1 / 48

แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน

u0e2bu0e19u0e31u0e07u0e2au0e37u0e2du0e41u0e17u0e19u0e04u0e38u0e13u0e41u0e1cu0e48u0e19u0e14u0e34u0e19 60 u0e1bu0e35 u0e1cu0e28.u0e14u0e23.u0e19u0e34u0e23u0e31u0e19u0e14u0e23u0e4c u0e01u0e38u0e25u0e11u0e32u0e19u0e31u0e19u0e17u0e4c u0e04u0e23u0e39u0e02u0e2du0e07u0e41u0e1cu0e48u0e19u0e14u0e34u0e19

nirankul
Télécharger la présentation

แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน รวมข้อเขียนในวาระ การเกษียณอายุราชการ ปี 2562 ของ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ สนับสนุนโดย กลุ่ม Buriram Forum ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จ.บุรีรัมย์ 2562 โครงการหนังสืออาศรมสวนนํ้าเพียงดิน 400 หมู่ 4 ต.ชุมเห็ด อ.เมือง บุรีรัมย์ 31000 กองบรรณาธิการ : ธงชัย สนหอม ชมพู อิสริยาวัฒน์ สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน สุรพงค์ กันถัด กริช เบียนรัมย์ ธงชัย สีโสภณ กังวาน วงศ์วัฒนโสภณ ออกแบบปก : สุรพงค์ กันถัด พิมพ์ : สิงหาคม 2562 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์วินัย แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน1

  2. คำ�นำ� ราชการ ในเล่มจะเป็นข้อเขียนของอาจารย์รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงาน ในภาคประชาสังคม ลูกน้องที่เคยทํางานกับอาจารย์ ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับ อาจารย์ที่แต่ละคนรับรู้ เมื่ออ่านข้อเขียนเล่านี้จะมองเห็นภาพของอาจารย์รอบด้าน มากขึ้น แล้วเราจะเข้าใจที่อาจารย์ นักกิจกรรมหลายคนเรียกท่านว่า มังกรซ่อนตน เราจะได้อ่านบทกวีของปราชญ์สองท่านที่เขียนถึงอาจารย์ คือ อ.บํารุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโสภาคอีสาน(ราชสีห์อีสาน) และ อ.ปราโมทย์ ในจิต อดีตประธาน สโมสรนักเขียนภาคอีสาน เพราะอาจารย์ได้ออกไปทํางานพัฒนาชุมชนช่วยเหลือ ชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายนักพัฒนา นักเขียน ระดับภาค นอกจากนี้ยังมีบท กวี ข้อเขียนจากลูกศิษย์ เพื่อนครู และข้อคิดที่อาจารย์ชอบ งานเขียนเล่านี้เป็น เพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนแง่มุมบางด้านของอาจารย์ ถ้าจะได้ความรู้เพิ่มเติมก็คือการ เข้าไปเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดกับอาจารย์จะได้ข้อมูลความรู้ที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น หนังสือเล่มนี้จัดทําเนื่องในโอกาสที่ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ เกษียณอายุ กองบรรณาธิการ อาศรมนํ้าเพียงดิน 2562 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 2

  3. คว�มในใจจ�ก อ.นิรันดร์ การเดินทางหลังจากเกษียณ...คือการทำางานเพื่อผู้ยากไร้ อะไรต่อ ผมก็จะตอบว่า ยังทํางานกับชุมชน ชาวบ้าน และภาคประชาสังคมเหมือน เดิม เพราะการทํางานเพื่อสังคม ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ทํางานแบบจิตอาสานั้นทําได้ ตลอดชีวิต เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะการทํางานจากการสอนหนังสือนักศึกษา มา ทํางานประชุม อบรม กับชาวบ้าน เปลี่ยนสถานที่ทํางานจากในมหาวิทยาลัยมา เป็นศาลาในหมู่บ้าน ในวัด ในสวนป่าก็เท่านั้น ผมเห็นตัวอย่างนักวิชาการ หมอ ข้าราชการหลายคนที่เกษียณอายุแล้วยัง ทํางานเพื่อสังคมต่อไป อย่าง นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส อายุ 87 ปีแล้ว ท่าน ยังทํางานพัฒนาชุมชน ทํางานกับภาคประชาสังคมตามปกติ ทั้งเป็นวิทยากร ร่วม ประชุมสัมมนา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทํางานกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ร่วม กับเครือข่ายพลเมืองอาสาที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชนบท ส่วน ดร.โคทม อารียา อดีต กกต. อายุ 76 ปีแล้ว ท่านยังทํางานช่วยองค์กรพัฒนาหลายแห่งในการทํางานช่วย เหลือผู้ยากไร้ในชนบท และทํางานด้านพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้กับผู้ด้อยโอกาส จึง ได้ข้อสรุปกับตัวเองว่าคงเดินตามรอยนักวิชาการรุ่นก่อน ที่ยังทํางานพัฒนา ทํางาน เพื่อสังคมต่อไป และอาจมาช่วยเป็นวิทยากรพิเศษสอนนักศึกษาบ้างเมื่อได้รับเชิญ จากอาจารย์รุ่นน้อง งานที่ผมต้องสานต่อคือ การสนับสนุนการทํางานของเครือข่ายพลเมือง อาสาในแต่ละอําเภอในการลงไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ คนจนที่เปราะบางในชนบท ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงาน โดยทําใน นาม “ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์)” รวมทั้งการขับเคลื่อน มีลูกศิษย์ อาจารย์รุ่นน้อง เพื่อนฝูง หลายคนถามผมว่าเกษียณแล้วจะทํา แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน3

  4. ธรรมนูญสุขภาพชุมชน ให้ชุมชนพี่งตนเองได้ ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ส่วนการเชื่อม ประสานองค์กรชุมชนและเครือข่ายที่ต่อเนื่องจากโครงการ SIF และการรณรงค์ ประเด็นชุมชนเข้มแข็ง ก็ทําในนามกลุ่ม Buriram Forum การลงพื้นที่ไปเยี่ยม ศูนย์การเรียนรู้ สวนเกษตร สวนป่า กลุ่มชาวบ้าน ก็คงจะทํามากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มชาวบ้านที่เคยรับการสนับสนุนจาก SIF และองค์กรชาวบ้านที่เคยอยู่ในพึ้นที่ วิจัยของสกว.อีสานใต้ งานส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคพลเมือง ผมก็ยังขับเคลื่อนต่อไป โดย ร่วมงานกับคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.บุรีรัมย์ ในการจัดอบรมเยาวชนและชาวบ้าน เกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิชุมชน รัฐธรรมนูญ การขับเคลื่อนแนวทางชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดจัดการตนเอง การฟื้นฟู สภาพแวดล้อมในลุ่มนํ้ามูลตอนกลาง การส่งเสริมเครือข่ายเยาวชน เครือข่ายพระ สงฆ์เพื่อการพัฒนา เครือข่ายฝายมีชีวิต เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน เพื่อให้การพัฒนา ท้องถิ่นในทุกด้าน งานที่ประสานกับทางสาขาวิชาคือการที่ผมร่วมกับชมรมศิษย์เก่า บรรณารักษศาสตร์ และอาจารย์ในสาขาทําผ้าป่าการศึกษา ระดมปัจจัยมาพัฒนา ห้องปฏิบัติการบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่อว่า “ห้องปฏิบัติการนิรันดร์ กุลฑานันท์” ซึ่ง เป็นทั้งห้องสมุด ห้องไอที ห้องนั่งเรียนหรือนั่งทํางานของนักศึกษาสาขาบรรณา รักษ์ฯ จะตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(หลังใหม่) ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสืบไป และอาจจะขอใช้ห้อง นี้เป็นที่ตั้งของชมรมศิษย์เก่าด้วย งานที่ประสานกับพระสงฆ์คือผมร่วมกับศิษย์เก่าและเครือข่ายภาคประชา สังคมจะไปพัฒนาจัดตั้งห้องสมุด ที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ประจําอําเภอกระสัง วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อจัดเก็บหนังสือ สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับธรรมะ ภาษาบาลี พุทธศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมของท้อง ถิ่น การทําการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ห้องสมุดนี้ใช้ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 4

  5. ชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” เน้นให้บริการพระเณรที่มาเรียนภาษา บาลีและธรรมะ และบริการชาวบ้านทั่วไป ส่วนงานจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน ทาง สวท.บุรีรัมย์ และวิทยุ ชุมชนอื่นๆ ร่วมทั้งสื่อเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียก็คงดําเนินงานต่อไปเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม โดยจะนําข้อมูลจากการทํางานในชุมชนหมู่บ้านมาเผยแพร่ออกอากาศ ให้สาธารณะชนได้ทราบต่อไป คงต้องอาศัยทีมงานคนรุ่นใหม่ที่เก่งไอทีมาแนะนํา การใช้สื่อเผยแพรทางโซเชี่ยลมีเดียทั้งยูทูป เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ สื่อดิจิตัลเหล่านี้ นับวันจะใช้แพร่หลายมากขึ้นในหมู่ประชาชน ทําให้เราต้องศึกษาเรียนรู้ เป็นการ ศึกษาตลอดชีวิตครับ งานเขียนหนังสือ งานวิจัย งานวิชาการ งานเขียนต่างๆ ก็จะ ทําต่อ แต่จะเน้นการเขียนเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียเช่นเฟสบุ๊ค และบล็อกเกอร์ ต่างๆ เพราะทําได้ง่าย รวดเร็ว ผู้อ่านเข้าถึงได้ง่าย ถ้ามีจํานวนมากพอก็อาจจะนํา มาพิมพ์รวมเล่มแจกลูกศิษย์ เครือข่าย และชาวบ้าน เป็นช่วงๆ ถือว่าเป็นการคืน ความรู้สู่แผ่นดิน ส่วนด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์คงจะทําเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าถึงหลักธรรมคําสอนของพุทธะ มีพระอาจารย์ นักคิด ผู้อาวุโสหลายท่าน ที่ผมต้องการไปกราบ ขอความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดด้วย เป็นการพัฒนาสติ ปัญญาของเราให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็คงจะมีการเดินทางไปตามวัดวาอารามกราบ ไหว้พระอาจารย์ ไปตามอาศรม สํานัก ศูนย์เรียนรู้ ไปพบกับผู้อาวุโสต่างๆ แล้วก็ เอาข้อมูล ความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่สู่สาธารณะทางโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งงานเหล่านี้ ทําได้ตลอดชีวิต. นิรันดร์ กุลฑานันท์ อาศรมสวนนํ้าเพียงดิน 9 สิงหาคม 2562 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน5

  6. ดร.นิรันดร์ กุลฑ�นันท์ มังกรซ่อนตัวแห่งร�ชภัฏ ครูผู้เป็นที่เคารพรักของลูกศิษย์ และเป็นนักวิชาการ ของประชาชน อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แข็ง แข็งแกร่ง และทรนง” คือคุณลักษณ์ของมังกร ตรงกับบุคลิกของ อ.นิรันดร์ ซึ่งอาจารย์หลายคนให้ฉายาว่า “มังกรซ่อนตัว” ผมได้รู้จักท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มายาวนานและได้ทํางานกับท่านมาตลอดได้เรียนรู้การ ทํางานการขับเคลื่อนองค์กรหลายหน่วยงานที่ท่านมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม เห็นความยิ่งใหญ่ความกล้าหาญและความเข้มแข็งสิ่งที่สําคัญ มากกว่านั้นคือคุณธรรมความดีที่ท่านมีในการทํางานเพื่อช่วยเหลือคนยากจนใน ชนบท แม้แต่งานบริหารในมหาวิทยาลัย สมัยท่านเป็นรองอธิการบดีท่านก็สนับสนุน ให้ทีมงาน อาจารย์รุ่นน้องได้แสดงศักยภาพในการทํางานเต็มที่ ทําให้ทีมงานมีความ สุขในการทํางานและขับเคลื่อนงานอย่างแข็งแกร่งแต่เรียบง่าย อาจารย์หลายคนในมหาวิทยาลัยอาจมองไม่ออก ว่าอ.นิรันดร์ มีผลงาน อะไรบ้าง ถึงได้รับรางวัลระดับชาติคือ “รางวัลแทนคุณแผ่นดิน” ปี 2559 ของ เครือเนชั่น รางวัลเดียวกัน กับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านได้ รับ ด้วยบุคลิกที่ ดร.นิรันดร์เป็นคนถ่อมตน พูดน้อยฟังมาก ชอบทํางานเพื่อชุมชน อย่างเงียบๆ ชอบทํางานแบบปิดทองหลังพระ ท่านเป็นนักวิชาการที่ทํางานช่วย เหลือชุมชน ชาวบ้าน และช่วยสังคมมายาวนานกว่า30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ที่ เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ มาจนปัจุบัน ก็ทํางานกับภาคประชาสังคม “ความยิ่งใหญ่ คุณธรรมความดี พลังอํานาจ ความกล้าหาญ ความเข้ม แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 6

