1 / 53

การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา. ตระกูลไทย ฉายแม้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. ประเด็นการนำเสนอ. 1.สถานการณ์โรค 2.นิยามการเฝ้าระวัง 3.การสอบสวนโรค 4.การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5.การติดตามผู้สัมผัส. สถานการณ์. ป่วย (เสียชีวิต). วิธีการแพร่กระจายเชื้อ ไวรัส อีโบลา.

Télécharger la présentation

การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาการสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตระกูลไทย ฉายแม้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

  2. ประเด็นการนำเสนอ 1.สถานการณ์โรค2.นิยามการเฝ้าระวัง3.การสอบสวนโรค4.การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ5.การติดตามผู้สัมผัส

  3. สถานการณ์ ป่วย (เสียชีวิต)

  4. วิธีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีโบลาวิธีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีโบลา • แพร่เชื้อจากคนสู่คน ผ่านการรับหรือสัมผัสของเหลว จากร่างกายผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ สารคัดหลั่งต่าง ๆ ตลอดจนเชื้ออสุจิ เชื้ออีโบลาไม่ติดต่อกัน ทางอากาศที่หายใจร่วมกัน • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะต่ำในระยะเริ่มแรกที่ผู้ป่วยมีอาการ • ความเสี่ยงจะเพิ่มตามระยะของโรค เนื่องจากจำนวนไวรัสในเลือดเพิ่มขึ้น • จากการระบาดของ ebolaที่ซูดานและอูกันดา ในปี 2543 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือการสัมผัสกับเลือด/สารคัดหลั่งซ้ำไปมา รวมถึงการสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทีมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส

  5. นิยามสำหรับการเฝ้าระวังนิยามสำหรับการเฝ้าระวัง

  6. นิยามเฝ้าระวัง ผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลา 1.ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน (PUI: patient under investigation) • ผู้ที่มีอาการไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ มีประวัติสัมผัสโรคในช่วง 21 วันก่อนเริ่มป่วย ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ - อาศัยอยู่ หรือ เดินทางมาจากประเทศที่เกิดโรค (ณ ปัจจุบัน ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียราลีโอน และเมืองลากอส ไนจีเรีย) - สัมผัสผู้ป่วยหรือศพของผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้ออีโบลา - สัมผัสโดยตรงกับสัตว์จำพวกค้างคาว หนู ลิง สัตว์ป่าเท้ากีบที่มาจากพื้นที่เกิดโรค

  7. นิยามเฝ้าระวัง ผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลา 2.ผู้ป่วยสงสัย (suspect case) ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน ที่มีอาการเลือดออกผิดปกติ / อาการแย่ลงเร็ว (severe and rapid progressive) / เสียชีวิต โดยไม่ทราบสาเหตุอื่นๆ ที่ชัดเจน 3.ผู้ป่วยน่าจะเป็น (probable case)ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน ที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือศพของผู้ป่วยที่ยืนยัน/น่าจะเป็นผู้ติดเชื้ออีโบลา

  8. นิยามเฝ้าระวัง ผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลา 4.ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) • ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ด้วยวิธี - Ebola Realtime RT-PCR ให้ผลบวก หรือ - การตรวจด้วยวิธี ELISA พบ Ebola IgM ให้ผลบวก หรือสามารถแยกเชื้อไวรัสอีโบลา (viral isolation)

  9. นิยามการรายงานโรคสำหรับทีม SRRT/รพ.สต. ผู้ป่วยสงสัย (suspected case) หมายถึงผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และมีประวัติสัมผัสกับ * ผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย หรือผู้ป่วยยืนยันโรคอีโบลา * สัตว์ป่วยหรือตายจากโรคอีโบลา หรือผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และอาศัยอยู่ในตำบลที่พบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยันโรค อีโบลาและมีอาการแสดงอย่างน้อย 3 อาการ ต่อไปนี้ ปวดศรีษะ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว เซื่องซึม ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดข้อ กลืนลำบาก หายใจลำบาก สะอึก (หรือ)

