1 / 69

บทที่ 3

บทที่ 3. การขนส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย Network Transport System. 3.1 Ethernet.

Télécharger la présentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การขนส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายNetwork Transport System

  2. 3.1 Ethernet รูปแบบการสื่อสารข้อมูลของอีเทอร์เน็ต (EthernetCommunication)มาตรฐานLAN แบบ Ethernet มีแนวคิดมาจากเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีชื่อว่า"ALOHA" ซึ่งยินยอมให้อุปกรณ์สื่อสารหลายๆชุดทำการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุช่องเดียวกันผ่านทางอุปกรณ์ทรานสปอนเดอร์ (Transponder)ของดาวเทียมโดยอุปกรณ์สื่อสารแต่ละชนิดมีชื่อเรียกว่าสถานี (Station) ซึ่งจะรอจนกว่าช่องสัญญาณว่าง (ไม่มีสถานีอื่นส่งสัญญาณ) เพื่อที่จะส่งแพ็กเก็ตข้อมูลของตนไปยังสถานีปลายทางแพ็กเก็ตข้อมูลที่ส่งออกไปจะประกอบด้วยแอดเดรสต้นทาง

  3. แอดเดรสปลายทาง (Destination Address) ข้อมูล (Data) และข่าวสารที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการส่งข้อมูล (Error Detection)สถานีที่อยู่ว่างทั้งหมดจะคอยตรวจสอบสัญญาณที่ปรากฏขึ้นบนช่องสัญญาณและจะรับข้อมูลทีมีการระบุแอดเดรสปลายทางตรงกับแอดเดรสของตนเองทันทีที่เริ่มรับข้อมูลสถานีปลายทางจะส่งสัญญาณยืนยันการรับข้อมูลกลับไปยังสถานีต้นทางหากสถานีต้นทางไม่ได้รับการตอบยืนยันหลังจากที่เริ่มส่งข้อมูลออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะทำการส่งข้อมูลเดิมซ้ำออกไปอีกครั้งทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าข้อมูลเดิมที่ส่งออกไปอาจถูกรบกวนจากสัญญาณรบกวนหรืออาจเกิดชนกันกับข้อมูลที่ส่งมาจากสถานีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง (Collision) จนทำให้สถานี

  4. พื้นฐานของ ALOHA นั้นถูกพัฒนามาเป็นเทคโนโลยี CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detection) หรือมาตรฐาน LANแบบ Ethernetซึ่งมีรหัสเรียกมาตรฐานว่า IEEE 802.3 กำหนดให้ระดับชั้น Data Link Layer ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเชื่อมต่อเข้ากับสายนำสัญญาณทั้งที่เป็นสายคู่ตีเกลียวและสายโคแอกเชียลซึ่งรายละเอียดของมาตรฐาน Ethernet ประกอบด้วย

  5. ระดับชั้นกายภาพ (Physical Layer) เป็นส่วนของตัวกลางในการส่งสัญญาณตามมาตรฐาน Ethernet โดยเริ่มตั้งแต่การใช้สายโคแอกเชียลชนิดแข็ง (Thick Coaxial Cable) ส่งข้อมูลโดยใช้สัญญาณแบบเบสแบนด์อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีในปัจจุบันมีการใช้ตัวกลางประเภทอื่นๆเช่นสายโคแอกเชียลชนิดอ่อน(Thin Coaxial Cable )ซึ่งใช้สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัสสายคู่ตีเกลียว (Twisted-pair Wire) ใช้งานในรูปแบบการเชื่อมต่อแบบกระจายหรือแบบดวงดาวและใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) จะใช้ในกรณีของการเชื่อมต่อระบบกระจายนอกจากนั้นยังมีการนำไปใช้งานในมาตรฐาน LAN ชนิด Token อีกด้วย

  6. การเข้ารหัส (Encoding Scheme) ในกรณีของ Ethernet ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีขณะที่สถานีกำลังส่งข้อมูลจะมีการใช้งานแบนวิดธ์ของระบบอย่างเต็มที่ข้อมูลที่ส่งออกไปจะถอดและเข้ารหัสโดยใช้เทคนิคในการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์ (Manchester Coding) ดังแสดงตัวอย่างไว้ในรูปในกรณีของมาตรฐาน Ethernet อัตราเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีหรือ Fast Ethernet ซึ่งมีอยู่หลายมาตรฐานด้วยกันจะมีการใช้เทคนิคการเข้ารหัสที่แตกต่างกันสำหรับเทคนิคการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์จะช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ในเรื่องการเข้าจังหวะฐานเวลาทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงขั้วแรงดันจะเกิดขึ้นทุกจุดกึ่งกลางของข้อมูลแต่ละบิตจากรูปจะเห็นว่าสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข้อมูลแต่ละบิต

  7. แสดงการเข้ารหัสสัญญาณตามมาตรฐานแบบแมนเซสเตอร์แสดงการเข้ารหัสสัญญาณตามมาตรฐานแบบแมนเซสเตอร์