  7. ช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชน ในชนบท ทั้งทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทํางานพัฒนาแก้ ปัญหาความยากจนในหมู่บ้าน การทํางานที่ต่อเนื่องยาวนานจนเป็นที่ยอมรับจาก สังคมจนได้รับรางวัลดังกล่าว อาจารย์บางส่วนในมหาวิทยาลัยไม่รู้จักท่าน ยกเว้น เพื่อนอาจารย์ที่สนิทและทํางานชุมชนด้วยกัน จนอาจารย์บางท่านให้ฉายาท่านว่า “มังกรซ่อนตัว”ผมได้ติดตามท่าน ได้เรียนรู้วิธีการทํางานพัฒนาเครือข่ายชาวบ้าน จากท่าน บทความนี้เรียบเรียงจากประสบการณ์ของตนที่ร่วมงานกับ ดร.นิรันดร์ และจากการสัมภาษณ์ท่านอีกส่วนหนึ่ง อ.นิรันดร์ บ้านเกิดอยู่ที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ คนแถวนั้นเชื้อสายไท ลาวเหมือนทางภาคอีสาน แต่เป็นลาวตอนเหนือที่มีสําเนียงพูดเหมือนชาวหลวง พระบาง ไชยะบุรี ในสปป.ลาว และชาวเมืองเลย ทางอีสาน เรียนระดับมัธยมต้นที่ หล่มสัก แล้วมาเรียนวิทยาลัยครูเพชรบูรณ์ รุ่น 1 ในระดับ ป.กศ.ต้น ก่อนที่จะแยก จากเพื่อนมาสอบเอ็นทรานซ์เข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อ จบการศึกษาในปี 2524 ก็มาทํางานที่บุรีรัมย์ต่อเนื่องมา 37 ปี มีบ้าน มีครอบครัว มีลูกศิษย์และเครือข่ายประชาสังคมอยู่บุรีรัมย์ จึงเป็นชาวบุรีรัมย์โดยปริยาย พ.ศ. 2525 อ.นิรันดร์ เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ท่านก็สอน นักศึกษาทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ในสาขาบรรณารักษศาสตร์ และ สาขาอื่นๆเช่น พัฒนาชุมชน สังคมศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ ประถมศึกษา(ครุ ทายาท) โดยเฉพาะในรุ่นเก่าๆที่จบไปทํางานแล้วนับสิบปีจะรู้จักกันดี และยังติดต่อ ท่านเสมอ รวมทั้งท่านเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการองค์การนักศึกษาสมัย แรกๆติดต่อกันหลายสมัยจึงรู้จักกับอดีตนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายรุ่น และ การที่ท่านมีบุคลิกเป็นคนกันเอง มีรูปแบบการสอนแบบประชาธิปไตย รับฟังความ คิดเห็นของนักศึกษา เน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ฝึกให้กล้าพูด กล้าแสดงออก และเน้นให้นักศึกษาไปค้นคว้าและมานําเสนอในชั้น เน้นการให้นักศึกษา ไปค้นคว้าอ่านหนังสือ ค้นจากอินเตอร์เน็ต แล้วมานําเสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ท่านเป็นครูใจดี กันเองกับนักศึกษาทําให้นักศึกษาความเคารพรักท่านมาก ตลอด แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน7

  8. ระยะเวลา 37 ปี(พ.ศ.2525-2562) ของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยท่านชอบ งานสอน แม้ในช่วงที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังมีชั่วโมงสอน ได้ นําประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ลักษณะการสอนของอาจารย์จะ ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง อาจารย์จะเป็นเหมือนโค๊ช เทรนเนอร์ ที่คอยชี้แนะ ให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ แล้วนําความรู้มาบอกเล่ารายงานให้ เพื่อนๆฟัง นักศึกษาจึงเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆในการเรียนการนําเสนองาน เช่น โปรแกรม powerpoint โน๊ตบุ๊ค โปรเจคเตอร์ ยูทูป โซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ใน ขณะสอนจะแทรกอุดมคติที่ดีงาม เช่น ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ อดทน ความ เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น การทํางานหนัก การทํางานเพื่อส่วนรวม การประหยัด พอเพียง เข้าใจปัญหาสังคม เป็นต้น เพราะมองว่าคุณสมบัติเหล่านี้จะทําให้นักศึกษาจบไป ทํางานแล้วจะเป็นที่พึงพอใจของผู้บังคับบัญชา จะเจริญก้าวหน้าในการทํางาน ศิษย์ เก่าหลายคนที่ประสบความสําเร็จ เมื่อจบไปทํางาน 5-10 ปี ถึงจะเข้าใจเป้าหมาย การสอนของอาจารย์ อ.นิรันดร์ ชอบงานกิจกรรมนักศึกษา และงานค่ายอาสาพัฒนาของนักศึกษา เพราะในสมัยที่ท่านเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านก็เป็นนักกิจกรรม ทํางานค่าย งานชมชรม งานสโมสรคณะ และงานองค์การนักศึกษา(โดยท่านเป็น นายกองค์การนักศึกษา มข. ตอนเรียนชั้นปีที่ 4) ท่านจึงส่งเสริมให้นักศึกษามี จิตสํานึกรับใช้ประชาชน และชอบพานักศึกษาศึกษาธรรมชาติ สภาพแวดล้อม โดย เคยพานักศึกษาไปเดินป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูกระดึง ภูหินร่องกล้า และ เขตป่าสงวนดงใหญ่ อ.ปะคํา บุรีรัมย์ โดยเฉพาะการร่วมรณรงค์อนุรักษ์ป่าดงใหญ่ กับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโต พระนักอนุรักษ์ป่าดงใหญ่ในช่วงปี 2532-2533 ศิษย์เก่าหลายคนยังจําได้ดี เพราะหลวงพ่อประจักษ์เป็นผู้นํานักศึกษาเดินสํารวจ ป่าด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพานักศึกษาออกค่ายพัฒนาห้องสมุด สอนหนังสือ เด็ก อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ซื่อสัตย์ เสียสละ เพื่อส่วนรวม อดทนในการทํางาน หนักเอาเบาสู้ ใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้ อื่น ศิษย์หลายคนนําคําสอนมาปฏิบัติจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นผู้บริหาร แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 8

  9. ทั้งเป็นศึกษาธิการจังหวัด ผู้อํานวยการโรงเรียน ผู้อํานวยการ กศน. ครูอาจารย์ บรรณารักษ์ นักพัฒนา นักธุรกิจ ฯลฯ ในช่วงปี 2528-2530 อ.นิรันดร์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ท่านรักการเรียน ได้สมัครเรียนปริญญาโท 2 มหาวิทยาลัยพร้อมกัน คือสาขา บรรณารักษศาสตร์ เรียนที่ มศว.ประสานมิตร และสาขาการเมืองการปกครอง เรียนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ในช่วงเย็นหรือคํ่า) ด้วยความขยัน อดทน ทําให้ ท่านสําเร็จการศึกษาทั้งสองสาขา ในช่วงที่ศึกษาที่กรุงเทพฯ ท่านชอบไปศึกษาการ ทํางาน และช่วยงานองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) เป็นต้น และลงไปศึกษาวิถีชาวบ้าน คนจนเมืองในย่านสลัมหลายแห่ง ในช่วงนี้ท่าน ได้ศึกษาแนวคิดของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เกี่ยวกับการจัด สวัสดิการเพื่อคนจน รัฐสวัสดิการ ประชาธิปไตย และการพัฒนาชุมชน เมื่อกลับไป ทํางานท่านก็นําแนวคิดนี้ไปใช้ในการทํางานกับภาคประชาสังคม และองค์กรชาว บ้านในภาคอีสาน เมื่อมาทํางาน อ.นิรันดร์เริ่มพัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ได้นํานักศึกษา สาขาบรรณารักษ์ พัฒนาทั้งภายนอกภายในห้องสมุดจนได้มาตรฐานของการเป็น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมัยก่อนท่านพานักศีกษาเอกบบรรณารักษ์พัฒนา ห้องสมุดจนดึกดื่น นักศึกษาหลายรุ่นเคยขนย้าย จัดชั้นหนังสือ ทั้งกลางวันและ กลางคืน และทําอาหารทานร่วมกัน ศิษย์เก่าหลายคนจดจําบรรยากาศเหล่านั้น ได้ดี หลายคนนําประสบการณ์เล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการทํางานของตนเองจน ประสบความสําเร็จ เมื่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายห้องสมุดท่านพัฒนาให้มีห้องค้นคว้า ส่วนบุคคล บริการโสตทัศนศึกษา บริการฐานขัอมูล มุมค้นคว้าข้อสารสนเทศท้อง ถิ่น มุมข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์ มุมหนังสือของคําพูน บุญทวี นักเขียนซีไรท์(ที่มอบให้ ตอนมาบรรยายที่บุรีรัมย์) และเป็นผู้ไปร่วมวางแผนของบประมาณสร้างอาคารห้อง สมุดหลังใหม่(อาคาร 6 ชั้น) จนห้องสมุดได้ย้ายจากอาคารเก่ามาอยู่อาคารใหม่ 6 ชั้น แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน9

  10. พระอาจารย์ที่เน้น การสอนในคิดเป็นเหตุเป็นผล ให้มีสติ อาทิ หลวงพ่อชา สุภั ทโท หลวงพ่อพุทธทาส หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ(วัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์) หลงพ่อสมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล และหลวงพ่อสุวรรณ นาคสุวัณโณ (วัดพนม ดินสุวรรณาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์) สมัยที่ อ.นิรันดร์ บวชเป็น พระได้ธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมกับพระวัดป่าที่เพชรบูรณ์ ขอนแก่นและสุรินทร์ ท่าน อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทป ชมจากยูทูป ในหลักธรรมที่พระอาจารย์เล่านี้บรรยาย และนํามาปฏิบัติ ใช้ในการทํางาน และได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่สนใจธรรมะอยู่ เสมอ ด้านวัตรปฏิบัติท่านได้ใส่บาตรพระยามเช้าทุกวัน ที่หน้าบ้านพักที่บ้านตราด ตรวน ต.ชุมเห็ด บุรีรัมย์ เป็นพระจากวัดป่ารุ่งอรุณ ใกล้ๆหมู่บ้าน และร่วมงานบุญ ของวัดอยู่อย่างสมํ่าเสมอ ในช่วงปี 2539-2540 ดร.นิรันดร์ นํานักศึกษาและภาคประชาสังคมร่วม รณรงค์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 จนผ่านการพิจารณาของรัฐสภา จนนําไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปและเป็นยุคที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมาก สิทธิชุมชน ได้รับการยอมรับมาก การทํางานกับ องค์กรชาวบ้านจึงเป็นไปอย่างคึกคักในยุคนั้น ในยุคนั้นเป็นช่วงที่กลุ่ม นพ.ประเวศ วะสี กําลังรณรงค์เสริมสร้างความเข็มแข็ง ให้ภาคประชาสังคม(Civil Society) มีการก่อตัวตั้งประชาคมขึ้นในจังหวัดต่างๆ ดร.นิรันดร์ ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคมบุรีรัมย์หรือประชา สังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum” ซึ่งในจังหวัดอื่นก็ใช้ ชื่อคล้ายๆกัน เช่น Korat Forum, Khonkaen Forum เป็นต้น และได้ทํางาน ภาคประชาสังคมกับเครือข่ายพหุภาคี ทั้ง ครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ สื่อมวลชน พระสงฆ์ ผู้นําชาวบ้าน เอ็นจีโอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ในการพัฒนาท้อง ถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน ในปี 2541-2542 ดร.นิรันดร์ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนชุมชน (SIF) จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทางธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณผ่านรัฐบาล ผ่าน คณะกรรมการกองทุนชุมชนจังหวัด ลงสู่ชุมชนระดับกลุ่มอาชีพของชาวบ้าน เพื่อ ด้านศาสนาท่านศึกษาธรรมะของพระอาจารย์ หลายสํานัก โดยเฉพาะ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 10

  11. ทํากิจกรรมส่งเสริอาชีพ อบรมต่างๆ ให้ทุนหมุนเวียน ก่อสร้างอาคารศูนย์เด็ก ศูนย์ อบรมชาวบ้าน โรงสีชุมชน ด้วยการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ดร.นิรันดร์ ในฐานะประธาน คณะกรรมการกองทุน ได้กระจายงบประมาณลงช่วยเหลือชุมชน ชาวบ้านครอบคลุม ทุกอําเภอทั่วจังหวัด ผลักดัน งบประมาณก่อสร้างอาคารให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน หลายคน รวมทั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของสหายในเขตงานอีสานใต้ ที่อนุสรณ์สถาน ประชาชน อีสานใต้ วัดโคกเขา ต.โคกมะม่วง อ.ปะคํา บุรีรัมย์ และศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กในวัดหลายแห่ง เนื่องจากโครงการ SIF มีพี้นที่กิจกรรมพัฒนาครอบคลุมทุก อําเภอ ทุกตําบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ภายหลังสิ้นสุดโครงการปี 2542 ทาง ดร.นิรันดร์ และทีมงานได้จัดตั้งประชาสังคมบุรีรัมย์หรือกลุ่ม Buriram Forum เพื่อติดตาม ให้การสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการ SIF มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจุจบัน ทําให้ชุมชนเกิดการทักถอเครือข่ายมีความเข้มแข็ง และอาจารย์เป็น นักวิชาการที่อยู่ในใจชาวบ้านมาตั้งแต่นนั้น เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 ดร.นิรันดร์ ได้รับการประสานจากทาง สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ให้เป็น ผอ. สํานักงานประสานงานวิจัยเพื่อท้อง ถิ่นอีสานใต้ ของ สกว.ทําหน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการในท้องถิ่น ใน พี้นที่ 8 จังหวัดอีสานใต้ ได้ทําวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบล อํานาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยง ในทุกจังหวัดลงส่งเสริม ติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจายอยู่ใน 8 จังหวัด รวมแล้วไปตํ่ากว่า 50 โครงการ ส่งผลให้เกิดกระแสการศึกษา วิจัยโดย ชาวบ้าน ครู นักวิชาการท้องถิ่น พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน และ NGOs เกิดการ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในภาคอีสานใต้อย่างเข้มแข็ง ช่วงปี 2545-2547 ดร.นิรันดร์ เริ่มเข้าทํางานในตําแหน่งผู้บริหารของ มหาวิทยาลัย ในตําแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดูแลศูนย์ คอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับคณาจารย์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วางเครือข่ายอินเตอร์ เนตให้ครอบคลุมอาคารเรียน อาคารสํานักงานให้มหาวิทยาลัย และริเริ่มตั้งเสา แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน11

