1 / 140

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดสงขลา

สรุป กฏหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ โดย อัยการเลอศักดิ์ ดุกสุขแก้ว 074-311057 ต่อ 104 086-3356203. สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดสงขลา. ยืม 1 .คู่สัญญาต้องมีเจตนาที่จะทำสัญญากัน ม. 149

nita-meyer
Télécharger la présentation

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดสงขลา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุป กฏหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ โดย อัยการเลอศักดิ์ ดุกสุขแก้ว 074-311057 ต่อ 104 086-3356203 สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดสงขลา

  2. ยืม 1.คู่สัญญาต้องมีเจตนาที่จะทำสัญญากัน ม.149 -การกู้ยืมเงินในส่วนราชการเพื่อปฏิบัติราชการไม่ถือเป็นการกู้ยืมเงินตาม ป.แพ่ง เป็นเรื่องระเบียบราชการ หากเกิดความเสียหายเป็นเรื่องละเมิด 2.ความสามารถในการทำนิติกรรม -หากบริษัทไม่มีวัตถุประสงค์ประกันวินาศภัยจะอ้างเหตุว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์ไม่ได้ (ฎ.4211-12/2528) -วัตถุประสงการกู้ยืมไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ม.150

  3. มาตรา 640“อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

  4. ยืมใช้คงรูป ลักษณะยืมใช้คงรูป 1.วัตถุแห่งหนี้คือทรัพย์สิน เป็นสังหาริมทรัพย์ 2.เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน ตามมาตรา 640 พิจารณาผู้ยืมเป็นสำคัญ ม.648 ผู้ให้เช่าไม่ต้องรับผิดรอนสิทธิ 3.เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม(ม.640) 4.เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน (ม.641)

  5. 1.หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป1.หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป 1.1 หน้าที่เสียค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา ส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม(ม.642) มาตรา 642   ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

  6. 1.2 หน้าที่ต้องระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สินที่ยืม (ม.643) มาตรา 643ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

  7. 1.3 หน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืม (ม.644) • มาตรา 644    ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

  8. 1.4 หน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม (ม.640,646) • มาตรา 646    ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืม เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้

  9. 1.5 หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม (ม.647) • มาตรา 647    ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย

  10. 2. ความรับผิดของผู้ยืมในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย 2.1 เมื่อผู้ยืมกระทำผิดหน้าที่ มาตรา 643 มาตรา 643ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

  11. 2.2 ผู้ยืมสามารถฟ้องผู้กระทำละเมิดได้หรือไม่ อยู่ที่ว่าผู้ยืมมีหน้าที่ต้องรับผิดกับผู้ให้ยืมหรือไม่ มาตรา 643

  12. การระงับของสัญญายืม 1.ผู้ยืมตาย 648 • มาตรา 648    อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม 2.เหตุอื่น 2.1ผู้ยืมคืนทรัพย์ 2.2ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือสิ้นสภาพ 2.3เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 645

  13. อายุความ • 1.อายุความเรียกค่าทดแทน มาตรา 649 “ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา” คือกรณีผิดสัญญา มาตรา 643,644,และ 647

  14. 2.อายุความเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืม2.อายุความเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืม กรณีฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืมไม่มีกำหนดอายุความจึงใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 หากเป็นการติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 ถือเป็นกรณีไม่มีกำหนดอายุความ -เทียบเคียงเรื่องสัยญาเช่า 1582/17 ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สินที่ผู้เช่าเอาไปอายุความ 10 ปี ส่วนทรัพย์ที่เช่าบุบบสลายอายุความ 6 เอนตามมาตรา563

  15. ยืมใช้สิ้นเปลือง • มาตรา 650“อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณที่มีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

  16. สาระสำคัญของการยืมใช้สิ้นเปลืองสาระสำคัญของการยืมใช้สิ้นเปลือง • 1.เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน โดยผู้ให้ยืมไม่มีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อผู้ยืม การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเป็นเพียงการทำให้สัญญายืมบริบูรณ์เท่านั้น แต่อาจมีค่าตอบแทนเช่น กู้ยืมเงินเรียกดอกเบี้ย • 2.เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ดังนั้น 2.1 หลักผู้ให้ยืมต้องมีกรรมสิทธิ์ แต่หากมีอำนาจให้ยืมก็ทำได้ เช่น เงินภริยา หรือของมารดา(ฏ 754/23,16/2534) 2.2 กรณีที่เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินที่ยืมผู้ยืมต้องรับผิด ต่างกับยืมคงรูป