  8. เงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ Ethernet คือในขณะที่กำลังทำการส่งข้อมูลอุปกรณ์รับส่งข้อมูลจะต้องสามารถตรวจจับข้อมูลแปลกปลอมที่ถูกส่งมาจากสถานีอื่นได้ความสามารถดังกล่าวเรียกว่า "การตรวจสอบการชนกันของข้อมูล" (Collision Detection) เมื่อสถานีงานที่กำลังทำการส่งข้อมูลตรวจพบว่ามีการส่งข้อมูลออกมาจากสถานีอื่นจะมีหยุดทำการส่งข้อมูลในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นค่าที่ถูกสุ่มขึ้นมาจากอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเองหลังจากพ้นช่วงเวลานั้นแล้วสถานีจะเริ่มส่งข้อมูลออกไปใหม

  9. ่และเนื่องจากก่อนที่จะส่งข้อมูลทุกครั้งสถานีจะทำการตรวจสอบการปรากฏของข้อมูลในสื่อทุกครั้งดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลจากสถานี 2 สถานีจะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อแต่ละสถานีเริ่มส่งข้อมูลพร้อมกันโดยถ้าเรากำหนดระยะห่างสูงสุดระหว่างอุปกรณ์รับส่งสัญญาณบนบัสข้อมูลไว้ไม่ให้เกิน 2,500 เมตรก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลลงได้มากเมื่อสถานีใดเริ่มต้นส่งข้อมูลสถานีจะทราบว่าไม่มีการชนกันของข้อมูลก็ต่อเมื่อไม่พบการปรากฏของข้อมูลจากสถานีอื่นในช่วงเวลา 46.4 ไมโครวินาทีเนื่องจากที่อัตราเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีการส่งข้อมูลออกไป 1 บิตจะกินเวลา 0.1 ไมโครวินาทีนั่นคือการตรวจสอบการชนกันของข้อมูลจะเกิดขึ้นหลังจากสถานีงานส่งข้อมูลออกไปแล้ว 464 บิตแรก

  10. ก่อนที่จะส่งข้อมูลออกไปใหม่โอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลครั้งนี้จะต่ำกว่าครั้งแรกมากเพราะช่วงเวลาที่แต่ละสถานีงานหยุดจะถูกกำหนดอย่างสุ่มเมื่อแต่ละสถานีพร้อมส่งข้อมูลอีกครั้งจะต้องตรวจสอบก่อนถ้าพบว่าไม่ว่างก็จะยังไม่ส่งข้อมูลออกไปสำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่ออุปกรณ์รับส่งข้อมูล (Transceiver) สำหรับ Ethernet จะใช้คอนเน็กเตอร์แบบ D ซึ่งมีจำนวนขา 15 ขาที่ตัวอุปกรณ์รับส่งข้อมูลจะเป็นคอนเน็กเตอร์ตัวผู้และที่สถานีจะเป็นคอนเน็กเตอร์ตัวเมียดังนั้นสายที่ใช้ในการเชื่อมต่อจึงต้องมีหัวด้านหนึ่งเป็นคอนเน็กเตอร์ตัวผู้และอีกด้านหนึ่งจะเป็นคอนเน็กเตอร์ตัวเมียโดยมีลักษณะการจัดวางดังตาราง

  11. รูปแบบของการเชื่อมต่ออุปกรณ์รบส่งข้อมูลแบบอีเธอร์เน็ตรูปแบบของการเชื่อมต่ออุปกรณ์รบส่งข้อมูลแบบอีเธอร์เน็ต ตามมาตรฐานเชื่อมต่อ 15 ขา

  12. ตำแหน่งขาและหน้าที่การทำงานตำแหน่งขาและหน้าที่การทำงาน ขาที่1 : Shield ขาที่9 : Collision Presence-ขาที่2 : Collision Precense+ ขาที่10 : Transmit -ขาที่3 : Transmit + ขาที่11 : ไม่ใช้งานขาที่4 : ไม่ใช้งานขาที่12 : Receive +ขาที่5 : Receive + ขาที่13 : Powerขาที่6 : Power Return ขาที่14 : ไม่ใช้งานขาที่7 : ไม่ใช้งานขาที่15 : ไม่ใช้งานขาที่8 : ไม่ใช้งาน

  13. การส่งสัญญาณข้อมูล (Signal Trnsmission) ในระดับชั้นดาต้าลิ้งมีหน้าที่พื้นฐานเกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างเฟรมข้อมูลและควบคุมวงจรเชื่อมโยงทางตรรกะระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางโดยการทำงานแทบจะไม่ขึ้นกับประเภทของตัวกลางนำสัญญาณเลยฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญประกอบด้วยการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเฟรมข้อมูลในแต่ละเฟรม (Framing) การกำหนดและการระบุแอดเดรสของสถานีต้นทางและสถานีปลายทาง (Addressing) และการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล (Error Checking)รูปแบบโครงสร้างของเฟรมEthernet โดยเริ่มจากส่วนที่เรียกว่าปรีแอมเบิล (Preamble) ซึ่งเป็นการจัดเรียงข้อมูลในรูป "101010…" มีความยาว 8 ไบต์หรือ 64 บิต

