1 / 123

การสร้าง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การสร้าง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ อุทุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (มาตรฐาน/ตัวชี้วัด) ผลการเรียนรู้ ( LO) จุดประสงค์การเรียนรู้ (O). องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (E). จัดกิจกรรม การเรียนรู้ (L). จุดประสงค์การเรียนรู้

Télécharger la présentation

การสร้าง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ อุทุมพรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  2. (มาตรฐาน/ตัวชี้วัด)ผลการเรียนรู้ (LO)จุดประสงค์การเรียนรู้ (O) องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้(E) จัดกิจกรรมการเรียนรู้(L)

  3. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ สิ่งที่มุ่งประเมิน ความจำ (จำ) ความเข้าใจ (ใจ) การนำไปใช้ (ใช้) การวิเคราะห์ (วิ) การสังเคราะห์ (สัง) การประเมินค่า (ประ) องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ พุทธิพิสัยCognitive Domain

  4. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ สิ่งที่มุ่งประเมิน จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ประเมินค่า คิดสร้างสรรค์ พุทธิพิสัย(ใหม่)

  5. พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ตัวอย่างคำที่แสดงถึงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย 1. รู้-จำ : ให้นิยาม บรรยาย บอก ชี้บ่ง บัญญัติ เลือก จับคู่ เรียกชื่อ ฯลฯ 2. เข้าใจ : บอกความแตกต่าง ขยายความ ยกตัวอย่าง ทำนาย สรุป ฯลฯ 3. นำไปใช้ : ปฏิบัติการ สาธิต ใช้เครื่องมือ แก้ปัญหา ผลิต แสดง ฯลฯ 4. วิเคราะห์ : แยก คัดเลือก แบ่งย่อย หาองค์ประกอบ หาหลักการ ฯลฯ 5. สังเคราะห์ : จัดกลุ่มพวก รวบรวมเป็นกลุ่ม สร้าง เขียนใหม่ สรุป ฯลฯ 6. ประเมินค่า : เปรียบเทียบ ประเมิน วิจารณ์ ให้เหตุผล โต้แย้ง ฯลฯ

  6.  รับรู้  ตอบสนอง  สร้างคุณค่า  จัดระบบคุณค่า  สร้างลักษณะนิสัย คุณลักษณะ / พฤติกรรม ที่พึงประสงค์ จิตพิสัยAffective Domain

  7.  การเลียนแบบ  การทำตามแบบ การหาความถูกต้อง  การทำอย่างต่อเนื่อง  การทำแบบธรรมชาติทักษะความชำนาญ ในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานทางกายPsychomotor Domain

  8. ลำดับขั้นการเรียนรู้(Bloom and Others) Cognitive Domain Knowledge Understanding Application Analysis Synthesis Evaluation Affective Domain Psychomotor Domain

  9. เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ความคิด(พุทธิพิสัย) ด้านการปฏิบัติงานทางกาย(ทักษะพิสัย) ด้านคุณธรรมจริยธรรม(จิตพิสัย) - แบบทดสอบ- แบบสังเกตพฤติกรรม- แบบสัมภาษณ์- แบบประเมินผลงาน (การตรวจผลงาน) - แบบสังเกตพฤติกรรม- แบบวัดเจตคติ- แบบทดสอบ- แบบสอบถาม- แบบสัมภาษณ์- แบบประเมินผลงาน (แฟ้มสะสมงาน)- แบบประเมินตนเอง • แบบสังเกตพฤติกรรม- แบบทดสอบภาคปฏิบัติ- แบบประเมินผลงาน (แฟ้มสะสมงาน/ การตรวจผลงาน)

  10. ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ • แบบทดสอบที่วัดความรู้ ทักษะและสมรรถภาพด้านต่างๆที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์มาแล้วในอดีตและมุ่งวัดทางด้านวิชาการเป็นสำคัญ

  11. ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งถ้าใช้เกณฑ์จุดมุ่งหมายในการสร้างแบ่งเป็น 1. ข้อสอบแบบความเรียง หรืออัตนัย 2. ข้อสอบแบบให้ตอบสั้นหรือปรนัย 2.1 ถูก – ผิด 2.2 จับคู่ 2.3 เติมคำ 2.4 เลือกตอบ

  12. หลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ • กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้/พฤติกรรมที่ต้องการจะวัดและนิยามให้ชัดเจน • เลือกใช้ชนิดของข้อสอบให้ตรงกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด • สร้างข้อสอบให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา • เขียนข้อสอบให้มีความยากง่ายพอเหมาะระดับพฤติกรรมและวัยของผู้เรียน

