1 / 51

การตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์

การตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์. หัวข้อบรรยาย. ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ 2.3 การรายงานการตรวจสอบ 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ 3. ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน.

nita
Télécharger la présentation

การตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจสอบการดำเนินงานการตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์

  2. หัวข้อบรรยาย • ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน • กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ 2.3 การรายงานการตรวจสอบ 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ 3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน

  3. 1.ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน1.ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน หมายถึง การตรวจสอบที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการประหยัด การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากรเพื่อดำเนินการตามภารกิจในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ

  4. 2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง ขั้นที่ 2การสำรวจเบื้องต้นและ ตัดสินใจตรวจสอบ ขั้นที่ 3การเปิดการตรวจสอบ

  5. 2.ขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.ขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ(ต่อ) ขั้นที่ 4 การประเมินความเสี่ยง ในการตรวจสอบ ขั้นที่ 5การวางแนวการตรวจสอบ

  6. 2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6การรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลหลักฐาน ขั้นที่ 7การจัดทำกระดาษทำการ ขั้นที่ 8การสรุปผลการตรวจสอบ

  7. 2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น (First Draft) ขั้นที่ 10การพิจารณาให้ความเห็นต่อ ร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ขั้นที่ 11การจัดทำร่างรายงานฉบับสุดท้าย (Final Draft)

  8. 2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.3 การรายงานการตรวจสอบ(ต่อ) ขั้นที่ 12การส่งร่างรายงานฉบับสุดท้าย ให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ ขั้นที่ 13การปิดการตรวจสอบ

  9. 2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ ขั้นที่ 15การติดตามผลการตรวจสอบ

  10. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง การคัดเลือกเรื่องพิจารณาจาก • อยู่ในอำนาจของหน่วยตรวจสอบ • มีความเสี่ยงสูง • มีวงเงินงบประมาณสูง หรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน • เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นที่สนใจของรัฐสภา สาธารณชน และสื่อมวลชน มิได้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานอื่น

  11. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง การคัดเลือกเรื่องพิจารณาจาก(ต่อ) • ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะจะเกิดประโยชน์ต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศและการบริหารของรัฐ • ผู้ตรวจสอบต้องมีศักยภาพที่เพียงพอในการตรวจสอบ • คุ้มค่าในการตรวจสอบ

  12. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ 2.1 การสำรวจเบื้องต้น (1) การวางแผนการสำรวจเบื้องต้น เพื่อกำหนด • วัตถุประสงค์ของการสำรวจ • ความเสี่ยง/ประเด็นที่คาดว่าจะเป็นข้อตรวจพบสำคัญ(MOPs) • วิธีการสำรวจ และระยะเวลาที่ใช้ในการสำรวจ • งบประมาณ และคน/วันที่ใช้ในการสำรวจ

  13. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (1) การวางแผนการสำรวจเบื้องต้น(ต่อ) ตัวอย่างMOPs - ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย หรือไม่ - ไม่มีการใช้ประโยชน์ หรือไม่ - ไม่คุ้มค่า/ประหยัด หรือไม่ - มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ - ล่าช้า หรือไม่

  14. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (2)ดำเนินการตามแผนสำรวจเบื้องต้น เพื่อตอบคำถามหรือยืนยันข้อสงสัย และพิสูจน์MOPsที่กำหนดไว้ว่า มีประเด็นปัญหาหรือไม่ และมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด และกำหนด MOS ในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากการสอบถามผู้รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน

  15. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (2)ดำเนินการตามแผนสำรวจเบื้องต้น(ต่อ) ตัวอย่างMOS (มี 3 องค์ประกอบ) - การดำเนินงานโครงการไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ทำให้รายได้ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมิได้เพิ่มขึ้น - แหล่งน้ำที่ก่อสร้างตามโครงการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมิได้เพิ่มขึ้น

  16. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (3) สรุปผลการสำรวจเบื้องต้น • มี MOSหรือไม่ อย่างไร • สมควรตรวจสอบต่อ(Go) หรือยุติการตรวจสอบ(No Go)

  17. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ 2.2 การตัดสินใจตรวจสอบ (1) กรณีมี MOS ตัดสินใจตรวจสอบต่อ(Go) (2) กรณีไม่มี MOS ตัดสินใจยุติการตรวจสอบ(NoGo)

  18. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 3 การเปิดการตรวจสอบ • เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างผู้ตรวจสอบกับผู้รับตรวจ • แจ้งให้ทราบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขต การตรวจสอบ • แนะนำเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายให้รู้จักกัน • สอบถามความเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ หน่วยรับตรวจเกี่ยวกับนโยบาย ปัญหา แนวทางแก้ไข

  19. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 4 การประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะตรวจสอบ • การประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย ความเสี่ยงสืบเนื่องหรือความเสี่ยง จากลักษณะการดำเนินงานของเรื่องที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงจากการควบคุม และความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