  14. ระดับชั้นที่ 1 สำหรับการแจ้งจุดสิ้นสุด 8 ไบต์ 6 ไบต์ 6 ไบต์ 2 ไบต์ 46-150 ไบต์ 4 ไบตPreamble แอดเดรสปลายทางแอดเดรสต้นทางประเภทข้อมูล PCS โครางสร้างเฟรมข้อมูลของมาตรฐาน Ethernet

  15. การเชื่อมต่อทางกายภาพของอีเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อทางกายภาพของอีเทอร์เน็ต (Ethernet Physical Connectivity) ในการใช้งนจRingผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเครือข่าย Ethernet หลายๆส่วนเข้าหากันโดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อซึ่งอาจจะเป็นตัวทวนสัญญาณ (Repeater)หรือเราเตอร์โดยมากมักพบการใช้งานในกรณีเชื่อมต่อ LAN แบบ Ethernet จากหลายๆอาคารซึ่งแยกตัวนำสัญญาณออกจากกันเข้าด้วยกันในตารางที่ 3.2 ได้แสดงถึงตัวอย่างการเชื่อมต่อเครือข่าย Ethernet หลายๆชุดเข้าด้วยกันซึ่งเรียกแต่ละส่วนว่าเซกเมนต์ (Segment) ข้อกำหนดที่เป็นขีดจำกัดสำหรับการเชื่อมต่อที่ควรทราบเป็นดังนี้

  16. ความยาวสูงสุดต่อเซกเมนต์ 1,500 เมตรกรณีใช้สายแบบมัลติโหมด (Multimode) • ในการเชื่อมต่อระหว่าง Campus สามารถใช้สายแบบซิงเกิ้ลโหมด(Single Mode) ซึ่งทำให้ได้ระยะทางถึง 40 กิโลเมตร • สามารถเชื่อมต่อเซกเมนต์ระหว่างโดยการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) • ระยะทางจากอุปกรณ์รับส่งสัญญาณไปยังสถานีงานไม่เกิน 300 เมตร • จำนวนสถานีงานสูงสุดไม่เกิน 1,024 จุด

  17. การจัดโครงสร้างเครือข่าย LAN แบบ Ethernet ขนาดใหญ่

  18. การจัดโครงสร้างเครือข่าย LAN แบบ Ethernet ขนาดใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันมัลติมีเดียมีการได้ใช้งานกันมากจึงมีความต้องการเครือข่ายความเร็วสูงในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าด้วยกันกลุ่มทำงานของ IEEE จึงตัดสินใจที่จะปรับปรุงมาตรฐาน 802.3 ให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้นซึ่งกลายเป็นมาตรฐานเรียกว่า 802.3mแต่อย่างไรก็ตามคนทั่วไปเรียกว่าฟาสต์อีเทอร์เน็ต (Fast Ethernet)หลักการทำงานของฟาสต์อีเทอร์เน็ตเหมือนกับแบบ 802.3 เพียงแต่ลดเวลาการส่งข้อมูลของแต่ละบิตจาก 100 นาโนวินาทีเป็น 10 นาโนวินาทีจึงทำให้อัตราส่งข้อมูลส่งถึง 10 เท่าจากเดิมและสำหรับรูปร่างเครือข่ายนั้นคณะทำงานของ IEEE ได้เลือกใช้แบบฮับเนื่องจากแบบฮับนี้ใช้สายคู่ตีเกลียว

  19. ที่มีขนาดบางและเบาอีกทั้งเมื่อสายขาดก็ไม่กระทบต่อการทำงานส่วนอื่นของเครือข่ายส่วนสายเคเบิลที่ใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลนั้นคณะทำงานได้ยินยอมให้มีการใช้ได้ทั้งสายคู่ตีเกลียวแบบ category 3 ที่ใช้สำหรับระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งสายใหม่ภายในตึกแต่ทั่วไปแล้วสายสำหรับฟาสต์อีเทอร์เน็ตมักจะเป็นสายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 หรือเส้นใยแก้วนำแสงตารางที่ 3.3 แสดงคุณสมบัติทั่วไปของทั้ง 3 ชนิด

  20. 3.2 มาตรฐาน LAN แบบ Token Ring (IEEE 802.5) การใช้ Token Ring ในการส่งข้อมูล (Using Tokens Ring in Transmission)มาตรฐาน LAN แบบ Ethernet มีข้อจำกัดประการหนึ่งนั่นคือการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบ CSMA/CD ซึ่งเมื่อจำนวนสถานีงานที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นโอกาสที่สถานีมากกว่า 2 สถานีจะทำการส่งข้อมูลออกมาในเวลาเดียวกันก็ย่อมจะต้องมีมากขึ้นแม้ว่าจะมีกลวิธีในการป้องกันการชนกันของข้อมูลอยู่ก็ตามแต่วิธีการเหล่านั้นจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อเกิดการชนกันในครั้งแรกขึ้นแล้วเท่านั้นการติดตั้งเครือข่าย LAN แบบ Ethernet ในองค์กรที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสถานีงานจำนวนมากๆโดยขาดการออกแบบระบบงานเชื่อมต่อ