  12. ส่งสัญญาณไวไฟตามหอพักนักศึกษา บริเวณลานนั่งพักผ่อนของนักศึกษา และได้ จัดหาเครื่อง Server แม่ข่ายใหม่สําหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Cisco ทําให้การ ให้บริการสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ช่วงปี 2548-2551 ดร.นิรันดร์ เป็นผู้อํานวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) เป็นช่วงที่คณาจารย์ยังทําวิจัยกันน้อย อาจารย์รุ่นใหม่ยังมีประสบการณ์ทํา วิจัยน้อย อ.นิรันดร์ มีเป้าหมายจะพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ให้เก่งด้านวิจัยและด้าน บริหาร จึงดึงอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงมาเป็นรองผู้อํานวยการหลายคน และส่งให้ ไปประชุม สัมมนา อบรม ทําวิจัย กับ สกว. วช. หรือหน่วยวิจัยอื่นๆ จนหลายคน ประสบความสําเร็จ เช่น ดร.เชาวลิต สิมสวย(ปัจจุบันเป็น ผอ.สวพ.) รศ.ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์(ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะวิทยาการจัดการ) อ.สนิท พาราษฏร์(อดีตรอง ผอ.สวพ.) อ.ณัฐพล แสนคํา(ปัจจุบันรองผอ.สํานักวิทยบริการฯ) ผศ.ดร.สมหมาย ปะติตังโข(นักวิจัยดีเด่น ) อ.อัจฉรา หลาวทอง (นักวิจัยและวิทยากรของ สมาพันธ์ เอสเอ็มอี จ.บุรีรัมย์)เป็นต้น และการใช้นโยบายกระจายทุนวิจัยขนาดเล็กๆ ให้ อาจารย์รุ่นใหม่ได้ทดลองทําวิจัย ริเริ่มทําวารสารวิจัยและพัฒนา เผยแพร่บทความ งานวิจัย จัดงานแสดงผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทุกปี มีชาวบ้าน พระสงฆ์ ตัวแทน ชุมชน มาชมผลงานวิจัย มาฟังการเสนองานวิจัย ช่วงปี 2553-2555 อ.นิรันดร์ ได้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก แบบทําวิจัย ที่ Magadh University อินเดีย โดยทําวิจัยเกี่ยวกับ การวางนโยบายและแผนของ รัฐไทยในการปฏิรูประบบราชการและระบบธุรกิจ ในช่วงที่ทําวิจัยและเดินทางไป อินเดีย ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการ นักคิด นักปรัชญาหลายคน และ ท่านได้ศึกษาแนวคิดของมหาตมะ คานธี และดร. เอ็มเบดการ์ (Dr. Ambedkar) บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย โดยท่านสนใจศึกษาแนวคิด ดร.เอ็ม เบดการ์ อย่างลึก ซึ้ง ดร.เอ็มเบดการ์ เป็นผู้เสียสละทํางานให้คนยากคนจนในชนบท และต่อสู้ เพื่อ ความเท่าเทียมให้กับคนวรรณะจัณฑาลในอินเดีย ท่านทํางานพัฒนาชุมชนในชนบท อินเดียตลอดอายุขัย และท่านยังนับถือศาสนาพุทธ ท่านนําประชาชนนับแสนเข้า มานับถือพุทธศาสนา ในแทบทุกเมือง ทุกหมู่บ้านในชนบทที่ยากจนที่อินเดียจะมี แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 12

  13. รูปปั้น ดร.เอ็ม เบดการ์ ตั้งอยู่ แสดงถึงแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่าน ดร.นิ รันดร์ ได้นําแนวคิดของ ดร.เอ็ม เบดการ์ มาประยุกต์ใช้ในการทํางานช่วยเหลือ คนยากจนผ่านการทํางานของ ศปจ.บุรีรัมย์และกลุ่ม Buriram Forum โดยการ สํารวจข้อมูลคนจนที่เปราะบางในชนบทเช่น คนแก่ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็ก ยากจน บุคคลไร้สัญชาติ เป็นต้นและให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นงานที่ทําผ่าน ศูนย์พลเมืองอาสาระดับอําเภอทุกอําเภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ช่วงปี 2555-2558 ดร.นิรันดร์ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย ท่านได้ดึงอาจารย์รุ่นใหม่ๆเข้ามาร่วมงาน ได้สอนให้คําแนะนํา เทคนิคการทํางาน การบริหารงาน ฝึกวิทยายุทธ์การเดินเกมบริหารให้รุ่นน้องที่มา ร่วมงานจนหลายคนเป็นผู้บริหารระดับต้น เช่น ผมเอง(อ.ชมพู)ปัจจุบันเป็นรอง คณบดี อ.ธงชัย สีโสภณ เป็นรองหัวหน้าฝ่ายยานพาหนะ เป็นต้น เนื่องจากในอดีต รองนิรันดร์ เคยทํากิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เคยเป็นนายกองค์การ นักศึกษา จึงมีประสบการณ์ในการทํากิจการนักศึกษามาเป็นอย่างดี ได้มอบหมาย ให้ผมและอ.ธงชัย ไปเป็นที่ปรึกษาองค์การนักศึกษา และชมรมต่างๆ จนสนิทสนม เป็นทีมงานเดียวกัน เมื่อทํากิจกรรมใดก็ให้ผู้นํานักศึกษามีส่วนร่วมทุกระดับ ทั้ง กิจกรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนงานกิจการนักศึกษาจีง เจริญรุดหน้า มีประสิทธิภาพ งานกิจกรรมภายนอกได้สนับสนุนให้นักศึกษาไปออก ค่ายอาสาพัฒนาในชนบทห่างไกล และไปร่วมรณรงค์ประเด็นทางสังคมต่างๆ ไป ศึกษาการทํางานขององค์กรชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรพัฒนาเอกชน งานภายในก็สนับสนุนกิจกรรมแข่งกีฬา การเชียร์ ไหว้ครู ปฐมนิเทศนักศีกษาใหม่ งานทางศาสนาก็จัดงานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น ผลจากการพัฒนาผู้นํานักศึกษา ยุคนั้น มีผู้นํานักศึกษาส่วนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว ก็กลับมาบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่งาน กิจการนักศึกษาทั้งส่วนกลาง และของคณะ สไตล์การบริหารของรองนิรันดร์ คือ นอกจากการดําเนินงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ลุล่วงแล้วยังเน้นพัฒนาทีมงานให้ เป็นผู้บริหาร ผู้นํารุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัย ในตอนแรกลูกน้องอาจจะมองไม่เห็น แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีมองย้อนกลับไปจะเริ่มเข้าใจ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน13

  14. นักศึกษาตามปกติและให้เวลากับการไปลงพื้นที่ ทํางานกับชุมชนเป็นหลัก เพราะ ท่านบอกน้องๆว่าช่วงใกล้เกษียณอายุจะไปทุ่มเทกับการทํางานภายนอกมหาวิทยาลัย ทํางานกับชุมชน ภาคประชาสังคม โดยเน้นทํางานของ ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์) ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.บุรีรัมย์ และ กลุ่ม Buriram Forum (เครือข่ายประชาสังคมบุรีรัมย์) นอกจากนี้ ยังไปจัดรายการวิทยุทันโลกทันเหตุการณ์ ทาง สวท.บุรีรัมย์ (FM 101.75 MHz.) ทุกวันพฤหัสบดี เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สู่ประชาชนทั่วไป เป็นรายการที่จัด ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 กว่าปี ดร.นิรันดร์ ได้รับรางวัลใหญ่ระดับชาติคือ รางวัลแทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 ของเครือเนชั่น ที่จัดที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย นสพ.คมชัดลึก และทีวีเนชั่น 22 โดยจะคัดเลือก ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัญญาชน ผู้นํา ที่ทํางานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน จังหวัดละหนึ่งคนเพื่อเข้ารับรางวัล จากองคมนตรี ในจังหวัดบุรีรัมย์ผู้ที่เคยรับรางวัลนี้คือครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน แห่งมหาชีวาลัยอีสาน ต.สนามชัย อ.สตึก ด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ดร.นิรัน ดร์ ร่วมกับศิษย์เก่าจะจัดทําผ้าป่าการศึกษาระดมทุน พัฒนาห้องปฏิบัติการของ นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ ใช้ชื่อ “ห้องปฏิบัติการ นิรันดร์ กุลฑานันท์” เพื่อเป็นห้องที่นักศึกษาใช้ฝึกปฏิบัติงานหลายด้านที่เกี่ยวกับห้องสมุด เช่น งาน คอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูล งานสืบค้นสารสนเทศ งานซ่อมหนังสือ เป็นต้น เมื่อ สําเร็จการศึกษา นักศึกษาจะมีทักษะในงานด้านต่างๆ อันจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่มีคุณภาพของหน่วยงาน โดยจะทําการทอดผ้าป่ารุ่นแรก ในวันที่ 24 สิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่จัดเสวนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเกษียณอายุของ รองนิรันดร์ ด้านการช่วยเหลือสังคมภายนอก ดร.นิรันดร์ร่วมกับลูกศิษย์ และเครือข่ายประชา สังคม กําลังทําบุญผ้าป่าการศึกษา เพื่อพัฒนาห้องสมุดให้ รร.พระปริยัติธรรม บาลี วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านและ ช่วงปี 2559-2562 หลังจากหมดวาระผู้บริหารแล้ว ดร.นิรันดร์ มาสอน แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 14

  15. พระ เณรจากครอบครัวยากจนที่มาเรียน ภาษาบาลี ได้ศึกษาค้นคว้า อาจารย์ได้ นํานักศึกษา สาขาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาพัฒนาห้อง สมุดที่วัดบัวถนนด้วย โดยตั้งชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” โดยการ พัฒนาห้องสมุดจะใช้ระยะเวลา 3 ปี แบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะต้องใช้เวลาให้การ เก็บรวบรวมหนังสือ สารสนเทศที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอื่นๆ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือ เส้นทางชีวิต ดร.นิรันดร์ ครูที่เป็นที่เคารพรักของ ลูกศิษย์ นักวิชาการรุ่นพี่ที่น้องอาจารย์รุ่นหลังจะยึดเป็นต้นแบบ นักวิชาการที่ เป็นที่รักของชาวบ้าน ของเครือข่ายประชาสังคม ชนรุ่นหลังจะยึดหลักคุณธรรม แนวคิด คุณความดีที่ท่านทำาไว้เพื่อสืบสานต่อไป ชมพู อิสริยาวัฒน์ 9 มิถุนายน 2562 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน15

  16. บทกวีของ อ.บำ�รุง บุญปัญญ� นักพัฒน�อ�วุโส แต่งให้ อ.นิรันดร์ สดุดี อ.นิรันดร์น้องรัก ข่าวแว่วมาว่าเรียนจบครบห้ารอบ ชีวิตนี้มีคําตอบสิ่งใดหรือ งานเกษียณซํ้าซากจนบ่คือ ทุกอย่างก้าวแต่ละมื้อคือสิ่งใด ทุกคําถามคือนิยามแห่งชีวิต กุลฑานันท์มีนิมิตคนเมืองหล่ม จากหล่มสักเกิดอยู่ในโคลนตม จึงนิยมช่วยชนชั้นคนตํ่าตาม เขาจึงเลือกวิชาการแบบบ้านๆ สัตย์ซื่อต่อการงานช่วยแบกหาม ทุกข์หรือสุขก็มานะพยายาม ยืนต่อต้านคนทรามของแผ่นดิน แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 16