  20. 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 5 การวางแนวการตรวจสอบ • กำหนดวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและขอบเขตการตรวจสอบของแต่ละประเด็นการตรวจสอบ(MOS) • ระบุแหล่งข้อมูลให้ละเอียดและชัดเจน • เลือกใช้วิธีและเทคนิคการตรวจที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบ

  21. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน (1) ความเหมาะสมของข้อมูลหลักฐาน • เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตรวจสอบ • เกิดขึ้นและส่งผลกระทบในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับขอบเขตการตรวจสอบ • มีความชัดเจน • ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริง • จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

  22. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน (2) ความเพียงพอของข้อมูลหลักฐาน • มีนัยสำคัญ • มีคุณภาพ • มีปริมาณมากพอในการสนับสนุน ข้อตรวจพบ

  23. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน วิธีการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ • การศึกษาข้อมูล • การวิเคราะห์ • การสังเกตการณ์ • การใช้แบบสอบถาม • การสัมภาษณ์ • การใช้บริการที่ปรึกษา

  24. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 7 การจัดทำกระดาษทำการ • ความสมบูรณ์และถูกต้องตรงความเป็นจริง • ความชัดเจนและเข้าใจง่าย • ความเรียบร้อยและอ่านง่าย • ความเพียงพอและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของกระดาษทำการ

  25. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ ขั้นที่ 8 MOPs MOS ข้อตรวจพบ • Criteria • Condition? • Criteria • Condition • Effect • Criteria • Condition • Effect • Cause • Recommendation

  26. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ ประกอบด้วย เกณฑ์ที่ควรจะเป็น(Criteria) คือ ผลการดำเนินงาน การควบคุม หรือกระบวนการปฏิบัติงานที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยรับตรวจควรทำหรือต้องทำให้ได้ เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน ระเบียบ กฎเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ หลักวิชาการ เป็นต้น

  27. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย • สภาพที่เกิดขึ้นจริง(Condition) คือ ข้อสรุปที่แสดงถึงผลการดำเนินงานที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ที่ควรจะเป็น(Criteria) เช่น • การดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • สิ่งก่อสร้างไม่มีการใช้ประโยชน์ • การใช้จ่ายเงินไม่คุ้มค่า/ประหยัด

  28. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย ผลกระทบ(Effect) คือ ผลที่สืบเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่พบ(Condition)ในการดำเนินงานของเรื่องที่ตรวจสอบ เป็นการประเมินผลกระทบ/ความเสียหายที่เกิดขึ้น/มีโอกาสจะเกิดขึ้นจากสภาพปัญหาทั้งในรูปตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน

  29. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย สาเหตุ(Cause) คือ ต้นเหตุที่แท้จริงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น(Condition)ในการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจกรณีมีหลายสาเหตุ ควรเลือกสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบ(Effect)โดยระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงานใด อย่างไร เมื่อไร และจากใคร/หน่วยงานใด

  30. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะ(Recommendation) คือ ข้อแนะนำที่ผู้ตรวจสอบเสนอให้แก่หน่วยรับตรวจและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ(Condition)จากการตรวจสอบซึ่งต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับสาเหตุ(Cause) สามารถปฏิบัติได้ และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา

  31. 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ตัวอย่างเช่น • Criteriaเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1 แสนรายต่อปี • Condition ผลการรับเกษตรกรเฉลี่ยประมาณ 5 หมื่นรายต่อปี • Effect ทำให้รายได้ของเกษตรกรมิได้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ • Cause หน่วยรับตรวจไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ • Recommendationควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอื่นที่จะดำเนินการในอนาคต

  32. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9 การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ควรมีองค์ประกอบและเนื้อหาที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ • ความเป็นมาของการตรวจสอบ • วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ • ขอบเขตการตรวจสอบ • วิธีการตรวจสอบ • ระยะเวลาการตรวจสอบ • ข้อตรวจพบ • ข้อเสนอแนะ • ความเห็นของหน่วยรับตรวจ

  33. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9 การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ลักษณะของรายงานที่ดี ประกอบด้วย • ถูกต้อง(Accuracy) • ชัดเจน(Clarity) • กะทัดรัด(Conciseness) • ทันกาล(Timeliness) • สร้างสรรค์(Constructive Criticism) • จูงใจ(Pursuance)

  34. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 10 การพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจะสอบทานร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ในเรื่องความถูกต้องตามหลักวิชาการ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และอื่นๆ ที่ใช้อ้างอิงถึง ความเป็นเหตุเป็นผล และลักษณะของรายงานการตรวจสอบที่ดี