  21. การจัดกลุ่มเครือข่ายย่อย (Sub Network) ที่เหมาะสมย่อมส่งผลให้อัตราการชนกันของข้อมูลมีสูงขึ้นทำประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่ช้าลง (ยิ่งเกิดการชนกันของข้อมูลมากขึ้นก็ย่อมหมายถึงต้องเสียเวลาในการส่งข้อมูลนานขึ้นด้วย) จึงได้มีการกำหนดมาตรฐาน LAN แบบ Token Ringซึ่งการทำงานของ Token Ring นั้นปกติจะมีTokenถูกส่งวิ่งไปรอบวงแหวนเมื่อสถานีใดต้องการส่งข้อมูลก็จะจับเอาToken แล้วส่งเฟรมข้อมูลลงไปในวงแหวนพอหมดข้อมูลแล้วInterface Board ก็จะสร้างToken ขึ้นแล้วส่งไปในวงแหวนเพื่อให้สถานีอื่นสามารถจับTokenและส่งข้อมูลได้และเนื่องจากการไหลของสัญญาณในวงแหวนมีทิศทางเดียวดังนั้นข้อมูลที่ถูกส่งออกไปเมื่อถึงสถานีปลายทางข้อมูลจะถูกตรวจสอบความถูกต้องและจะตอบกลับไปว่ารับข้อมูลเข้ามาหรือไม่โดยเปลี่ยนแปลงค่าบางบิตของเฟรม

  22. ลักษณะ LAN มาตรฐาน Token Ring

  23. การทำงานของInterface Board ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 โหมดคือโหมดการฟังและโหมดการส่งข้อมูลในโหมดการฟังนั้นบอร์ดจะสำเนาทุกบิตเข้าไปยังบัฟเฟอร์ 1 บิตแล้วสำเนาบิตออกไปยังวงแหวนอีกในระหว่างที่บิตอยู่ในบัฟเฟอร์นั้นบิตจะถูกตรวจสอบเพื่อตีความหมายของข้อมูลและบิตอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงค่าก่อนที่จะส่งออกมาก็ได้หลังจากมีการจับToken แล้ว Interface Board จะสลับวงจรเพื่อส่งสัญญาณข้อมูลของตัวเองออกไปยังวงแหวนเมื่อบิตข้อมูลถูกส่งไปรอบวงแหวนแล้วกลับมาบิตข้อมูลจะถูกดึงออกจากวงแหวนโดยผู้ส่งเมื่อบิตสุดท้ายของข้อมูลที่ส่งไปกลับมาถึงInterface Board แล้ววงจรของ Interface Board จะถูกสลับไปยังโหมดการฟังทันที่เพื่อป้องกันไม่ให้มันดึงเอา Token ออกมาจากวงแหวนในกรณีที่ไม่มีสถานีอื่นๆจับเอา Token นั้นไปนั่นก็แสดงว่าสถานีที่ส่งข้อมูลออกไปแล้ว

  24. แสดงวงแหวนและการอินเตอร์เฟซของวงแหวนแสดงวงแหวนและการอินเตอร์เฟซของวงแหวน

  25. การเชื่อมต่อ LAN แบบ Token Ring (Token Ring Physical Connectivity) สายเคเบิลที่ใช้แลน 802.5 นั้นเป็นสายคู่ตีเกลียวแบบหุ้มฉนวนและสามารถส่งข้อมูลได้ 1 หรือ 4 Mbps(ปัจจุบัน IBM ได้ประกาศมาตรฐานของแลนแบบToken Ring ที่มีอัตราส่งถึง 16 Mbps) สำหรับสัญญาณข้อมูลที่ถูกส่งถูกเข้ารหัสโดยวิธี Differential Manchester เนื่องจากการทำงานของ Token Ring เป็นลักษณะของการสร้างสัญญาณขึ้นใหม่ที่ทุก Interface Boardและสัญญาณถูกส่งไปรอบวงแหวนดังนั้นหากสายเคเบิลขาดหรือ Interface Board ของสถานีใดเสียจะทำให้ระบบไม่ทำงานซึ่งปัญหานี้ถูกแก้โดยการปล่อยสายจากทุก Interface Board เข้าสู่ศูนย์รวมสาย (wire center)

  26. บางทีเรียกว่า MAU (Multi Station Access Unit) ดังแสดงในรูปที่ 3.4 ซึ่งจะช่วยให้ความเชื่อถือของระบบดีขึ้นแต่ก็เปลืองสายและต้องเพิ่มอุปกรณ์พิเศษภายในศูนย์รวมสายจะมีRelayซึ่งได้รับไฟจากสถานีเมื่อสายเคเบิลขาดหรือสถานีไม่ทำงานไฟที่จ่ายให้ Relay จะหายไปทำให้สวิตซ์ของ Relay ปิดและทำให้วงจรของวงแหวนผ่านเลยสถานีนั้นไปนอกจากนั้น Relay ยังอาจควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการถอดสถานีบางสถานีออกจากวงแหวนเพื่อที่จะตรวจหาสถานีที่เสียหรือสายเคเบิ้ลที่ขาดและเมื่อเอาส่วนที่เสียหายของวงแหวนออกไปวงจรส่วนที่เหลือก็ยังสามารถทำงานตามปกติได้สำหรับรูปแบบของ Token Ringที่ใช้ศูนย์รวมสายนี้คล้ายกับแลน 802.3 ที่ใช้ Hub ดังนั้นวงแหวนรูปแบบนี้จึงมักถูกเรียกว่าวงแหวนรูปดาว (star-shaped ring)