  10. นิยามการรายงานโรคสำหรับทีม SRRT/รพ.สต.(ต่อ) หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และมีอาการเลือดออกที่หาสาเหตุไม่ได้ และอาศัยอยู่ในตำบลที่พบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยันโรค อีโบลา หรือ ผู้เสียชีวิตฉับพลันอย่างไม่ทราบสาเหตุและอาศัยอยู่ในตำบลที่พบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยันโรค อีโบลา

  11. นิยามการรายงานโรคสำหรับทีมสอบสวนโรคใน รพ. ผู้ป่วยน่าจะเป็น (probable case) หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้านิยามผู้ป่วย สงสัยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือผู้ป่วยสงสัยที่เสียชีวิต เป็นกรณีที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้ และมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันอีโบลา ผู้ป่วยยืนยัน (Laboratory confirm case ) หมายถึงผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวกของไวรัสแอนติเจน โดยตรวจพบ RNA virus ด้วยวิธี revrse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR ) หรือให้ผลบวกของ IgM แอนติบอดีต่อเชื้อ Ebola

  12. แนวทางการสอบสวนโรค

  13. การสอบสวนโรคผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาการสอบสวนโรคผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ข้อตกลง(ณ เวลานี้) 1. ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 1.1 รายแรกของแต่ละ สคร. สำนักระบาด, สคร., 1.2 รายต่อไป สคร.,สสจ., คปสอ. 1.3 กรณีระบาดเป็นวงกว้าง อาจต้องมีการปรับแผน เช่น ระดมความ ช่วยเหลือจากจังหวัดหรือ สคร. อื่น

  14. การสอบสวนโรคผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาการสอบสวนโรคผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ข้อตกลง(ณ เวลานี้) 2. แบบรายงานที่ใช้ 2.1 แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ใช้ในการสอบสวนโรคกรณีพบผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัย 2.2 แบบบันทึกประวัติผู้สัมผัสผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาใช้ในการติดตามอาการของผู้สัมผัสผู้ป่วยอีโบลา 2.3 แบบรายงานการเฝ้าระวังเชิงรุกของผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ใช้ในการบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีการระบาด ต้องดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสอีโบลา (42 วัน) 2.4 แบบบันทึกการตรวจสอบข่าวผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

  15. การสอบสวนโรคในโรงพยาบาลการสอบสวนโรคในโรงพยาบาล 1. องค์ประกอบของทีมสอบสวนโรคในโรงพยาบาล 1.1 แพทย์, พยาบาลโรคติดเชื้อ และ จนท.ระบาดวิทยา 1.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดเชื้อใน รพ.จากส่วนกลาง เพื่อช่วยประเมินความเหมาะสมของการควบคุมโรคติดเชื้อใน รพ.

  16. การสอบสวนโรคในโรงพยาบาลการสอบสวนโรคในโรงพยาบาล เตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับผู้สวม 2. อุปกรณ์ของทีมสอบสวนโรค 1. N – 95 2. กาวน์กันน้ำแขนยาวที่มีหมวกคลุมศรีษะ 3.แว่นตาป้องกันตา 4. ถุงมือ 5.ถุงคลุมรองเท้า หรือรองเท้าบูทรัดเข่า 6.เครื่องอัดเทปเล็กๆทีสามารถใส่ติดกับชุดที่สวม และสามารถสวมทับโดยเสื้อกาวน์กันน้ำ เพื่อใช้อัดข้อมูลในห้องแยกโรค 7. ทำความเข้าใจแบบสอบสวนโรคผู้ป่วย

  17. การสอบสวนโรคในโรงพยาบาลการสอบสวนโรคในโรงพยาบาล 3.ขั้นตอนการเข้าสอบสวนโรค 1. ประสานห้องแยกขอเข้าสอบสวนโรค 2. ทบทวนการใส่ – ถอดชุด PPE 3. เข้าสอบสวนผู้ป่วยตามเนื้อหาในแบบสอบสวนโรค 4. การถอดชุด PPE เมื่อออกจากห้องแยกโรคควรมีจนท. ด้านการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลคอยให้ คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยของทีมสอบสวนโรคและลด โอกาสปนเปื้อนเชื้อใน รพ.