  13. หลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 5. ควรเขียนข้อสอบไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้มีเวลาทบทวน ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข 6. ควรเขียนข้อสอบให้มีจำนวนข้อเกินกว่าที่ต้องการใช้จริง 7. เขียนข้อสอบให้สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ 8. กำหนดจำนวนข้อสอบให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้สอบ

  14. การสร้างข้อสอบแบบความเรียงการสร้างข้อสอบแบบความเรียง ชนิดของข้อสอบแบบความเรียง 1. ข้อสอบแบบจำกัดคำตอบ - คำถามเจาะจง - กำหนดให้ตอบตามขอบเขต

  15. ตัวอย่าง ข้อ 1. จงเปรียบเทียบเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กับเหตุการณ์ 17 พฤษภาคม 2535 ในประเด็นต่อไปนี้ 1) มูลเหตุของการเกิดเหตุการณ์ 2) ลักษณะของกลุ่มผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ 3) ผลที่ได้รับ

  16. ตัวอย่างการเขียนคำถามตัวอย่างการเขียนคำถาม 2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์ เกี่ยวกับแนวคิด ขั้นตอนการสร้าง ประโยชน์ในการนำไปใช้ 3. จงบอกประโยชน์ของการดูแลรักษาธรรมชาติมา 5 ข้อ 4. จงระบุเหตุผลที่นักเรียนในปัจจุบันเลือกเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้นมา 5 ข้อ 5. จงอธิบายสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้นมา 4 ประการ

  17. 2. ข้อสอบแบบไม่จำกัดคำตอบ - ไม่กำหนดขอบเขตของคำตอบ - ถามความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ความคิดเห็น - คำตอบอิสระ

  18. ตัวอย่าง ข้อ 1. นักศึกษาคิดว่าขณะนี้ปัญหาการเมืองของไทยมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เกิดจากสาเหตุใด และนักศึกษาคิดว่าแนวทางการแก้ปัญหานี้ควรทำอย่างไร ข้อ 2. การที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นักศึกษาคิดว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างกับประเทศ จงอธิบาย

  19. หลักการในการสร้างแบบทดสอบความเรียงหลักการในการสร้างแบบทดสอบความเรียง 1 เขียนคำสั่งหรือคำชี้แจงให้ชัดเจน ว่าให้ทำอะไร 2 ควรกำหนดขอบเขตของคำถาม กำหนดคะแนนและหลักเกณฑ์ในการตรวจ แต่ละข้อไว้ 3 4 ไม่ควรให้เลือกทำเพียงบางข้อ

  20. รูปแบบคำถามข้อสอบความเรียงรูปแบบคำถามข้อสอบความเรียง • ถามให้เปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสองสิ่ง จงเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนระหว่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า • จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชโดยใช้เมล็ดกับการใช้กิ่งตอน

  21. 2) ถามเพื่อให้นำความรู้ ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่  ถ้านักเรียนได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานจัดงานกีฬาสีของโรงเรียน นักเรียนจะวางแผนการดำเนินงานอย่างไร  ถ้านักเรียนต้องการผลิตขนมเพื่อการจำหน่าย นักเรียนจะดำเนินการอย่างไร

  22. 3) ถามเพื่อให้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การใช้ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาและการใช้เหตุผล จงวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้คนไทยมีความขัดแย้งกันทางการเมืองในปัจจุบัน  จงวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน  ให้นักศึกษาเขียนโครงการศึกษาชุมชนที่อาศัยมา 1โครงการ

  23. 4) ถามเพื่อให้สรุป/ให้เหตุผล เด่นบอกกับแม่ว่า “ แม่ครับผมอยากกินข้าวต้มปลาจังเลย แต่แม่อย่าใส่ข้าวต้มนะ” ดังนั้น.......... นายดีเป็นพ่อของนายมี แต่เป็นลูกของนายมา สรุปว่า...........