  27. โครงสร้างเฟรมของ Token Ring (Structure of Token Ring) โครงสร้างของเฟรมของToken Ring ปกติแล้วถ้าไม่มีสถานีใดส่งข้อมูลในวงแหวนจะมีToken 3 ไบต์วิ่งวนในวงแหวนเมื่อสถานีใดต้องการส่งข้อมูลจะจับTokenโดยการเปลี่ยนบางบิตของไบต์ควบคุมการเข้าวงแหวน(Access Control) จากค่า 0 เป็น 1 ซึ่งก็จะทำให้Tokenกลายเป็นส่วนเฮดเดอร์ของเฟรมข้อมูลแล้วInterface Boardจะส่งส่วนที่เหลือของเฟรมข้อมูลกำหนดความเร่งด่วนตนของข้อมูลที่ต้องการส่ง (priority bit) และบิตจองการส่งข้อมูล (reservation bit) กล่าวคือสถานีใดต้องการส่งข้อมูลด้วยระดับความเร่งด่วนข้อมูลผ่านสถานีหนึ่งมันอาจจะจองTokenได้โดยการเขียนค่าความเร่งด่วนของข้อมูลของมันลงไปที่บิตจองการส่งข้อมูลแต่ถ้าค่าของบิตจองนี้มีค่าความเร่งด่วน (ซึ่งถูกเขียนด้วยสถานีอื่นก่อนหน้า)ที่สูงกว่าของมันมักจะไม่สามารถจองTokenได้

  28. โดยที่เฟรมต้องถูกส่งภายในช่วงเวลาของการถือTokenของสถานีนั้นนอกจากนั้นฟิลด์ผลรวมตรวจสอบจะเช่นเดียวกับแลน 802.3 และ 802.4ฟิลด์สถานะของเฟรม (Frame Status) จะมีบิต A และ C ที่ใช้ควบคุมการส่งข้อมูลโดยที่เมื่อฝั่งรับได้รับข้อมูลมักจะกำหนดค่าของบิตนี้เพื่อบ่งบอกสภาวะของการรับเฟรมข้อมูลซึ่งค่าของบิตนี้มีได้ 3 รูปแบบคือ

  29. 1. ค่า A = 0 และ C = 0 หมายความว่าปลายทางฝั่งรับไม่อยู่ในวงแหวน2. ค่า A = 1 และ C = 0 หมายความว่าฝั่งรับอยู่ในวงแหวนแต่ไม่รับเฟรมนั้นซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามันไม่มีบัฟเฟอร์ว่างที่จะรับข้อมูล3. ค่า A = 1 และ C = 1 หมายความว่าปลายทางรับข้อมูลแล้วสำหรับฟิลด์ท้ายเฟรมยังมีบิต E ที่ถูกเขียนโดยInterface Boardใดก็ได้ที่พบว่าการส่งข้อมูลมีความผิดพลาดเช่นสัญญาณไฟฟ้าสูงสูงและต่ำต่ำปรากฏในตำแหน่งที่ไม่น่าเกิดเป็นต้นนอกจากนั้นในฟิลด์นั้นมีบิตที่ระบุว่าเป็นเฟรมสุดท้ายของการส่งข้อมูลของสถานีส่งนั้นด้วย

  30. 3.3 มาตรฐาน LAN แบบ Token Bus (IEEE 802.4) เมื่อมีการคิดค้นแลนแบบ 802.3 ก็มีการใช้แลนแบบนี้มากในสำนักงานแต่สำหรับโรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation)เช่นเจนเนอรัลมอเตอร์ไม่อาจใช้แลนแบบนี้ได้เนื่องจากแลน 802.3 ไม่อาจรับประกันได้ว่าในขณะเวลาที่ต้องการส่งข้อมูลนั้นสถานีจะสามารถรับส่งข้อมูลได้หรือไม่เช่นในการประกอบรถยนต์เมื่อรถยนต์มาถึงหุ่นยนต์ประกอบรถยนต์แล้วหุ่นยนต์ต้องพร้อมที่จะทำงานได้หรือในการผสมสารเคมีนั้นต้องใส่สารเคมีต่างๆตามเวลาที่กำหนดไว้พอดีดังนั้นจึงมีการคิดค้นวิธีการส่งข้อมูลลงในสายซึ่งแต่ละบอร์ดควบคุมจะสามารถรู้ว่าเวลานานที่สุดที่บอร์ดควบคุมจะต้องรอก่อนส่งข้อมูลได้เป็นเท่าไร