  18. การสอบสวนโรคในโรงพยาบาลการสอบสวนโรคในโรงพยาบาล 4.ขั้นตอนการเข้าสอบสวนโรค (ต่อ) 5. เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเกี่ยวกับ - ข้อมูลทั่วไป อาการ ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รูปถ่ายเอ็กซเรย์ และข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญ ข้อมูลตามแบบสอบสวนโรคผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา 6. แจ้งรายชื่อผู้สัมผัสแก่ จังหวัดอื่น /ทีม คปสอ. เพื่อติดตามผู้สัมผัสจนครบ 21 วัน นับจากวันพบผู้ป่วยครั้งหลังสุด

  19. แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลาแบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา

  20. แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลาแบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา

  21. แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลาแบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา 3.ประวัติการสัมผัสภายใน 21 วัน ก่อนมีอาการป่วย สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยโรคอีโบลา เนื่องจากเป็นสมาชิกในบ้าน ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ ชื่อผู้ที่ผู้ป่วยสัมผัส.....................................................................ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย................................................... วันที่สัมผัสครั้งสุดท้าย...............................................................ชนิดและระยะเวลาของการสัมผัส............................................. สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยอีโบลาเนื่องจากเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ ชื่อผู้ที่ผู้ป่วยสัมผัส.....................................................................ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย................................................... วันที่สัมผัสครั้งสุดท้าย...............................................................ระยะเวลาของการสัมผัส............................................................... สถานพยาบาลที่สัมผัส............................................จังหวัด..........................................................อำเภอ....................................... สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยอีโบลาเนื่องจากเป็นผู้ร่วมเดินทาง ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ ชื่อผู้ที่ผู้ป่วยสัมผัส.....................................................................วันที่สัมผัสครั้งสุดท้าย...............................................................ระยะเวลาของการสัมผัส...........................................เส้นทางที่เดินทาง...............................วันที่เดินทาง....................................... สัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตาย(โดยเฉพาะ ลิง แอนนิโลปป่า(สัตว์กีบคู่วงเดียวกับวัว ควาย)หนู ค้างคาว ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ ชนิดสัตว์ที่สัมผัส..................................วันที่สัมผัส............................ชนิดและระยะเวลาของการสัมผัส.......................................สถานที่สัมผัส เช่นตอนเดินทางไปแอฟริกา หรือขณะอยู่ประเทศไทย................................................

  22. คำถาม? • การตรวจสอบข่าวผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาทำอย่างไรบ้าง เมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน / สงสัย / เข้าข่าย โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา • กรณีได้รับแจ้งจากด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ • กรณีได้รับแจ้งผู้ป่วยจากสถานพยาบาล • กรณีได้รับแจ้งจากทีม SRRT ว่าพบผู้ป่วยในขุมชน

  23. การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  24. ข้อตกลงปัจจุบันเรื่องการเก็บเลือดส่งตรวจอีโบลาข้อตกลงปัจจุบันเรื่องการเก็บเลือดส่งตรวจอีโบลา • การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจ • เก็บ whole blood/ EDTA 4 หลอดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือศูนย์วิทย์ฯจะเป็นผู้ไปรับตัวอย่างที่โรงพยาบาล

  25. การติดตามผู้สัมผัสโรคการติดตามผู้สัมผัสโรค

  26. นิยามผู้สัมผัสโรค 1. ผู้สัมผัสผู้ป่วยโรค Ebola หมายถึง ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยโรค Ebola ด้วยกรณีต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งกรณี ภายใน 21 วันก่อนมีอาการป่วย • อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับผู้ป่วย • ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วยหรือเสื้อผ้าของผู้ป่วย • สัมผัสกับร่างผู้เสียชีวิตขณะจัดการศพหรือระหว่างงานศพ • ทารกที่ดูดนมมารดาที่ป่วยด้วยโรค Ebola

  27. นิยามผู้สัมผัสโรค 2. ผู้สัมผัสสัตว์ป่วยหรือตาย หมายถึง ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตายด้วยกรณีต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งกรณี ภายใน 21 วันก่อนมีอาการป่วย • สัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตาย (โดยเฉพาะ ลิง แอนติโลปป่า สัตว์กีบคู่อยู่ในวงศ์วัวและควาย ) หนู และค้างคาว) • สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของสัตว์ป่วยหรือตาย • ชำแหละสัตว์ตาย • รับประทานเนื้อสัตว์ป่าดิบ