  24. 5) ถามเพื่อให้วิเคราะห์แนวโน้มการ เปลี่ยนแปลง/ทำนายเหตุการณ์ถ้ามีเปิดจำหน่ายหวยออนไลน์ นักเรียนคิดว่าสภาพสังคมไทยจะเป็นเช่นไร ถ้าสภาพปัญหาการเมืองไทยยังเป็นอยู่เช่นนี้และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นักเรียนคิดว่าสภาพสังคมไทยจะเป็นเช่นไร

  25. 6) ถามเพื่อให้วิจารณ์หรืออภิปรายเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้  จงอธิบายถึงคำกล่าวที่ว่า “การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาแบบธุรกิจการศึกษา

  26. 7) ถามเพื่อให้ตัดสินใจหรือประเมิน  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ต่อการวิสามัญฆาตกรรม กรณีนักค้ายาเสพติดขัดขืนต่อสู้ในระหว่างการจัมกุมของตำรวจ  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่สหรัฐจัดอันดับประเทศไทย กรณีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไปอยู่ในอันดับ 3

  27. คำชี้แจง ให้พิจารณากราฟข้างล่างนี้สำหรับตอบคำถามข้อ 1-2

  28. คำถาม • แนวโน้มของจำนวนนักเรียนกวดวิชาโรงเรียนบัณฑิต เป็นอย่างไร • แนวโน้มของจำนวนนักเรียนกวดวิชาที่เป็นชายและหญิงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร • การเรียนกวดวิชาของนักเรียนในอนาคตจะเป็นอย่างไร

  29. ตัวอย่าง ข้อสอบวิชาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ ผลการสอบเป็นดังนี้ : - วิภาได้ 44 คะแนน ลัดดาได้ 43 คะแนน และกมล ได้ 45 คะแนน เราสามารถสรุป ได้หรือไม่ว่ากมลเก่งกว่าวิภา และเก่งกว่าลัดดา จงให้เหตุผลประกอบ (5 คะแนน)

  30. เกณฑ์การให้คะแนน การตอบข้อสรุป ได้ 0 คะแนน ถ้าตอบว่า กมลเก่งกว่าวิภาและลัดดา ได้ 2 คะแนน ” ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจการตอบเหตุผลประกอบ ได้ 0 คะแนน ถ้าไม่ให้เหตุผลหรือให้เหตุผลไม่เกี่ยวข้อง ได้ 1 ” ให้เหตุผลเพียงคะแนนที่แต่ละคนได้ต่างกันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจ ได้ 2 ” กล่าวถึงธรรมชาติของการวัดผลว่ามีความคลาดเคลื่อน เกิดขึ้นในการวัด แต่ไม่ได้กล่าวถึงคะแนนที่แต่ละคน ได้ต่างกันไม่มากนัก ได้ 3 ” กล่าวถึง คะแนนที่แต่ละคนได้แตกต่างกันไม่มากนัก และ ธรรมชาติของการวัดผลมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ ดังสมการ X = T + E (เมื่อ X= คะแนนที่วัดได้ T = คะแนนจริง และ E = คะแนนความคลาดเคลื่อน)

  31. แนวทางการตรวจข้อสอบความเรียง (อัตนัย) แนวทางที่ 1กำหนดเฉลยและเกณฑ์การให้คะแนนไว้ล่วงหน้ามีการทำเฉลยไว้ตั้งแต่ออกข้อสอบโดย กำหนดว่าคำตอบจะมีประเด็นใดบ้าง และแต่ละประเด็นจะมีน้ำหนัก คะแนนเท่าใด

  32. ตัวอย่าง 1 ในการวางแผนการดำเนินการวิจัยตามปัญหาที่กำหนด โดยวางแผนตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. ปัญหาวิจัย ( 2 คะแนน)2.ชื่อเรื่องวิจัย ( 2 คะแนน)3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย ( 3 คะแนน)4.ขอบเขตการวิจัย ( 3 คะแนน)5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ( 2 คะแนน)

  33. 6. วิธีการดำเนินการวิจัย6.1 การออกแบบประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ( 3 คะแนน)6.2การออกแบบเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ( 5 คะแนน) 6.3การเก็บรวบรวมข้อมูล ( 2 คะแนน)6.4การออกแบบสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ( 3 คะแนน)

  34. แนวทางที่ 2การจัดลำดับคุณภาพ ให้อ่านข้อสอบแต่ละข้อของทุกคนอย่างคร่าวๆ แล้วแยกเป็นกองๆ ตามคุณภาพเป็น 3 กอง ดีมาก ปานกลาง ไม่ค่อยดี แล้วอ่านใหม่อย่างละเอียดในแต่ละกอง และเรียงลำดับคุณภาพในแต่ละกองโดยอาจจัดลำดับรอยต่ออาจจัดลำดับรอยต่อของแต่ละกองใหม่ได้ แล้วกำหนดน้ำหนักของคะแนนตามสัดส่วนของการตอบคำถามของแต่ละคนตามคุณภาพของคำตอบเมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม

  35. การสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ • มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน 1. ตัวคำถาม(stem) เป็นข้อความ/ข้อคำถามที่กระตุ้นจูงใจให้ผู้สอบค้นหาคำตอบ 2.ตัวเลือก(choices / options) เป็นส่วนของคำตอบที่เป็นไปได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ตัวถูกหรือคำตอบ (correct choice) 2.2 ตัวลวง(distracters/decoys)

  36. รูปแบบคำถามของข้อสอบแบบเลือกตอบรูปแบบคำถามของข้อสอบแบบเลือกตอบ 1. แบบคำถามโดดหรือคำถามเดี่ยว(single Question) 2. แบบตัวเลือกคงที่ ( constant choice) 3. แบบกำหนดสถานการณ์( situation test)

  37. หลักการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบหลักการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ ส่วนที่ 1 ตัวคำถาม จงวิจารณ์ข้อสอบแบบเลือกตอบต่อไปนี้ ตัวอย่าง ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ ก. เพื่อสังคม ข. เพื่อใช้แรงงาน ค. เพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริม ง. เพื่อประกอบเป็นอาชีพหลัก

  38. ตัวอย่าง • ทุกข้อไม่เป็นเท็จ ยกวันข้อใด • 5 (3) – 1 = 13 + 1 • (4) 3 + (8) = 20 • ค. 5 (a – 1) = 5a + 1 • ง. (5) (2 – 1) (2 + 1) = 0

  39. ตัวอย่าง การพิพากษาคดีความเป็นหน้าที่ของใคร ก. นายอำเภอ ข. ตำรวจ ค. อัยการ ง. ผู้พิพากษา

  40. ตัวอย่าง ประสงค์ เป็นนักเรียนที่ขยัน ใฝ่เรียนรู้ น่าจะมีอนาคตไปไกล ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ วันหนึ่งได้อ่านหนังสือไป 125 หน้า เหลือหน้าที่ยังไม่ได้อ่านคิดเป็น 7/25ของจำนวนหน้า ที่อ่านไปแล้ว จงหาว่าหนังสือเล่มนี้มีกี่หน้า ก. 145 หน้า ข. 150 หน้า ค. 155 หน้า ง. 160 หน้า

  41. ตัวอย่าง ประเทศไทยแบ่งออกเป็นกี่เขต ก. 4 ข. 6 ค. 11 ง. 13

  42. ส่วนที่ 2 การเขียนตัวเลือก ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน มีแหล่งผลิตอยู่ใน จังหวัดใด ก. อุบลราชธานี ข. นครราชสีมา ค. ขอนแก่น ง. สมุย

  43. ตัวอย่าง จงหาค่าของ 3(6 -4) + 2 ก. 9 ข. 10 ค. 8 ง. 7

  44. ตัวอย่าง ปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองเท่าใด ก. มากกว่า 50 ล้าน ข. มากกว่า 55 ล้าน ค. มากกว่า 60 ล้าน ง. มากกว่า 65 ล้าน จ. มากกว่า 70 ล้าน

  45. ตัวอย่าง ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ ก. พระบาท ข. พระขนง ค. พระกร ง. พระพุทธสิหิงค์

  46. ตัวอย่าง สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก. ช้าง ข. ม้า ค. วัว ง. ถูกทุกข้อ

  47. ตัวอย่าง ในการเจาะกำแพงปูน ควรใช้เครื่องมือชนิดใด ก. สวิงไฟฟ้า ข. สว่านไฟฟ้า ค. สวายไฟฟ้า ง. สวงไฟฟ้า

  48. ตัวอย่าง ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป โดยรวมวันหยุด วันลา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวนเท่าใด ก. ไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ข. ไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ค. ไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ง. ไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน

  49. แบบตัวเลือกคงที่ (constant choice) ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวเลือก และส่วนที่เป็นตัวคำถาม เช่นเดียวกับแบบคำถามเดียว แต่จะต่างกันที่ตัวเลือกแบบคงที่ จะเป็นตัวเลือกชุดเดียวกัน ของคำถามทั้งชุดนั้น โดยจะแยกอยู่ต่างหากจากตัวคำถาม

  50. แนวการเขียนคำถาม 1. ชนิดพิจารณาความถูกต้อง 2. ชนิดพิจารณาความสอดคล้อง 3. ชนิดพิจารณารูปภาพ 4. ชนิดพิจารณาข้อเท็จจริง 5. ชนิดพิจารณาเหตุผล 6. ชนิดพิจารณาความรู้สึก 7. ชนิดพิจารณาลักษณะและเรื่องราว 8. ชนิดพิจารณาความบกพร่อง 9. ชนิดพิจารณาความเหมาะสม

More Related