  17. เส้นทางแห่งวิถีที่เขาเลือกเส้นทางแห่งวิถีที่เขาเลือก เหมือนว่าเสือกเหมือนว่าโง่เหมือนว่าใช่ ยืนหยัดในสิทธิความเป็นไท มีความนัยลึกลํ้าในสํานึก ปลุกสํานึกศิษย์สาวหนุ่มอีสานใต้ รุ่นต่อรุ่นส่งไม้ให้ต่อสู้ อยู่กับทุกข์ผองชน....นี่คือครู ผู้ยืนอยู่สู้อธรรมมาเนิ่นนาน จาก คจก.สู่ปากมูลก็ยืนต้าน สสส.ยืนนานขบวนใหญ่ สกยอ. โดดเด่นกว่าใครๆ เขาก็ไหวในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ใช้ชีวิตคุ้มค่าความเป็นคน นิรันดรนิสัยสนงามสง่า เขาก็คือสามัญชนคนธรรมดา ยืนคงเส้นคงวาตราบนิรันดร์ บํารุง บุญปัญญา 5 กรกฏาคม 2562 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน17

  18. บทกวีที่ อ.ปร�โมทย์ ในจิต อดีตประธ�นสโมสร นักเขียนภ�คอีส�น เขียนให้ อ.นิรันดร์ มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง ปราโมทย์ ในจิต ๏๑ วันคืนกลืนอัตอั้น เอกภพกลืนกินกาล อนิจจังฝังฉาน นิรนามหยัดชี้ ๏๒ หากเติบตื่นชื่นช้อย มุ่งสืบสร้างสรรค์นํา สังคมส่องภูมิลํ้า สืบเนื่องเปรื่องปราดเอื้อ ๏๓ คุณธรณินตื่นฟื้น เสริมสั่งสมภูมิคน ปันปัญญาสง่าท้น เสียสละถ่อมทายท้า ๏๔ มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง เสริมส่งสังคมเต็ม ครูยิ่งใหญ่ให้เปรม จงเกษมเปี่ยมแปล้ จักรวาล ชัดนี้ ผลาญสืบ อยู่ยั้งยงยืน ฯ คุณธรรม ก่อเกื้อ กล้าแกร่ง โอบอุ้มแผ่นดิน ฯ ชุมชน เติบกล้า ถ้วนทั่ว ค่าล้นคนจริง ฯ หนึ่งเข้ม ถ่องแท้ เกริกค่า อยู่ยั้งตราบนิรันดร์ ฯ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 18

  19. บทกวีที่เพื่อนครู แต่งให้ อ.นิรันดร์ บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑ�นันท์ ชุด 1 นิรันดร์ รุจิระก้อง ขจรไกล กุล เกียรติผ่องอําไพ ทั่วหล้า ฑา แต้มแต่งกาลสมัย ปราชญ์แห่ง ชีวา นันท์ เอกแห่งคุณค่า ส่องหล้าคุณธรรม ครูคือผู้ก่อเกื้อ เจือจุน ผู้กอปรเกิดวิชชาบุญ ช่วยคํ้า สร้างทางต่อเติมทุน เสริมส่ง ศิษย์เจริญเลิศลํ้า นอบน้อมพระคุณครู ครูวสุพล ลือนาม : ประพันธ์ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน19

  20. บทกวีที่ลูกศิษย์ แต่งให้ อ.นิรันดร์ บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑ�นันท์ ชุด 2 นิ ราศร่าย เรื่องราว พราวชีวิต รันดร์ วิจิตร ศิษย์ประจักษ์ สลักสมัย กุล ธชาติ ปราชญ์ครูบา คว้าเส้นชัย ฑา ฤทัย มุฑิตาจิต พิศพนม นันท์ นภัส นวัตวิถี ที่สร้างสรรค์ ครู นิรันดร์ สานพันธกิจ สฤษดิ์สม ศรี ประชา แซ่ซ้อง สมาคม แผ่นดิน อุดม ชมปรัชญา ศาสตราจารย์ โกศล ชิณภา ศิษย์เอกบรรณ(คบ.)2536 : ประพันธ์ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 20

  21. อ.นิรันดร์ นักวิช�ก�รผู้อยู่ในอ้อมกอด ของประช�ชน และภ�คประช�สังคม เรียบเรียงโดย ผอ.ธงชัย สนหอม ประธาน ศปจ.บุรีรัมย์ เพื่อสังคมด้วยกันมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ที่มีการก่อตั้ง โครงการเสริม สร้างสิทธิเสรีภาพของประชาชน ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ที่มี รศ.ดร.โคทม อารียา จากจุฬาฯ(อดีต กกต.ชุดแรก) เป็นประธานในส่วนกลาง มีการ ขยายกิจกรรมอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และกฎหมายเบื้อง ต้น มาเริ่มจัดตั้งสาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้นําครู อาจารย์ ทนายความ สื่อมวลชน เอ็นจีโอ เข้าร่วมเป็นกรรมการ สสส.บุรีรัมย์ ซึ่ง อ.นิรันดร์ ได้เข้ามาร่วมงาน สสส. จึงได้รู้จักคุ้นเคยมาตั้งแต่นั้น และทํางานในองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่ทํางาน เพื่อชุมชน หลายวาระ หลายองค์กร ยาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบันก็ได้ทํางานที่ ศูนย์ ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์)ร่วมกัน ซึ่งเน้นงานช่วยเหลือคน ยากจน คนเปราะบางในชนบท งานเฝ้าระวังภัยพิบัติ และงานพัฒนา ธรรมนูญ สุขภาพตําบล ในทุกอําเภอทั่วจังหวัด ศปจ.บุรีรัมย์ เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่สืบเนื่องมาจากกลุ่ม Buriram Forum ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่เป็นความร่วมมือของประชาชนจาก หลากหลายอาชีพ ทั้งครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ สื่อมวลชน เอ็นจีโอ ผู้นําชาวบ้าน พระสงฆ์ ฯลฯ ที่มารวมตัวกันทํางานพัฒนาท้องถิ่น ปัจจุบันมีเครือ ข่ายประชาคมอยู่ทุกอําเภอในบุรีรัมย์ เรียกว่า ศูนย์พลเมืองอาสาอำาเภอ(ศพอ.)... ผมรู้จัก อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มากกว่า 30 ปี ได้มีโอกาสร่วมทํากิจกรรม แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน21

  22. เป็นภาคประชาสังคมระดับอําเภอที่ลงทํางานประสานในระดับตําบลและหมู่บ้านเป็นภาคประชาสังคมระดับอําเภอที่ลงทํางานประสานในระดับตําบลและหมู่บ้าน ต่อไป อ.นิรันดร์ ในฐานะ ผอ.ศูนย์พลเมืองอาสาระดับจังหวัดได้ขับเคลื่อนงานกับ ศูนย์อําเภอทั้ง 23 อําเภอ ภารกิจที่ขับเคลื่อนคือ การสํารวจคนยากจน คนเปราะ บาง คนป่วยคนพิการในชุมชน และประสานหน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือ บางครั้งก็ มอบของใช้จําเป็นให้คนจนเหล่านั้น มีการสํารวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติเช่นน้ําท่วม และประสานหน่วยงานรัฐมาเฝ้าระวัง รวมทั้งปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการยกร่าง ธรรมนูญสุขภาพตําบล เพื่อวางแผนแม่บทในการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมเหล่านี้ได้ รับการสนับสนุนจาก สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และเครือข่าย ประชาสังคมสาย นพ.ประเวศ วะสี และนพ.พลเดช ปิ่นประทีป ให้การสนับสนุน กิจกรรม ผมและอ.นิรันดร์ ได้ลงไปร่วมกิจกรรมของศูนย์อําเภอ ได้เห็นการทํางาน ของอาสาสมัครที่ช่วยเหลือคนจนและจัดเวทีธรรมนูญชุมชนอย่างเข้มแข็ง จากการ ทํางานแบบติดดิน และเป็นกันเองกับทุกคน ทําให้ อ.นิรันดร์ เป็นที่รักของชาวบ้าน และเครือข่าย เป็นนักวิชาการที่อยู่ในอ้อมกอดของประชาชน และจากการที่ อ.นิรัน ดร์ ทํางานกับชุมชนมายาวนาน แม้ตอนเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังแบ่งเวลามา ทํางานชุมชน ผมเห็นตอนเป็นรองอธิการบดี ก็เห็นอาจารย์แบ่งเวลาช่วงวันหยุด มาทํางานกับชาวบ้าน และประสานงานกับภาคประชาสังคมทั่วประเทศ โดยเฉพาะ องค์กรพัฒนา ประชาสังคมในภาคอีสาน ทําให้ได้รับความชื่นชมยกย่องในหมู่นัก พัฒนา นักวิชาการ นักกิจกรรมในระดับภาคและประเทศ การได้รับการยอมรับของ สังคมระดับประเทศทําให้อาจารย์ ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลแทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 ของเครือเนชั่น ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงได้รับ จากประสบการณ์ที่เคยร่วมงานกับ อ.นิรันดร์ และจากการเสวนาแลก เปลี่ยนกับอาจารย์ พอจะเรียบเรียงประสบการณ์ การทํางานเพื่อสังคม การศึกษา หาความรู้ การทําประโยชน์เพื่อชุมชน ในลําดับถัดไป แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 22

  23. ก�รทำ�ง�นเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์ ผมขอลำ�ดับก�รทำ�ง�นเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์ ดังนี้ ประชาชน ภาคอีสาน ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)และนําพาทีม งานอบรม เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ประชาธิปไตย ให้แก่ชาว บ้าน เยาวชน มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2532 อ.นิรันดร์ พานักศึกษา ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมอนุรักษ์ป่าดงใหญ๋ อ.ปะคํา ร่วมกับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโต พระนักอนุรักษ์ ชื่อดัง(ปรากฏในเพลงของแอ๊ด คาราบาว) ทํางานอนุรักษ์ป่ากับหลวงพ่อประจักษ์ พ.ศ. 2532 เริ่มทํางานพัฒนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงวัวเพื่อแก้ปัญหา ความยากจน ที่ บ้านหนองเชือก ต.เมืองแก อ.สตึก บุรีรัมย์ โดยจัดหาพ่อวัวพันธุ์ อเมริกัน-บรามัน ให้กลุ่มชาวบ้านนําไปผสมและแบ่งลูกกับทางโครงการ โดยมี อ.ไพ รัตน์ ชื่นศรี สมัยก่อนเป็นครูที่ ต.เมืองแก ช่วยประสาน (ปัจจุบัน อ.ไพรัตน์ เป็น ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์) พ.ศ. 2532 อาจารย์เริ่มจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ชื่อ รายการ “ทันโลกทันเหตุการณ์” ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.บุรีรัมย์ ทั้งภาค AM และ FM จัดสัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็น เวลา 30 ปี เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ วิเคราะห์ข่าว เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ประชาสังคม การเมือง ชุมชน พ.ศ. 2534 อาจารย์ร่วมงานกับองค์กรกลาง ในการส่งอาสาสมัครร่วม สังเกตการณ์เลือกตั้ง สส. ที่หน่วยเลือกตั้งทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้นําครู ชาวบ้าน นัก วิทยุสมัครเล่น กู้ภัย ข้าราชการ เอ็นจีโอ มาร่วมเป็นอาสาสมัครจํานวนมาก จึงเกิด การถักทอเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมของบุรีรัมย์สืบต่อมา โดยท่าน ได้ร่วมงานกับองค์กรกลาง หรือ P-NET เข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้ง สส.อีกหลาย ครั้ง ทําให้ประสานเครือข่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด พ.ศ. 2526 อ.นิรันดร์ ร่วมก่อตั้ง โครงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน23

  24. เพื่อประชาธิปไตย) จัดเวทีประชาธิปไตยในชุมชน และหมู่บ้าน พ.ศ. 2536 ดร.นิรันดร์เดินทางไปประเทศอังกฤษ ไปนําเสนอบทความ ทางวิชาการในการประชุมไทยศึกษา ที่ School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London. โดยร่วมทีมกับนักวิชาการส่วนกลาง เช่น ศ.สุริชัย หวันแก้ว(จุฬา) ศ.ดร.ธเนศร์ เจริญเมือง (มช.) เป็นต้น บทความเรื่อง ขบวนการภาคประชาชนในภาคอีสาน ในระยะเปลี่ยนผ่าน เพราะเป็นช่วงหลัง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้ดูงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ และสัมผัสวิถีชาวบ้านในชานกรุงลอนดอน พ.ศ. 2537 อาจารย์ไปประเทศฟิลิบปินส์ ไปร่วมประชุมและอบรมเกี่ยวกับ การทํางานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน ที่กรุงมะนิลา ในนามกรรมการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนนักสิทธิ มนุษยชนจากหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้ง อินโดนีเซีย สิงคโปค์ มาเลย์ พม่า ลาว กัมพูชา เวียตนาม และมีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตคนจนในสลัม และชาวนาใน ชนบท ทําให้เข้าใจเพื่อนบ้านอาเซียนมากขึ้น พ.ศ. 2538 ดร.นิรันดร์ เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนอบรม และฝึกปฏิบัติงานที่ องค์การ OCLC- Online Computer Library Center และ มหาวิทยาลัย Ohio State University(OSU) รัฐโอไฮโอ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ วางระบบฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุดทั่วโลก นอกจากได้ศึกษาเรียนรู้ในองค์การ ระหว่างประเทศและในรั้วมหาวิทยาลัยของอเมริกาแล้ว อ.นิรันดร์ ได้ลงไปศึกษา วิถีชีวิตคนจนเมือง ชาวนาเกษตรกรในชนบท ชุมชนคนไทย-ลาว ในเมืองโคลัมบัส เมืองดับบลิน และพื้นที่อื่นในรัฐโอไฮโอ ทําให้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นั่น พ.ศ. 2539 ร่วมรณรงค์สนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กับ สสร.จนได้รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นประชาธิปไตยมาก มีเครือข่ายพหุภาคีมาร่วม ด้วยมากมายโดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา มีการจัดเดินรณรงค์ในเมืองถือธงสีเขียว สนับสนุนให้สภาผ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2540 พ.ศ. 2535 ร่วมรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพกับ ครป.(คณะกรรมการรณรงค์ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 24