  17. 3.วัตถุแห่งหนี้ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป เช่นยืมข้าวสาร ยืมสังกะสีหรือกระเบื้องถือเป็นใช้ไปสิ้นไป (ฏ905/2505) • 4.เป็นสัญญาบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม เช่นเดียวกับยืมใช้คงรูป

  18. หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลืองหน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง • 1.หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบและส่งคืน ม.651 “ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย” • 2.หน้าที่คืนทรัพย์สิน ม.650 • 3.กำหนดเวลา 3.1สัญญายืมมีกำหนดเวลาใช้คืน ต้องคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เว้นแต่ผู้ยืมไม่ถือประโยชน์เงื่อนเวลา เช่น ปฏิเสธว่าไม่เคยกู้ยืม(1098/2507)หรือกรณีเจ้าหนี้มรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 1754(ฏ.3994/2540)

  19. อายุความของเจ้าหนี้มรดกอายุความของเจ้าหนี้มรดก • 1754 วรรคสาม “....ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก”

  20. 3.2 สัญญายืมไม่มีกำหนดใช้คืน ต้องบังคับตามมาตรา 652 “ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบองกล่าวนั้นก็ได้” -กรณีสัญญากู้ยืมไม่กำหนดเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวตามมาตรา 652 (ฎ.2103/2535) หมายเหตุ หนี้ถึงกำหนดชำระกับลูกหนี้ผิดนัดต้องแยกกัน ลูกหนี้ผิดนัดเป็นเรื่องดอกเบี้ยความรับผิดตามมาตรา 203

  21. อายุความของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอายุความของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง • 1.ถือเป็นกรณีที่กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเอาไว้เป็นพิเศษ จึงใช้อายุความทั่วไปในการบังคับ ตามมาตรา 193/30 คือ 10 ปี 2660/45 ร.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง ถือเป็นสัญญาไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน เมื่อกู้ยืมวันที่ 12 มิถุนายน 2523 โจทก์ผู้ให้กู้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความเริ่มนับถัดจากวันทำสัญญาคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและ 193/12

  22. 2.กรณีมีการตกลงผ่อนชำระหนี้เงินกู้เป็นงวดๆรวมทั้งดอกเบี้ยและต้นเงินจนหมดหนี้ อายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33(2) • 3.กรณีผู้ยืมตายก่อนครบกำหนดสัญญาสัญญายืมย่อมระงับ อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม

  23. การกู้ยืมเงิน • มาตรา 653 การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

  24. ลักษณะของสัญญากู้ยืมเงินลักษณะของสัญญากู้ยืมเงิน 1. สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองชนิดหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่อง หลักฐานการกู้ยืม ดอกเบี้ย และการชำระหนี้ ดูเจตนาคู่กรณีว่าตั้งใจกู้ยืมกันหรือไม่ เช่น ผู้กู้ฝากเงินผู้ค้ำไปใช้เจ้าหนี้แต่ผู้ค้ำขอเงินจำนวนดังกล่าวใช้ก่อนและดอกเบี้ยตนจะชำระเจ้าหนี้เอง ถือเป็นสัญญากู้ยืม(581/2501) 2.กรณีที่ไม่ใช่สัญญากู้ยืม 2.1ยืมเงินทดรองของหน่วยงานราชการ 2.2สัญญาเล่นแชร์เปียหวย

  25. 2.3ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ 2.4มอบเงินลงหุ้นเพื่อดำเนินการกิจการร่วมกัน 2.5เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ใช่กู้ยืมเงินไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ 2.6สัญญาบัตรเครดิต ไม่ใช่กู้ยืมเงิน ไม่ต้องห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี 3. สาระสำคัญการกู้ยืมเงินต้องส่งมอบเงิน ตามมาตรา 650 อาจเป็นการส่งมอบในลักษณะการแปลงหนี้ก็ได้ เช่น โอนปืนให้บุตรไม่ได้จึงโอนให้บุตรเขยแต่ให้บุตรเขยทำสัญญากู้ยืมเงินบุตรไว้บังคับได้(ฏ.333/2495)