  31. แลนแบบTokenบัสซึ่งถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน IEEE 802.4 เป็นวิธีหนึ่งที่แก้ปัญหานี้รูปที่ 12.7 แสดงหลักการทำงานแบบ Token bus จากรูปจะเห็นว่าสายเคเบิลซึ่งสถานีส่งต่างๆต่อเข้านั้นมักจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงแบบบัสหรือแบบต้นไม้แต่ในการทำงานจาก Ring สถานีเหล่านั้นจะประกอบเป็นวงแหวนทางตรรกะ (logical ring) และสถานีแต่ละตัวจะรู้แอดเดรสของสถานีที่อยู่ทางซ้ายและทางขวาของตัวเองเมื่อวงแหวนถูกสร้างขึ้นแล้วสถานีที่มีค่าแอดเดรสสูงสุด (เช่นสถานี 20) จะสามารถส่งเฟรมข้อมูลได้และเมื่อส่งเฟรมข้อมูลแล้วสถานีนั้นจะส่งสิทธิการส่งข้อมูล (Tokenหรืออาณัติ) ให้แก่สถานีที่มีแอดเดรสรองลงไปโดยการแพร่ข้อมูลลงไปในสายแต่ระบุแอดเดรสปลายทางเป็นสถานีต่อไป (เช่นสถานี 17) ซึ่งทำให้สถานีที่ได้รับToken สามารถส่งข้อมูลไปในสายได้

  32. แต่หากสถานีนั้นไม่มีข้อมูลจะส่งก็จะส่งTokenไปให้สถานีที่มีแอดเดรสถัดไปไม่ว่าสถานีนั้นจะอยู่ห่างไกลออกไป(ในที่นี้คือสถานี 13เนื่องจากตอนนี้สถานี 14 และ 19 ปิดเครื่องจึงไม่อยู่ในวงแหวนนี้) ดังนั้นการทำงานจะมีการส่ง Tokenไปยังสถานีต่างๆในทำนองเดียวกันนี้ซึ่ง Tokenนี้จะถูกเวียนไปยังสถานีต่างๆเป็นลักษณะวงแหวนสถานีที่ถือTokenเท่านั้นจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้และเนื่องจากในขณะหนึ่งมีสถานีที่ถือTokenแค่สถานีเดียวเท่านั้นจึงไม่เกิดการชนกันของข้อมูลนอกจากนั้นในภาพจะเห็นว่าสถานี 19 ซึ่งตอนแรกอยู่ในวงแหวนนั้นเมื่อปิดเครื่องแล้วก็จะถูกลบออกจากวงแหวนดังนั้นจะเห็นว่าจะสามารถเพิ่มลดสถานีเข้าออกวงแหวนได้

  33. รูป Token Bus การเชื่อมต่อ LAN แบบ Token Bus (Token Bus Physical Connectivity)

  34. โครงสร้างเฟรมของ Token Ring (Structure of Token Ring) เฟรมของแลนแบบ 802.3 เฟรมTokenบัสจะมีส่วนเริ่มต้นของเฟรมซึ่งใช้ในการทำงานให้สอดคล้องกันระหว่างฝั่งส่งและฝั่งรับเพียง 1 ไบต์ฟิลด์เริ่มต้นเฟรมและฟิลด์จบเฟรมเป็นตัวบอกถึงขอบเขตของเฟรมดังนั้นในเฟรมนี้จึงไม่ต้องมีฟิลด์บ่งบอกความยาวของเฟรมข้อมูลสำหรับฟิลด์ควบคุมเฟรมใช้แยกระหว่างเฟรมข้อมูลและเฟรมควบคุมการส่งข้อมูลเช่นในกรณีการส่งTokenไปยังสถานีที่มีแอดเดรสรองลงไปนั้นค่าของไบต์นี้จะมีค่า 00001000 เป็นต้น

  35. แอดเดรสของสถานีส่งและสถานีรับจะเหมือนกับแลน 802.3 กล่าวคือใช้ได้ทั้งแบบ 2 ไบต์และ 6 ไบต์นอกจากนั้นนอกจากนั้นการแยกชนิดของแอดเดรสระหว่างการส่งข้อมูลให้กับสถานีปลายทางสถานีเดียวหรือส่งให้แก่กลุ่มของสถานีก็จะเหมือนกับแลน 802.3 สำหรับฟิลด์ข้อมูลมีความยาวได้ถึง 8,182 ไบต์สำหรับเฟรมที่ใช้แอดเดรสเพียง 2 ไบต์แต่ข้อมูลอาจยาวได้เพียง 8,174 ไบต์เมื่อใช้แอดเดรส 6 ไบต์จะเห็นว่าเฟรมข้อมูลของToken Busสามารถยาวได้มากกว่าเฟรมข้อมูลของแลนแบบ 802.3 ถึง 5 เท่าทั้งนี้เนื่องจากในแลน 802.3 นั้นไม่ต้องการให้สถานีใดยึดครองการใช้ช่องสื่อสารนานเกินไปนั่นเองสำหรับฟิลด์ผลรวมตรวจสอบมีความยาว 4 ไบตและใช้วิธีเดียวกันกับแลน 802.3

  36. 3.3 FDDI FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นแลนที่ทำงานแบบ Token Ring ที่มีอัตราการส่งถึง100 Mbps.และในระยะทางได้ไกลถึง 200กิโลเมตร FDDI อาจถูกใช้เป็นแบนเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์และด้วยอัตราการส่งที่สูงจึงอาจใช้เป็นเครือข่ายกระดูกสันหลังเชื่อมโยงแลน 802 แบบเดิม