  25. บุรีรัมย์หรือประชาสังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum” รวมพลังพหุภาคีมาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ต่อยอดมาจากอาสาสมัคร ขององค์กรกลาง และ สมาคมสิทธิเสรีภาพฯ (FB เพจบุรีรัมย์พอรั่ม) พ.ศ. 2541 อ.นิรันดร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รักษาการ ผอ.สํานักงานคณะ กรรมการเลือกตั้ง(กกต.) จ.บุรีรัมย์ คนแรก ได้ประสานทางจังหวัดขอใช้ หอประชุม วุฒิจาตุรงคการ มาเป็นสํานักงาน กกต.จ.บุรีรัมย์ จนได้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ท่าน ได้ดึงครู แกนนําองค์กรกลางมาช่วยงาน กกต.หลายคน เช่น อ.จารุณี โอรสรัมย์ พ.ศ. 2542 อาจารย์ร่วมกับโครงการเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF-Social Invesment Fund) สนับสนุนทุนให้กลุ่มวิสาหกิจ องค์กรชาวบ้าน ในการฝึกอบรม อาชีพ ให้ทุนหมุนเวียนในกิจกรรมกลุ่ม สร้างศูนย์เด็ก ร้านค้าชุมชน ฯลฯ โดยการ สนับสนุนครอบคลุมทุกอําเภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานเป็นเครือข่ายมาจนปัจจุบัน พ.ศ. 2543 ร่วมกับ สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพ(สป.รส.) กระทรวง สาธารณสุข รณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน และจัดการประชุม สมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดเพื่อระดมปัญหา ข้อเสนอแนะ นําเสนอต่อสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ ที่จัดในส่วนกลางต่อไป พ.ศ. 2544-2546 ดร.นิรันดร์ ร่วมกับสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญหลง จัดตั้ง โหนดย่อยคือ สํานักงานประสานงาน วิจัยเพื่อท้องถิ่นอีสานใต้ ของสกว.ทําหน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการใน ท้องถิ่น ในพี้นที่ 8 จังหวัดอีสานใต้ ได้ทําวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบล อํานาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร โดยมีนักวิจัยพี่ เลี้ยงในทุกจังหวัดลงส่งเสริม ติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจาย อยู่ใน 8 จังหวัด จึงเกิดเครือข่ายภาคประชาสังคมอีสานใต้สืบต่อมาจนปัจจุบัน พ.ศ. 2546 ดร.นิรันดร์ ไปประชุมและศึกษาดูงานที่ ประเทศเยอรมัน เกี่ยวกับองค์กรภาคประชาสังคม ที่ เมืองคอนสแตน สตุ๊ดการ์ดและแฟรงก์เฟิร์ต พ.ศ. 2540 อาจารย์ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคม แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน25

  26. (Frankfurt) ประเทศเยอรมัน ร่วมกับนักวิชาการที่ทํางานภาคประชาสังคมหลาย คน เช่น ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (มสธ.) อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ดร.ปรีชา อุยตระกูล(มรภ.นม) เป็นต้น ได้แลกเปลี่ยนกับนักวิชาการ นักกิจกรรม นักพัฒนา เยอรมันเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิพลเมือง สื่อสารมวลชน วิทยุชุมชน เป็นต้น ได้มีโอกาสลงชุมชนศึกษาวิถีชีวิตชาวเยอรมัน การทํางานของภาคประชาสังคม สื่อวิทยุชุมชน ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ (University of Konstanz) พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ดําเนินงาน ศูนย์กิจกรรม ร่วมรัฐสภา-ประชาสังคม จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง) เพื่ออบรม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย สิทธิ ชุมชน แก่ประชาชนทั่วไป มีการจัดเวที การอบรม ในหลายอําเภอ และรณรงค์ ด้านสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูอนุรักษ์แม่นํ้ามูล การทุ่มเททํางานของศูนย์มายาวนาน ทําให้ ดร.นิรันดร์ ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า ประจำา ปี 2561 พ.ศ. 2552-2562 อ.นิรันดร์ร่วมงานกับคณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.บุรีรัมย์ ในตําแหน่งที่ปรึกษาทางวิชาการ ในการทํางานตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โครงการใหญ่ของหน่วยราชการในจังหวัด ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส พ.ศ. 2552-2562 อาจารย์ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิชุมชนอีสาน(ECF) ซึ่ง เป็นกลไกหลักขององค์พัฒนาเอกชนในภาคอีสาน ที่ทํางานพัฒนาชุมชนในทุกด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ที่ดิน เกษตรอินทรีย์ เด็ก สตรี เป็นต้น พ.ศ. 2554-2562 ร่วมงานกับทีม นพ.ประเวศ วะสี นพ.พลเดช ปิ่นประทีป และสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคี พัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์) เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนา ช่วยเหลือคนยากจน สํารวจพื้นที่ภัยพิบัติ และขับเคลื่อนการจัดทําธรรมนูญสุขภาพตําบลในพื้นที่ นําร่องทั้ง 23 อําเภอ จนเกิดเครือข่ายพลเมืองอาสารวมกันในรูปแบบประชาสังคม ลงทํางานกับชุมชนในทุกอําเภอ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 26

  27. ชุมชนให้ชาวบ้าน จากศูนย์พัฒนาการเมืองฯ จ.บุรีรัมย์ ในฐานะที่ทํางานอบรม ชาวบ้านเรื่องสิทธิมายาวนานกว่า 30 ปี ผู้ที่ได้รับร่วมกันคือ อ.จันทร์แดง คําลือ หาญ(โคราช)ประธานชมรมนักสิทธิมนุษยชนอีสาน ทนายสุพรรณ สาคร(อดีต กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน-สสส.) พ.ศ. 2559 ดร.นิรันดร์ ได้รับคัดเลือกจากเครือเนชั่น (ซึ่งมี นสพ.เนชั่น คมชัดลึก ทีวีช่อง 22) ให้ได้รับ รางวัลแทนคุณแผ่นดิน เข้ารับรางวัลจาก ฯพณฯ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านได้รับ ถือเป็นรางวัลระดับประเทศ ในฐานะบุคคลลที่ทํางานช่วยเหลือสังคมมายาวนาน จนผลงานเป็นที่ยอมรับระดับ ประเทศ พ.ศ. 2558 ดร.นิรันดร์ ได้รับรางวัลเมธีพัฒนาอาวุโสด้านส่งเสริมสิทธิ 2541-2542 เครือข่ายของเราเข้าร่วมงานกับโครงการลงทุนเพื่อสังคม(SIF) เป็น ช่วงที่เราได้มีโอกาสสนับสนุนงบประมาณ ให้องค์กรชาวบ้าน ทําการช่วยเหลือชาว บ้านที่ยากจนครอบคลุมทุกอําเภอใน จ.บุรีรัมยื ดร.นิรันดร์ ในฐานะเป็น ประธาน คณะกรรมการโครงการซิฟ(SIF)พร้อมด้วยคณะกรรมการที่มาจากพหุภาคี หลาย ภาคส่วน ได้นําคณะกรรมการร่วมกันกลั่นกรองโครงการพัฒนาที่เสนอจากองค์กร ชุมชนจากหมู่บ้าน ตําบลต่างๆทั่วจังหวัด และให้คําแนะนํา สนับสนุนงบประมาณ ตั้งแต่โครงการระดับหมื่นจนถึง 4-5 แสนบาท บางโครงการของปราชญ์ชาวบ้านงบ ถึงหลักล้าน รวมกรอบงบประมาณที่คณะกรรมการซิฟ บุรีรัมย์ดูแลประมาณ 200 ล้านบาท ทําให้องค์กรชาวบ้านได้ทํากิจกรรมพัฒนาตามความต้องการของชุมชน แก้ ปัญหาได้ตรงจุด ชาวบ้านก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น องค์กรชุมชนก็เข้มแข็งขึ้น นอกจาก นี้ยังมีงบประมาณช่วยเหลือชาวบ้านยากจน และเด็กนักเรียนเป็นทุนประกอบ อาชีพ ทุนการศึกษา โดยมอบให้แก่ตัวบุคคลโดยตรงอีก ประมาณ 20 ล้านบาท ที่ผมประทับใจที่ร่วมงานกับ อ.นิรันดร์ คือทํางานโครงการ SIF ช่วงปี พ.ศ. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน27

  28. ที่เรียกว่า เมนู 5 ซึ่งมีพ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ชาวบ้านเป็นประธานคณะ ทํางาน เมนู 5 มีผมเป็นหัวหน้าทีมพี่เลี้ยง ซึ่งทางคณะทํางานได้สนับสนุนงบ ประมาณให้กับคนยากจน และนักเรียนยากจนไปประมาณ 5,000 คน นันท์ ที่ท่านลงชุมชน คลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนกิจกรรม ขององค์กรชาวบ้านต่างๆ ทําให้ท่านเป็นที่รักของชาวบ้าน ของภาคประชาชน ทั่วไป เป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นที่รู้จักในระดับภาคและ ระดับประเทศ จนได้รับรางวัล แทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 จากเครือเนชั่น ซึ่งเป็น รางวัลเดียวกับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงได้รับ เป็นนักวิชาการผู้อยู่ในอ้อมกอดของประชาชนตลอดไป. ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี ในการทํางานเพื่อสังคมของ ดร.นิรันดร์ กุลฑา แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 28

  29. อ.นิรันดร์ กับง�นพัฒน�ชนบท กังวาน วงศ์วัฒนโสภณ เจ้าหน้าที่ภาคสนาม กลุ่ม Buriram Forum ซึ่งมีโอกาสทํางานใกล้ชิดกับ อ.นิรันดร์มาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ผมและคุณมนุญ มนูขจร(ปัจจุบันทํางานฝายมีชีวิตและเรียนปริญญาเอก) และคุณพัชรินทร์ พูน กลาง(ปัจจุบันเรียนต่อที่ออสเตรเลีย) ได้เข้ามาเป็นอาสาสมัครเรียนรู้รัฐธรรมนูญ (อสร.)กับทาง กกต.บุรีรัมย์ ในช่วงที่ อ.นิรันดร์ เป็นรักษาการ ผอ.กกต.บุรีรัมย์ ใน ปี 2541 ท่านได้อบรมสั่งสอนเหมือนลูกศิษย์ให้มีอุดมการณ์ในการทํางานเพื่อส่วน รวม พวกผมได้ร่วมกิจกรรมรณรงค์และตรวจสอบการเลือกตั้ง ของกตต. จนอสร. หลายคนตื่นตัวทางการเมือง และเกิดจิตสํานึกรักบ้านเกิด กลับมาทําการเกษตร ทํา ธุรกิจส่วนตัวอยู่แถวบ้านเกิด ซึ่ง อ.นิรันดร์ ให้การสนับสนุนกิจกรรมของ สมาพันธ์ อสร.ทั้งระดับจังหวัดและระดับภาคมาโดยตลอด เราทั้งสามถือว่าเป็นลูกศิษย์ของ อ.นิรันดร์ เช่นกัน ที่ท่านชี้แนะอบรมมาตลอด หลังจากนั้น ปี 2542 อ.นิรันดร์และทีมงานเข้าไปทํางานกับ โครงการเพื่อ การลงทุนทางสังคมหรือ SIF พวกผมก็ติดตามท่านไปเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของ โครงการ SIF คอยประสานงาน ประชาสัมพันธ์โครงการแก่องค์กรชาวบ้าน และ กระตุ้นให้ชาวบ้านเขียนโครงการพัฒนาขอการสนับสนุนจาก คณะกรรมการ SIF จังหวัดที่มี อ.นิรันดร์ เป็นประธาน โดยอาจารย์มีนโยบายที่จะกระจายงบประมาณ ให้ลงถึงกลุ่มชาวบ้านผู้ยากจนจริงๆ และให้ครอบคลุมทุกอําเภอในจ.บุรีรัมย์ โครง การเด่นๆที่ทีมจังหวัดให้การสนับสนุน เช่น โครงการก่อสร้างศูนย์เด็กเล็ก ในบริเวณ ผมทํางานพัฒนาร่วมกับภาคประชาสังคมบุรีรัมย์มายาวนาน 20 กว่าปี แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน29