  26. ก่อนโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลย โจทก์ได้ให้จำเลยทำสัญญากู้ประกันความเสียหายหากธนาคารบังคับกับโจทก์แม้ขณะทำสัญญาหนี้เงินกู้ยังไม่เกิด แต่ก่อนฟ้องธนาคารได้หักเงินในบัญชีโจทก์ชำระหนี้เงินของจำเลย สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยบริบูรณ์จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้ต่อโจทก์(ฎ.4684/36) แต่ฏ.3781/33 กรณีทำสัญญากู้และค้ำประกันกรณีเช่าโฉนดประกันตัวผู้ต้องหา ไม่บริบูรณ์ศาลให้เหตุผลว่าขณะทำสัญญายังไม่รู้ว่าศาลตีราคาประกันเท่าไหร่ เป็นหนี้ไม่แน่นอน (ความเห็นหากมีการนำไปประกันจริงก็บังคับได้)

  27. -จำเลยฉุดคร่าน้องสาวโจทก์อายุ20 ปี ไป แล้วยอมชดใช้ค่าเสียหายโดยทำสัญญากู้ยืมเงินไว้กับโจทก์ ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้ปกครองของน้องสาวไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ไม่ได้(ฎ.1566/99) • สินสอดแปลงเป็นสัญญากู้ก็ได้(ฎ.2237/19)

  28. 4.หลักฐานแห่งสัญญากู้ -ต้องฟ้องตามสัญญากฎหมายถึงบังคับให้ต้องมีสัญญา ถ้าฟ้องให้ชำระหนี้ตามตั๋วเงินที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ไม่จำต้องมีหลักฐานสัญญากู้(ฎ.4124/2542) หลักฐานที่กฎหมายบังคับตามมาตรา 653 ประกอบด้วย 1 ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ แค่มีสาระสำคัญเข้าใจว่าเป็นการกู้ยืมเงิน ลงลายมือชื่อผู้กู้ก็บังคับได้ เช่น -บันทึกประจำวัน(ฎ.1567/99) -บันทึกคำเบิกความในศาล(ฎ.3498/46,2950/49)

  29. -เคยกู้400,000บาทไม่ได้ทำสัญญาต่อมาจำเลยขอกู้อีก 4,000,000 บาท โจทก์ลงในสัญญา เป็น 4,500,000 บาทแม้สุดท้ายครั้งหลังจะไม่ได้กู้ยืมเงินกันจริง แต่สัญญาดังกล่าวก็บังคับกันได้จำนวน 500,000 บาท ถือว่าการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว(2335/48)

  30. -เช็คไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เว้นแต่มีเอกสารอื่นประกอบด้วย เมื่อประมวลแล้วเข้าใจว่าเป็นสัญญากู้ ก็ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้(ฎ.2405/20) -มอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ไว้มีข้อความว่า “ข้าพเจ้า ด.เจ้าของรถได้นำรถจำนองไว้กับ ช.เป็นเงิน 50,000 บาท”แล้วลงลายมือชื่อไว้ ไม่ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (ฎ.2051/2545)

  31. 2 ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น -คนอื่นลงแทนไม่ได้ -จดหมายมีข้อความว่าตนยืมเงินโจทก์แล้วลงชื่อไว้ด้วยเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว(3148/2530) -แม้ลายมือผู้ให้กู้ปลอม แต่ลายมือผู้กู้ได้ลงไว้จริงบังคับได้(6930/37) -มอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการกู้แทนตนบังคับได้ และให้ถือสัญญาจำนองเป็นสัญญากู้ยืม สัญญากู้ยืมบังคับกันได้(3039/43,2900/50) -ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใด ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเดียวกัน พยานรับรอง 2 คนบังคับได้เช่นลายมือชื่อ มาตรา 9 ว.2และไม่จำต้องบรรลุนิติภาวะ

  32. 3 หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีเมื่อไหร่ -มีภายหลังก็ได้แต่ต้องมีก่อนฟ้อง ไม่ใช่แบบนิติกรรมที่ต้องมีขณะทำสัญญา(2161/42) -หากไม่มีหลักฐานฯจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ เป็นแค่หลักฐานในการฟ้องร้อง ดังนั้นหากฟ้องบังคับจำนองสัญญากู้ที่ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมบังคับกันได้(ฎ.1604/36) 4 การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีในศาลไม่ได้ -เมื่อไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเจ้าหนี้ก็จะอ้างสิทธิยึดโฉนดไว้ไม่ได้เช่นกัน