  37. รูปแสดงการใช้ FDDI ส่วนใหญ่เพื่อ เป็นเครือข่ายกระดูกสันหลัง

  38. Access Method สำหรับโปรโตคอลที่ใช้ในระบบ FDDI จะคล้ายกับโปรโตคอล 802.5 มากแตกต่างกันที่ใน 802.5 นั้นสถานีหนึ่งเมื่อส่งเฟรมข้อมูลไปแล้วมันจะไม่สามารถสร้างTokenขึ้นใหม่จนกว่าเฟรมที่มันส่งไปนั้นจะวนกลับมาถึงมันกล่าวคือสถานีส่งข้อมูลยังไม่หมดเฟรมต้นเฟรมจะกลับมาถึงสถานีนั้นแล้วแต่ใน FDDI นั้นอาจจะมีสถานีในระบบถึง 1,000 สถานีและความยาวของวงแหวนอาจถึง 200 กิโลเมตรดังนั้นการทำงานในรูปแบบของ 802.5 นั้นจะทำให้เสียเวลาส่งข้อมูลใน FDDI จึงยอมให้สถานีหนึ่งส่งTokenใหม่ลงไปในวงแหวนเมื่อมันส่งเฟรมข้อมูลของมันไปหมดแล้วดังนั้นในวง FDDI ขนาดโตจึงอาจมีเฟรมจากข้อมูลหลายเฟรมอยู่ในวงแหวนในขณะเดียวกันได้

  39. FDDI Physical Connectivity ระบบ FDDI ใช้เส้นใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมดก็เพียงพอสำหรับอัตราการส่งข้อมูล 100 Mbps. จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบบซิลเกิลโหมดซึ่งมีราคาแพงแสงที่ใช้เป็นแสงจาก LED แทนที่จะเป็นแสงเลเซอร์เพราะนอกจากราคาถูกแล้วยังไม่เป็นอันตรายต่อสายตาของผู้ใช้ด้วยสำหรับอัตราข้อมูลผิดพลาดภายในระบบ FDDI ยังไม่เกิน 1 บิตต่อการส่งข้อมูล 2.5 x 1010 บิต

  40. รูปแสดงวงแหวนของ FDDI

  41. แสดงรูปแบบของ FDDI ซึ่งประกอบด้วยวงแหวน 2 วงวงหนึ่งส่งข้อมูลในทิศทางตามเข็มนาฬิกาอีกวงหนึ่งส่งข้อมูลทิศทางสวนนาฬิกาดังนั้นหากวงใดวงหนึ่งขาดการส่งข้อมูลก็ยังสามารถทำได้และหากสายทั้งคู่ขาดที่จุดเดียวกันวงแหวนทั้งสองยังสามารถถูกเชื่อมโยงเป็นวงเดียวกันซึ่งความยาวจะประมาณ 2 เท่าของๆเดิมดังแสดงในรูปที่ 12.14 โดยที่แต่ละสถานีที่ส่งข้อมูลจะมี Relay ซึ่งสามารถใช้เชื่อมโยงวงแหวนทั้งสองหรือหากสถานีส่งใดมีปัญหาก็จะสามารถผ่านเลยสถานีนั้นไปได้นอกจากนั้นยังสามารถใช้อุปกรณ์ศูนย์รวมสายเชื่อมโยงสถานีต่างๆเช่นเดียวกับแลนแบบ 802.5 ได้ในระบบ FDDI มีการใช้สถานี 2 ประเภทคือ A และ B สถานีประเภท A นั้นเชื่อมโยงเข้ากับวงแหวนทั้งสอง

  42. 3.4 แลนแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) ATM ถูกพัฒนาขึ้นโดย CCITT ให้เป็นเครือข่ายแลนที่ใช้เชื่อมโยงโอสต์ต่างๆหรือเป็นเครือข่ายกระดูกสันหลังเชื่อมโยงแลนหลายวงเข้าด้วยกันโดยแลนแต่ละวงอาจจะมีมาตราฐานที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet,Ring,Busหรือจะเป็นเกตเวย์ออกไปสู่แวนแบบATMอื่นๆATMแบบเครือข่ายกระดูกสันหลัง และสามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายภายนอก

  43. ATM Cells การส่งเซลล์ข้อมูลเมื่อมีข้อมูลส่งมาจากโปรแกรมประยุกต์ระดับชั้น AYM จะแบ่งออกเป็นเซลล์โดยจะมีการประเฉดเดอร์จำนวน 5 ไบต์และส่งเซลล์ข้อมูลให้แก่ระดับชั้นย่อย TC ซึ่ง TC ก็จะทำการคำนวณผลรวมตรวจสอบของเฮดเดอร์ (HEC: Geader Error Control)กล่าวคือมีการนำเฮดเดอร์ 4 ไบต์ที่มีข้อมูลของเวอร์ชวลเซอร์กิตและข้อมูลควบคุมการส่งข้อมูลนั้นมาหารด้วยโพลิโนเมียล X8+X2+X+1 ซึ่งเศษของการหารจะถูกนำมาบวกกับค่า 01010101 (การนำค่านี้มาบวกจะช่วยในกรณีที่บิตส่วนใหญ่ของเฮดเดอร์มีค่าเป็น 0) แล้วค่าที่ได้ถูกนำมาเป็นผลรวมตรวจสอบของเฮดเดอร์การคำนวณผลรวมตรวจสอบของเฮดเดอร์ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีการส่งเซลล์ข้อมูล