  30. วัด แห่งละ 3-5 แสนบาท ได้สนับสนุนไปหลายแห่งทั่วจังหวัด ซึ่งอาคารศูนย์เด็ก เล็ก ของโครงการ SIF ยังใช้การได้จนถึงปัจจุบัน อายุใช้งานกว่า 20 ปี แล้ว อีกโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ SIF หนุนคือ โครงการของเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ ทั้งสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมชาวบ้าน และสนับสนุน โครงการฝึกอบรมอบรมอาชีพ ที่เรียกว่าโรงเรียนชุมชนอีสาน สนับสนุนทั้ง พ่อ ผาย สร้อยสระกลาง พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และพ่อคําเดื่อง ภาษี งบหลาย ล้านบาท นอกจากนี้ยังสนับสนุนงบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน (พิพิธภัณฑ์สหาย) บริเวณอนุสรณ์สถานประชาชนอีสานใต้ วัดโคกเขา อ.ปะคํา อีก 535,000 บาท(ผู้ประสานงานคือ คุณปรีดา ข้าวบ่อ สโมสร19) และสนับสนุนงบ สวัสดิการเร่งด่วนเพื่อผู้ยากลําบาก(ที่เรียกว่า งบเมนู5)ช่วยคนจนทั่วจังหวัด อีกราว 21,900,000 บาท ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยดันโครงการเมนู 5 คือ ผอ.ธงชัย สน หอม (ปัจจุบันเป็นประธาน ศปจ.บุรีรัมย์) และฟ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ชาว บ้าน ที่รับเป็นประธานคณะทํางานเมนู 5 การทํางานร่วมกันกับหลายฝ่าย ทําให้ อ.นิรันดร์ มีความสัมพันธ์อันดีกับปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายพระสงฆ์ เครือข่าย สหาย เครือข่ายสตรี เครือข่ายเยาวชน ฯลฯ ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง อ.นิรันดร์ กับเพื่อนนักพัฒนาภาคอีสานนั้น มีมายาวนานเกือบ 30 ปี ตั้งแต่อาจารย์มาทํางานวิจัยเกี่ยวกับคนจน และป่าชุมชน ในภาคอีสานตั้งแต่ปี 2527-2534 และทํางานพัฒนา อบรมชาวบ้านเรื่องสิทธิ กับ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ทําให้อาจารย์ได้รู้จักกับนักพัฒนาอาวุโส คือ อ.บำารุง บุญปัญญา ที่ปรึกษา คณะกรรมการองค์กรเอกชนพัฒนาชนบท ภาค อีสาน(กป.อพช.อีสาน) และทีมงานเอ็นจีโออีสานอีกหลายคน และรู้จักนักวิชาการ จากหลายมหาวิทยาลัยที่มาทําวิจัยกับเอ็นจีโอ เช่น ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว (จุฬาฯ) ศ.ดร.อานันท์ กาณจนพันธุ์(มช.) ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน (มธ.) รศ.ดร.โคทม อารียา (จุฬาฯ) ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก(มข.) เป็นต้น การออกมาทําวิจัยและพัฒนาร่วมกันนัก วิชาการระดับชาติทําให้โลกทัศน์ของ ดร.นิรันดร์ปรับเปลี่ยนไปมาก มีความลุ่มลึก และมองปัญหาวิจัยที่เป็นภาพรวมเหมือนนักวิชาการระดับชาติ ในช่วงปี 2534-2536 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 30

  31. ดร.นิรันดร์ มาเป็นประธานคณะกรรมการ สสส.ภาคอีสาน เขต 2 (สมาคมสิทธิฯ) ดูแลการอบรมสิทธิชุมชนเขต 4 จังหวัด(ชัยภูมิ โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์)การลงไป ทํางานในชนบท ทําให้เข้าใจปัญหาชาวบ้านมากขึ้น ในช่วงปี 2537-2540 ก็ไปเป็น ที่ปรึกษาของ กป.อพช.อีสาน ทําให้มองเห็นภาพรวมของสภาพปัญหาในภาคอีสาน และได้รู้จักนักพัฒนา และผู้นํา ปราชญ์ชาวบ้าน ในหลายจังหวัดในภาคอีสาน ในปี 2552-2555 ดร.นิรันดร์ ได้รับเลือกเป็นประธานมูลนิธิชุมชนอีสาน (ECF) ซึ่งเป็นกลไกหลักขององค์กรพัฒนาภาคอีสาน กรรมการมูลนิธิเลือกมาจาก ผู้อาวุโสในแวดวงพัฒนา เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ฝึกอบรม พัฒนา นักพัฒนารุ่นใหม่ และเป็นร่มประสานแหล่งทุนให้องค์กรพัฒนาขนาดเล็ก มีสํานักงานอยู่ที่ จ.สุรินทร์ โดยมีคุณพูลสมบัติ นามหล้า เป็นผู้จัดการมูลนิธิ นักพัฒนาที่มีชื่อหลายเคยเป็น กรรมการมูลนิธินี้ เช่น ลุงเอียด ดีพูน อ.สนั่น ชูสกุล อ.จรินทร์ บุญมัธยะ ทนาย สุพรรณ สาคร คุณอกนิษฐ์ ป้องภัย รศ.บุญยัง หมั่นดี เป็นต้น การได้รับเลือกเป็น ประธานแสดงถึงการยอมรับอย่างสูงในวงการนักพัฒนาต่ออาจารย์ ด้านการส่งเสริมพุทธศาสนา อ.นิรันดร์ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ พระมหาสุวรรณ นาคสุวัณโน หรือพระครูสิริปริยัติวิธาน แห่งวัดพนมดิน สุวรรณาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ ท่านจะไปร่วมงานบุญสําคัญของวัดแทบ ทุกครั้ง เมื่อ 20 ปีก่อน สมัยหลวงพ่อสุวรรณเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าตะครองใต้ ท่าน ก็สนับสนุนงบจากโครงการ SIF ในการก่อสร้างอาคารศูนย์เด็กของทางวัด ด้วยงบ ประมาณราว 500,000 บาท จนศูนย์เด็กดําเนินการมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ยัง ไปสนับสนุนงานสอน ปริยัติ ภาษาบาลี ให้พระเณรยากจน ของวัดบัวถนน ต.สูงเนิน ที่มีหลวงพี่แสงจันทร์ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อสุวรรณเป็นเจ้าอาวาสอยู่อีกด้วย โดยมี โครงการจะสร้าง ห้องสมุดเพื่อรวบรวมหนังสือธรรมะ หนังสือบาลีและหนังสือทั่วไป เพื่อให้พระเณรและชาวบ้านได้ใช้ค้นคว้า หาความรู้ นอกจากเก็บรวบรวมหนังสือ ธรรมะแล้ว จะเน้นจัดเก็บข้อมูลของท้องถิ่น เช่น ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน วัฒนธรรมประเพณีของชนไทเขมร(คนในท้องถิ่น) ภูมิปัญญาชาวบ้าน ดนตรี การ แสดงพื้นเมือง(กันตรึม) ความรู้เกี่ยวกับการทําเกษตร แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แผน แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน31

  32. แม่บทชุมชน การพัฒนาท้องถิ่นทุกด้าน ห้องสมุดนี้จะใช้ชื่อ “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” เพราะพี้นที่นี้เป็นพื้นที่หลักของอ.นิรันดร์ ในการลงพัฒนาชุมชนต่อ เนื่องมาตั้งแต่สมัยโคครงการ SIF จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 กว่าปี นอกจากแวดวงนักพัฒนาแล้ว อ.นิรันดร์ ยังสนิทสนมกับแวดวงนักเขียน และกวี เพราะท่านชอบอ่านงานวรรณกรรม เรื่องสั้น และกวี เคยเขียนบทความ เรื่อง สั้น กวี ลงวารสารครุปริทัศน์ และอื่นๆ รวมทั้งบล็อกเกอร์ในโลกอินเตอร์เน็ต โดย ใช้นามแฝงว่า จิตร ดอนดินแดง และ ขุนเขายะเยือก ท่านจะหาโอกาสไปคารวะลุง คำาสิงห์ ศรีนอก(ลาว คำาหอม)ที่ปากช่องแทบทุกปี และสนิทกับอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น กวีอาวุโสแห่งล้านนา ปราโมท ในจิต(ประธานสโมสรนักเขียนอีสาน) ลุงคำาพูน บุญทวี นักเขียนซีไรท์ และประเสริฐ จันดำา(กวีบุรีรัมย์) นฤมิตร ประพันธ์ (นักเขียนบุรีรัมย์) ถ้ามีเวลาก็จะไปร้านหนังสือนํ้าพุบุ๊คสโตร์(ของคุณวิวัฒน์ โรจนวรรณ) หางานวรรณกรรมมาอ่านเสมอ ผมซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ติดตามอาจารย์ไปเยี่ยมยาม นักเขียนกับนักพัฒนาในจังหวัดต่างๆจะเห็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาจารย์ กับนักเขียน นักพัฒนา แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 32

  33. อ�จ�ย์นิรันดร์ กลุฑ�นันท์ ครูของครูผู้อยู่อยู่ในใจของคนร�ชภัฏ ว่าที่ร.ต ทรงเกียรติ เอกา (แหลม) เจ้าหน้าที่ห้องสมุดอาวุโส หน้าที่ห้องสมุดและได้เป็นลูกน้อง ร่วมงานกับท่านอาจารย์มาโดยตลอด อาจารย์ เป็นคนกันเอง ไม่ถือตัว รับฟังข้อเสนอแนะจากลูกน้องเสมอสมัยที่ท่านเป็นหัวหน้า ห้องสมุดได้พาเจ้าหน้าที่ทํางานหามรุ่งหามค่ําเพื่อพัฒนาห้องสมุดให้ได้มาตรฐาน อาจารย์มีรูปแบบการบริหารที่เน้นให้นักศึกษาสาขาบรรณารักษ์ฯมาฝึกปฏิบัติงาน ห้องสมุดอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้นักศึกษาจะได้มีทักษะในการทํางานบรรณารักษ์ นักศึกษารุ่นเก่าๆที่จบไปเป็นครู เป็นบรรณารักษ์ ล้วนแต่ทํางานห้องสมุดเป็นทุก อย่างทั้งซ่อมหนังสือ วิเคราะห์เลขหมู่ จัดชั้นหนังสือ ฯลฯ ที่สําคัญท่านอบรมให้ ลูกศิษย์ทั้งเอกบรรณและเอกอื่นใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ กินอยู่เรียบ ง่าย มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และมีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือส่วนรวม ซึ่งมัก จะหล่อหลอมขณะพานักศึกษาทํางาน และออกค่ายอาสาพัฒนาในชุมชน ลูกศิษย์ หลายคนได้ยึดตามแนวที่อาจารย์สอนจนประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน ในสมัยก่อนนอกจากสนิทกับนักศึกษาเอกบรรณารักษ์ฯแล้ว อาจารย์ ยังสนิทกับนักศึกษาเอกประถมศึกษา(ครุทายาท รุ่น2-3) เอกพัฒนาชุมชน เอก สังคมศึกษา ฯลฯ เพราะท่านได้สอน ให้ความรู้มุมมองใหม่ๆ รวมทั้งท่านยังเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาองค์การนักศึกษาหลายรุ่น ท่านจึงเป็นครูของครูที่ลูกศิษย์หลาย เอก หลายสาขาศรัทธา เพราะท่านนํากระบวนการสอน การพัฒนาระบบคิดจาก ผมรู้จัก อ.นิรันดร์ มายาวนานเป็นเวลา 20 กว่าปี ตั้งแต่ผมเริ่มมาเป็นเจ้า แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน33

  34. มหาวิทยาลัยใหญ่มาใช้สอนในสถาบันราชภัฏ เมื่อลูกศิษย์เล่านี้จบไปทํางานเป็นครู นักพัฒนา บรรณารักษ์ เอ็นจีโอ ข้าราชการท้องถิ่น ฯลฯ เหล่าลูกศิษย์ก็ยังติดต่อกับ อาจารย์อยู่ทางสื่อโซเชี่ยลและมักจะแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน เสวนากับอาจารย์อยู่ เสมอ เป็นภาพที่ผมเห็นตลอดการทํางานกับท่านมา 20 กว่าปี เป็นความสัมพันธ์ ระหว่างครูกับศิษย์ที่ยั่งยืนมาก ลูกศิษย์หลายคนกลับมาร่วมทํางานพัฒนาชุมชน กับอาจารย์ในองค์กรภาคประชาสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น ศูนย์ประสาน งานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ที่อาจารย์เป็นกรรมการอยู่ พาหนะประจำาตัวของ อ.นิรันดร์ ถามจากอาจารย์รุ่นเก่าบอกว่าตอนบรรจุ ใหม่ ปี 2525 ท่านใช้จักรยาน ธรรมดายี่ห้อเฟสสัน ปั่นจากที่พักท่านที่หอพักชาย พยนต์เวศ(หอพักชาย2) ที่ท่านเป็นอาจารย์ประจําหอพักมาที่ห้องสมุดซึ่งไม่ไกล เป็นการออกกําลัง ต่อมาหลังปี 2532 อาจารย์เปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซด์วิบาก ยี่ห้อฮอนด้า รุ่น MTX สีขาว เพราะต้องออกไปเยี่ยมค่ายนักศึกษาในพื้นที่ห่าง ไกล แต่ก็เป็นรถมือสองเพราะท่านใช้ชีวิตพอเพียง มอเตอร์ไซด์คู่ชีพคันนี้ใช้อยู่ 6-7 ปี ทั้งขับไปเยี่ยมค่ายนักศึกษาในเขตบุรีรัมย์ และขับไปต่างจังหวัดที่ขอนแก่น มหาสารคาม โคราช ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบล เพื่อไปร่วมประชุมกับเครือ ข่ายองค์กรพัฒนา และทีมวิจัยป่าชุมชน และไปสํารวจชุมชนในชนบทห่างไกลกับ นักพัฒนา ถัดมาท่านใช้รถมอเตอร์ไซด์ซูซูกิ RC100 เพราะมอเตอร์ไซค์วิบากลูก ศิษย์ยืมไปแล้วทําหาย ในปี 2539 อาจารย์เพิ่งเริ่มซื้อรถปิกอัพใหม่ยีห้อโตโยต้า รุ่นไมตี้เอ็กซ์ เมื่อปี 2539 หลังจากทำางานมาได้ 14 ปี ถือว่าท่านใช้ชีวิตแบบ พอเพียงมาก รถปิกอัพคันท่านใช้คุ้มค่า ทั้งใช้ขับลงพี้นที่ชุมชนประสานงานกับชาว บ้าน ใช้ขนนักศึกษาเวลาไปสํารวจค่าย ใช้เดินทางไกลยามไปประชุมต่างจังหวัด ใช้ ขนข้าวของเมื่อลงชุมชน เป็นรถคู่ชีพของอาจารย์เพราะท่านใช้งานอยู่ถึง 15 ปี ถึง เปลี่ยนรถใหม่ ในปี 2556 เป็นรถปิกอัพ 4 ประตู ยี่ห้อโตโยต้า วีโก้ ซึ่งก็เน้นใช้กับ งานลงประสานชุมชน กับงานพัฒนาเช่นเดิม แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 34