  33. 5.กรณีมีการแก้ไขจำนวนเงิน5.กรณีมีการแก้ไขจำนวนเงิน 5.1 แก้ไขจำนวนเงินในขณะทำสัญญากู้ บังคับได้ตามที่แก้(1154/11) 5.2 แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมเพิ่มครั้งใหม่ โดยลูกหนี้ยินยอมบังคับได้เฉพาะจำนวนเดิม จำนวนใหม่ถือว่าไม่มีหลักฐาน(326/07) 5.3 เจ้าหนี้แก้สัญญาเดิมเพิ่มจำนวนเงินโดยลูกหนี้ไม่ยินยอม จำนวนที่เพิ่มไม่ต้องรับผิด สัญญาเดิมถือว่ามีหลักฐาน(1860/2523,3028/27,407/42) 5.4 สัญญากู้ไม่กรอกจำนวนเงินผู้กู้ลงชื่ออย่างเดียว เจ้าหนี้ใส่จำนวนเงินสูงกว่าที่กู้ยืมกันจริง สัญญาปลอมบังคับไม่ได้เลยแม้ลูกหนี้รับว่ากู้ตามจำนวนที่เป็นจริงก็ตาม(1532/26,1539/48)

  34. ผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ตาม 5.4 เป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ก็ไม่ต้องรับผิดแม้ผู้ค้ำไม่ฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นว่าได้ตาม ป.วิแพ่ง ม.245(1)ประกอบ 247(1539/48) แต่ถ้ากรอกตามความเป็นจริงก็สัญญากู้สมบูรณ์ 5.5 กรณีที่ทำสัญญากู้ 2 ฉบับ ฉบับแรก 7,000 บาทตามความจริง ฉบับ 2 ลง 14,000 บาท และตกลงกันว่าหากผิดนัดยอมให้เจ้าหนี้ฟ้องตามสัญญาฉบับที่ 2 สัญญาเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ต้องห้าม เรียกผลประโยชน์เกินสมควร จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเฉพาะ 7,000 บาท ส่วน ผู้ค้ำเงินกู้ฉบับ 2 ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ได้ค้ำประกันเงินกู้ฉบับที่ 1 (730/08)

  35. 6. ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ 2 มาตรา คือ มาตรา 7“ถ้าต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี” มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “หนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยไปตามนั้น”

  36. ดอกเบี้ยต้องมีการตกลงกันจึงจะคิดได้ หากในสัญญาตกลงกันแต่ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยก็เรียกร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าผิดนัดเรียกได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเช่นกัน ดอกเบี้ยปกติร้อยละสิบห้าต่อปีเมื่อผิดนัดก็เรียกร้อยละสิบห้าต่อปีระหว่างผิดนัดก็ได้

  37. ดอกเบี้ยเกินอัตรา มาตรา 654“ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี” พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พงศ.2475 มาตรา 3“บุคคลใดให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะทั้งหมด

  38. กรณีที่มีการหักดอกเบี้ยล่วงหน้าในต้นเงิน ซึ่งดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หนี้ประธานสมบูรณ์ส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ (1452/11..,4372/45) แต่ดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันฟ้องเจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะเรียกจากลูกหนี้ • มาตรา 173“ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่ จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้”

  39. กรณีที่มีการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราไปแล้ว จะเรียกคืนได้หรือไม่ -เจ้าหนี้ทั่วไป ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจของลูกหนี้ม.407(1747/22) -สถาบันการเงิน ไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจของลูกหนี้(3037/47,2165/48)

  40. ดอกทบต้น มาตรา 655 วรรคหนึ่ง “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งคู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงกันเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดีหาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่”

  41. ข้อตกลงดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย แต่ ฏ.342/40 มาตรา 655 วรรคหนึ่งไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายดังนั้น แค่ผู้กู้ลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็บังคับได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