  28. นิยามผู้สัมผัสโรค 3.ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรค หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรค และได้สัมผัสตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ป่วย/สัตว์ป่วยสงสัยโรค Ebola ภายใน 21 วันก่อนมีอาการป่วย

  29. ตารางประเมิน ระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบลา จำแนกตามลักษณะการสัมผัส

  30. สถานการณ์แสดงการจัดการผู้สัมผัส ตามระดับความเสี่ยง สถานการณ์ที่ 1บุคคลมีประวัติสงสัยว่ามีการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลา ** คนไทยที่เดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรได้รับการประเมินความเสี่ยง ถ้า - มีความเสี่ยงในระดับต่ำหรือปานกลาง บุคคลนั้นควรได้รับการสอบถามสอบถามลักษณะการสัมผัสอีกครั้ง และติดตามวัดอุณหภูมิร่างกายติดต่อกัน 21 วัน - มีความเสี่ยงสูง ควรแยกบุคคลนั้นเพื่อติดตามอาการของโรค

  31. สถานการณ์แสดงการจัดการผู้สัมผัส ตามระดับความเสี่ยง สถานการณ์ที่ 2 บุคคลแสดงอาการเข้าได้กับนิยามการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ถ้าเพิ่งเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด ให้ประเมินโอกาสสัมผัสดังนี้1. ไม่มีประวัติสัมผัสหรือมีประวัติสัมผัสในระดับความเสี่ยงต่ำ มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเชื้อชนิดอื่น เช่น มาลาเรีย ดังนั้น ควรมีการสอบสวนหาสาเหตุการเกิดโรคที่น่าจะเป็นไปได้ 2 มีประวัติสัมผัสที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางหรือสูง ต้องมีการแยกกัก เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และให้อยู่ในห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อ และสอบสวนหาสาเหตุทันที

  32. สถานการณ์แสดงการจัดการผู้สัมผัส ตามระดับความเสี่ยง สถานการณ์ที่ 3 มีผู้โดยสารบนเครื่องบิน ป่วยมีอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ****** ประเมินว่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผู้โดยสารที่ป่วย มีประวัติต่อไปนี้หรือไม่ 1. เดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโรค และ 2. มีประวัติสัมผัสสัตว์ป่วย ตาย ขณะอยู่ในประเทศนั้น หรือ 3. ดูแลใกล้ชิด และสัมผัสผู้ป่วยหนักหรือผู้เสียชีวิต ถ้า ข้อ 1 ตอบใช่ และ ตอบใช่ในข้อ 2 หรือ 3 ให้จัดว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศที่มีการระบาดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ดำเนินการด้านระบาดวิทยาขั้นสูงสุด ดังนี้

  33. สถานการณ์แสดงการจัดการผู้สัมผัส ตามระดับความเสี่ยง 1. ผู้โดยสารและลูกเรือที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ทุกราย ต้องมีการ สืบหากลับไป เพื่อสอบสวนโรคและติดตามอาการ 2. ผู้โดยสารที่มีที่นั่งติดหรือห่างไป 1 ที่นั่งกับผู้ป่วยในทุกทิศทาง ต้อง ได้รับการสอบสวนย้อนกลับ ถ้า ผู้ป่วยนั่งติดทางเดิน ผู้โดยสารคนอื่นๆ อีก 3 ที่นั่ง ที่นั่งอยู่ตรงข้ามกับผู้ป่วย ต้องถูกติดตามผู้สัมผัส 3. ลูกเรือทีทำหน้าที่ให้บริการผู้โดยสารในส่วนของผู้ป่วย ต้องถูกติดตามผู้ สัมผัส รวมถึงลูกเรือคนอื่นๆ ที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้อื่น 4. จนท.ทำความสะอาดเครื่องบินที่ผู้ป่วยนั่งอยู่ และ จนท. ทำความ สะอาดห้องน้ำ ต้องได้รับการติดตามผู้สัมผัส