  35. ทุกระดับ ไม่ถือตัว จะชอบทักทายพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ นักการทุกคน ถามสารทุกข์ สุกดิบ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทํางานหนัก ตั้งแต่สมัยเป็นหัวหน้าห้องสมุด จนขึ้น มาเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วย อธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีฯที่คุมศูนย์คอมพิวเตอร์ รองอธิการบดีที่ดูแลงานด้าน กิจการนักศึกษา ไปอยู่ในตําแหน่งไหนท่านก็ยังเป็นกันเองกับเจ้าหน้าที่ คนงานทุก คนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จึงเป็นที่รักของคนงาน เจ้าหน้าที่ ในสมัยเป็นหัวหน้า ห้องสมุดเมื่อตอนพักเที่ยง หรือเลิกงานตอนเย็น ท่านจะสมทบงบประมาณกับเจ้า หน้าที่ ทําอาหารอีสาน พวกส้มตํา นํ้าพริก ขนมจีน ทานร่วมกันเป็นประจํา ทําให้ ความสัมพันธ์ในบรรดาเจ้าหน้าที่ดีมาก สัตว์เลี้ยงของอาจารย์ อาจารย์ชอบเลี้ยงสุนัขจึงสนิทสนมกับอาจารย์ เจ้าหน้าที่หลายท่านที่ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ซึ่งหลายท่านมักพาน้องหมาไปเดินเล่น แถวบ้านพักอาจารย์ด้านหลังของมหาวิทยาลัย บริเวณตึก 14 อ.นิรันดร์ ชอบเลี้ยง หมาใหญ่หลายสายพันธุ์รุ่นละ 4-5 ตัว เป็นสุนัขที่ไม่ดุ เจ้าหน้าที่ชอบไปเล่นด้วยมี ชื่อแปลกๆ เช่น สีพันดอน(อัลเซเชี่ยล) ผาแดง(ไทยหลังอาน) คำาหอม(โกลเด้น) ร่องกล้า(โกลเด้น) คำาตัน(บ๊อกเซอร์) คำาม่วน(อัลเซเชี่ยล) ทับเบิก(อัลเซเชี่ยล) โนเกีย(หมาไทยพื้นบ้าน) เป็นต้น โดยเฉพาะโนเกีย เป็นน้องหมาที่อาจารย์รักมาก เพราะแสนรู้ ใจดี ซื่อสัตย์ ในช่วงที่อาจารย์ดํารงตําแหน่งเป็นรองอธิการบดี จะ เห็นโนเกียติดตามอาจารย์ไปทุกที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยซึ่งคนงาน นักการตาม ตึกต่างๆจะเห็นและรับรู้ถึงความซื่อสัตว์ของโนเกีย เวลาอาจารย์ไปสอนก็จะไป นอนรออยู่แถวหน้าห้อง เวลาไปประชุมที่ตึก 15 (ตึกบริหาร) ก็จะนอนรออยู่หน้า ตึก มาทํางานที่ห้องรองอธิการบดีที่อาคาร 1 ก็มารออยู่แถวนั้น ที่เห็นประจําคือ นอนเฝ้ารถปิกอัพคู่ชีพของอาจารย์ จนเลิกงานก็กลับบ้านพร้อมกัน มีอาจารย์ บางท่านบอกผมว่า เห็นภาพ อ.นิรันดร์กับเจ้าโนเกีย แล้วนึกถึง ศ.ฮิเดซาบูโร อูเอ โนะ ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น ที่เลี้ยงหมาแสนรู้ชื่อ ฮาจิโก ที่ติดตามอ.อูเอโนะ ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ อ.นิรันดร์จะเป็นกันเองกับเจ้าหน้าที่ คนงาน แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน35

  36. ไปทุกที่ไปรอรับที่สถานีรถไฟทุกวันจนเอาเรื่องราวเจ้าฮาจิโก ไปสร้างหนัง ถ้า อาจารย์ไปต่างจังหวัด เจ้าโนเกียจะมานอนรออยู่ที่ฟุตบาทปากซอยทางเข้าบ้าน พักอาจารย์ อยู่เสมอ เป็นภาพที่คนงานเห็นประจํา การไปร่วมงานของบุคลากร อ.นิรันดร์ให้ความสําคัญในการไปร่วมงาน บุญ ทั้งของคนงาน เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ ถ้าไม่ติดไปราชการต่างจังหวัดก็จะไป ร่วมงานต่างๆที่ได้รับเชิญ ทั้งงานบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานแต่งงาน และงาน ศพ ท่านเคยบอกเจ้าหน้าที่ว่าประชากรมหาวิทยาลัยมีน้อยต้อง สามัคคีกัน ไปร่วม งานซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการไปเยี่ยมบุคลากรตอนเจ็บป่วย ถ้ารู้ข่าวจะไปทันที เพื่อไปให้กําลังใจกัน ทําให้ลูกน้องยึดเป็นต้นแบบในการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล กัน วิธีการช่วยเหลือคนงาน ลูกน้องที่ยากลําบากของ อ.นิรันดร์ คือการเรียกไปช่วย งานส่วนตัวแล้วให้ค่าตอบแทน เช่น ตัดหญ้า ยกข้าวของ ช่วยจัดเบรกงานประชุม ภายนอก ฯลฯ ส่วนนักศึกษาก็ให้ทุนการศึกษา ให้ไปช่วยจัดห้องสมุด ทํากิจกรรม พัฒนา แล้วให้เบี้ยเลี้ยงค่าตอบแทน อาจารย์สนับสนุนนักศึกษาที่ทํางานนอกเวลา หารายได้มาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียนของตนเอง การเตรียมการสร้างบ้านภายนอกของอาจารย์ ผมได้ยิน อ.นิรันดร์ เตือน น้องๆอาจารย์เสมอว่าให้เตรียมสร้างบ้านเมื่ออายุใกล้ 50 ปี เพราะต้องใช้เวลาใน การผ่อนกับธนาคาร อย่าอยู่บ้านหลวงจนเพลิน ซึ่งอาจารย์ที่ใกล้ชิดก็ปฏิบัติตาม อ.นิรันดร์ ไปซื้อที่ไว้ที่บ้านตราดตรวน ต.ชุมเห็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ ติดกับ อ.สุรชัย กุหลาบเพ็ชร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นหมู่บ้านเดียวกับผม และได้เริ่ม สร้างบ้านปี 2553 เป็นบ้านปูนสองชั้น สไตล์ร่วมสมัยทรงปั้นหยา มีเนื้อที่บริเวณ บ้านกว้างเกือบไร่ อาจารย์จึงทําเป็นบ้านสวนปลูกต้นไม้ พืชผักผลไม้ไว้กิน ตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ท่านตั้งชื่อสวนท่านว่า สวนนํ้าเพียงดิน เพราะปลูกต้นไม้ ครึ้ม มีพืชปกคลุมดินจนมีนํ้าในดินชุ่มชื้นปลูกอะไรก็งามจึงตั้งชื่อเป็น สวนนํ้าเพียง ดิน ผลผลิตจากสวนท่านมักนํามาแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านทั้งกล้วยนํ้าหว้า ดอกแคนา ที่ชาวบ้านชอบนําไปต้มแล้วทายกับนํ้าพริก ในสวนท่านมีถึง 3 ต้น ท่านเลื่อมใสใน แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 36

  37. พุทธศาสนามาก ท่านและอ.สุรชัยเพื่อนบ้าน จะรอใส่บาตรพระจากวัดป่ารุ่งอรุณ ทุกเช้า ที่บริเวณหน้าบ้าน แล้วจากนั้นก็ไปจ่ายตลาดสดกับ อ.สุรชัย ที่ตลาดรถไฟ หน้าโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ทุกวันเป็นกิจวัตรที่คนในหมู่บ้านเห็น ครอบครัวของ อ.นิรันดร์ ภรรยาของอาจารย์คือ ดร.พัชนี กุลฑานันท์ ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์ มรภ.บุรีรัมย์ เป็นคนใจดี เป็นกันเอง กับชาวบ้าน น้องวันใหม่( ดญ.ชิดชนก กุลฑานันท์)เป็นบุตรสาวคนเดียวของอาจารย์ เรียนอยู่ที่ รร.สาธิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นเด็กร่าเริงเข้าได้กับทุกคน ทั้งหมดอาศัยอยู่ที่บ้านกุลฑานันท์ บ้านตราดตรวน ต.ชุมเห็ด ในบ้านยังมีคุณแม่ และหลานชายของ ดร.พัชนี อาศัยอยู่ด้วยกัน ความสัมพันธ์กับชาวบ้านในชุมชน อาจารย์มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากกับ ชาวบ้าน จะเช้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน ร่วมบุญของชาวบ้านทั้งงานบวช งานแต่ง งานศพ ขึ้นบ้านใหม่ งานบุญที่วัดก็เข้าร่วมอยู่เสมอ ทําให้ท่านคุ้นเคยกับชาวบ้านเป็น อย่างดี โดยเฉพาะกับพระสงฆ์ ท่านคุ้นเคยกับท่านเจ้าอาวาส วัดป่่ารุ่งอรุณ พระครู สุนทรธรรมวิจิตร (หลวงพ่อบุญธรรม อนาวิโล)เป็นอย่างดีเพราะท่านใส่บาตรกับ ท่านพระครูทุกเช้า ถ้าวัดมีงานบุญท่านจะปั่นจักรยานไปร่วมที่วัดซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน อ.นิรันดร์ ทํางานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมา 37 ปี เป็นครู ของครู ลูกศิษย์จบออกไปเป็นครูบาอาจารย์มากมาย และยังประกอบอาชีพอีก หลายอย่าง เช่น บรรณารักษ์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นๆ ครูกศน. เอ็นจีโอ ค้าขาย พนักงานธนาคาร ฯลฯ ท่านภูมิใจที่ลูกศิษย์ประสบความสําเร็จ นอกจากนี้ท่านเป็น ผู้บังคับบัญชาของนักการ เจ้าหน้าที่ ข้าราชการในมหาวิทยาลัย ทุกคนก็เคารพรัก ท่าน ท่านยังอยู่ในใจของชาวราชภัฏและลูกศิษย์เสมอ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน37

  38. “ปีกห้องสมุด ที่สุดแห่งมิตรภ�พ” บุญร่วม กลิ่มหอม ศิษย์เอกบรรณฯ จบปี 2536 อุทิศตนเพื่อห้องสมุดโดยแท้เพราะที่นี่คือ แรงบันดาลใจของใคร ๆ หลายคน คือ ที่เกิดความรัก มิตรภาพ ความผูกพัน คือศูนย์รวมใจของพวกเราทุกคน เพราะมี อาจารย์ ประจําภาควิชา เป็นผู้ชายมาดเซอร์ สวมแว่นตาหนา ๆ พูดช้า ๆ ชัดถ้อย ชัดคํา ด้วยน้ําเสียงที่มีพลังงานบางอย่าง ที่ทําให้ทุกคนสนใจ มาพร้อมจักรยายนต์ คู่ใจ MTX สวมแจคเจ๊ดสีดําที่เปลื้อนเขม่ารถ และย่ามใบโปรด ท่านใช้สรรพนาม แทนพวกเราว่า “พ่อ” และ “แม่” ฟังดูแล้วทําให้น้ําตาไหล ณ ปีกห้องสมุด อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ อาจารย์ผู้ที่ดึงศักยภาพของ ลูกศิษย์แต่ละคนออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ เราตั้งชมรมห้องสมุดเพื่อปวงชน ที่มี วัตถุประสงค์เพื่อออกค่ายอาสาพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียนประถมในชนบทของ บุรีรัมย์ ท่านพาพวกเราจัดระบบห้องสมุดที่ทรหด แต่ท่านก็มีวิธีการที่ปรับทัศนคติ ให้พวกเราทุกคนได้ระบายความในใจ ด้วยกระบวนการกลุ่ม Think tank Group อันเป็นส่วนหนึ่งที่ท่านมักจะทําเป็นประจํา และสว่างทุกครั้ง ชมรมห้องสมุดเพื่อปวงชน ได้ทํากิจกรรมออกค่ายอาสาทุกปี เช่น ที่ อําเภอสตึก บ้านสายโท 4 อําเภอบ้านกรวด และมาที่โรงเรียนบ้านหนองตะเคียน อําเภอบ้านกรวดอีกครั้ง มาถึงการทํางาน วันเสาร์ - อาทิตย์ ค่าแรงอันน้อยนิดวันละ 60 บาท เรา ทําเกินร้อย แต่ก็พอใจกับค่าแรงที่ได้ แม้จะพอประทังชีวิตไปวัน ๆ เพราะพักเที่ยง ปีกห้องสมุด หลายคนคงไม่เข้าใจหากมิใช่พวกเรา เอกบรรรณารักษ์ ผู้ที่ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 38