  35. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 11 การจัดทำร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) ผู้ตรวจสอบแก้ไขร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชา โดยจัดทำเป็นร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาและความเห็นชอบ

  36. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 12 การส่งร่างรายงานฉบับสุดท้ายให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ ร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของผู้บังคับบัญชาแล้ว จะส่งให้หน่วยรับตรวจเพื่อพิจารณาและแสดงความเห็น

  37. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 13 การปิดการตรวจสอบ เพื่อชี้แจงประเด็นข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้มีความชัดเจนขึ้น และรับฟังข้อคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย เพื่อหาข้อยุติในการออกรายงานการตรวจสอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจทราบว่า ความเห็นของหน่วยรับตรวจจะไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการตรวจสอบ

  38. 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 14 การจัดทำรายงานการตรวจสอบ(Final Report) • กรณีที่ไม่มีความเห็นแย้งกับร่างรายงานการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะจัดทำรายงานการตรวจสอบ(Final Report) และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อให้ความเห็นชอบ • กรณีที่มีความเห็นแย้งกับร่างรายงานการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะต้องสรุปข้อโต้แย้งพร้อมเสนอความเห็นให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ

  39. 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ (1) การวางแผนการติดตามผล (2) ติดตามผลการดำเนินการตามรายงานการตรวจสอบ (3) สรุปผลการติดตาม ขั้นที่ 15 การติดตามผลการตรวจสอบ

  40. 3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 40

  41. 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ (1) กรุงเทพมหานครตัดสินใจดำเนินโครงการโดยขาดข้อมูลสำคัญในการพิจารณา - ไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study) - การสำรวจความคิดเห็นยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 41

  42. 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (2) เส้นทางที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการ - นานา-แบริ่ง ไม่มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นรถไฟฟ้า - ม.รามฯ-สนามกีฬาราชมังคลาฯ ไม่มีรถไฟฟ้า - ไม่สามารถเดินบนทางยกระดับได้ตลอดเส้นทาง ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 42

  43. 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (3) กรุงเทพมหานครขาดการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการโครงการ - การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเชื่อมต่อและการคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ - การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบบริหารจัดการ - การกำหนดมาตรการหรือวิธีการป้องกันไม่ให้มีการขายของบนทางยกระดับ และมาตรการดูแลและรักษาความปลอดภัย ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 43

  44. 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะ 1. การดำเนินโครงการในระยะที่ 1 1.1 ทบทวนการดำเนินโครงการ โดยจัดให้มีการสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บริการทางเดินยกระดับ 1.2 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 1.3 เร่งรัดการจัดเตรียมความพร้อมด้านบริหารจัดการโครงการ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 44

  45. 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะ(ต่อ) 2. การดำเนินโครงการในระยะที่ 2 2.1 จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของโครงการ 2.2 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 45

  46. 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ (1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายไม่ครบถ้วนตาม วัตถุประสงค์โครงการ ทำให้เกิดการประท้วงปิดถนน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่สัญจร - ไม่รวมกลุ่มรถโดยสารร่วม ขสมก. รถโดยสาร ขนาดเล็กร่วม ขสมก. และรถสองแถวเล็กร่วม ขสมก. ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 46

  47. 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (2) ข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดจำนวนเป้าหมายไม่เพียงพอ ทำให้ผลการจัดทำบัตรเครดิตพลังงานต่ำกว่าเป้าหมายมาก และโครงการมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - มิได้นำข้อมูลสถิติจำนวนใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะที่มีทั้งหมดและไม่สิ้นอายุของกรมการขนส่งทางบกมาใช้ประกอบการพิจารณา ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 47

  48. 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (3) การควบคุมการใช้บัตรเครดิตพลังงานยังไม่รัดกุม และเพียงพอที่จะป้องกันหรือลดโอกาสเกิดการทุจริต ทำให้มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายต่อเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง - การนำรถสาธารณะที่มีบัตรเติมก๊าซ NGV เติมก๊าซโดยไม่มีบัตรเครดิตพลังงาน การนำบัตรเติมก๊าซ NGV ไปใช้กับรถสาธารณะที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ หรือใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคล การนำบัตรเครดิตพลังงานไปใช้กับรถโดยสารสาธารณะที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการหรือรถยนต์ที่ไม่มีบัตรเติมก๊าซ NGV ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 48

  49. 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ข้อเสนอแนะ 1. ในอนาคตหากมีการดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันนี้หรือโครงการใดๆ ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 49

  50. 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ข้อเสนอแนะ(ต่อ) 2. กำหนดมาตรการการควบคุมการใช้บัตรเครดิตพลังงานเพิ่มขึ้นให้รัดกุมและเพียงพอ เพื่อป้องกันหรือลดโอกาสเกิดการทุจริต มิให้เกิดความเสียหายต่อเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 50

More Related