  34. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 1.องค์ประกอบของทีมสอบสวนโรค 1.1 แพทย์ , พยาบาลโรคติดเชื้อ , จนท.ระบาดวิทยา 1.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำลายเชื้อใน สวล. จาก ส่วนกลาง/สคร./สสจ. ก็ได้ 1.3 ทีมสุขศึกษา ซึ่งมีการซักซ้อม การสื่อสารความเสี่ยงและการ เข้าชุมชนมาเป็นอย่างดี เพื่อลดความตื่นตระหนกของครอบครัว ชุมชน ลดหรือป้องกันการต่อต้านครอบครัวผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัย

  35. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 2.อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพื้นที่ 2.1 แบบฟอร์มสัมภาษณ์ผู้สัมผัส 2.2 แบบฟอร์มสำหรับติดตามผู้สัมผัส 2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำลายเชื้อและการนำส่งต่อเพื่อ กำจัด 2.4 เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ช่วยในการให้ข้อมูลกับชุมชน/การปฏิบัติตัวของครอบครัวผู้ป่วย/ผู้ป่วยสงสัย ภายหลังการทำลายเชื้อ

  36. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 3.ขั้นตอน 3.1 ประสาน จนท. รพ.สต.เพื่อนัดหมายเวลา และแจ้งผู้นำชุมชน 3.2 กรณีเข้าเกณฑ์ต้อง กักกัน ต้องเชิญ นพ.สสจ.หรือ สาธารณสุขอำเภอ หรือ อปท. มาในบทบาทผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการทำหน้าที่กักกัน

  37. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 3.3 ทีมสอบสวนจัดเตรียมชุด PPE เต็มที่ -Hood /surgical mask/ N-95 mask/กาวน์กันน้ำแขนยาว/ แว่นตาป้องกันตาหรือ face shiled/ถุงมือ/ ถุงคลุมรองเท้า และรองเท้าบูท ** อุปกรณ์ต้องมีขนาดเหมาะสมกับผู้สวมใส่**

  38. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 3.4 เตรียมถุงพลาสติกขนาดใหญ่สำหรับใส่ชุด PPE และอุปกรณ์ที่ใช้แล้วเพื่อส่งทำลายเชื้อ 3.5 เข้าสัมภาษณ์ โดยแจ้งเหตุผลในการขอสัมภาษณ์ - บอกให้ชัดเจนว่า ยังไม่ทราบชัดเจนว่าผู้ป่วยป่วยจากสาเหตุใด เพียงแต่มีประวัติเสี่ยงจำเป็นต้องระมัดระวังกว่าปกติ - ให้ข้อมูลเบื้องต้น ว่าต้องมีการติดตามอาการวัดไข้ผู้สัมผัสเป็นเวลา 21 วันหลังการสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย

  39. การติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชน 3.6 ในรายที่มีอาการ ส่งต่อไปโรงพยาบาล โดยทีมแพทย์เป็นผู้ประเมินอาการ 3.7 ในรายที่ไม่มีอาการป่วย แยกกลุ่มเป็น กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำ

  40. แนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัสแนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัส 1. กรณีผู้สัมผัส เข้าเกณฑ์เสี่ยงสูง High risk หากสัมผัสผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ร่วมกับอาการอื่นๆ แต่ยังไม่เข้านิยามผู้ป่วยสงสัย ดำเนินการดังนี้ - ถ้าผู้ป่วยอาการรุนแรง หรือน่าสงสัยมาก แยกตัวผู้สัมผัสไว้สังเกตอาการในที่ที่จัดไว้ หรือ ให้สังเกตอาการที่บ้าน จนกว่าจะครบระยะติดตาม หรือได้ผลตรวจเป็นลบในผู้ป่วย - ถ้าผู้ป่วยอาการน้อย ไม่รุนแรง ให้จำกัดการเดินทาง ( controlled movement) ผู้สัมผัส และทำการติดตามอาการและวัดไข้ทุกวัน จนครบ 21 วันหลังวันสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย หรือได้ผลตรวจเป็นลบในผู้ป่วย

  41. แนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัสแนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัส 2. กรณีผู้สัมผัส เข้าเกณฑ์เสี่ยงต่ำ Low ให้จำกัดการเดินทาง ( controlled movement) และทำการติดตามอาการและวัดไข้ทุกวัน จนครบ 21 วันหลังวันสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย หรือได้ผลตรวจเป็นลบในผู้ป่วย