  39. เราก็ทําอาหารกินกันเอง ส้มตําแม่สุลักษณ์ เรายังมีอาจารย์ประจําภาควิชาที่ใจดีอีก คน อ.เดช เผ่าน้อย ที่มักจะเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวเรือทุกวันส่งท้ายปีเก่า ต่อชามได้ไม่อั้น และที่สําคัญ ท่านยังให้บ้านสวนแก่เราพักอาศัยฟรี ๆ พร้อม สระเลี้ยงปลา สวน ผลไม้นานาชนิดที่หลาย ๆ คนเก็บมากินกันแบบยังกับบ้านตัวเอง.... ต่อมา มีอาจารย์สุภาพสตรี มาบรรจุ อาจารย์พิกุล วงศ์ก้อม ที่เรามักจะ เชียร์ออกหน้าออกตาอีกคนอาจารย์สุฑาทิพย์ ก็เป็นพี่เลี้ยงเราในหลาย ๆ ด้าน ทั้งสอน ทั้งทําอาหารให้กินตอนทํางาน อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ ท่านเป็นนักจัดรายการวิทยุ บางวันก็ใช้ให้วิ่ง เอาเทปไปให้สถานีซึ่งอยู่ด้านหน้าวิทยาลัยครูเปิด ท่านเป็นนักกิจกรกรรมตัวยง พูด ถึงกิจกรรมนอกจากเข้าค่ายแล้ว ท่านยังพาพวกเราไปเดินป่าปะคํา กิน นอน สัมผัส ชีวิต ที่ป่าดงใหญ่ ที่หลวงพ่อประจักษ์ พาพวกเราเดินป่าข้ามไปจังหวัดนครราชสีมา ดูต้นไม้ใหญ่ และพากพวกเราบวชต้นไม้ ที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ป่า ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน พาพวกเราขึ้นรถโดยสารไปดูนกที่นํ้าตกตาดโตน ชัยภูมิ นอนเต้นท์ ฟังเสียงนํ้าตก ฟังเสียงนกร้อง นั่งล้อมกองไฟ ต้มนํ้า ชงชา ดื่ม แก้หนาวบนภูกระดึง ร้องเพลง “คนเก็บฟืน” จนฟืนหมด ท่านเล่นกีต้าร์ เราร้อง เพลง นกร้องเพลง ฟังเสียงสัตว์ป่า และยังพาพวกเราไปเยี่ยมบ้านเกิดอาจารย์ที่ อ.หล่มสัก เพชรบูรณ์ ยังมีเรื่องราวที่ประทับใจอีกมากมายเกี่ยวกับอาจารย์ ผู้ที่ให้ลูกศิษย์ทุกคน แม้แต่จักรยานสีฟ้า ที่ท่านให้พวกเรามาใช้ เรายังซ้อน 4 ไปเที่ยว (อันนี้รู้กัน) เมื่อใดที่ท่านจะใช้พวกเรา ท่านจะเรียก พ่อศรีไพร พ่อดํารงค์ พ่อโกศล พ่ออธิวัฒน์ พ่อธีรพล พ่อประหยัด พ่อพิเชษฐ์ พ่อวัชระ พ่อสุพรรณ พ่อทศพร และพ่อบุญร่วม ส่วนผู้ใหญ่ ก็จะเรียกว่า “แม่” แม่ประสบพร แม่ประยูร แม่ปนัดดา แม่กนิษฐา แม่ดวงแข แม่สุพิศ แม่สุวรรณา แม่ธานี แม่สมเพียร แม่รัชดา แม่จารุณี แม่กัลยา แม่เกสร แม่กนกพร แม่พุทธชาด แม่จันทร์ แม่ยุพาพร แม่ไพร แม่สุลักษณ์ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน39

  40. มองโลกในมุมที่คนอื่นไม่เคยมอง สอนให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ โดยแท้จริง จะมีมีพวกเราในวันนี้ วันที่พวกเรามีอาชีพที่มั่นคง และมั่งคั่งด้วยความ เป็นมิตรภาพหากไม่มีชายผู้ที่ชื่อว่า “นิรันดร์ กุลฑานันท์” ไม่ว่าลูกศิษย์จะเป็นอย่างไร ท่านก็คงใช้คําสุภาพ ท่านสอนให้พวกเรารู้จัก ด้วยจิตคาระ ครูผู้ให้ เอกบรรณฯ 2536 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 40

  41. สิทธิที่ดินทํากิน หนี้สิน โรคภัย ราคาพืชผลตกตํ่า...เป็นภารกิจหลักที่นักวิชาการ ปัญญาชน นักพัฒนา จะต้องเข้าไปแบกรับ ช่วยเหลือเหมือนแสงเทียนที่จุดท่ามกลาง ความมืด ที่นําทางประชาชนให้พ้นทุกข์แม้วันนี้จะมีปัญหา อุปสรรคมากมาย แต่การเริ่มต้นเข้าไปรับรู้ปัญหา และหาทางออกร่วมกับชาวบ้าน ย่อมเป็นงานที่ ควรทําเพื่อทดแทนคุณของแผ่นดิน....... ในสภาวะที่ชุมชน ชาวบ้าน ประสบปัญหาหลายด้านทั้งปัญหาภัยแล้ง มังกรซ่อนตนแห่งอีสานใต้ 17 สิงหาคม 2562 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน41

  42. กำ�หนดก�รง�นเสวน�ท�งวิช�ก�รเรื่อง “ส�รสนเทศ ภูมิปัญญ� เพื่อก�รพัฒน�ท้องถิ่น” เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคาร 14 (อาคารดนตรี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 08.00-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.15 น. พิธีเปิดโดย ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 09.15-09.30 น. กล่าวต้อนรับและพูดความในใจ โดย ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ 09.30-10.15 น. ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญา กับการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง” โดย อ.บํารุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโส ภาคอีสาน ผู้ร่วมเสวนา คุณโกวิท กุลสุวรรณ อดีตผู้จัดการ มูลนิธิพัฒนาอีสาน(NET) 10.15-10.30 น. เบรกกาแฟ 10.30-12.00 น. เสวนาเรื่อง “สารสนเทศ ภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย อ.พูนสมบัติ นามหล้า อดีตผู้จัดการ มูลนิธิชุมชนอีสาน อ.ไพรัตน์ ชื่นศรี ปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์ ทนายสุพรรณ สาคร นักสิทธิมนุษยชนอาวุโส อีสานใต้ ผอ.ธงชัย สนหอม ประธานศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 42

  43. 12.00-13.00 น. พักเที่ยง 13.00-13.20 น. บรรยายธรรมโดย พระครูสิริปรัยัติวิธาน (หลวงพ่อพระมหาสุวรรณ) วัดพนมดินสุวรรณาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ 13.20-13.40 น. ตัวแทนศิษย์เก่าถวายองค์ผ้าป่าการศึกษา จัดตั้งห้องปฏิบัติการนิรันดร์ กุลฑานันท์ ของสาขา บรรณารักษศาสตร์ แด่ พระครูสิริปรัยัติวิธาน (หลวงพ่อพระมหาสุวรรณ) 13.40-14.00 น. ตัวแทน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม 23 อําเภอ และเครือข่ายต่างๆ มอบของที่ระลึก ให้ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ผศ.ดร.พรทิพา ดําเนิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มรภ.บุรีรัมย์ ดร.เชาวลิต สิมสวย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.บุรีรัมย์ ทนายสมเกียรติ คนชาญ ผู้จัดการ บริษัท G4S Service อดีตนายกองค์การนศ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น พระมหาแสงจันทร์ กิตติญาโณ เครือข่ายพระสงฆ์เพื่อการศึกษา ดร.ดําเกิง โถทอง เครือข่ายนักวิชาการอีสานใต้ อ.ธนาชัย ธนาหิรัญบุตร เครือข่ายครูภาคอีสาน อ.วิโรจน์ เอืยมสุข อดีต รอง ผอ.สํานักงานอธิการบดี คุณวิวัฒน์ โรจนวรรณ ร้านนํ้าพุบุ๊คสโตร์ ดร.กันตภณ โชคกลางเดือน อดีต รอง ผอ.วิทยาลัยชุมชน จ.ยโสธร อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (ผู้ดําเนินการเสวนา) แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน43

  44. 14.00-14.10 น. การรําบายศรี ของนักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ 14.10-15.30 น. พิธีบายศรีสู่ขวัญ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ 15.30-16.00 น. ผู้ร่วมงานรับวัตถุมงคล จากพระครูสิริปรัยัติวิธาน (หลวงพ่อพระมหาสุวรรณ นาคสุวัณโณ) พิธีกรในงาน ดร.สุธีกิตติ์ ฝอดสูงเนิน และ อ.จารุณี โอรสรัมย์ พิธีกรผู้ช่วย นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ องค์กรร่วมจัดง�น • ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์) • กลุ่ม Buriram Forum • ศูนย์วิจัยชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.บุรีรัมย์ • สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ • ชมรมศิษย์เก่าบรรณารักษศาสตร์ มรภ.บุรีรัมย์ • ชมรมศิษย์เก่านักกิจกรรม มรภ.บุรีรัมย์ • กองทุน ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ เพื่อการพัฒนา แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 44

  45. กำ�หนดก�รง�นเกษียณอ�ยุร�ชก�รกำ�หนดก�รง�นเกษียณอ�ยุร�ชก�ร ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑ�นันท์ (ภ�คกล�งคืน) วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคาร 14 (ใกล้กับฝ่ายประปา) ติดประตูหลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 17.00-18.00 น. 18.30-19.00 น. 19.00-19.10 น. 19.10-19.30 น. 19.30-19.45 น. 19.45-19.50 น. 19.50-20.30 น. 20.30-20.45 น. 20.45-22.00 น. 22.00 น. ตัวแทนศิษย์เก่าเอกบรรณารักษศาสตร์ ประชุมจัดตั้งชมรมศิษย์เก่า เริ่มงานเลี้ยงโต๊ะจีน ลูกศิษย์เขียนคําอวยพร และถ่ายภาพกับ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ บริเวณหน้างาน บนเวทีเชิญศิษย์เก่าแต่ละรุ่นส่งตัวแทน ขึ้นร้องเพลงคาราโอเกะ ขับกล่อม พิธีกรโดย ดร.ภูมิไพรัตน์ อนุพันธ์ และ ผอ.อุทัยวรรณ โพธิ์กระจ่าง การรําอวยพรโดย นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ กล่าวเปิดงาน โดย ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ตัวแทนศิษย์เก่ามอบของที่ระลึกให้ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ตัวแทนศิษย์เก่ามอบปัจจัยผ้าป่าการศึกษา เพื่อปรับปรุงห้องปฏิบัติการนิรันดร์ กุลฑานันท์ แก่ ผศ.ดร.กิ่งแก้ว ปะติตังโข หัวหน้าสาขาบรรณารักษศาสตร์ ทางสาขามอบหนังสือขอบคุณ พิธีมอบเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่น โดย ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ การร่วมร้องเพลงในอดีตโดย ผศ.ดร.นิรันดร์กับศิษย์เก่า การขึ้นกล่าวและการแสดงของศิษย์เก่าแต่ละรุ่น สลับการร้องเพลงจากตัวแทนศิษย์เก่า ปิดงาน เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน45

  46. รูปภาพ อ.นิรันดร์ บางส่วน ถ่ายกับ นศ.อศศ.บรรณารักษ์ พ.ศ.2532 ถ่ายกับ นศ.เอกบรรณารักษ์ พ.ศ.2535 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 46 46

  47. ถ่ายกับ นศ.กิจกรรม บนภูกระดึง พ.ศ. 2534 ถ่ายกับ มอเตอร์ไซด์คู่ใจ พ.ศ. 2533 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน47 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน47

  48. ถ่ายกับบัณฑิตและอาจารย์สาขาบรรณารักษศาสตร์ ยุคปัจจุบัน ถ่ายตอนเข้ารับรางวัลแทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 48 48

More Related