  44. ไปในทิศทางที่ผิดพลาดและการที่ระบบ ATM ไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลในเซลล์ก็เนื่องมาจากสื่อส่งข้อมูลที่เป็นเส้นใจแก้วนำแสงนั้นมีอัตราความผิดพลาดต่ำอีกทั้งสำหรับการส่งข้อมูลประเภทเสียงและวีดีโอนั้นเกิดผลเสียนักหากข้อมูลผิดพลาดไม่กี่บิตนอกจากนั้นการที่ใช้แค่ 8 บิตสำหรับHECนั้นก็เนื่องจากข้อมูลผิดพลาดในเครือข่ายที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงนั้นส่วนใหญ่เป็นข้อมูลผิดพลาดแค่บิตเดียวซึ่งใช้ 8 บิตก็สามารถตรวจสอบได้และมีการประมาณว่าโอกาสที่ HEC จะตรวจไม่พบเฮดเดอร์ที่ผิดพลาดมีประมาณ 10-20 เท่านั้นเมื่อมีการปะ HEC ไปในเซลล์แล้วเซลล์ก็จะถูกส่งให้แก่ระบบส่งข้อมูลซึ่งระบบส่งนี้อาจเป็นแบบอะซิงโครนัสหรือแบบซิงโครนัส

  45. การรับเซลล์ข้อมูล ดังที่ได้อธิบายข้างต้นแล้วว่าในการส่งข้อมูลออกนั้นระดับชั้นย่อย TC จะรับเซลล์ข้อมูลมาแล้วคำนวณ HEC ของแต่ละเซลล์และส่งเป็นสายของบิตข้อมูลออกไปนอกจากนั้นยังปรับอัตราส่งเซลล์ส่วนในการรับข้อมูลเข้านั้นระดับชั้นย่อย TC ทำหน้าที่รับสายของบิตข้อมูลเข้ามาตรวจหาของเขตเซลล์ตรวจเช็กความถูกต้องของเฮดเดอร์แล้วส่งเซลล์บิตข้อมูลที่เซลล์ของ ATM ไม่มีแฟล็กเช่น 0111111 เหมือนในกรณีของเฟรม HDLC แต่อย่างไรก็ตามระบบส่งข้อมูลบางอย่างของ ATM ก็จะช่วยในการหาขอบเขตของเซลล์เช่นระบบส่ง SONET นั้นในเฮดเดอร์ของเฟรมของมีตัวชี้ไปยังจุดเริ่มต้นของเซลล์ข้อมูลเป็นต้นแต่ในกรณีของระบบการส่งข้อมูลแบบอื่นๆนั้นการหาขอบเขตของเซลล์อาจทำได้โดยการใช้ HEC ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

  46. ในระดับชั้นย่อย TC จะมีริจิสเตอร์ 40 บิตซึ่งเลื่อนบิตเข้าทางซ้ายและเลื่อนบิตออกทางขวาเมื่อบิตข้อมูลอยู่ในรีจิสเตอร์นี้ระดับชั้นย่อย TC จะตรวจสอบว่า40 บิตนี้เป็นเฮดเดอร์หรือไม่โดยการคำนวณค่าไบต์ของ HEC จาก 4 ไบต์แรกหากคำนวณไม่ได้ค่า HECก็แสดงว่า 40 บิตนั้นไม่ใช่เฮดเดอร์ของเซลล์จะมีการเลื่อนบิตใหม่เข้ามาหนึ่งบิตเพื่อตรวจหา HEC อีกซึ่งจะทำเช่นนี้จนกว่าจะพบไบต์ของ HEC ซึ่งก็แสดงว่า 40 บิตในรีจิสเตอร์นี้อาจจะเป็นเฮดเดอร์ของเซลล์ข้อมูลและเพื่อยืนยันความถูกต้องของการตรวจสอบระบบตรวจสอบ

  47. Access Method ในระดับชั้น ATM ได้กำหนดให้มีการอินเตอร์เฟซระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดชนิดแรกคือ UNI (User - Network Interface) ซึ่งเป็นการอินเตอร์เฟซระหว่างโฮสต์กับเครือข่าย ATM (หรือในอีกแง่มุมหนึ่งคือระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ) ชนิดที่สองคือการอินเตอร์เฟซระหว่างสวิตซ์ ATM (ซึ่งก็คือเราเตอร์) 2 ตัวการอินเตอร์เฟซทั้งสองชนิดนี้เซลล์ที่ถูกส่งจะประกอบด้วยเฮดเดอร์ 5 ไบต์ตามด้วยข้อมูล 48 ไบต์ดังแสดงในรูปที่ 3.10 ซึ่งจะเห็นว่าเฮดเดอร์ทั้งสองชนิดจะแตกต่างกันบ้างเฮดเดอร์เหล่านี้จะถูกใช้ในการควบคุมจัดการส่งข้อมูลดังอธิบายต่อไปนี้

More Related