  42. แนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัสแนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัส • กรณีผู้สัมผัสของผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยาม ผู้ป่วยสงสัย หรือ ผู้ป่วยน่าจะเป็น หรือผู้ป่วยยืนยัน • ให้ดำเนินการกักกันผู้สัมผัสที่เข้าเกณฑ์เสี่ยงสูงในสถานที่ที่มีการกำหนดไว้

  43. แนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัสแนวทางการดำเนินการกับผู้สัมผัส การติดตามอาการผู้สัมผัส 21 วัน หมายถึง การติดตามอาการไข้ของผู้สัมผัส โดยการติดตามบันทึกอุณหภูมิผู้สัมผัส วันละ 2 ครั้ง นาน 21 วัน หลังจากสัมผัสผู้ป่วย ครั้งสุดท้าย - หากผู้สัมผัสมีไข้ > 38.5..C (101 F) ให้จัดเป็นผู้ป่วยใหม่และ แยกออกจากผู้อื่น – เฝ้าระวังในพื้นที่ระบาดนาน 2 เท่าของระยะฟักตัว (21 x2=42 วัน) หลังจากวันที่ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือจําหน่ายออกจาก รพ. การติดตามผู้ป่วยและผู้สัมผัส

  44. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 1 ประวัติผู้สัมผัส รหัสผู้สัมผัส ชื่อ…………………สกุล......................... เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง อายุ.........ปี วัน/เดือน /ปีเกิด...................................... ที่อยู่ (ที่บ้าน)............................................................ที่ทำงาน ...............................................หมายเลขโทร....................................... ส่วนที่ 2 ชนิดของการสัมผัส ( ) บุคลกรทางการแพทย์ กรุณาให้รายละเอียดในส่วนที่ 3( ) สมาชิกในบ้าน กรุณาให้รายละเอียดในส่วนที่ 4( ) ผู้ร่วมเดินทาง กรุณาให้รายละเอียดในส่วนที่ 5( ) อื่นๆ กรุณาให้รายละเอียดในส่วนที่ 6 กรณีอื่นๆ (โปรดระบุ)......................................................................................................

  45. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 3 ผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ตำแหน่ง................................. ( ) จนท.ทำความสะอาด ( ) แพทย์ ( ) ผู้ช่วยพยาบาล ( ) พยาบาล ( ) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ( ) เภสัชกร ( ) อื่นๆ ระบุ 1.ท่านสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงหรือไม่เช่นการรักษาผู้ป่วยประจำวัน( ) ใช่ ( )ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ ถ้าใช่ ท่านใส่ PPE หรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ PPE ที่ใส่ ( ) ถุงมือ ( ) หน้ากาก ( ) เสื้อกาวน์ ( )แว่นสำหรับป้องกันการติดเชื้อ2.ท่านสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วยหรือไม่ ( ) ใช่ ( )ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ ถ้าใช่ ท่านใส่ PPE หรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ PPEที่ใส่ ( ) ถุงมือ ( ) หน้ากากชนิด............ทำ fiftest ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) เสื้อกาวน์ ( ) แว่นสำหรับป้องกันการติดเชื้อ 3. ท่านมีผิวหรือเยื่อบุใด ที่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อจากสารคัดหลั่งของ ผู้ป่วยหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ

  46. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 3 ผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ (ต่อ) 4. ท่านอยู่ในทีมช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือไม่ ( ) มีหน้าที่อย่างไร.............. ( )ไม่ใช่ 5. กรณีผู้ป่วยเสียชีวิต ท่านอยู่ในทีมผ่าศพหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ อธิบายรายละเอียดที่ท่านสัมผัสผู้ป่วย................................................................................... ระยะเวลาที่สัมผัสผู้ป่วย...................................................................................... วันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งแรก....................................วันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย...................... การประเมิน 1.กรณีข้อ 1-5 ตอบไม่ใช่ทั้งหมด หมายถึง ไม่เสี่ยง/ผู้สัมผัสผู้ป่วยโดยบังเอิญ 2.กรณีข้อที่ 1หรือ 2 ตอบใช่ และใส่ PPE หมายถึง เสี่ยงต่ำ/สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด 3.กรณีข้อ 1 หรือ 2 ตอบใช่ และไม่ได้ใส่ PPE อย่างเหมาะสม หรือ 3-4-5 ตอบใช่ หมายถึง เสี่ยงสูง

