด็ก • 2. จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน • 3. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตน ไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยง ต่อการกระทำผิด

  16. หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (2) • 4. โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว • 5. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็น เครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือ กระทำอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก

  17. หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (3) • 6. ใช้ จ้างหรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อการพัฒนาการของเด็ก • 7. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการ ของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

  18. หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (4) • 8. ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า • 9. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด • 10. จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กเว้นแต่ ปฏิบัติทางการแพทย์

  19. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • มี 9 มาตรา • 1. มาตรา 78 กรณีฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติต่อเด็กรวม 10 ประการ ตาม มาตรา 26

  20. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (2) • 2. มาตรา 79* กรณีฝ่าฝืนบทบัญญัติห้ามโฆษณาหรือ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กหรือผู้ปกครองทางสื่อมวลชนตามมาตรา 27* กรณีผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้ปกครองเด็กเปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ภาพหรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเด็กหรือผู้ ปกครองตามมาตรา 50* กรณีผู้ปกครองสวัสดิภาพ ผู้ปฏิบัติงานในสถาน เลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์ ฯลฯ ทำร้าย กักขัง ทอดทิ้ง ลงโทษเด็กรุนแรงตามมาตรา 60

  21. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (3) • 3. มาตรา 80* กรณีขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะที่สงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก หรือสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครองตามมาตรา 30(1) หรือ (5) * กรณีไม่ส่งเอกสารหรือส่งเอกสารเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 30(4)* กรณีไม่ยอมให้ถ้อยคำหรือให้ถ้อยคำเท็จ ต่อเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 30(3)

  22. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (4) • 4. มาตรา 81 กรณีฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลที่ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 • 5. มาตรา 82 กรณีจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 52 • 6. มาตรา 83 กรณีเจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก ฯลฯ ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก

  23. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (5) • 7. มาตรา 84 กรณีกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์โดยไม่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 55 • 8. มาตรา 85 กรณีกระทำการยุยงส่งเสริมให้นักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบโรงเรียนตามมาตรา 64 • 9. มาตรา 86 กรณีไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการเข้าในสถานที่หรือยานพาหนะเพื่อตรวจสอบการ ฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบของนักเรียนหรือ นักศึกษา

  24. โทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กส่วนใหญ่โทษไม่หนักเพราะมุ่งคุ้มครองมากกว่าลงโทษ • มี 3 ระดับ • 1. จำคุกไม่เกิน6 เดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีมาตรา 79 • 2. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีมาตรา 78 , 85 • 3. จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีอื่นทั้งหมด

  25. คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี • 1. มาตรา 38 กรณีปลัดกระทรวงหรือผู้ว่า ราชการจังหวัดสั่งให้เด็กเข้ารับการสงเคราะห์โดยผู้ปกครองไม่ยินยอมหรือไม่เห็นด้วยเรื่องกำหนดระยะเวลาหรือผู้ปกครองขอรับเด็กไปดูแลแต่ได้รับการปฏิเสธ ผู้ปกครองต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 120 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

  26. คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (2) • 2. มาตรา 42 กรณีส่งเด็กไปสถานแรกรับระหว่างการสืบเสาะและพินิจครบ 7 วันแล้วแต่ยังหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมไม่ได้ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการร้องขอขยายเวลาต่อศาลได้โดยรวมเวลาที่ขยายแล้วต้องไม่เกิน 30 วัน

  27. คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (3) • 3. มาตรา 43 กรณีไม่มีการฟ้องคดีแต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าทารุณกรรมเด็ก เจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการร้องให้ศาลออกคำสั่งห้ามกระทำโดยศาลมีอำนาจสั่งให้ตำรวจับกุมมากักขังได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

  28. คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (4) • 4. มาตรา 46 กรณีผู้ปกครองไม่เห็นด้วยที่ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เด็กเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพหรือเจ้าหน้าที่กำหนดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ผู้ปกครองไม่เห็นค้วยมีสิทธินำคดีสู่ศาลภายใน 120 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

  29. คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (5) • 5. มาตรา 73 กรณีศาลมีคำสั่งให้จ่ายเงินเพื่อการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็กรวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์เด็ก

More Related