  42. การนำสืบการชำระหนี้เงินกู้การนำสืบการชำระหนี้เงินกู้ • มาตรา 653 วรรคสอง “ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” 1.ต้องเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 2.บังคับเฉพาะกรณีนำสืบการใช้เงิน 2.1 ต้องเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินตรา 2.2 การชำระหนี้ด้วยของอื่น มาตรา 321

  43. รับเงินจากลูกหนี้ของลูกหนี้ไม่ใช่การรับชำระหนี้ด้วยอย่างอื่น(ทางหลวง)(841/03)แต่ฎีกา 1452/11 มอบฉันทะให้เจ้าหนี้รับบำเหน็จแทนถือเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ต่างกันเพราะคดีหลังได้ให้การเป็นประเด็นไว้ • ออกเช็ค,มอบบัญชีธนาคารพร้อมใบมอบฉันทะให้ถอนเงินชำระหนี้,มอบatmให้เจ้าหนี้ถอน,ส่งเงินทางไปรษณีย์,ชำระหนี้โดยโอนเงินเข้าบัญชี ถือเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น 2.3 ชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง

  44. 3.นำสืบได้เฉพาะมีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้3.นำสืบได้เฉพาะมีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ • 3.1 มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง • 3.2 เวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานกู้ยืม • 3.3 แทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

  45. กู้ยืมเงินแล้วรับทรัพย์สินอื่นแทนเงินกู้ยืมเงินแล้วรับทรัพย์สินอื่นแทนเงิน • มาตรา 656 “ถ้าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้ ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ...

  46. วรรคสอง ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้หนี้อันระงับไปเพราะการชำระหนี้เช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ วรรคสาม ความตกลงกันอย่างใดๆขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ท่านว่าเป็นโมฆะ”

  47. ค้ำประกัน • มาตรา 680 “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

  48. ลักษณะสำคัญของสัญญาค้ำประกันประกอบด้วยลักษณะสำคัญของสัญญาค้ำประกันประกอบด้วย • 1.ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก ค้ำประกันจะต้องเป็นการประกันด้วยตัวบุคคล ไม่ใช่ทรัพย์สิน เช่น สั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าค้ำประกันเงินกู้ 2223/39 นำเงินฝากไปประกันหนี้บุคคลอื่นกับธนาคารไม่เป็นสัญญาค้ำฯ 762/19 สัญญาค้ำประกันไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ก่อน

  49. 2. ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ อาจเป็นหนี้โดยสัญญาหรือละเมิดก็ได้ 4781/33 หนี้เช่าหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหา ขณะทำสัญญาประกันยังไม่มีหนี้ จึงไม่มีหนี้ประธาน(แย้ง) แต่ ฎ.4684/36 โจทก์ค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร โจทก์จึงให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน แม้ขณะทำสัญญาหนี้ประธานยังไม่เกิด แต่ก่อนฟ้อง ธนาคารได้หักเงินบัญชีของโจทก์แล้วถือว่ามีหนี้ประธานแล้ว -กรณีจำเลยตกลงในคดีอาญากับโจทก์ว่า ให้โจทก์ใช้หลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหา หากผู้ต้องหาผิดนัดกับพนักงานสอบสวนตนจะยอมรับผิด ไม่ถือเป็นค้ำประกัน การมาไม่มาตามนัดไม่ได้เป็นการชำระหนี้ ที่จำเลยต้องรับผิดเมื่อผู้ต้องหาไม่มาตามนัด ไม่ต้องมีหลักฐานฟ้องได้(333/32,1302/34)

  50. - ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ป.วิแพ่ง มาตรา 274 ไม่ใช่การค้ำประกันตาม ม.680 ผู้ค้ำจะอ้างสิทธิตาม 688,690 ไม่ได้ แต่หากผู้ค้ำได้ชำระหนี้ดังกล่าวไปแล้วก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยได้ตาม 229(3) ไม่ใช่ไล่เบี้ยตามมาตรา 693 (4783/43) มาตรา 274“ถ้าบุคคลใดๆได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลโดยทำเป็นหนังสือประกันหรือโดยวิธีอื่นๆเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นนั้นย่อมใช้บังคับแก่การประกันนั้นได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่” • -หนี้ที่เป็นการชำระโดยอาศัยคุณสมบัติของลูกหนี้ จะค้ำประกันไม่ได้ แต่ค้ำประกันความเสียหายได้ 3.ต้องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

More Related