  47. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 4 ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ( ) สามี ภรรยา คู่นอน ( ) คู่รัก ( ) บุตร ( ) ญาติ ( ) เพื่อนร่วมบ้าน ( ) อื่นๆ ระบุ............. 1.ท่านได้อยู่อาศัยร่วมกันกับผู้ป่วยหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้ตอบส่วนที่ 5 เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการป่วยท่านปฏิบัติดังนี้ 2. อยู่ร่วมห้องกับผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 3.มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 4.จับมือกับผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 5.กอดผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 6.จูบผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 7.ดูแลผู้ป่วย ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 8.ท่านได้สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 9.ท่านได้สัมผัสเสื้อผ้าผู้ป่วยที่เปื้อนสารคัดหลั่งหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ 10. ข้อ 8หรือ 9 ตอบใช่ ท่านได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( )ไม่ทราบ

  48. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 4 ผู้สัมผัสร่วมบ้าน (ต่อ) PPE ที่ใส่ ( ) ถุงมือ ( ) หน้ากากชนิด......... ทำ fit test ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) เสื้อกาวน์ ( ) แว่นสำหรับป้องกันการติดเชื้อ อธิบายรายละเอียดที่สัมผัสผู้ป่วย.................................................................................................... ระยะเวลาที่สัมผัสผู้ป่วย......................................................... วันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งแรก.................................วันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย..................... กรณีเฉพาะข้อ 1 = เสี่ยงต่ำ /สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด กรณีข้อ 2,4,5 หรือ 7 ตอบใช่ และข้อ 8 ตอบไม่ = เสี่ยงต่ำ /สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด กรณีข้อ 3 หรือ 6 ตอบใช่ ข้อ8,9 ใช่ ข้อ 10 ไม่ใช่ = เสี่ยงสูง /สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิดที่เสี่ยงสูง

  49. แบบสอบสวนผู้สัมผัส ส่วนที่ 5 ผู้สัมผัสมีประวัติการเดินทางร่วมกับผู้ป่วย ประเภทผู้โดยสาร ( ) ผู้ร่วมโดยสาร ( ) นักบิน/ผู้ขับ ( ) แอร์โฮสเตส/ไกด์ ( ) อื่นๆระบุ กรณีโดยสารเครื่องบิน สายการบิน............................เที่ยวบิน....................................................... ตำแหน่งที่นั่ง...............แถวที่.....................................เลขที่นั่ง.......................................................... กรณีจำแถวและเลขที่นั่งไม่ได้ ท่านนั่งที่ไหน ( ) ด้านหน้าของเครื่องบิน ( ) ด้านหลังของเครื่องบิน ( ) ด้านข้างของทางออกฉุกเฉิน ( ) ทางเดินตรงกลาง ( ) นั่งติดหน้าต่าง ( ) นั่งใกล้ห้องน้ำ ( ) ชั้นประหยัด ( ) ชั้นธุรกิจ/พรีเมี่ยม/ชั้นหนึ่ง ( ) บริเวณปีกเครื่องบิน 1.ท่านสัมผัสผิวหนังหรือเยื่อเมือกที่มีโอกาสมีเชื้อสูงโดยที่ไม่ได้ป้องกันหรือไม่ เช่นจูบ/มีเพศสัมพันธ์ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ 2. ท่านสัมผัสสารเหลว เหงื่อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยหรือไม่ ( ) ใช่ ( ) ไม่ใช่ ( ) ไม่ทราบ ระยะเวลาที่สัมผัสPt..............วันที่สัมผัสPtครั้งแรก..........วันที่สัมผัสPtครั้งสุดท้าย....... การประเมิน กรณีไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง = ไม่เสี่ยง /ผู้สัมผัสผู้ป่วยโดยบังเอิญ กรณีข้อ 1หรือ 2 ตอบใช่ = เสี่ยงสูง

More Related